how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera_cover

เคล็ด(ไม่)ลับ ถ่ายพลุยังไง ให้ปัง Leave a comment

ใกล้ช่วงเทศกาลหยุดยาวอย่าง X’Mas และ Happy New Year 2020 แน่นอนว่า ห้างร้านต่างๆก็จะประดับตกแต่งร้านให้สวยงาม แน่นอนว่าทุกๆปีในช่วง Countdown จะมีการจุดพลุเฉลิมฉลองเปลี่ยนปีศักราชด้วยเช่นกัน ซึ่งเรามาดูกันดีกว่าว่าเทคนิคการถ่ายพลุให้สวยปังนั้น ต้องเตรียมตัวยังไงกันบ้าง

firework photography

หากพูดถึงพลุ เพื่อนๆหลายอาจจะนึกถึงความสวยงาม อลังการ ยิ่งมีการจุดพลุแบบพร้อมๆกัน ยิ่งสร้างความสวยงามให้กับท้องฟ้ายามค่ำคืนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การถ่ายพลุนั้น ไม่ว่าจะเป็นกล้อง DSLR , Mirrorless และ/หรือ กล้องจาก Smartphone ต่างก็สามารถถ่ายทอดภาพการถ่ายพลุออกมาได้อย่างสวยงาม ทั้งนี้จะมีหลักการในส่วนของการตั้งค่า และ ข้อควรระวังในการถ่ายพลุ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดด้วยเช่นกัน

เคล็ด(ไม่)ลับ ถ่ายพลุยังไง ให้ปัง

อ่านบทความเพิ่มเติม:  Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่ 

กล้อง DSLR หรือ Mirrorless ก็ถ่ายได้นะ

อันที่จริงแล้ว การถ่ายพลุนั้นในอดีต เรามักจะเชื่อกันว่าจำเป็นจะต้องใช้กล้องใหญ่ หรือ กล้อง DSLR เท่านั้น ที่จะสามารถถ่ายพลุได้ แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยน เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นอกเหนือจากกล้อง DSLR แล้ว ยังเพิ่มกล้อง Mirrorless และ กล้อง Compact High-End เข้ามาเป็นอีกทางเลือกได้ด้วยเช่นกัน

ในส่วนของกล้อง Mirrorless ที่ปัจจุบันได้ครองส่วนแบ่งในตลาดกล้องอยู่ระดับนึง อีกทั้งได้รับความนิยมทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ อันจะเห็นได้จากเหล่า Reviewer , Youtuber หรือ Blogger ก็ดี ต่างก็ใช้งานได้ไม่ติดขัดแต่อย่างใด ซึ่งข้อดีของกล้อง Mirrorless นั้น จะมีขนาดที่เล็กกว่า เบากว่ากล้อง DSLR อันเนื่องมาจากการตัดชุดกระจกสะท้อนภาพออกไปนั่นเอง อีกทั้งตลอดการใช้งานเราสามารถเห็น Output จากการ Setting ได้ทันทีผ่าน LCD โดยไม่จำเป็นต้องลั่น Shutter ไปก่อนแต่อย่างใด

ปัจจุบันกล้อง Mirrorless ก็มีให้เลือกด้วยกันหลากหลายชนิด ทั้งที่เป็น Micro Fourthirds , APS-C , Fullframe หรือ Medium Format ซึ่งแต่ละ Format ก็สามารถนำมาใช้ถ่ายพลุได้เหมือนกัน อาจจะต่างกันในส่วนของ Performance ในแง่ Noise , Dynamic Range เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะแปลผันตามขนาดของ Sensor ด้วยนั่นเอง

ซึ่งผู้เขียนเอง ก็เคยใช้งานกล้อง Mirrorless ในการถ่ายพลุมาแล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกล้อง Micro Fourthirds , APS-C หรือ Fullframe ซึ่งต้องบอกว่าถ่ายได้หมด อยู่ที่ว่าแต่ละท่านจะพึงพอใจใน Performance ของ Format ใดซะมากกว่าครับ

ตัวอย่างกลุ่มกล้อง Mirrorless ที่ใช้ถ่ายพลุได้

how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera

how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera-0

how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera-1

รับชมบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม: รวมกล้อง Mirrorless ดีต่อใจสายท่องเที่ยว ปี 2019

