รีวิว Sony A6600 ภาพนิ่งดี วิดีโอเด่น ตัวจบ APS-C จาก Sony Leave a comment

Introduction

ต้องบอกก่อนว่ากล้อง Sony A6600 ก็คือกล้อง APS-C ตัวใหม่จาก Sony ต่อยอดจากรุ่น A6500 เดิมนั่นเอง กล้อง Sony ในตระกูล A6xxx ซีรี่ย์คือกล้องที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาง่าย แต่การใช้งาน คุณภาพดีเกินขนาดตัวครับ

กล้อง A6600 ถือว่าเป็นกล้องที่ใช้งานระดับโปรได้เลย เด่นทั้งภาพนิ่ง และ วิดีโอ เรียกได้ว่าเป็นกล้อง APS-C ระดับท็อป ๆ ในตลาดได้เลยก็ว่าได้ครับ

สเปคเด่น Key Specs A6600

  • เม้าท์ E-mount
  • เซนเซอร์ Exmor CMOS ขนาด APS-C
  • 24.2 ล้านพิกเซล
  • กันสั่น 5 แกนในบอดี้
  • วิดีโอ 4K 3840 x 2160 (30P), FHD 1920 x 1080 (120,60p,30p, 24p)
  • ช่องการ์ด 1 ช่อง UHS-I
  • Fast Hybrid AF 425 จุด (Phase Detection) 425 จุด (Contrast Detection)
  • ช่องมองภาพ ความละเอียด 2,359,296 จุด
  • จอหลัง LCD แบบ Tilt พลิกกลับมาเซลฟี่ได้ ขนาด 3นิ้ว ความละเอียด 921,600 จุด
  • ถ่ายภาพต่อเนื่องสูงสุด 11 Fps
  • บัฟเฟอร์รัวต่อเนื่อง JPEG Extra fine L 99 เฟรม, JPEG Fine L 115 เฟรม, JPEG Standard L 116 เฟรม, RAW 46 เฟรม, RAW&JPG 44 เฟรม
  • การเชื่อมต่อ Wifi,Bluetooth 4.1
  • พอร์ท Micro HDMI ช่องเสียบไมค์ 3.5 มม. ช่องเสียบหูฟัง
  • แบตเตอรี่ NP-FZ100 ถ่ายได้ประมาณ 720 ภาพ (EVF) / ประมาณ 810 ภาพ (LCD)
  • ชาร์จ USB ถ่ายไปชาร์จไปได้
  • น้ำหนักรวมแบตและการ์ดประมาณ 503 กรัม

Body & Design

ตัวบอดี้กล้องส่วนใหญ่ทำมาจาก Magnesium alloy ที่มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงทนทานสูง มีซีลป้องกันฝุ่นและความชื้นทำให้ใช้งานในสภาพอากาศที่สมบุกสมบันได้มากขึ้นครับ

ส่วนการออกแบบหน้าตาก็เหมือน A6500 เดิมครับ เพียงแต่จะมีเพิ่มเติมคือตรงกริปมือจับที่ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับแบตเตอรี่ตัวใหม่ที่ใหญ่ขึ้น จับถนัดมือมากยิ่งขึ้นนั่นเอง แต่ก็ยังคงน้ำหนักที่เบาเช่นเดิมน้ำหนักบอดี้รวมแบตรวมการ์ดอยู่ที่ราว ๆ 503 กรัมเท่านั้นเองครับ

คุณภาพภาพนิ่ง

ด้วยความที่กล้อง Sony A6600 ใช้เซนเซอร์ Exmor CMOS ขนาด APS-C 24.2 ล้านพิกเซล ร่วมกับโปรเซสเซอร์ประมวลผลภาพ BIONZ X  รุ่นใหม่ล่าสุดทำให้คุณภาพของภาพนิ่งดีขึ้นมาในระดับนึงครับ แต่ก็ไม่หนีไปจาก A6500 เดิมมากครับ

ISO

ในส่วนของคุณภาพ ISO จากที่ได้ลองใช้งานจริงผมมองว่าถ้าในสถาณะการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ก็สามารถใช้ ISO 6400 ได้อยู่ครับ เพียงแต่ว่าก็อาจจะมีน้อยซ์ตามมาพอสมควร

Skin tone

กล้อง Sony A6600 ได้มีการปรับปรุง Skin tone ให้มีความเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมครับ รายละเอียดของโทนสีผิวมนุษย์ได้รับการปรับปรุงขึ้นว่ากันว่าเอามาจาก Sony A7R Mark iv นั่นเองครับ

