ครั้งแรกในไทย รีวิว Canon PowerShot G11 ตัวเป็นๆ Leave a comment

รีวิว Canon PowerShot G11 ครั้งแรกในไทย!

ครั้งแรกในไทย รีวิว Canon PowerShot G11 ตัวเป็นๆ

กล้องดิจิตอลตระกูล G เป็นรุ่นท็อปของกล้องคอมแพคทั้งหมดของ Canon, เมื่อ G11 เปิดตัวก็เป็นที่พูดถึงมากเพราะเป็นกล้องรุ่นแรก (ผมว่าน่าจะของโลกก็ว่่าได้นะ) ที่เปิดตัวมาแทนรุ่นก่อนด้วยความละเอียดต่ำกว่ากล้องรุ่นก่อน จาก 14.7ล้านพิกเซลใน G10 เหลือ 10 ล้านพิกเซลใน G11 อาจเป็นเพราะแคนนอนมองว่าผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจในเรื่องคุณภาพของภาพมากกว่าเรื่องพิกเซล

[บทความทุกบทความภายใน www.zoomcamera.net ยินดีและสนับสนุนให้เผยแพร่ครับ แต่รบกวนอ้างอิงที่มากลับมาที่เราด้วยครับ อุตส่าห์นั่งโม้ให้ฟังกันครับ -_-“]

Powershot G11 – คุณสมบัติทางเทคนิค

 Canon G11 มีคุณสมบัติอย่างละเอียดตามตารางนี้ (ถ้าตาลายก็ข้ามไปเลยก็ได้ครับ) 

  Canon PowerShot G11
Sensor • 1/1.7″ Type CCD
• 10 million effective pixels
Image sizes • 3648 x 2736
• 3648 x 2048
• 2816 x 2112
• 2272 x 1704
• 1600 x 1200
• 640 x 480
• 320 x 240
Movie clips • 640 x 480 @ 30fps
• 320 x 240 @ 30fps
Maximum clip length Up to 4GB or 1 hour
File formats • Still: JPEG (Exif v2.2), RAW
• Movie: MOV [H.264 + Linear PCM (monaural)]
Lens • 28-140mm (35mm equiv)
• f = 6.1 – 30.5 mm
• 5x optical zoom
• F2.8-4.5
• Construction: 11 elements in 9 groups (1 double-sided aspherical element)
Image stabilization Yes (Lens-Shift)
Conversion lenses Yes
Digital zoom up to 4x
Focus • Auto focus :TTL
– Face Detection / 9-point AiAF
– 1-point AF (center or Face Select and Track)
– Fixed centre or Face Select and Track
• Manual focus
AF modes • Single
• Continuous
• Servo AF/AE
AF lock Yes (on/off selectable)
AF assist lamp Yes
Focus distance Closest focus distance 1 cm
Metering • Evaluative (linked to Face Detection AF frame)
• Center-weighted average
• Spot (center or linked to Face Detection)
ISO sensitivity • Auto
• ISO 80
• ISO 100
• ISO 200
• ISO 400
• ISO 800
• ISO 1600
• ISO 3200
AE lock Yes
Exposure compensation +/- 2EV in 1/3 stop increments
Shutter speed • Auto (1 – 1/4000 sec)
• 15-1/4000 sec
Modes • Auto
• Program AE
• Shutter Priority AE
• Aperture Priority AE
• Manual
• Custom (2 modes)
• Special Scene
• Stitch Assist
• Low Light
• Quick Shot
• Movie
Scene modes • Portrait
• Landscape
• Night Scene
• Sports
• Night Snapshot
• Kids & Pets
• Indoor
• Sunset
• Foliage
• Snow
• Beach
• Fireworks
• Aquarium
• Underwater
• Color Accent
• Color Swap
• Stitch Assist
White balance • Auto (including Face Detection WB)
• Daylight
• Cloudy
• Tungsten
• Fluorescent
• Fluorescent H
• Flash
• Custom1
• Custom2
• Underwater
• White Balance Correction
Self timer • 2 or 10 sec
• Custom or FaceSelf Timer
Continuous shooting • Approx. 1.1 shots/sec.
• AF: Approx. 0.7 shots/sec.
• LV: Approx. 0.8 shots/sec. (until memory card becomes full)
Image parameters My Colors (My Colors Off, Vivid, Neutral, Sepia, Black & White, Positive Film, Lighter Skin Tone, Darker Skin Tone, Vivid Blue, Vivid Green, Vivid Red, Custom Color)
Flash • Auto, Flash On, Flash Off, Slow Sync, Red-eye reduction
• Slow Sync Speed : Fastest speed 1/2000 sec
• +/- 2EV in 1/3 stop increments
• Face Detection FE compensation
• Safety FE
• Flash exposure lock
• Manual Power Adjustment
• Second Curtain Sync
• Range (Auto ISO):50cm – 7.0m (wide) / 4.0m (tele)
External Flash E-TTL with EX series Speedlites, Macro Twin Lite MT-24EX, Macro Ring Lite MR-14EX, Canon High Power Flash HF-DC1
Viewfinder Real-image zoom, Optical Viewfinder
LCD monitor • 2.8 inch Vari-angle PureColor II VA (TFT)
• 461,000 pixels
• 100% coverage
• Adjustable
Connectivity • USB 2.0 Hi-Speed
• HDMI mini connector
• AV out (PAL / NTSC switchable)
Print compliance PictBridge
Storage SD, SDHC, MMC, MMCplus, HC MMCplus
Power Rechargeable Li-ion Battery NB-7L
Weight (no batt) 355 g
Dimensions 112 x 76 x 48 mm

