choose-buy-sony-a7ii-2020_zoomcamera-cover

วิเคราะห์ : Sony A7II ยังน่าใช้มั้ยในปี 2020 Leave a comment

หากจะพูดถึงตลาดกล้องในปัจจุบันโดยเฉพาะกล้อง Mirrorless ด้วยแล้วปฏิเสธไม่ได้ว่า Mirrorless Fullframe ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยกล้องรุ่นหนึ่งที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวเลือก คือ Sony A7II อดีต Flagship ที่ได้รับความนิยมนั่นเอง

อ่าน >> วิเคราะห์ Sony A7II ในปี 2018

เกร็ดเล็กน้อย

  • เปิดตัวครั้งแรก เดือนพฤศจิกายน 2014
  • ปรับเปลี่ยนดีไซน์ให้กระชับขึ้นกว่า Sony A7 Gen 1
  • เป็นครั้งแรกที่กล้อง Mirrorless Fullframe มีระบบกันสั่น 5 แกน ( 5 Axis )
  • ระบบ Focus แบบ Hybrid ( PDAF + CDAF )
  • ยังไม่รองรับ Video 4K ภายในตัวกล้อง
  • แบตเตอรี่ยังคงใช้ NP-FW50

กล้อง Mirrorless กับ สงคราม Mirrorless Fullframe

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันตลาดกล้องกำลังเข้าสู่ยุค Mirrorless อย่างเต็มตัว อันจะเห็นได้จากหลายๆค่ายต่างเริ่มผลิตกล้อง Mirrorless กันมากขึ้น รวมถึงแบรนด์อิสระที่เริ่มให้ความสำคัญและจริงจังในการออกอุปกรณ์กันอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างกล้อง Mirrorless ในระบบ Micro Fourthirds

ตัวอย่างกล้อง Mirrorless ในระบบ APS-C

ตัวอย่างกล้อง Mirrorless ในระบบ Fullframe

แม้ว่าในอดีตกล้อง Mirrorless อาจจะโดนถากถางมาบ้างว่า ไม่สามารถนำมาใช้งานจริงได้ , แบตเตอรี่น้อย หรือ คุณภาพไฟล์ยังไม่สามารถวัดคุณภาพได้ ซึ่งใน Generation แรกนั้น อาจจะไม่ผิดเท่าไรนัก เพราะมีเพียง Panasonic และ Olympus ที่ผลิตกล้องในระบบ Micro Fourthirds นั่นเอง

mirrorless micro fourthirds system

ทว่า จุดพลิกผันก็เริ่มขึ้นเมื่อแบรนด์อย่าง Sony ได้เข้าร่วมตลาดกล้อง Mirrorless ด้วยเช่นกัน เริ่มต้นด้วยการส่งกล้อง Sony NEX C3 เป็นรุ่นแรกของค่าย จนมาถึง Sony NEX 7 ที่เป็น Flagship ที่ได้รับคำติชมและถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมาก

Sony mirrorless camera e-mount

Sony A7 คือ จุดเปลี่ยนของวงการกล้อง Mirrorless ครั้งใหญ่

จากความสำเร็จของกล้อง Mirrorless ในระดับ APS-C แล้วนั้น Sony ได้ส่งไพ่ตายใหม่ในวงการกล้อง Mirrorless อย่าง Sony A7 กล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นแรกของค่าย และ ของวงการ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการพลิกหน้าวงการ Mirrorless จนมาถึงปัจจุบันนี้

Sony a7iii

การมาของ Sony A7II นับจากวันที่เปิดตัวจนถึงปัจจุบัน ถือว่าทำตลาดมาถึง 6 ปีด้วยกัน ถือว่ายาวนานพอสมควร สำหรับกล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นนี้ จากที่เคยเป็น Flagship แม้ตอนนี้จะมีข่าวคราวของ Sony A7 IV ออกมาบ้างแล้วก็ตามที

เหมาะกับผู้ใช้งานเริ่มต้น จริงหรือ ?

