การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ Leave a comment

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

บทความอื่นๆเกี่ยวกับ Eye-Fi
มารู้จักกับ Eye-Fi หน่วยความจำ SDHC card แบบไร้สาย

หลายคนที่ได้รู้จัก Eye-Fi Card จาก บทความแนะนำคุณสมบัติของ Eye-Fi ไปแล้วก็จะรู้ว่า Eye-Fi มีฟังก์ชั่นปลีกย่อยค่อนข้างเยอะ ใครที่ได้เป็นเจ้าของก็คงผ่านประสบการณ์การเซ็ตอัพที่ชวนปวดหัวกันไปบ้าง zoomcamera จึงจัดทำบทความชุดนี้ขึ้นมาเพื่อสรุปการตั้งค่าสำหรับการประยุกต์ใช้ Eye-Fi ในแบบต่างๆ สำหรับเป็นแนวทางให้ผู้อ่านได้เห็นการใช้งานจริงในหลายๆรูปแบบและสำหรับให้ลูกค้าได้นำไปใช้เซ็ตตามได้อย่างง่ายๆ

บทความแรกนี้เราจะแนะนำการใช้งานรูปแบบที่น่าจะเป็นที่นิยมมากที่สุดและได้รับคำถามจากลูกค้ามาที่สุด นั่นคือการเซ็ตให้ Eye-Fi Card ในกล้องเราส่งภาพเข้า smartphone หรือ tablet ไม่ว่าจะเป็น iphone หรือ android แบบ auto-transfer ทันทีที่เรากดชัตเตอร์อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปสั่งหรือเลือกภาพที่จะโหลดเองเลย ซึ่งฟังก์ชั่นนี้ในปัจจุบันมีเพียง Eye-Fi เท่านั้นที่ทำได้ สำหรับการ์ดตัวอื่นนั้นเราต้องเข้าแอพเพื่อเลือกภาพที่ต้องการและสั่ง download จากกล้องเองครับ มันไม่มาเอง ที่สำคัญภาพที่เข้ามาทั้งหมดเป็นภาพเต็มความละเอียดตามที่เราเซ็ตที่ตัวกล้องไว้เลย ไม่มีการย่อภาพครับ ดังนั้นเราสามารถถ่ายภาพและรีวิวภาพที่เราเพิ่งถ่าย ซูมเช็ครายละเอียดบนจอ iPad ใหญ่ๆได้ โดยภาพจะวิ่งผ่าน Wi-Fi จากการ์ดเข้าอุปกรณ์ของเราโดยตรง ไม่ต้องพึ่ง Wi-Fi Router ไม่ต้องมี internet data หรือ 3G มาเกี่ยวจึงไม่มีค่าบริการแต่อย่างใดเลย

การใช้งานลักษณะนี้ เราต้องเซ็ตให้ Eye-Fi ของเราทำงานใน direct mode โดยในโหมดนี้การ์ดจะตั้งตัวเองเป็น Access point ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi เมื่อมีภาพที่จะส่งหรือเมื่อเรากดบันทึกภาพแล้ว อุปกรณ์มือถือของเราจะเจอ Wi-Fi และเข้าไปเกาะ หลังจากนั้นทุกครั้งที่มีภาพใหม่เกิดขึ้น Eye-Fi จะส่งภาพไปยังอุปกรณ์ของเราเองทันทีโดยเราไม่ต้องหยิบมือถือออกมากดอีกเลย

การเซ็ตแบบนี้ เราสามารถเซ็ตตั้งแต่ครั้งแรกที่ลง software Eye-Fi Center และ register สร้าง account ได้เลย แต่ถ้าใครไม่ได้เซ็ตไว้แต่แรกหรือเซ็ตไว้แต่ภาพไม่ยอมมา ก็ให้เข้ามาเซ็ตตามวิธีข้างล่างนี้ได้เลย

เปิด Eye-Fi Center ขึ้นมา เสียบการ์ดลงในคอมพิวเตอร์ สังเกตุสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยม (eject) ถ้าไม่มีขึ้นมาแสดงว่าซอฟต์แวร์ไม่เจอการ์ด อาจจะต้องถอดเสียบใหม่หรือปิดเปิดโปรแกรมใหม่

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

กดปุ่ม setting ตามรูปแล้วตั้งค่าแต่ละหน้าตามนี้

 

