รีวิว Sony A7C

พรีวิว Sony A7C สัมผัสแรก Fullframe Rangefinder Leave a comment

พรีวิว Sony A7C กล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นใหม่ล่าสุดจากทาง Sony ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ ให้อยู่ในรูปของ Rangefinder ที่มีความ Compact , กะทัดรัด คล่องตัวสูง แต่ยังคงไว้ซึง Sensor ขนาด Fullframe E-Mount ด้วยเช่นกัน

content ที่เกี่ยวข้องกับ Sony A7C

พรีวิว Sony A7C ความลงตัวในฉบับ Compact Size

Sony A7C กล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นใหม่ล่าสุดจากค่าย Sony น่าจะเป็นครั้งแรกของกล้อง Mirrorless Fullframe ที่ออกแบบในลักษณะ Rangefinder อีกทั้งยัง import ฟีเจอร์ต่างๆใน Sony A7 III และ Sony A7S III บางส่วนมาให้ใช้งานด้วยเช่นกัน

Rangefinder Fullframe ตัวแรกในตระกูล Alpha

เรื่องดีไซน์ของ Sony A7C นั้น แรกเริ่มก่อนที่จะเป็น Final Product บอกเพียงว่าเป็น กล้อง Mirrorless ทรง Rangefinder โดยช่องมองภาพจะเป็นในลักษณะ Pop-up แทน แต่หลังจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เจ้า Sony A7C ก็ถูกออกแบบในลักษณะ Rangefinder โดยที่มีความละม้าย คล้ายคลึงกับ Sony A6000 Series เลยทีเดียวครับ

รีวิว Sony A7C

แม้หน้าตาของ Sony A7C จะเป็นทรง Rangefinder แต่ก็ยังมีความแตกต่างจาก Sony A6000 Series อยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ปุ่มชัตเตอร์ที่เล่นกับสีเงินดูโดดเด่นอย่างชัดเจน , ปุ่ม Record Video ที่มีการปรับเปลี่ยนให้คล้ายคลึงกับ กล้องที่ออกมาก่อนหน้านี้ อย่าง Sony ZV1 หรือ Sony A7S III ซึ่งมีขนาดปุ่มที่กำลังพอเหมาะ อีกทั้งตำแหน่งของตัวปุ่มก็แยกอิสระออกมาอย่างชัดเจน ทำให้เวลาใช้งาน มือเราจะไม่พลาดไปกดโดนอย่างแน่นอน

พรีวิว Sony A7C

ตำแหน่ง Layout ของ ปุ่มต่างๆ จะมีความลูกผสม ระหว่าง Sony A7 Series กับ Sony A6000 Series โดยใน Sony A7C จะโดนลดทอนปุ่ม Custom FN ไปพอสมควรเลยละครับ , Dial ปรับค่าเหลือเพียง Dial เดียวเท่านั้น อีกทั้งในส่วนของ Joy Stick ก็ถูกตัดออกไปด้วยเช่นกัน ซึ่งก็เป็นไปตาม Segment ที่เจ้า Sony A7C เน้นไปทางงาน Video เป็นหลักนั่นเอง

ergonomic sony a7c

บริเวณที่เป็น Grip จับ จะแตกต่างจาก Sony A7 III อย่างชัดเจนครับ โดยดีไซน์ของ Sony A7C นั้น จะคล้ายกับ Sony A6000 Series เลยทีเดียว เท่าที่ทีมงานได้ลองสัมผัส ตรง Texture เข้าใจว่าวัสดุเป็นยาง ป้องกันการลื่นในเวลาที่หยิบจับใช้งานได้เป็นอย่างดี

sony a7c vs sony a7iii

สำหรับ Sony A7C นั้น made in Thailand นะ ซึ่งงานประกอบถือว่าทำได้ดีครับ ไม่มีเสียงก๊อกแก๊กของตัวชิ้นส่วนเลยทีเดียว

sony a7c made in thailand

เลนส์ Kit ใหม่ sel 28-60mm F4-5.6

sony a7c Sel 28-60 F4-5.6

การมาของ Sony A7C นั้น ยังมาพร้อมกับเลนส์รุ่นใหม่อย่าง Sel 28-60mm F4-5.6 โดยจะมีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มเลนส์ Kit บน E-Mount ด้วยกันครับ อีกทั้งมีน้ำหนักเพียง 167 กรัมด้วยกันครับ