อย่าดูถูกพัฒนาการของกล้อง Smartphone

ในข้างต้นผู้เขียนได้เกริ่นเกี่ยวกับการถ่ายพลุจากกล้อง DSLR หรือ กล้อง Mirrorless กันไปแล้ว แน่นอนหละครับ คุณภาพไฟล์ที่ได้ย่อมสวยสด งดงาม และ ยืดหยุ่น สามารถนำไป Process ภายหลังได้ แต่เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่าตลาด Smartphone ปัจจุบันเริ่มมีบทบาทในตลาดกล้องมาขึ้นทุกวันแล้วนะครับ

สาเหตุนั้น มาจากการที่ Smartphone มีกล้องติดอยู่ด้วยนั่นเองครับ แม้ว่าขนาดของ Sensor ที่ใช้งานบน Smartphone อาจจะดูเล็กกว่า Sensor บน Format ต่างๆของกล้อง DSLR หรือ Mirrorless ก็ตามที ด้วยความเล็กนี้ ทำให้ผู้ใช้งาน Smartphone สามารถถ่ายภาพได้ทันท่วงที โดยไม่จำเป็นต้องพกกล้องเสมอไป เพราะมีความคล่องตัวสูงนั่นเอง

อีกทั้งกล้องใน Smartphone เริ่มมีพัฒนาการมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันระหว่างบริษัท Smartphone กับ Leica เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการถ่ายภาพ , การใส่ชิ้นเลนส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น APSH , Wide , Macro หรือ Telephoto หรือ การตั้งค่า Mode Manual / Mode Pro ที่เสมือนว่าใช้งานกล้อง DSLR / Mirrorless อยู่นั่นเอง ซึ่ง ณ จุดนี้บอกได้เลยว่า กล้องจาก Smartphone ก็สามารถนำมารังสรรค์ผลงานการถ่ายพลุได้อย่างแน่นอนครับ

ตัวอย่างกลุ่ม Smartphone ที่มี Mode Pro / Mode Manual

how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera-2

เลือกเลนส์ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

ให้เพื่อนๆนึกภาพการถ่ายพลุ ว่าเสมือนกับการถ่าย Landscape ที่มีฉากหลังเป็นท้องฟ้าที่มืดครึ้ม เพียงแต่มีเส้นแสงปรากฏในฉากหลังดำนั่นเอง แน่นอนว่าเลนส์ที่เหมาะสมกับการถ่ายพลุนั้น ถูกกำหนดเอาไว้อยู่แล้วครับ แต่ทั้งนี้มีปัจจัยภายนอกที่อาจจะส่งผลด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของผู้ถ่าย ว่า อยู่ใกล้ หรือ ไกลจากบริเวณที่พลุจะถูกจุด , เน้นความเป็น Landscape หรือ เน้นที่พลุมากกว่ากัน

กรณีเน้นความเป็น Landscape

อารมณ์จะเหมือนการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่ม Ultra Wide ดูจะตอบโจทย์ได้ลงตัวที่สุด ถ้าถามว่าต้อง Wide ขนาดไหนนั้น อันนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละท่าน ว่า อยากได้ภาพที่มีความกว้างเป็นพิเศษ หรือ กว้างแบบพอดีๆ ซึ่งในความกว้างนี้ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง คือ ความโหลงเหลง ถ้าเราวาง Position และ/หรือ จัด Composition ได้ไม่ดีพอ รวมถึงต้องพิจารณาสถานการณ์หน้างานด้วยว่า เลนส์ Ultra Wide ที่เราเลือกใช้งานนั้นตอบโจทย์มากน้อยเพียงใด

ตัวอย่างกลุ่มเลนส์ Ultra Wide

how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera-3

กรณีเน้นความ Subject เป็นพลุ

ในลักษณะนี้จะคล้ายๆกับการถ่าย Landscape อยู่บ้าง แต่เราจะให้ความสำคัญของเส้นสายพลุที่จะถูกจุดขึ้นภายในสถานที่นั้นๆ ซึ่งในกรณีนี้เลนส์อาจจะมีทางเลือกมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น Ultra Wide , Normal ซึ่งแต่ละเลนส์ต่างมีองศารับภาพที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ก่อนที่เราจะเลือกเลนส์มาใช้งานนั้น อาจจะต้องมีการวางแผน หรือ ศึกษามาก่อน ว่า สถานที่ๆเราจะไปถ่ายพลุนั้น ตำแหน่งที่จะจุดพลุคือบริเวณใด , จุดพลุรัวแค่ไหน โดยอาจจะใช้ภาพจากงานก่อนๆมาอ้างอิง และ/หรือ สอบถาม EXIF ของภาพจากผู้ถ่ายประกอบการตัดสินใจในการเลือกเลนส์ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างกลุ่มเลนส์ Normal

how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera-4

Setting อย่างไร ให้ปัง

นอกเหนือจากกล้อง , เลนส์ และ ขาตั้งกล้อง การตั้งค่าเบื้องต้นสำหรับการถ่ายพลุนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน จริงอยู่ที่บางท่านอาจจะบอกว่าตั้ง Mode Auto ก็อาจจะถ่ายได้ แต่ Mode Auto ก็ไม่อาจตอบสนองได้ตามที่เราต้องการเสมอไป ซึ่งเรามาดูกันว่า Setting อะไรบ้าง ที่มีผลต่อการถ่ายพลุ

