รีวิว จับ Olympus OM-D E-M1 Mark II ไปถ่าย Sport ทดสอบโฟกัส Tracking Leave a comment

มาอีกแล้ว พบเจอกันอีกครั้งกับการรีวิว Performance กล้องความเร็วสูง และเป็นกล้องMirrorlessที่ถูกพูดถึงมากที่สุดตัวหนึี่ง นั่นคือ Olympus OMD E-M1 Mark II คราวนี้เราได้โอกาสนำเจ้ากล้องตัวนี้ ไปลองถ่าย Sport ดูครับว่าจะเป็นยังไง ระบบโฟกัสTracking และจุดโฟกัสที่เพิ่มเข้ามารวมแล้ว 121 จุด ซึ่งเป็น Cross-type ทั้งหมด จะโฟกัสเร็ว และโฟกัสแม่นยำ แค่ไหน รวมทั้งการถ่ายภาพต่อเนื่อง 15 fps (Mechanical Shutter) จะเอาอยู่หรือไม่ ด้วยความที่เป็นกล้องความเร็วสูง เราเลยเอาไปถ่ายกีฬาซะเลยครับ จะมีอะไรที่เหมาะกว่านี้อีกล่ะครับ บอกก่อนเลยว่าบทความนี้มีรีวิวให้ดูทั้ง วิดิโอ และ ภาพนิ่ง ครับผม

ก่อนจะเข้าเนื้อหา ใครสนใจเจ้า E-M1 Mark II สามารถติดตามอ่านรีวิวและข่าวอื่นๆกันได้ที่นี่เลยครับ

ระบบโฟกัส Tracking ใน Olympus OMD E-M1 Mark II

ก่อนอื่นขอแนะนำระบบโฟกัสแบบ Continuous AF Tracking แบบใหม่ใน E-M1 Mark II กันซะก่อน

Focus Area เลือกพื้นที่ตามใจชอบ

เริ่มจากการเลือก Focus Area หรือจุดโฟกัส สามารถเลือกได้ 4 แบบ คือเลือกทั้งหมด 121 จุด หรือจะเลือกเป็น Zone 9 จุด, 5 จุด หรือกระทั่งจุดเดียวเล็กๆก็ยังได้ โดยสามารถใช้นิ้วสัมผัสหน้าจอลากตำแหน่งโฟกัสไปวางได้ทั้งจอ

การเลือกใช้กรอบแบบไหนขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุที่เราจะติดตามรวมทั้งลักษณะสภาพแวดล้อมด้วย ภาพที่ถ่ายมาเกือบทั้งหมดในการทดสอบรอบนี้จะใช้แบบเต็มพื้นที่ 121 จุด ซึ่งกรอบโฟกัสจะวิ่งพล่านตามวัตถุกันเลยทีเดียว แต่จะมีข้อเสียคือกล้องอาจจะไปจับโฟกัสจุดอื่นๆได้ถ้าในเฟรมมี subject หลายอย่างตัดกันไปมา อย่างที่จะได้เห็นในการทดสอบ บางครั้งก็วิ่งไปจับที่อื่น การใช้กรอบโฟกัสแบบนี้จึงจะเหมาะกับเฟรมที่มีองค์ประกอบโล่ง และมี subject เด่นๆเคลื่อนไหว เช่น นกบนฟ้า

ส่วนกรอบโฟกัสแบบเป็นพื้นที่เล็ก เช่น 9, 5, 1 จุด ถ้าวัตถุยังเคลื่อนในกรอบมันจะเลือกจุดที่อยู่ในกรอบให้เราเอง แต่ถ้าจะหลุดจากนั้นเราก็ต้องแพนตามวัตถุไป อาจต้องอาศัยทักษะการแพนบ้าง แต่จากที่ทดลองพบว่ากรอบแบบ 9 จุดและ 5 จุดมันเจ๋งมาก โฟกัสได้แทบไม่มีหลุดเลย