Network > Private Network

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

ถ้าเราตั้งใจจะเซ็ตให้การ์ดส่งภาพเข้าอุปกรณ์ของเราโดยตรงโดยเร็วที่สุดในเวลาเราออกไปเดินเที่ยวถ่ายรูป ควรเอาค่า private network ออกให้หมด เพราะหากเราตั้งไว้ ในกรณีที่เราอยู่นอกบ้านและเซ็ต Wi-Fi router ที่บ้านไว้ การ์ดจะพยายามสแกนหาเน็ตเวิร์คที่เราตั้งไว้อยู่เรื่อยๆ ทำให้การส่งภาพเ้ข้ามือถือถูกขัดอยู่เรื่อย อาจส่งช้าหรือค้างได้

 

Direct Mod

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

เช็คที่ checkbox ด้านบนเพื่อเซ็ตให้ Eye-Fi เปิด direct mode เวลาที่ไม่เจอ private network หรือ Wi-Fi เซ็ตที่เอาไว้ หากเราไม่มีหรือลบ private network ออกหมดตามข้อที่แล้ว ตัว Eye-Fi ก็จะตั้งตัวเป็น access point ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ออกมาเมื่อมีภาพถ่ายเกิดขึ้นทันที โดยเราสามารถตั้งเวลาให้ Eye-Fi ปล่อยสัญญาณรอมือถือเข้ามาเกาะได้นานเท่าที่ต้องการ แนะนำให้เซ็ตเป็น 2 นาทีไว้ทั้ 2 แถบเลยนะครัีบ หากเซ็ตเยอะก็จะทำให้การเชื่อมต่อเสถียรขึ้นแต่จะเปลืองแบตกล้องมากขึ้นครับ

 

Photos > Computer

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

หากเราได้ตั้งให้ภาพเข้ามือถือเราไว้แล้ว หน้าจอจะแจ้งว่าปัจจุบันภาพถูกเซ็ตให้ส่งไปที่ไหนโดยแสดงชื่ออุปกรณ์ของเรา ในที่นี้คือ Galaxy Nexus ครับ แบบนี้ถือว่าโอเคแล้ว แต่ถ้าหากหน้าจอของเรามีเครื่องหมายเช็คอยู่ที่ Upload photos to this computer แสดงว่าเราได้ตั้งค่าไว้ให้ส่งภาพมาที่คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ กรณีนี้เราต้องเปลี่ยนให้ไปที่มือถือโดยเข้าไปเซ็ตในแอพที่เราลงไว้ในอุปกรณ์นั้นๆครับ โดยเปิดแอพ Eye-Fi เข้าไปที่เมนู setting และ Eye-Fi device settings และเลือก Eye-Fi Card แล้วเช็คตรง Uploading media to this device โดยแอพจะถามว่าให้ส่งอะไรบ้าง ภาพนิ่ง วีดีโอ และ Raw file

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติการประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

หลังจากเราตั้งค่าในแอพแล้ว หากเราเข้ามาดูใน Eye-Fi Center อีกครั้งก็จะเห็นว่าค่า setting เปลี่ยนไปแล้ว ทั้งนี้เครื่องที่ตั้งค่าทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือต้องต่อ internet อยู่นะครับ

 

Photos > Online

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

หน้าจอนี้ให้ดูว่าเราไม่ได้เลือกให้ส่งภาพไปแชร์ที่เวบอะไร ถ้ามีให้เอาออกครับ เพราะการส่งภาพแชร์จะต้องใช้อินเตอร์เน็ต คือการ์ด Eye-Fi จะต้องสามารถออกอินเตอร์เน็ตได้โดยผ่าน private network หรือ router ที่ตั้งไว้ หลังจากนั้นก็ไปเช็คค่าในแทป RAW และ Video ต่อแบบเดียวกันเลยครับ

 

Eye-Fi View

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

ป็นบริการพื้นที่เก็บภาพซึ่งแถมมากับ Eye-Fi ซึ่งการใช้งานนั้นต้องอาศัยอินเตอร์เน็ต อันนี้เราก็ต้องปิดไปด้วย

Transfer Mode > Relayed Transfer

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

บริการนี้ก็ต้องปิดด้วย ส่วนมากมักใช้กรณีที่ต้องการให้ภาพไปลงที่คอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ต