ในส่วนของสเปก หากเปรียบเทียบกับ G10 แล้ว มีส่วนที่เปลี่ยนแปลงดังนี้
เซ็นเซอร์รับภาพ: G11 ใช้ CCD ขนาดเท่าเดิม 1/1.7″ แต่ลดความละเอียดลงเหลือ 10 megapixel ซึ่งแคนนอนระบุว่าเป็น High Sensitivity CCD หากดูแค่นี้ก็พอจะคาดหวังได้ว่าคุณภาพไฟล์ภาพน่าจะดีขึ้น เพราะใช้จำนวน pixel น้อยลงอยู่บนขนาดของ CCD ที่ใหญ่เท่าเดิม ยังไงคงต้องรอดูผลทดสอบประกอบ
ISO สูงสุด: เพิ่มเป็น 3200 จาก 1600 ก็น่าจะเป็นผลโดยตรงจากการใช้ลดความละเอียด ทำให้ใช้ ISO ที่สูงขึ้นได้
แฟลชในตัว: เพิ่มระยะจาก 4.6m เป็น 7m ใน G11 อันนี้มีประโยชน์มาก ระยะเพิ่มขึ้นมาใกล้เคียงกับกล้อง Superzoom เพราะปกติแฟลชในตัวของกล้องคอมแพคตัวเล็กมักจะค่อนข้าง under และยังเพิ่ม sync speed จากเดิม 1/500 เป็น 1/2000 วินาที ทำให้ใช้แฟลชกับความไวชัตเตอร์สูงๆได้
ถ่ายภาพต่อเนื่อง: G11 สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงขึ้นจาก 0.7fps เป็น 1.1 ภาพต่อวินาที แต่ก็ยังไม่สูงมากเมื่อเทียบกล้องอื่นๆ
Video/HDMI: G11 เพิ่มการรองรับการเชื่อมต่อแบบ HDMI แต่ความละเอียดสูงสุดของไฟล์วีดีโอก็ยังคงเป็น 640×480 @30fps เท่าเดิม ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่ทำเป็น HD ในเมื่อกล้องคอมแพคตัวเล็กๆ อย่าง IXUS (IXY) รุ่นใหม่ๆ ก็ยังออกมาเป็น HD เลย
จอภาพ: G11 ใช้จอภาพขนาดเล็กลงนิดหน่อยจาก 3″ เป็น 2.8″ แต่เปลี่ยนเป็นจอแบบหมุนพับได้ ขนาดที่เล็กลงไม่น่าจะมีผลเท่าไหร่ แต่จอหมุนได้จะทำให้ใช้งานได้หลากหลายกว่ามาก
น้ำหนัก ขนาด: น้ำหนักรวมแบตประมาณ 375g เบาลงนิดหน่อย โดยที่ขนาดรูปร่างใกล้เคียงรุ่นเดิม ใช้งานจริงไม่มีผลอะไร