AF Limiter บังคับก็อยากให้วิ่งโฟกัสในช่วงระยะไหน

นอกจากกรอบโฟกัสแล้ว Olympus E-M1 Mark II ยังสามารถปรับตั้งระยะการทำงานของออโต้โฟกัสได้ด้วย เช่น ให้วิ่งหาโฟกัสแค่ในระยะ 10-50 เมตรเท่านั้น บางท่านอาจเคยเห็นการเซ็ตแบบนี้ที่ตัวเลนส์มาบ้าง เช่นเซ็ตว่าจะให้โฟกัส 30cm-3m หรือตั้งแต่ 3m-อนันต์ เลือกได้แค่ 2 ช่วง แต่สำหรับ E-M1 Mark II เซ็ตในกล้องได้ถึงหน่วยเซ็นติเมตรกันเลย การเซ็ตแบบนี้มีประโยชน์มากๆถ้าเรารู้ระยะทำงานที่แน่นอนของเรา ทำให้แทบจะไม่มีโอกาสหลุดโฟกัสเลย แล้วก็ยังเหมาะกับการใช้ระบบโฟกัสแบบเต็มพื้นที่ 121 จุดด้วย เพราะจะไม่พลาดวืดวาดวิ่งไปโฟกัสที่ฉากหลัง

อยากได้ tracking หนึบๆหรือไวปรุ๊ดปร๊าดก็เลือกได้

ตัวสำคัญตัวสุดท้ายคือการตั้งค่า C-AF Lock ว่าเราอยากให้ระบบ focus tracking ทำงานไวๆเหมาะสำหรับการจับภาพวัตถุที่เคลื่อนที่หลากหลายทิศทางความเร็วสูงๆ หรือจะให้เกาะติดแบบหนึบๆสำหรับวัถตุที่เราพอจะประเมินทิศทางและความเร็วได้ ระบบแบบนี้คล้ายๆกับที่เพิ่มมาใน Fujifilm X-T2 เลย แต่การเซ็ตของ E-M1 Mark II จะเซ็ตเป็นค่า -2 ถึง +2 โดยค่า -2 คือ tight หรือหนึบที่สุด และ +2 คือ loose คือไวสุด

ก่อนจะไปดูการทดสอบ เราสารภาพกันตามตรงว่าไอ้ตอนที่เราเอาไปเทสกัน เราก็ยังไม่ได้เจาะลึกเรื่องระบบโฟกัสแบบใหม่มาก่อนเท่าไหร่ ไม่ได้เซ็ต AF limit หรือค่าอื่นๆไว้เลย ก็เลยไปถ่ายกันแบบค่า default ของเครื่องซะงั้น

พร้อมแล้วก็ต้องลองกับ Staff ก่อนเลย ฮ่า ๆ การเทสชุดนี้คือการเทสโดยการให้ Staff ของเราครับว่ิ่งวนเป็นเลข 8 ครับ เพื่อจะทดสอบว่าระบบโฟกัส Tracking ว่าเร็ว หรือเหนียวหนึบแค่ไหนครับ

วิดีโอตัวอย่าง

จากวีดีโอจะเห็นว่าพอวิ่งเข้ามาใกล้เราก็มีการ zoom out ออกพอเริ่มไปไกลเราก็ zoom in กันเข้ามาหน่อย เพื่อให้ได้ภาพขนาดคงที่ ซึ่งการซูมขณะที่ถ่ายต่อเนื่องและ Focus tracking ทำให้กล้องต้องปรับโฟกัสตามระยะซูมด้วยนอกเหนือจากระยะวัตถุที่วิ่งเข้าออก

เรามาดูภาพที่ได้จากกล้องที่ถ่ายในวิดีโอเมื่อสักครู่กันนะครับ จะเห็นว่าในช่วงท้ายๆโฟกัสเริ่มหลุดไปเพราะเราตั้งพื้นที่ไว้ทั้ง 121 จุดทั่วจอ มันเลยมีโอกาสหลุดไปหาวัตถุอื่นๆที่เคลื่อนไหวได้ ถ้าให้ชัวร์กว่านี้ใช้เป็นโฟกัส 9 จุดจะเข้าเป้ามากกว่านี้แน่ๆครับ

จับ Olympus OMD E-M1 Mark II มาถ่ายSport กัน

ที่นี้ก็มาถึงคราวการลองถ่ายจริงครับว่าเจ้า Olympus OMD E-M1 Mark II และระบบโฟกัสTracking จะเอาอยู่มั้ยครับ มาเริ่มกันเลยจ้า