Mode การถ่าย

Tutorial-The-Exposure-Triangle-cover1

สำหรับ Mode ที่เหมาะสำหรับการถ่ายพลุนั้น อันที่จริงผู้เขียนเคยถ่ายพลุด้วย Mode A และ Mode M ซึ่งก็สามารถถ่ายเช่นกัน แต่ผู้ถ่ายจะไม่แนะนำ Mode A ในการถ่ายพลุซักเท่าไรนัก สาเหตุเนื่องจากว่า Mode A เป็น Mode ที่เหมาะสำหรับการถ่าย Portrait เป็นหลัก เพราะ เราสามารถควบคุมค่า F ได้ดั่งใจ ฟังๆแล้วอาจจะดูดี แต่ในทางปฎิบัติ Mode A การวัดแสงของกล้องจะมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่ภายในเฟรมของตัวกล้องเห็นแสงพาดผ่าน ซึ่งรวมไปแสงสว่างอันเกิดจากการจุดพลุ

ส่วน Mode M หรือ Mode Manual ก็ตามตัวเลยครับ ควบคุมกล้องเองทั้งหมด ซึ่งเราสามารถควบคุมได้ทั้ง Shutter Speed , Aperture , ISO ได้ตามที่เราต้องการ ซึ่งค่าทั้ง 3 ค่านี้ หากค่าใดมีการเปลี่ยนแปลงค่าหนึ่ง ค่าอื่นๆก็จะสัมพันธ์กันด้วยกันทั้งหมด ซึ่งที่เรารู้จักกันในชื่อของ The Exposure Triangle

ภาพตัวอย่าง The Exposure Triangle

Tutorial-การวัดแสง

อ่านเพิ่มเติม : บทความ The Exposure Triangle

ฉะนั้น ผู้เขียนอยากแนะนำ Mode M สำหรับการถ่ายพลุครับ

Shutter Speed

เรามาดูค่าแรกกันก่อนครับ Shutter Speed ชื่อก็ตามตัวเลย ” ความเร็วชัตเตอร์ ” ปกติเราจะเห็นค่านี้ในการถ่ายภาพเชิง Sport ซะส่วนใหญ่ ถามว่ามีผลอย่างไรกับการถ่ายพลุ เมื่อเราปรับมาใช้ Mode M ยิ่งเราใช้ Shutter Speed ยิ่งช้าเท่าไร ยิ่งเก็บ Movement ของริ้วพลุได้ และยิ่งทำให้ภาพที่ได้ก็จะยิ่งสว่างขึ้น ซึ่งจากประสบการณ์ผู้เขียน ค่า Shutter Speed จะตั้งอยู่ที่ 1 Sec. ไปจนถึง 5 Sec. ตามแต่ลักษณะของพลุที่จุดด้วยครับ

Tutorial-The-Exposure-Triangle-Speed-shutter-explain

สิ่งที่ตามมาหลังจากการใช้ Shutter Speed ที่ช้านั้น คือ การสั่นไหวครับ ด้วยความที่ต้องรอเวลาที่ม่านชัตเตอร์จะสับเพื่อ Process ภาพออกมานั้น ในทางปฎิบัติเราคงไม่สามารถที่จะถือกล้องยืนนิ่งๆเป็นเวลา 1 – 5 วินาทีได้ โดยไม่สั่นไหวใดๆทั้งสิ้น ฉะนั้น ทางแก้ คือ ใช้ขาตั้งกล้องในระหว่างการถ่ายพลุด้วยนะครับ

Aperture

Tutorial-The-Exposure-Triangle-Aperture-Explain

Credit : Aperture

ค่าถัดมา คือ Aperture หรืออีกชื่อที่เราคุ้นหูกันอย่าง ” ค่ารูรับแสง ” นั่นเองครับ โดยปกติเราจะทราบพื้นฐานกันว่า