Powershot G11 – การออกแบบ ขนาด รูปร่าง

G11 มีขนาด รูปร่าง การออกแบบแทบจะเหมือนกับ G10 เนื่องจาก G11 เป็นรุ่นท็อป บอดี้มีการออกแบบมาอย่างดี ให้ความรู้สึกแข็งแรง ปุ่มสำหรับปรับค่าต่างๆก็มีให้พร้อมบนตัวกล้อง ไม่ว่าจะเป็นเลือกจุดโฟกัส โหมดวัดแสง ล็อคความจำแสง ปรับชดเชยแสง และปรับ ISO ทุกปุ่มตอบสนองดี แข็งแรง
เรื่องของขนาด หากจะมองเป็นกล้องคอมแพค ก็ต้องถือว่ายังค่อนข้างใหญ่ไปนิด แต่คาดว่าผู้ที่ใช้ G11 ส่วนมากคงไม่รู้สึกเป็นปัญหาเท่าใด เพราะ G11 วางตำแหน่งชัดเจนว่าไม่ใช่กล้อง Ultra-Compact ขนาดบางเฉียบ เช่นเดียวกับตระกูล G ทุกตัวที่ผ่านมา และคุณภาพกับการใช้งานระดับสูงขึ้นมาก็เป็นอะไรที่กล้องตัวเล็กๆให้ไม่ได้

Powershot G11 – การใช้งาน

การควบคุม: การใช้งานสะดวกมาก ปรับค่าต่างๆได้สะดวกรวมเร็ว จะมีติดขัดบ้างก็ตรงปุ่มหมุนด้านหลังที่ใช้นิ้วโป้งปรับค่าหรือเลื่อนเมนูขึ้นลง เวลาหมุนนิ้วอาจจะโดนขอบจอบ้างเช่นเดียวกับ G10 เพราะปุ่มอยู่ใกล้จอมาก และขอบจอจะนูนขึ้นมา แต่ถ้าใช้งานถนัดแล้วก็คงไม่เป็นปัญหา มีประเด็นหนึ่งที่รู้สึกว่าด้อยกว่า G10 คือส่วนของมือจับหรือกริปที่ด้านหน้าของ G11 จะมีความชันและนูนน้อยกว่า G10 ทำให้เวลาถือมือเดียวจะรู้สึกไม่มั่นคงบ้าง ต้องหนีบแน่นๆ

จอ LCD: จอ G11 ขนาด 2.8 นิ้ว ถึงจะเล็กกว่ารุ่นเดิมนิดหน่อย แต่เวลาใช้งานก็ถือว่าใหญ่เพียงพอ เท่าที่ทดลอง จอภาพสว่าง สีสันสดใส มุมมองกว้าง มองจากด้านข้างๆ หรือบนล่างก็ยังเห็นภาพชัดเจน ใช้งานกลางแจ้งก็ไม่พบปัญหาเนื่องจากจอสว่างเพียงพอ และยังมีแสงสะท้อนบนจอค่อนข้างน้อย โดยรวมคุณภาพพอๆกับ G10 แต่ที่แตกต่างคือ การใช้งานในที่มืด G11 ถือว่าดีมาก สัญญาณรบกวนบนจอมีน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ G10 หรือกล้องอื่นๆจะเห็นได้ชัด 

การถ่ายภาพ: ในการใช้งานจริง ผมค่อนข้างประทับใจกว่าที่คาดไว้ ตอนแรกไม่คิดว่าถ้าจะมีอะไรดีกว่ารุ่นเก่า ถ้ามีก็คงเป็นเรื่อง noise หรือคุณภาพของภาพเท่านั้น แต่พบว่าการใช้งานในโหมดออโต้ฉลาดมาก เนื่องจากในกล้อง Canon รุ่นใหม่ๆ โหมดออโต้จะมีความสามารถในการเลือกซีนหรือโหมดให้โดยอัตโนมัติ (เหมือนกล้อง Panasonic โหมด iA) จากการทดลองแทบไม่เจอความผิดพลาดเลย ถ่ายย้อนแสงก็เปลี่ยนให้ ขยับกล้องไปใกล้ๆวัตถุมากๆก็ยังโฟกัสได้ชัด ถ่ายที่แสงน้อยก็ปรับค่าต่างๆได้อย่างเหมาะสม ทั้งหมดนี้โดยไม่ต้องปรับอะไรทั้งสิ้น สำหรับการใช้งานแบบออโต้จะพบความฉลาดที่แตกต่างจาก G10 ชัดเจน อีกประเด็นคือ G11 มีการเปลี่ยน interface ในเมนู ทำให้ใช้งานง่ายขึ้น ตัวหนังสือใหญ่ขึ้น และมีข้อความแนะนำทุกครั้งที่เลื่อนไปแต่ละเมนู แต่สำหรับรุ่นประกันร้านหรือโมเดลของญี่ปุ่น จะมีแต่ภาษาอังกฤษกับญี่ปุ่น ถ้าเป็นประกันศูนย์ก็ต้องรอดูครับ น่าจะมีภาษาไทย