Sel 28-60 F4-5.6

Sel 28-60mm F4-5.6 ออกแบบให้มีขนาดเล็ก กะทัดรัด เพื่อให้เข้ากับ Sony A7C ที่เน้นความ Compact นั่นเอง ขนาดฟิลเตอร์ 40.5mm. แต่ถึงกระนั้น ลักษณะการ Zoom ของ Sel 28-60mm F4-5.6 จะเป็นการ Zoom แบบปกตินะครับ ไม่ใช่เป็นแบบ Zoom ไฟฟ้า อีกทั้งตัวเลนส์จะต้องบิดเพื่อคลายล๊อคก่อนการใช้งานทุกครั้งด้วยนะครับ

Sony A7C with Sel 28-60 F4-5.6
Sony A7C with Sel 28-60 F4-5.6

Body ร่างเล็ก สเปค Fullframe

เชื่อว่าเพื่อนๆอีกหลายๆท่าน ที่ไม่ได้อยู่ในวงการกล้อง ถ้าหากเห็นหน้าตาของ Sony A7C แล้ว คงจะคิดว่า นี่คงเป็นกล้อง Mirrorless ระดับ APS-C อย่างแน่นอน แต่ช้าก่อน เจ้า Sony A7C แม้จะขนาดใกล้เคียงกันกับ Sony A6600 ที่ซึ่งเป็น กล้อง Mirrorless APS-C E-Mount แต่ใน Sony A7C กลับมาพร้อม Sensor ขนาด Fullframe เลยทีเดียวครับ

Sony A7C Sensor

สำหรับ Sensor รับภาพ ของ Sony A7C นั้น คาดการว่าจะเป็น Sensor รุ่นเดียวกันกับ Sony A7 III ที่ทำตลาดอยู่ในขณะนี้ โดยมีความละเอียดอยู่ที่ 24 megapixels ด้วยกัน เพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆไปได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกล้องสำหรับท่องเที่ยว , กล้องสำหรับงานจริงจัง ก็พร้อมจะตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างเหลือเฟือเลยทีเดียว

ระบบกันสั่น 5 แกน พร้อม Gyro Data

แม้ Body จะมีขนาดที่เล็กลง แต่ เจ้า Sony A7C ก็มาพร้อมระบบกันสั่น 5 แกน ( 5 Axis ) เฉกเช่นเดียวกันกับ Sony A7 III ซึ่งเคลมว่า สามารถลดอาการสั่นไหวสูงสุดที่ 5 – 5.5 Stops ด้วยกัน ทั้งนี้ใน Sony A7C ยังเสริมความสามารถของระบบกันสั่น 5 แกน ด้วย Gyro Data ซึ่งจะทำงานใน Mode Video โดยหลักการจะคล้ายๆกับการ Crop เฟรม เพื่อลดอาการสั่นไหว ให้มีความสมูธมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

Sony A7C Sensor

ทั้งนี้ประสิทธิภาพของระบบกันสั่นใน Sony A7C ต้องขอเก็บไว้เป็นการบ้าน เพื่อรอทดสอบในภาค Full Review อีกครั้งนะครับ

จอ LCD แบบ Vari-Angle เอาใจชาว VLOG

Sony A7C

สิ่งที่ Sony A7C ดูจะแตกต่างจาก Sony A7 III อย่างชัดเจน คือ จอ LCD ครับ โดยเดิมทีใน Sony A7 III จะเป็นจอในลักษณะ Tilt ที่ปรับองศาเพื่อช่วยในการถ่ายมุมกด หรือ มุมเสย ได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ไม่สามารถพลิกหน้าจอได้ ในขณะที่ Sony A7C นั้น ได้มีการปรับจอ LCD ใหม่ อยู่ในลักษณะ Vari-Angle ที่สามารถฟลิบจอมาด้านหน้าได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่งหรือวิดิโอ ซึ่งในงาน Video การได้จอแบบ Vari-Angle จะช่วย Operate ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการถ่าย VLOG จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการมองตัวมองผ่านจอ

Sony A7C Vari-Angle

ทั้งนี้ จอแสดงผล ของ Sony A7C และ Sony A7 III จะมีความละเอียดที่เท่ากัน คือ 921,600 Dot ซึ่ง อัตราความเพี้ยนของสีจอนั้น ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ที่ทีมงานได้ลองสัมผัส Sony A7C ถือว่ามีการปรับปรุงมาในระดับนึงครับ