  • ยิ่งค่า F กว้าง ( เลขน้อย ) ภาพจะยิ่งสว่าง สามารถสร้าง Effect หน้าชัด หลังเบลอได้ง่าย
  • ยิ่งค่า F แคบ ( เลขมาก ) ภาพจะยิ่งมืด สามารถควบคุมชัดลึกทั่วทั้งภาพได้ดี

สำหรับการถ่ายพลุนั้น แม้เราจะมีเลนส์ Ultra Wide หรือ Normal ที่มีค่า F กว้างๆก็ตามที แต่เราจะเลือกใช้ค่า F แคบช่วง F 8 เป็นต้นไป เนื่องจากเราต้องการคุมความชัดลึกทั่วทั้งภาพนั่นเองครับ อย่างที่บอกไปว่าการถ่ายพลุนั้น จะมีความคล้ายคลึงกับการถ่าย Landscape นั่นเองครับ

ทั้งนี้ค่า F นั้น บางท่านอาจจะเลือกใช้ค่า F 8 หรือมากกว่านั้น เพื่อเอาความคม , ความชัดลึก หรือ Effect ไฟแฉกภายในภาพได้ด้วยเช่นกัน ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละท่านครับ

ISO

ค่าสำคัญถัดมา คือ ISO หรือ ค่าความไวแสง เป็นอีกค่าที่ให้กล้องทำการบูทสัญญาณไฟฟ้าเพื่อช่วยให้ภาพมีความสว่างมากยิ่งขึ้น ในกรณีที่เราอยู่ใน Mode M ยิ่งค่า ISO สูงมากเท่าไร ภาพที่ได้ก็จะมีความสว่างเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้การบูทค่า ISO สูงๆ ยิ่งทำให้ภาพเกิดสัญญาณรบกวนภายในภาพอย่าง Noise ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ Noise จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของ Sensor ที่ตัวกล้องใช้ด้วยเช่นกัน

Tutorial-The-Exposure-Triangle-ISO1

สำหรับค่า ISO ในการถ่ายพลุนั้น ส่วนมากจะแนะนำที่ ISO ที่ต่ำสุดเท่าที่ตัวกล้องจะทำได้ หรือ ISO 200 เพื่อป้องกันการเกิด Noise ภายใน อีกทั้งใน Mode M เราใช้ค่า Shutter Speed ที่ช้า ยิ่งทำให้ภาพสว่างด้วยนั่นเอง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่ม ISO สูงๆซักเท่าไรนั่นเอง

รูปแบบ Focus

เอาหละ เมื่อเรารู้ถึงการตั้งค่าต่างๆในการถ่ายพลุแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Aperture , Shutter Speed และ ISO สิ่งสุดท้ายที่ต้องรู้ก่อนไปออกภาคสนามจริง คือ รูปแบบ Focus ซึ่งปกติกล้อง Digital ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น DSLR , Mirrorless หรือ Smartphone ต่างก็รองรับระบบ Auto Focus เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งอาจจะแตกต่างกันในเรื่องของความไวในการหา Focus ตามแต่สถานการณ์

แต่สำหรับการถ่ายพลุนั้น เราสามารถเลือกใช้การ Focus ได้ 2 รูปแบบ คือ Auto Focus หรือ Manual Focus ครับ

Auto Focus เชื่อว่าเพื่อนๆน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ยิ่งในปัจจุบันเราสามารถสั่งการผ่านจอ LCD ด้วยระบบ Touchscreen ยิ่งช่วยเพิ่มอิสระในการ Focus ได้ยิ่งขึ้น ทั้งนี้จำนวนจุด Focus หรือ ความแม่นยำ โดยเฉพาะในสภาพแสงน้อยอย่างการถ่ายพลุนั้น ขึ้นอยู่กับอัลกอริทึ่มของกล้องแต่ละรุ่นละครับ ว่า จะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งกล้องบางรุ่นเมื่อใช้งานในสภาพแสงน้อย อาจจะ Focus ได้ช้า หรือ Focus วืด ก็เป็นได้ครับ

Manual Focus รูปแบบ Focus นี้จะ Advanced ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ถ้าเป็นผู้ใช้งานกล้องมือใหม่อาจจะสับสนได้ แต่สำหรับผู้ใช้งานกล้องมาระดับหนึ่ง หรือ เคยมีประสบการณ์การใช้งานกล้องฟิล์มอาจจะคุ้นชินเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ Manual Focus เป็นการหาระนาบ Focus ด้วยตัวเอง ผ่านการหมุน Focus Ring บนตัวเลนส์ ซึ่งในกล้อง Mirrorless จะมี Feature ที่คอยอำนวยความสะดวกอย่าง Peaking Focus ที่จะเป็นเฉดสีปรากฏในภาพ โดยถ้าเฉดสีปรากฏบริเวณใดในภาพ บริเวณนั้นคือระนาบที่ Focus ถึงนั่นเองครับ

