เจาะลึก Olympus OM-D E-M1 และ M.Zuiko 12-40mm F2.8 PRO Leave a comment

         หลังจากอ่านบทความเปิดตัว Olympus OM-D E-M1 และเลนส์ 12-40mm f/2.8 PRO กันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาดูแบบ”เจาะลึก”กันครับผมว่า OM-D E-M1 มีสเปคอะไรใหม่ๆเด่นๆและดีอย่างไรบ้าง ดังนั้นในบทความนี้จะมีการผสมความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเองที่อาจไม่ตรงกับใจของใครหลายๆคน แต่ผู้เขียนตั้งใจเขียนจริงๆครับผม เพราะงั้นอย่าว่ากันเลยน้าา ^_^ หากบทความนี้มีข้อผิดพลาดตรงไหนอย่างไรต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยครับผม

         E-M1 เป็นกล้องใน Series OM-D รุ่นที่สองแล้ว แต่การมาของ OM-D ในครั้งนี้มันไม่ได้แค่เป็นรุ่นท๊อปของ M4/3 เท่านั้น แต่ Olympus OM-D E-M1 คือกล้องที่อยู่ในไลน์สูงสุดของ Olympus เลยครับ Olympus กล่าวว่า E-M1 คือรุ่นที่ต่อจาก E-5 เลย เพราะงั้นเมื่อเราพูดถึง E-M1 นั่นคือเรากำลังพูดถึงกล้องซึ่งเป็นเรือธงรุ่นสูงสุดของ Olympus

*ประเด็น E-M1 ที่มาแทน E-5 ตอนแรกผมก็แปลกใจเหมือนกันครับว่าทำไม Olympus จึงตัดสินใจเปลี่ยนยักษ์ใหญ่อย่าง E-5 มาเป็น E-M1 ที่อยู่ในร่างเล็กแบบนี้ เดิมทีกล้องที่จะมาแทน E-5 ควรจะเป็น E-7 ทาง Olympus เองกล่าวว่าในตอนที่พวกเค้ากำลังสร้างสรรค์ E-M1 และ E-7 มันปรากฏว่าเมื่อมองถึงสิ่งที่จะต้องพัฒนาขึ้นมาใน E-7 กับสิ่งที่จะเป็น E-M1 แล้ว ทั้งสองตัวมันทับกันเอง จนที่สุดเค้าจึงตัดสินใจเลือกเป็น E-M1 เพียงตัวเดียว ดังนั้นมันจึงเป็นตัวแทนของ E-5 ไปด้วย

          Olympus OM-D E-M1 Specification Highlight

  • เซนเซอร์ Live MOS 16.3 ล้านพิกเซล ไม่มี Low-Pass Filter
  • ชิพประมวลผลภาพ TruePic VII
  • ระบบ Autofocus “DUAL FAST AF”(Hybrid)
  • ระบบกันสั่นแบบ 5 แกน (5-Axis Image Stabilization)
  • จอแสดงผลพับได้(Tilt) Touchscreen ขนาด 3.0″ ความละเอียด 1,037,000 พิกเซล
  • ช่องมองภาพ EVF ครอบคลุมการมองเห็น 100% ความละเอียด 2.36 ล้านพิกเซล
  • ช่องมองภาพ EVF 1.48x Magnification ช่องมองขนาดใหญ่พอๆกับ Full-Frame
  • ถ่าย Video Full HD 1920 x 1080 (30 fps)
  • มีระบบ Focus Peaking
  • มี Wi-Fi ในตัว (802.11b/g/n)
  • ฟีเจอร์ใหม่ Color Creator
  • มี Weather Seal ป้องกันน้ำ ฝุ่น และอุณหภูมิ

        ความรู้สึกแรกตอนเห็น E-M1 ไม่รู้มีใครรู้สึกเหมือนผมบ้างมั้ยคือ 1.กริ๊ปใหญ่มากกก 2.ปุ่มอะไรเต็มตัวเลย ฮ่า ฮ่า แต่ดูแล้ว E-M1 มีการออกแบบที่น่าจะตอบสนองผู้ระดับโปรได้อย่างดีเลยครับ แถมสเปคนี่ก็น่าจะโหดที่สุดใน Mirrorless แล้ว Olympus ใส่มาให้สมกับทีเป็นตัวแทน E-5 มากๆ แต่ไม่รู้ว่าจะถูกใจผู้ใช้ Four Third กันบ้างหรือเปล่า เอาเป็นว่าเราไปดูสเปคเด่นๆในแต่ละส่วนกันเลยครับผม!!!

          Body : บอดี้ภายนอกของ E-M1 บอกได้ชัดเจนเลยว่านี่คือกล้องระดับโปร กริ๊ปจับใหญ่ดูน่าจะจับถือได้มั่นคง ปุ่มต่างๆเต็มตัวไปหมดช่วยให้สามารถปรับค่าต่างๆได้เร็ว และการมีปุ่มหมุน Dial 2 อันก็ช่วยเสริมให้การปรับค่ารวดเร็วมากยิ่งขึ้น และจุดที่โดเด่นเกินหน้า Mirrorless รุ่นอื่นคือการมีช่อง Flash Sync Socket ที่ด้านหน้าด้วย!!!