จริงอยู่ที่แรกเริ่ม Sony A7II ถูกวางตำแหน่งเป็นกล้องระดับ Flagship ก็ตามที แต่ด้วย Life Cycle ของตัวสินค้า ที่มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตามกาลเวลา ทำให้ปัจจุบัน Sony A7 III เป็นกล้องระดับ Flagship ในระดับ Beginner แทนนั่นเอง

ด้วยสภาพอายุของ Product ที่วางจำหน่ายมาแล้วถึง 6 ปีด้วยกัน แน่นอนว่าประสิทธิภาพในแง่ของสเปคอาจจะไม่สามารถทัดเทียมกล้อง Mirrorless ใน Generation ล่าสุดได้ แบบไม่ต้องสงสัย ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพของระบบโฟกัส อย่าง Eye AF เป็นต้น

โชคดีของเด็กยุคนี้ ที่มี Mirrorless Fullframe ให้สัมผัส

ถ้ามองมุมกลับของผู้ใช้งานกล้องระดับมือใหม่ด้วยแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ้า Sony A7 II นั้น ยังคงมอบ Output ที่เป็นทั้งไฟล์ภาพนิ่ง และ/หรือ วิดิโอ ได้อย่างลงตัว เพียงพอต่อการใช้งานในลักษณะทั่วๆไป หรือ กึ่งอาชีพ ก็ยังตอบโจทย์ได้อย่างสบายๆ

จริงอยู่ที่ฟีเจอร์ของ Sony A7 II อาจจะดูด้อยกว่ากล้อง Mirrorless ในปัจจุบัน แต่ด้วยราคาและโปรโมชั่น ที่ส่งผลให้ราคาเริ่มเข้าถึงและจับต้องได้ง่าย จึงไม่แปลกที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวเลือกสำหรับกล้องของมือใหม่ด้วยนั่นเอง

กล้องที่ใช้ง่าย ไฟล์ดี ตอบโจทย์มือใหม่

สำหรับมือใหม่แล้ว ต่อให้หยิบกล้องในระดับ Medium Format มาให้ใช้ แต่ถ้าขาดความคล่องตัว และ/หรือ การใช้งานได้ง่ายแล้ว บรรดามือใหม่ก็คงจะไม่ปลื้มเท่าไรนัก แม้กล้องรุ่นนั้นๆจะมีค่าตัวเรือนแสนก็ตามที

ถึงกระนั้น Sony A7 II แม้ว่าจะไม่ใช่กล้อง Mirrorless ที่ดูจะ Friendly ซักเท่าไรนัก ไม่ว่าจะเป็นจอ LCD ที่ออกแบบลักษณะ Tilt อีกทั้งยังไม่มีระบบ Touchscreen ผ่านหน้าจอ ที่เชื่อวาสำหรับมือใหม่แล้ว การได้ทัชสั่งการเหมือนใช้ Smartphone ดูจะเป็นอะไรที่ง่าย

แต่ด้วยการออกแบบที่มีลักษณะเป็นทรง SLR , Grip จับที่กระชับ , ช่องมองภาพแบบ EVF ที่สามารถมองเห็นค่า Setting ต่างๆ ที่จะแสดงผลทันที หรือ จะเป็นระบบกันสั่นไหวภายใน ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิให้กับงานภาพนิ่ง และ Video ได้เป็นอย่างดี

ระบบเลนส์ครบช่วง ทั้ง Auto หรือ Manual พร้อมจบทุกช่วงการใช้งาน

หากนับเฉพาะค่ายยักษ์ใหญ่ที่ร่วมตลาดกล้อง Mirrorless ด้วยกันแล้ว ( ไม่นับ Canon / Nikon นะ ) จะพบว่า Sony แทบจะเป็นรายท้ายๆที่ได้เปิดตัวกล้อง Mirrorless ในระบบ APS-C E-Mount อย่างเป็นทางการ

Review : Tamron 17-35 F2.8-4 DI OSD

https://www.youtube.com/watch?v=YDQNFFfdKSw
Tamron 17-28 F2.8 DI III

แม้ว่าในช่วงแรก กล้อง Mirrorless จาก Sony จะประสบปัญหากับเลนส์ที่มีให้เลือกค่อนข้างที่จะจำกัด แต่เมื่อกระแสความนิยมของกล้อง Mirrorless เพิ่มสูงขึ้น ก็มีจำนวนเลนส์ทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มเติม รวมถึงจากค่ายอิสระต่างๆอย่าง Sigma , Tamron ด้วยเช่นกัน