Sony A7C Vari-Angle

นอกจาก จอ LCD แล้ว ในส่วนของช่องมองภาพ ทั้ง Sony A7C และ Sony A7 III ต่างก็ใช้ช่องมองภาพแบบ OLED ความละเอียด 2,359,000 Dot เท่ากัน แต่จะต่างกันในส่วนของกำลังขยายครับ โดย Sony A7 III จะมีกำลังขยายที่ 0.78x ส่วน Sony A7C จะมีกำลังขยายที่ 0.59x เท่านั้นครับ ซึ่งเทียบเคียงกับกล้อง Sony ในตระกูล RX Series เลยครับ

Sony A7C EVF

ระบบ Focus ที่รองรับ Eye AF และ Animal AF

ระบบ Focus ของ Sony A7C นั้น ได้มีการพัฒนายิ่งขึ้น โดยได้นำระบบ Focus ใน Sony A7S III มาใช้งานด้วยเช่นกัน จากเดิมที่พื้นฐานของระบบ Focus ใน Sony A7 III ทำให้ประสิทธิภาพในการ Focus แทบจะหายห่วงเลยทีเดียวครับ ไม่ว่าจะเป็น Single AF , Eye AF Tracking รวมไปถึง Animal AF ก็พร้อมใช้งานเช่นกัน

Sony A7C Focus

โดยเฉพาะ Eye AF ใน Sony A7C นั้น จะแตกต่างจาก Sony A7 III ตรงที่ สามารถใช้งานใน Video ได้ด้วยเช่นกันครับ ซึ่งใน Sony A7 III จะไม่รองรับนั่นเอง ซึ่งตอบโจทย์การทำงานของสาย VLOG เป็นอย่างยิ่ง เพราะ เราแค่ปล่อยให้ตัวกล้อง Focus ที่ดวงตาของเรา โดยที่เราต้องไม่หลุดเฟรมด้วยนะ ซึ่งระบบ Eye AF ในลักษณะนี้ จะช่วยทุ่นแรงได้เป็นอย่างดีครับ

Sony A7C animal af

Silent Mode สยบทุกสิ่งด้วยความเงียบ

ปัจจุบัน กล้อง Mirrorless มักจะมาพร้อมฟีเจอร์อย่าง E-Shutter ควบคู่กันกับ Mechanic Shutter ซึ่งธรรมชาติของ Mechanic Shutter จะมีอายุการใช้งานแล้วแต่กล้องรุ่นนั้นๆ ในขณะที่ E-Shutter จะเป็นชัตเตอร์แบบไฟฟ้า ทำให้สามารถเพิ่มอายุการใช้งานของ Mechanic Shutter ไปในตัวได้อย่างง่ายดาย

Sony A7C e-shutter

ทั้งนี้ Sony A7C จะโดนตัดในส่วนของ First E-Curtain ออกไปครับ แต่ทดแทนด้วย Silent Mode ครับ โดย Mode นี้จะทำให้ Sony A7C สามารถทำค่า Shutter Speed ได้สูงสุดที่ 1/8000 sec. จากเดิมที่ Mechanic Shutter ทำได้สูงสุดเพียง 1/4000 sec. ครับ

เอาใจสาย Video ทั้ง 4K & FHD พร้อม S-LOG เพื่อนำไป Process

ฟีเจอร์งาน Video ที่ติดตั้งใน กล้อง Sony A7C นั้น ก็มีให้ใช้งานครบครัน ทั้ง Video 4K , Video FHD และ Video Slowmotion โดยถ้าเป็น Video 4K รองรับสูงสุดที่ 30p , ถ้าเป็น FHD รองรับสูงสุดที่ 120p ด้วยกันครับ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานในระดับทั่วๆไปจนถึงระดับอาชีพได้อย่างแน่นอนครับ

Sony A7C Video

นอกจากนี้ ไฟล์ Video ยังรองรับ S-LOG2 , S-LOG3 รวมไปถึง HLG ที่เหมาะสำหรับเพื่อนๆที่ต้องนำไฟล์ Video นั้นๆมาทำการ Process ภายหลัง ซึ่ง Format เหล่านี้จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อไฟล์ Video ได้เป็นอย่างดีครับ