          Sensor : E-M1 ใช้เซนเซอร์ตัวใหม่ความละเอียด 16.3 ล้านพิกเซล และไม่มี Low-Pass Filter นอกจากนั้นมันยังพิเศษกว่าครั้งที่แล้วๆมาเพราะคราวนี้ Olympus ไม่ลืมที่จะใส่ Phase Detection มาบนเซนเซอร์ด้วยทำให้ E-M1 เป็นกล้องอีกตัวที่มีระบบ Autofocus แบบ Hybrid ซึ่งจะมีความเร็วมากกว่าระบบเดิมที่ใช้เพียงแค่ Contras Detection เท่านั้น และยังจับคู่กับชิพประมวลผลภาพตัวใหม่ TruePic VII ด้วย

TruePic VII มีพลังในการประมวลผลพอที่จะให้เราสามารถถ่ายภาพ 16.3 ล้านพิกเซลต่อเนื่องได้ 10 ภาพต่อวินาที และบัฟเฟอร์ที่ใหญ่พอจะใส่ไฟล์ RAW ได้ 41 ภาพในโหมด S-AF และ 6.5 ภาพต่อวินาที บัฟเฟอร์รองรับไฟล์ RAW ได้ 50 ภาพสำหรับโหมด C-AF

         5-Axis Image Itabilization : แน่นอนขาดไม่ได้เลยสำหรับกันสั่นแบบ 5 แกนที่ใครได้ลองก็ต้องร้องว่า”สุดยอด”ผมเองก็ยอมรับเลยว่ามันเป็นระบบกันสั่นที่สุดยอดมากๆ และแน่นอนมันถูกใส่มาใน E-M1 ด้วย กันสั่น 5 แกะนนี้ยังสามารถตรวจจับการแพนกล้องของเราได้ เมื่อมันรับรู้ว่าเราแพนกล้องมันก็จะหยุดการกันสั่นในด้านข้าง เพื่อให้เราได้แพนกล้องไปซ้าย-ขวาได้อย่างเป็นธรรมชาติ

            Autofocus : E-M1 มีระบบ Autofocus ที่ทำงานแบบ Hybrid แล้วโดยทำงานประสานกันระหว่าง Contrast Detection 81 จุดและ Phase Detection 37 จุด  โดย Olympus เรียกว่า”Dual Fast AF” แต่ในเรื่องนี้มีจุดสังเกตนิดนึงตรงที่ว่า ในเวลาที่เราใช้งานเลนส์ M4/3 ในโหมด S-AF, Movie AF ระบบโฟกัสที่ทำงานยังคงเป็นแค่ Contrast Detection อย่างเดียวเท่านั้น และจะทำงานผสานกันก็ต่อเมื่อเลือกเป็น C-AF “อ้าว อย่างนี้ Phase Detection ก็ดูไม่ค่อยมีประโยชน์เลยสิ?” จริงๆแล้ว Olympus คงตั้งใจว่าจะออกแบบกล้องตัวนี้ให้ใช้งานได้ดีทั้งเมื่อใช้เลนส์ MFT และ FT ดังนั้นแท้จริงแล้วการเพิ่ม Phase Detection เข้ามามันอาจมาเพื่อเลนส์ FT เป็นจุดประสงค์หลักครับผม ระบบ Phase Detection จะทำงานเมื่อใช้เลนส์ FT ในโหมด S-AF, C-AF และจะเปลี่ยนเป็น Manual Focus เมื่อใช้ Movie AF

           สาเหตุหลักๆที่มันต้องเป็นแบบนี้คงเพราะว่าระบบ Phase Detection และ Contrast Detection นั้นต่างกัน ฝั่ง Phase Detection(PDAF) จะรู้ว่าหลุดโฟกัสยังไงและมันควรจะหมุนเลนส์ไปทางไหน ประมาณว่าถ้าเป็นชายคนนึงเดินมาเจอทางแยกแต่เค้าก็รู้ทันทีว่าควรจะไปทางไหนจึงจะถึงจุดหมาย แต่ Contrast Detection(CDAF) จะไม่รู้ว่าตัวเองควรจะหมุนเลนส์ไปทางไหน มันจะต้องสแกนดู หมุนเลนส์ไป-มาดูจนกว่าจะเจอจุดโฟกัสที่ถูกต้อง เหมือนชายคนนึงเดินมาเจอทางแยกแต่ชายคนนี้จะต้องลองเดินไปแยกนู้นที่แยกนี้ทีจนกว่าจะเจอจุดหมาย ดังนี้จะเห็นว่าการทำงานของเลนส์ที่สั่งงานโดยระบบทั้งสองแบบจึงต่างกัน เลนส์ FT ที่ทำงานกับระบบ PDAF ใน DSLR จึงต้องออกแบบมาเพื่อจะไปหาจุดโฟกัสให้เร็วที่สุด แต่เลนส์ MFT ที่ออกแบบมาใช้กับ CDAF ในกล้อง Mirrorless จะออกแบบมาเพื่อให้สแกนหาจุดโฟกัสได้เร็วที่สุด ดังนั้นการจะออกแบบกล้องที่จะใช้เลนส์ FT และ MFT ได้ดี จึงจำเป็นต้องมีระบบ Autofocus ทั้งสองอย่าง