ถ่ายต่อเนื่อง และ บัฟเฟอร์

A6600 มาพร้อมการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงสุด 11fps แบบโฟกัสติดตามตลอดและวัดแสงใหม่ทุกภาพ ให้บัฟเฟอร์รัวต่อเนื่องมาที่ JPEG Extra fine L 99 เฟรม, JPEG Fine L 115 เฟรม, JPEG Standard L 116 เฟรม, RAW  46 เฟรม, RAW&JPG 44 เฟรม ถือว่าน้อยกว่าในตัว A6500 อยู่ครับ

ความเร็วโฟกัส

กล้อง Sony A6600 ใช้ระบบโฟกัสแบบ Fast Hybrid AF มีจุดโฟกัสแบบ Phase Detection 425 จุด Contrast  Detection 425 จุด กระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ของภาพประมาณ 84% โฟกัสได้รวดเร็วสุด ๆ เพียง 0.02 วินาที แถมยังสามารถ Tracking วัตถุที่เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำครับ

ทดสอบ Auto focus

ในส่วน Real time Eye AF ก็ถือเป็นหน้าเเป็นตาให้กับกล้อง Sony ก็มีอยู่ใน A6600 เช่นเดียวกันครับ สามารถติดตามดวงตาได้อย่างแม่นยำรวดเร็วจากการทดสอบจะเห็นว่าแทบจะไม่หลุดกันเลยทีเดียว ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งคนและสัตว์ครับ

ความสามารถวิดีโอ

การถ่ายวิดิโอของ A6600 ใช้การบีบอัดแบบ Full pixel readout โดยไม่ใช้ Pixel Binning ช่วยให้บันทึกวิดีโอที่มีความละเอียดสูงมาก และสนับสนุนการถ่ายวิดีโอแบบ HDR หรือว่า High Dynamic range video ได้ด้วย ทำให้ได้รายละเอียดในวิดีโอที่มากขึ้นทั้งในส่วนมืดส่วนสว่าง มีโหมด Time-Lapse ในตัวกล้อง และสามารถต่อได้ในโปรแกรม อย่าง Sony Imaging Edge

A6600 ให้โปรไฟล์สี S-Log3 และ S-Log2 สำหรับช่างวิดีโอ ที่ต้องการเก็บรายละเอียด ส่วนมืด ส่วนสว่างให้ได้มากที่สุด เพื่อทำการเกรดสีในภาพหลังสำหรับมืออาชีพโดยตรง

กันสั่น 5 แกนในบอดี้

ระบบกันสั่นในตัวกล้อง Sony A6600 นั้นเป็นอยู่ในบอดี้ เป็นกันสั่นแบบ 5 แกน ซึ่งจากการทดสอบผมว่ายังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ขนาดเซ็นเซอร์ APS-C และใช้กันสั่นในบอดี้เหมือนกัน ทำได้เหมือน ๆ กับกล้อง A6500 เดิมนั่นเองไม่ได้มีการพัฒนามากขึ้นในส่วนนี้ นั่นอาจจะเพราะว่าอยากคงขนาดให้เล็กและน้ำหนักเบาเหมือนเดิมนั่นเอง

แต่อย่างน้อยด้วยความที่เป็นกันสั่นในบอดี้ ถือว่ายังใช้ร่วมกับเลนส์ที่ไม่มีกันสั่นแล้วยังใช้งานกันสั่นได้ ดีกว่าไม่มีเลยครับ

สรุปรีวิว Sony A6600

กล้องอย่าง Sony A6600 ผมกล้าพูดได้เต็มปากว่าเป็นกล้องที่สามารถใช้งานกันอย่างมืออาชีพได้เลยทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ ถือว่าเป็นกล้องตัวหนึ่งที่เป็นตัวจบได้เลยสำหรับคนที่อยากได้กล้องที่ทำได้ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ ในส่วนของการสรุปรีวิว A6600 นี้ผมจะสรุปให้เป็นข้อ ๆ ทั้งในข้อดี และข้อสังเกตเช่นเดิมครับ

ข้อดี

  • ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาง่าย
  • แบตอึด
  • โฟกัสเร็ว
  • สกินโทนพัฒนาขึ้น

ข้อสังเกต

  • จอพลิกขึ้นบนถ้าใส่ไมค์บังจอ ต้องหาอุปกรณ์เสริมมาใส่เพื่อย้ายไมค์ไปข้าง ๆ
  • จอทัชสกรีนไม่เต็มระบบ สามารถทัชเลือกดฟกัสได้ แต่ทัชในเมนูได้
  • กันสั่นยังไม่ไม่ว้าว ยังด้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เหมือนเดิมใน A6500 แต่ก็ยังดีที่เป็นกันสั่นในบอดี้ เพราะใช้กับเลนส์ไม่มีกันสั่นได้

Leave a Reply