สัญลักษณ์แทนการโฟกัสเข้าหรือไม่เข้า

เริ่มต้นด้วยภาพตัวอย่างแรกครับ

ภาพชุดแรกเป็นชุดที่มีหลุดบ้างครับ เหมือนกล้องจะไปโฟกัสผู้เล่นอีกคนหนึ่งที่อยู่ด้านหลังแต่สักพักก็กลับมาโฟกัสเข้าตามปกติครับผม ภาพไม่เข้าสีแดงอาจจะเตะตาหน่อย แต่โดยรวมเมื่อนับภาพที่เข้านี่เยอะกว่ามากครับผม

ภาพที่เลือกครับผม

ต่อด้วยภาพตัวอย่างชุดที่สองครับ

ภาพชุดที่สองนี่ค่อนข้างว้าวเลยครับ เพราะดูจากภาพเองจะเห็นได้ว่ามีหลายอย่างที่กวนเข้ามาในภาพ เช่น ตาขาย ผู้รักษาประตู ยิ่งช่วงหลัง ๆ จะมีเสาที่เข้ามาบังตัวแบบที่ผมจะถ่ายเต็ม ๆ แต่การโฟกัสที่ได้ก็ยังแม่นยำอยู่ครับ

ภาพที่เลือกครับผม

ภาพตัวอย่างชุดที่ 3 ครับ

เป็นจังหวะที่ผู้เล่นในภาพวิ่ง Sprint กระชากบอลครับ ดูจากอาการของแบบก็น่าจะรู้ครับว่าวิ่งสุดกำลังแน่นอน ค่อนข้างเร็ว ตอนแรกก็เข้าอยู่ครับ แต่เมื่อเจอกับคนที่อยู่ข้างหลังฝั่งขวาของภาพก็หลุดเลยครับ ฮ่า ๆ

 บทสรุป

เท่าที่ได้ลองจับไม่นาน มีเวลาเทสค่อนข้างจำกัด ก็เอาออกไปลองถ่าย Sport กันเลย แต่ถือว่าด้วยเมนูหรือการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ของกล้องก็ไม่ได้ยากครับ เข้าใจง่ายตามสไตล์โอลิมปัส (แต่แอบขัดใจกับเมนูแบบใหม่นิดหน่อยที่เอาสีสันออกไปเหลือแค่ขาว-ดำ) และบวกกับที่มันเป็นกล้อง Mirrorless ขนาดและน้ำหนักช่วยได้เยอะครับ ตัวกล้อง Olympus OMD E-M1 Mark II เป็นกล้องความเร็วสูง เมื่อถ่ายกีฬาหรืออะไรที่เคลื่อนไหวตลอดเราต้องถ่ายต่อเนื่องเยอะครับ ถ้าใครอยากได้ไฟล์ Raw คุณภาพดีหน่อยก็ควรจะมีการ์ดที่เร็วมากหน่อยครับ บวกกับจำนวนความจุก็ต้องเยอะขึ้นด้วยครับ มาพูดถึงเรื่องความรวดเร็วของการโฟกัสแบบ Tracking กันบ้างโดยรวมผมถือว่าทำได้ดีครับ อาจจะมีหลุดบ้างครับ แต่ส่วนใหญ่ก็โอเคเข้าเป้า จะมีหลุดหน่อยก็ตอนที่เราซูมเข้าซูมออกด้วย เพราะกล้องต้องรีโฟกัสใหม่เยอะหน่อย แต่ถ้าเราจะฟิกระยะไว้ก็ถือว่าแม่นยำมากขึ้นครับ และอีกส่วนนึงที่ทำให้แม่นยำมากขึ้นคือการ Setting ระบบโฟกัสให้เหมาะสมกับสิ่งที่ถ่าย เช่น การเลือก Area การเลือก Focus Limiter และการเลือกความหนึบ Loose/Tight ครับผม สำหรับผมก็ถือว่าผมโอเคกับมัน จะมีเรื่องเดียวที่รู้สึกว่าแปลก ๆ หน่อยก็ตรงที่ในการ Tracking แบบเต็มจอ เราไม่สามารถเลือกจุดที่จะให้กล้องโฟกัสได้ กล้องจะทำการเลือกจุดสนใจเองครับ ซึ่งบางครั้งก็อาจไม่ตรงกับที่เราต้องการก็เป็นได้ครับ

ขอลาไปด้วยภาพตัวอย่างที่ได้จากการรีวิวOlympus OMD E-M1 Mark II ครั้งนี้ครับผม

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 28/11/2016

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save