เลนส์: ช่วงซูม 28-140mm (5X) ของ G11 ถือว่าไม่ได้มาก แต่ก็พอสำหรับการใช้งานทั่วๆไป การซูมและโฟกัสก็ทำได้เงียบและเร็วตามมาตรฐาน Canon ไม่ได้แตกต่างจากรุ่นเก่านัก

ก

Wide @ 28mm (1X Zoom)

Tele @ 140mm (5X Zoom)

Powershot G11 – คุณภาพของภาพถ่าย

G11 – Outdoor Photography Test:

คุณภาพของภาพถ่ายกลางแจ้ง การทดสอบในโหมดอัตโนมัติไม่พบปัญหาอะไร กล้องสามารถปรับค่าต่างๆได้อย่างเหมาะสม ในส่วนที่ย้อนแสงหากตั้งค่า i-Contrast เป็น Auto กล้องจะดึงรายละเอียดส่วนมืดออกมาได้ดีขึ้น สังเกตุจากภาพตัวอย่างส่วนมืดเช่นเงาใต้รางรถไฟฟ้าและบริเวณผนังสีฟ้าของตัวสถานีจะสว่างและมีรายละเอียดมากขึ้นโดยที่ส่วนสว่างของภาพยังคงโทนสีเดิม

i-Contrast Off

i-Contrast Auto

เมื่อตัดภาพ 100% ของบริเวณกลางภาพมาดู ไม่พบปัญหาอะไรชัดเจน สีสันถูกต้อง ไม่พบปัญหาขอบม่วง ความคมชัดจัดอยู่ในระดับดี

(auto, 1/1600s, f/4, iso 160)

เมื่อซูมจนเต็มที่ 5X หรือ 140mm พบว่าความคมชัดยังดีอยู่และถ่ายทอดรายละเอียดได้ครบถ้วน สังเกตุจากรอยขรุขระของผิวระเบียงและคราบเปื้อนตามระเบียง

ภาพที่ซูม 5X (auto, f/4.5, 1/1600s, iso 80)

100% crop บริเวณกลางภาพ

ในภาพที่มี contrast จัดมากๆ เช่นภาพข้างล่างนี้ ขณะที่ส่วนมืดเป็นพื้นที่ส่วนมากของภาพ เราจะเห็นว่า G11 ยังคงถ่ายทอดรายละเอียดส่วนสว่างได้ดี โดยตึกด้านหลังยังคงมองเห็นรายละเอียดและสีสัน ไม่ได้ขาวโพลนจนเกินไป แต่ในภาพตัด 100% อีกภาพ เราพบ Chromatic Aberation (ความผิดเพี้ยนของสี) หรือที่เรียกว่า Purple Fringing (ขอบม่วง) ซึ่งพบได้ในภาพที่ถ่ายย้อนแสงและมีส่วนมืดและสว่างแตกต่างกันมากๆ แต่จากหลายๆภาพรวมถึงภาพนี้ด้วย เราพบปัญหานี้ค่อนข้างน้อย หากเทียบกับกล้องคอมแพครุ่นอื่นๆน่าจะเห็นเยอะกว่านี้

auto, f/4, 1/125s, iso 160

รายละเอียดส่วนสว่าง

ขอบม่วงที่พบ

G11 – Low-Light Photography Test:

ในที่แสงน้อย G11 มีความฉลาดพอ เมื่อใช้โหมดออโต้ถ่ายภาพวิวกลางคืนที่ค่อนข้างมืดโดยไม่เปิดแฟลช กล้องใช้ ISO ถึง 1600 ที่ความไวชัตเตอร์ 1/10s ซึ่งยังพอถือกล้องด้วยมือได้เพราะมีระบบ IS ลดความสั่นไหวช่วย และคุณภาพที่ ISO 1600 ก็จัดอยู่ในขั้นน่าพอใจมาก ไม่มีปัญหาเรื่อง noise จนถึงขั้นใช้งานไม่ได้ เมื่อเทียบกับ G10 ที่สภาพแวดล้อมเดียวกัน กล้องใช้ ISO แค่ 400 ทำให้ภาพค่อนข้างมืด และหากตั้ง ISO ไปที่ 1600 ภาพจะสว่างใกล้เคียงกัน แต่พบ noise ชัดเจนมาก

G11: full auto (1/10s, f/2.8, iso 1600)

G10: full auto (1/8s, f/2.8, iso 400)

G10: auto+manual iso (1/10s, f/2.8, iso 1600)

มีจุดน่าสังเกตุคือ พบปัญหา white balance ในโหมดออโต้ของ G11 ทำงานผิดเพี้ยนบ้าง โดยเฉพาะภาพที่มีแหล่งกำเนิดแสงหลายแบบ เช่นในรูป ที่รถตู้ควรจะเป็นสีขาวไม่ใช่สีอมฟ้า ในขณะที่ G10 กล้องสามารถปรับ white balance ได้อย่างเหมาะสม

G11 – Noise Test:

มาถึงเรื่องที่รอคอย เพราะ G11 เปิดตัวมาด้วยความละเอียดที่ต่ำลงและเน้นคอนเซ็ปท์เรื่อง noise ที่ควรจะลดลงแบบเห็นได้ชัด หากจะให้เห็นภาพ ต้องเปรียบเทียบกับกล้องรุ่นใกล้เคียงกัน ก็คือ G10 ที่ค่า ISO ต่างๆตามภาพ

G11: ISO 800

G10: ISO 800

G11: ISO 1600

G10: ISO 1600

G11: ISO 3200

ดูภาพแล้วคงไม่ต้องอธิบาย เป็นไปอย่างที่ Canon โม้ไว้จริงๆ หากดูดีๆจะพบว่า G11 ที่ ISO3200 ยังให้คุณภาพดีกว่า G10 ที่ 800 ซะอีก ทั้งหมดนี้น่าจะมาจากเหตุผลเรื่องความละเอียดที่ลดลงทำให้ความหนาแน่นของแต่ละพิกเซลลดลงและสัญญาณรบกวนต่ำลง อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะมาจาก CCD ตัวใหม่ที่ Canon เรียกว่า High Sensitivity CCD

ทีนี้ลองมาดู noise ในสถานการณ์จริงบ้าง ว่าจะแตกต่างกันหรือไม่ โดยจะใช้ภาพถ่ายกลางคืนเป็นตัวอย่าง เพราะเป็นสถานการณ์ที่จะเห็น noise ได้ชัดเจนที่สุด

G11: 1/30s, f/3.5, iso 800

G10: 1/30s, f/3.5, iso 800

G11: 100% crop บริเวณกลางภาพ

G10: 100% crop บริเวณกลางภาพ

ภาพตัวอย่างคงยืนยันได้ชัดเจน ว่า G11 โดดเด่นมากในเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพ โดยเฉพาะการถ่ายในที่แสงน้อยหรือใช้ ISO สูงๆ

Powershot G11 – สรุปผลการทดสอบ

 ข้อดี
+ การออกแบบ การประกอบและวัสดุดีมาก ให้ความรู้สึกแข็งแรง หนักแน่น
+ ความฉลาดในโหมดออโต้ มั่นใจได้เลยว่าส่งกล้องให้ใครถ่ายก็ไม่มีปัญหาหน้ามืด เบลอ และอื่นๆ
+ noise หรือสัญญาณรบกวนที่ ISO สูงๆ ต่ำมากๆ โดยที่รายละเอียดของภาพยังคงอยู่ บางคนอาจจะว่าเว่อร์แต่มันใกล้เคียง SLR มากจริงๆนะ
+ คุณภาพรูปและ Dynamic Range ดี ความผิดเพี้ยนของสี เช่น Purple Fringing(ขอบม่วง)น้อยมาก
+ มีทุกฟังก์ชั่น ใช้งานได้ตั้งแต่ออโต้แบบเด็กยังถ่ายสวยจนถึงแมนนวลเต็มรูปแบบ