 

Transfer Mode > Selective Transfer

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

ฟังก์ชั่นนี้จะเป็นตัวกำหนดวิธีเลือกภาพที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทาง Automatic จะกำหนดให้ส่งทุกภาพที่เราถ่ายไปทันที ในขณะที่ Selective Transfer จะไม่ส่งภาพทันทีแต่จะส่งเมื่อเรากดเลือกภาพที่ต้องการโดยใช้การ protect หรือป้องกันการลบภาพโดยไม่ตั้งใจซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่มีในกล้องทุกตัวอยู่แล้ว ดังนั้นจะมีเฉพาะภาพที่เราเลือกแล้วเท่านั้นที่จะถูกส่งไป ส่วน Selective Share จะไม่ใช้ในกรณีนี้ เพราะเราไม่ได้ต้องการให้ Eye-Fi แชร์รูปเข้าเครือข่ายต่างๆเองแต่ให้ส่งเข้าอุปกรณ์แล้วเราจะไปแชร์ผ่าน app ต่างๆเองภายหลัง

 

Transfer Mode > Endless Transfer

การประยุกต์ Eye-Fi ตอนที่ 1: ส่งภาพเข้า mobile device อัตโนมัติ

ฟังก์ชั่นนี้จะใช้หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ความพอใจ หากเราเปิดไว้และกำหนด 60% แบบในภาพ Eye-Fi จะทำการลบภาพในการ์ดให้เราอัตโนมัติเมื่อใช้พื้นที่ถึง 60% โดยจะลบเฉพาะภาพเก่าที่ถูกย้ายไปยังปลายทางแล้วเท่านั้น ดังนั้นการ์ดเราจะมีพื้นที่เหลืออย่างน้อย 40% เสมอ ไม่มีวันเต็ม

เป็นอันเรียบร้อย หลังจากเซ็ตแต่ละขั้นตอนอย่าลืมกดเซฟด้วย ถ้าตามนี้ครบแล้วก็ถอดการ์ดออกมาใส่กล้อง เปิดแอพในมือถือรอ แล้วลองกดถ่ายซักแชะสองแชะดูเลย ภาพจะปรากฏขึ้นต่อหน้าเราทันใด!

แต่หากยังไม่มีภาพมาแสดงว่าขั้นตอนติดตั้งอาจไม่เรียบร้อย ลองเข้าเมนู Wi-Fi setting ของอุปกรณ์ที่เราใช้ แล้วสแกนดูว่าเจอเน็ตเวิร์คชื่อขึ้นต้นว่า Eye-Fi Card บ้างมั้ย ลองกด connect ดูว่าสามารถเชื่อมต่อได้มั้ยโดยใน iOS 5 ขึ้นไปจะเป็นวงหมุนๆไม่มีเครื่องหมายถูก อันนั้นถือว่าโอเคแล้ว
หากยังไม่ได้อาจต้องตรวจสอบขั้นตอนการติดตั้งแอพจากเว็บไซต์ Eye-Fi ว่าเราทำครบถ้วนมั้ยอีกครั้ง สุดท้ายมีปัญหาอะไรแก้ไม่ตก สอบถามมาได้ที่ฝ่าย support ของเราที่สาขาสีลมเลยครับ

ขอให้ใช้ Eye-Fi ถ่ายภาพให้สนุก พอว่างปุ๊ปก็หยิบ iPhone ขึ้นมามีภาพรอให้แชร์กันทันทีครับ

#ZoomCamera ตัวแทนจำหน่ายกล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีให้คุณเลือกมากที่สุดหาของที่ไหนไม่ได้มาหาได้ที่ ZoomCamera นะ

———– สอบถามเพิ่มเติม ————
แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือหน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
086-349-7224 / 02-635-2330 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

?สาขา Central Plaza เวสต์เกต 02-054-7462 / 097-063-4328
?สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772
?สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919
?สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498
?สาขาฟอร์จูนทาวน์ 083-068-2775
?สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123
?สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896
?สาขา Central Festival หาดใหญ่ 074-848-700/095-702-7585
?สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ 02-002-3894 / 096-901-7825
?สาขาสยามพารากอน 02-129 4765 / 096-901-7826

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save