Sony A7C S-Log

ส่วนถ้าจะนำ Sony A7C ไปถ่าย Video 4K เป็นระยะเวลานานๆ แล้วจะเกิดอาการ Heat หรือไม่นั้น อันนี้ทีมงานต้องขอเก็บไว้รอทดสอบในภาค รีวิว Sony A7C อีกครั้งครับ

Slot Card เหลือเพียง 1 ช่อง แบบ SD

Sony A7C ด้วยความที่มีดีไซน์เล็กลงกว่า Sony A7 III ทำให้หลายๆอย่างถูกตัดทอนออกไปด้วยเช่นกัน 1 ในนั้น Slot Card ครับ โดยที่ Sony A7C จะมาพร้อมกับช่องใส่การ์ดแบบ 1 Slot เท่านั้นครับ ซึ่งแตกต่างจาก Sony A7 III ที่เป็น Dual Slot นั่นเอง โดยที่ยังรองรับ SD Card แบบ UHS-II อยู่เช่นเดิมครับ ซึ่งใครที่มี SD Card ความเร็วสูงอยู่แล้ว ก็สามารถนำมาใช้งานต่อได้ทันทีเลยครับ

Sony A7C Port

Port การเชื่อมต่อ ของ Sony A7C นอกเหนือจาก Slot Card ที่เหลือเพียง 1 Slot ก็ยังมีมาให้พร้อมเสร็จสรรพ ไม่ว่าจะเป็น mic. ขนาด 3.5mm. , headphone 3.5mm. , hdmi รวมถึง USB Type-C ที่รองรับการชาร์จไฟผ่าน USB ด้วยเช่นกัน

Sony A7C NFC

ตัวเล็ก แต่แบตอึดด้วย NP-FZ100

อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียน รู้สึกดีใจ นอกเหนือจากขนาดที่เล็กลง Compact ลง คือ แบตเตอรี่ ครับ โดย Sony A7C มาพร้อมกับแบตเตอรี่ NP-FZ100 หรือ อีกชื่อที่เรารู้จักกัน คือ แบต Z นั่นเองครับ โดยมีประจุไฟอยู่ที่ 2,200 mAh ด้วยกัน ในแง่ของประสิทธิภาพ เมื่อชาร์จไฟเต็ม สามารถถ่ายต่อเนื่องได้สูงสุดถึง 700 เฟรมกันเลยทีเดียว ทั้งนี้อาจจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ ตามแต่ปัจจัยแวดล้อมที่ใช้งานอยู่ด้วยเช่นกัน

Sony A7C NP-FZ100

นอกเหนือจาก แบตเตอรี่ ที่ใหญ่ขึ้นแล้ว Sony A7C ยังรองรับการชาร์จไฟตรงผ่านทาง USB ด้วยเช่นกันครับ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้งานกับ Powerbank เมื่อจำเป็นต้องใช้งานในลักษณะที่นานกว่าปกติที่ตัวแบตจะรับมือไหวครับ อีกทั้งยังสามารถชาร์จไฟไปพร้อมๆกับใช้งานได้ด้วยเช่นกันครับ โดยเฉพาะใครที่เน้นการถ่าย Timelapse ที่กินระยะเวลานานๆ ถือว่าสะดวกสุดๆ

สรุป Sony A7C น่าสนใจ โดยเฉพาะสาย Video

รีวิว Sony A7C

การมาของ Sony A7C ต้องบอกว่าไม่ได้ออกมาทดแทน Sony A7 III แต่อย่างใดนะ โดยทั้งคู่ต่างมี Segment ในตลาดที่แบ่งกันอย่างชัดเจน โดยถ้าใครเน้นภาพนิ่งเป็นหลัก มองไปที่ Sony A7 III ส่วนถ้าใครที่เน้นการถ่าย Video โดยเฉพาะ V-LOG ละก็ เจ้า Sony A7C ตอบโจทย์ได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็น Eye Tracking หรือ จอ LCD แบบ Vari-Angle ที่ช่วยเสริมการทำงานในส่วนนี้ได้อย่างลงตัวสุดๆครับ

ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของทางร้านได้ตลอด 24 ชม. หรือ โทรเข้ามาโดยตรงผ่านโทรศัพท์

แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือ หน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
083-067-7677 / 02-098-9555 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

วิธีการสั่งซื้อ

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save