 ข้อด้อย
– รูปร่างที่ค่อนข้างแบน และกริปหรือมือจับที่เล็ก ทำให้จับไม่ค่อยถนัด อาจจะลำบากบ้าง ถ้าต้องปรับค่าต่างๆบนตัวกล้องอยู่บ่อยๆ
– ถ่ายภาพต่อเนื่องยังคงช้าอยู่ กล้องคอมแพครุ่นเล็กๆบางรุ่นยังไปถึง 2-3 fps แล้ว
– การบันทึกวีดีโอ ยังคงไม่มีความละเอียดระดับ HD ถึงแม้จะมีช่องต่อ HDMI มาก็ถาม ทั้งๆที่กล้องคอมแพครุ่นใหม่ๆของ Canon เองก็มีความละเอียดแบบ HD แล้วทั้งนั้น
– White Balance แบบ Auto ยังมีความผิดพลาดบ้าง G10 รุ่นเก่ายังแม่นกว่า โดยเฉพาะภายใต้สภาพแสงที่มีแหล่งกำเนิดหลากหลาย
– ราคาที่เปิดตัวมาของญี่ปุ่นเกือบจะขยับไปเล่น DSLR ได้แล้ว แต่ราคาศูนย์ยังไม่รู้ (2 ตค 52)

คู่แข่งทางตรงของ PowerShot G11

เดิมที Canon G10 มีคู่แข่งหลักๆ ที่คุณภาพและฟังก์ชั่นสูสีกันอยู่เพียงแค่ Ricoh GX200 และ Panasonic DMC-LX3 ซึ่งหากเทียบกับรุ่นใหม่อย่าง Canon Powershot G11 แล้วก็ยังไม่มีรุ่นไหนมีรุ่นใหม่ออกมาทดแทนเลย ที่เห็นจะมีใกล้เคียงอีกรุ่นหนึ่งก็คงจะเป็น Powershot S90 ของแคนนอนด้วยกันเองที่กำลังจะวางขายตามกันมา แต่ S90 จะมาในรูปแบบกล้องที่เล็กกว่าโดยที่สเปกสูสีกัน เพียงแต่จะไม่ได้มีปุ่มปรับค่าต่างๆมาให้มากเหมือน G11 คือวางตำแหน่งไว้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวกในการพกพาและไม่ได้ปรับค่าต่างๆบ่อยมากนักหรือไม่ค่อยเล่นแบบแมนนวล

Canon Powershot G11

จริงอยู่ ว่าค่อนข้างประทับใจกับ G11 มากกว่าที่คาดไว้ คุณภาพแทบทุกด้านไม่มีอะไรผิดหวังเลย แต่ถ้ามองความคุ้มสำหรับคนที่คิดจะมีกล้องไว้แค่ตัวเดียวและต้องการเล่นแบบก้าวหน้า ราคา G11 (ช่วงเปิดตัว) ก็สามารถสอย DSLR ได้แล้ว G11 จึงน่าจะเหมาะสำหรับคนที่มีกล้อง DSLR อยู่แล้วแต่ต้องการความคล่องตัวที่คุณภาพพอจะทดแทนได้ หรือสำหรับคนที่อยากเล่นกล้องดีๆ แบบลึกๆหน่อย แต่ไม่ได้คิดจะไปไกลถึง DSLR

การออกแบบ/ความแข็งแรง (Design/Built Quality)
คุณภาพไฟล์ภาพ (Image Quality)
การใช้งาน (Operation)
คุณสมบัติ (Features)
จอภาพ (LCD)
ความคุ้มราคา (Value for money)

[บทความทุกบทความภายใน www.zoomcamera.net ยินดีและสนับสนุนให้เผยแพร่ครับ แต่รบกวนอ้างอิงที่มากลับมาที่เราด้วยครับ อุตส่าห์นั่งโม้ให้ฟังกันครับ -_-“]

บทควานี้เขียนเมื่อวันที่ 08/09/2011

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save