ทีนี้ระหว่าง Auto Focus หรือ Manual Focus สำหรับการใช้ถ่ายพลุ ถ้าบริเวณเฟรมในภาพมีจุดที่สว่างพอในการ Focus ก็เลือกใช้งาน Auto Focus ได้เลยครับ กลับกันถ้าเคยศึกษาระยะ Infinity มาก่อนแล้วละก็ ดูเหมือน Manual Focus จะเข้ากันได้เป็นอย่างดีครับ

ขาตั้งกล้อง ไม่มีแม่ตีตาย

อย่างที่บอกไปว่าการถ่ายพลุนั้น จะให้อารมณ์เสมือนการถ่าย Landscape ที่มีความจริงจังผสมผสานความปราณีตได้อย่างลงตัว หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องใช้ขาตั้งกล้องด้วย ??

เนื่องจากว่า Setting สำหรับการถ่ายพลุนั้น เราจะ Setting ในส่วนของ Shutter Speed ให้ช้าในระดับวินาที ซึ่งมีตั้งแต่ 1 sec. ไปจนถึง 6 sec. ( ตามแต่ความพึงพอใจของแต่ละท่าน ) แน่นอนว่า Shutter Speed ที่ช้าในระดับวินาที ความสามารถในการถือกล้องถ่ายภาพ โดยไม่มีการกระดุกกระดิก หรือ อยู่นิ่งๆนั้น คงเป็นไปได้ยาก แม้ว่ากล้องจะมีระบบกันสั่นภายใน Body ก็ตามที

ขาตั้งกล้อง ที่จะนำมาใช้ในการถ่ายพลุนั้น ควรพิจารณาจาก Feature ในส่วนของ Max Weight เป็นหลัก ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงน้ำหนักรวมของกล้อง , เลนส์ และอุปกรณ์เสริมที่ติดอยู่บนกล้องด้วย อย่างน้อยๆขาตั้งกล้องที่จะมานำมาใช้ในการถ่ายพลุ ควรมี Max Weight ขั้นต่ำที่ 2 kg. ถึง 3 kg. ครับ

ตัวอย่างขาตั้งกล้อง

how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera-5

รีโมทชัตเตอร์ มีไว้อุ่นใจนะ

นอกเหนือจากการ Setting ต่างๆแล้ว อุปกรณ์เสริมอีกชิ้นที่ผู้ใช้งานกล้อง DSLR น่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี นั่นคือ รีโมทชัตเตอร์ ซึ่งหน้าที่หลักมีไว้สำหรับช่วยกดชัตเตอร์ เพื่อเลี่ยงการสัมผัสชัตเตอร์โดยตรง อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่า การถ่ายพลุนั้น เราจะใช้ Shutter Speed ที่ช้า ส่งอาจส่งผลทำให้กล้องสั่นไหวได้นั่นเองครับ

นอกเหนือจากรีโมทชัตเตอร์ที่นิยมใช้กันแล้ว ในกล้อง Mirrorless ก็มาพร้อมกับความสามารถในการควบคุมกล้องผ่านทาง Application เฉพาะทางของแต่ละแบรนด์ ซึ่งใน Application ก็มี Feature ในการสั่ง Touch AF และ Touch Shutter ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจจะมีอาการแลค หรือ ดีเลย์อยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่เชื่อมต่อระหว่างตัวกล้องกับ Smartphone และ ตัว Application ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างรีโมทชัตเตอร์

how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera-6

ตัวอย่าง Application

how-to-perfect-firework-photography_zoomcamera-7

ตัวอย่าง ภาพพลุแบบต่างๆ

Credit : Firework , Pexels

———– สอบถามเพิ่มเติม ————

แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือหน้าเว็บไซด์ ZoomCamera 086-349-7224 / 02-635-2330 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

?สาขา Central Plaza เวสต์เกต 02-054-7462 / 097-063-4328
?สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772
?สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919
?สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498
?สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775
?สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123
?สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896
?สาขา Central Festival หาดใหญ่ 074-848-700/095-702-7585
?สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ 02-002-3894 / 096-901-7825
?สาขาสยามพารากอน 02-129 4765 / 096-901-7826

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save