Review : Sigma 24-70 F2.8 DG DN ART FE

Sigma 24-70 F2.8 DG DN ART FE

นอกเหนือจากระบบเลนส์ที่เป็น Auto Focus แล้ว กล้อง Mirrorless ยังสนับสนุนการใช้งานเลนส์ Manual Focus หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ” เลนส์มือหมุน ” นั่นเอง ทำให้ข้อจำกัดเรื่องเลนส์นั้นถูกสยบลงทันที ประกอบกับการที่ตัวกล้องมีระบบกันสั่นด้วยนั้น ทำให้เลนส์ทุก รุ่นเมื่อนำมาติดบน Sony A7 II จะเสมือนมีกันสั่นทุกเลนส์โดยทันที

manual lense

Play memory ไม้ตายลับที่ยังอยู่กับ Gen 2

หลายๆท่านน่าจะลืมกันไปแล้ว เพราะ ปัจจุบันกระแสกล้อง Sony A7 III มาแรงจริงๆ แต่สำหรับกล้อง Gen 2 อย่าง Sony A7 II นั้น มีไม้ตายที่เชื่อว่าหลายๆท่านยังให้ความสนใจอยู่เช่นกัน นั่นคือ Sony Play memory หรือ แหล่งรวม Application เสริมประสิทธิภาพ

ฟังชื่อแล้วอาจต้องบอกว่า เป็นคนละตัวกับใน Play Store หรือ Apple Store นะครับ โดย Sony Play memory นั้น เป็น Application ที่รวบรวม Feature เสริมเพิ่มเติมสำหรับกล้อง Mirrorless E-Mount ของ Sony ซึ่งแต่ละรุ่นก็รองรับแตกต่างกันออกไป

สำหรับ Feature เสริมที่ได้รับความนิยมนั้น คงจะหนีไม่พ้น Timelapse , Smooth Reflection , Star Trail , Sky HDR หรือ Digital Filter เป็นต้น ซึ่งแม้ว่า Feature เสริมจะเสียเงินเพิ่ม แต่แลกกับการได้ Feature เข้ามาในกล้องอย่างถาวร

คู่แข่งต่างค่ายในระดับราคาเทียบเคียงกัน

ขนาดของ Sensor มีผลต่อการตัดสินใจ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ” ขนาดของ Sensor ” มีผลต่อการเลือกซื้อกล้อง Mirrorless ด้วยเช่นกัน เนื่องด้วยว่า Performance ที่เราจะได้จากภาพถ่ายนั้น หลักใหญ่ใจความอยู่ที่ Sensor ที่ใช้ , ขนาดของ Sensor รวมถึง ชิพประมวลผล ที่ส่งผลถึง Noise ภายในภาพด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง กล้อง Mirrorless ในระดับราคาที่ใกล้เคียงกัน

ซึ่งจะเห็นว่ากล้อง Mirrorless แม้จะมีราคาที่ใกล้เคียง สูสีกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ ขนาดของ Sensor นั่นเอง ซึ่งก็เป็นหัวใจหลักก่อนที่จะเข้าสู่การประมวลผลออกมาเป็นภาพนิ่งที่เราทำการกดชัตเตอร์นั่นเอง

แต่ทั้งนี้ขนาด Sensor ก็มีผลต่อขนาดของตัวกล้องด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับกล้อง Mirrorless Fullframe ที่จะเห็นว่ามีขนาดที่ใหญ่ทั้ง Body และ เลนส์ทั้งระบบด้วยเช่นกัน ส่งผลให้มีปริมาณน้ำหนักที่เพิ่มสูงตามมา แต่แลกกับ Performance ที่สูงด้วยเช่นกัน

ไฟล์ที่ยืดหยุ่นสูง ยิ่งตอบโจทย์ได้อย่างอิสระ

แต่สิ่งที่หลายๆท่านอาจจะเลือกโฟกัสแทน คือ คุณภาพไฟล์ เพราะ อย่าลืมว่า Sony A7 II นั้นเป็นกล้อง Mirrorless Fullframe ซึ่งหากลองเทียบเคียงกับคู่แข่งในระดับเดียวกัน จะพบว่า มีเพียง Mirrorless ในระบบ Micro Fourthirds และ APS-C เสียส่วนใหญ่

Fullframe ไม่ใช่ทั้งหมดของการถ่ายภาพ

ในมุมมองกลับกัน ต้องยอมรับว่า Mirrorless Fullframe อาจจะไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานในงานบางประเภทเช่นกัน อาทิเช่น การถ่าย Macro หรือ งานที่เน้นความชัดลึกเป็นพิเศษ เนื่องจาก Fullframe สามารถสร้าง Effect ได้ง่ายกว่าปกติ ทำให้กล้อง Mirrorless ในระบบ Micro Fourthirds ดูจะตอบโจทย์มากกว่านั่นเอง

EOS RP คู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อที่สุด

canon eos rp

หากพิจารณาเฉพาะเรทราคา เพื่อนๆจะพบว่า Canon EOS RP ถือเป็นกล้อง Mirrorless Fullframe ในระดับเริ่มต้นที่ถูกพูดถึงตลอดปี 2019 จนมาถึง ณ ตอนนี้ อันเนื่องมาจากราคาเปิดตัวที่ต่ำที่สุดเท่าที่กล้อง Mirrorless Fullframe เคยมีมา

ในแง่ของ Performance ถือว่าทำได้ดีใกล้เคียงกับ Sony A7 II และ อาจจะดีกว่าในบางเรื่อง อาทิเช่น

  • EOS RP ใช้ Sensor ขนาด Fullframe ความละเอียด 24 Megapixels แต่ ไม่มีระบบกันสั่นไหว
  • ความกระชับจับถือ เฉกเช่นเดียวกันกับกล้อง DSLR
  • ระบบ Focus ที่แม่นยำ ฉับไว โดยเฉพาะ Eye AF ที่ตอบโจทย์งาน Portrait
  • ระบบ Touchscreen ที่มอบประสบการณ์เหมือนดั่งใช้ Smartphone
  • จอ Vario Angle ที่พับได้ พร้อมตอบโจทย์งานเซลฟี่ และ/หรือ Video ได้ลงตัว

พออ่านถึงตรงนี้ปุ๊บ หลายๆท่านอาจจะลังเลว่า งี้ EOS RP ก็ดีกว่า Sony A7 II เลยซินะ ต้องบอกว่าก็ไม่เชิงซะทีเดียว เพราะ ถ้านับเฉพาะข้อดีที่ Sony A7 II มีอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นระบบกันสั่นภายในตัวกล้อง ที่จะช่วยคุณยามคับขันได้อย่างลงตัวแล้วนั้น

ระบบเลนส์ในภาพรวม ถือเป็นอีกทางเลือกที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยเช่นกัน จริงอยู่ที่ Canon ได้เอาจริงเอาจังกับกล้อง Mirrorless มากยิ่งขึ้น แต่ด้วยทางเลือกเลนส์ในระบบ RF Mount นั้น ยังไม่มี Normal Grade ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานระดับเริ่มต้นอย่างกว้างขวาง

กลับกันระบบเลนส์ E-Mount ที่เป็น Fullframe นั้น เริ่มมีแบรนด์อิสระทั้ง Sigma , Tamron , Viltrox หรือ Tokina ที่เริ่มทยอยผลิตเลนส์ทางเลือกมาให้กับทาง Sony อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีทางเลือกเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังมีราคาที่ย่อมเยาว์ด้วยเช่นกัน

Sony A7 II vs EOS RP เลือกอะไรดี

sony a7ii vs eos rp

มาถึงตรงผู้อ่านอาจจะลังเลเล็กๆก็เป็นได้ เพราะ ต้องยอมรับว่ากล้อง Mirrorless Fullframe ทั้ง 2 รุ่นนั้น ต่างมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งก็มีข้อทดแทนกันได้อย่างลงตัวเช่นกัน

สำหรับเพื่อนๆมือใหม่ที่กำลังมองหากล้อง Mirrorless Fullframe ซักรุ่น โดยตั้งปัจจัยเรื่องการจับถือสไตล์ SLR , จอ LCD พับได้ , เน้นสกินโทนงาน Portrait และ Video แล้วละก็ คำตอบคงจะหนีไม่พ้น Canon EOS RP

กลับกัน ถ้าคิดว่าสกินโทนและงาน Video ไม่ใช่ประเด็นหลักในการใช้งานกล้องของเรา เน้นความยืดหยุ่นของระบบเลนส์ทั้งที่เป็นเลนส์ Auto และ Manual รวมถึงต้องการระบบกันสั่นภายในตัวกล้องด้วย คำตอบก็คือ Sony A7 II นั่นเองครับ

ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของทางร้านได้ตลอด 24 ชม. หรือ โทรเข้ามาโดยตรงผ่านโทรศัพท์

แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือ หน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
083-067-7677 / 02-098-9555 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

วิธีการสั่งซื้อ

Leave a Reply

โค้ดลดสูงสุด

3,000

Happy Code Day 26-28 MAR

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save