เมื่อเราใช้เลนส์ FT กับ E-M1 มันจะใช้ระบบ PDAF ถ้าเราใช้เลนส์ MFT มันก็จะใช้ CDAF แต่อย่างไรก็ตาม E-M1 ยังคงมีการใช้งานสองระบบร่วมกันเมื่อเราเลือก C-AF การทำงานก็คือ CDAF จะยังคงเป็นตัวหลักและมี PDAF คอยช่วย โดย PDAF จะคอยบอก CDAF ว่ามันควรจะหมุนไปทางไหนหลังจากนั้น CDAF ก็จัดการวิ่งไปตรงนั้นอย่างรวดเร็ว

*เวลาใช้เลนส์ FT จะต้องต่อผ่าน Mount Adpater MMF-3 นะครับๆ

        Viewfinder : นี่ก็เป็นอีกส่วนที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย ช่องมองภาพ EVF ใน E-M1 มีความพิเศษตรงที่มันมีขนาดใหญ่มากกก มันมีค่า Magnification 1.48x เทียบเท่าช่วง 0.74x ใน 35mm มันใหญ่พอๆกับกล้อง Full-Frame เลยทีเดียว งานนี้มองกันแบบเต็มๆตาเลย และช่องมองภาพนี้มีความละเอียดสูง 2.36 ล้านพิกเซล หลังจากอ่านสเปคนี้บอกตามตรงว่าผมรู้สึกอยากเห็นช่องมองภาพของ E-M1 แบบใจจะขาด ฮ่า ฮ่า


          Weather Seal : ตามสไตล์ Olympus อึด ถึก ทน!!! OM-D E-M1 มีซีลกันน้ำ กันฝุ่น และสามารถกันอุณหภูมิได้ถึง -10 องศาเซลเซียส

          Wi-Fi : E-M1 มาพร้อมกับ Wi-Fi ในตัวด้วย โดยเราสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Smartphone ของเราและทำการสั่งควบคุมกล้องผ่าน Smartphone ได้อย่างสบายๆเลยเลย รวมถึงสามารถใช้สัญญาณ GPS จาก Smartphone บันทึกลงในรูปภาพได้อีกด้วย

         นอกจากนี้ Olympus ยังมีฟีเจอร์ใหม่มาให้เราเล่นคือ Color Creator คล้ายกับใน E-M5 ที่มี Highlight & Shadow มาให้เราปรับแต่คราวนี้เป็นปรับสีแทน อิอิ อีกฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ Lens Corrections ช่วยแก้ข้อผิดเพี้ยนต่างๆของเลนส์อย่างเช่น แก้ Distortion ในเลนส์บางรุ่น ช่วยลดขอบม่วง อะไรประมาณนี้

          Olympus เป็นค่ายที่ผมชอบมาก เพราะเวลาเค้าทำกล้องทีไรมันรู้สึกได้ถึงความตั้งใจทำของเค้า อย่างครั้งนี้ Olympus เองก็ดูตั้งใจที่อยากจะทำให้ E-M1 เป็นตัวแทนของ E-5 ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ งานนี้ไม่รู้ว่าจะถูกใจชาวขุนเขามากแค่ไหนเพราะถ้ามองในแง่ Mirrorless ราคามันค่อนข้างสูงมากทีเดียวสามารถซื้อ DSLR ตัวคูณระดับโปรได้เลยทีเดียว แต่ถ้าจะมองในแง่ของกล้อง DSLR มันก็อาจจะเล็กเกินไป คงต้องรอดูต่อไปว่าผลตอบรับของ E-M1 จะเป็นอย่างไร

           มาดูทางฝั่งของเลนส์กันบ้าง คราวนี้มีเลนส์ที่เปิดตัวมาพร้อมกับ E-M1 คือเลนส์ M.Zuiko Digital ED 12-40mm f/2.8 PRO เรียกได้ว่าเหมาะสมจะเข้าคู่กันเป็นอย่างยิ่ง >_< และเลนส์ตัวนี้ยังมีซีลยางกันน้ำ กันฝุ่นและอุณหภูมิเช่นเดียวกับ E-M1 ด้วย นอกจากนี้ยังมีเลนสือีกตัวที่กำลังลือๆกันอยู่แต่ไม่คิดว่าจะมาเผยโฉมให้เห็นกันเร็วขนาดนี้คือ M.Zuiko Digital ED 40-150mm F2.8 PRO ที่ Olympus ส่งมายั่วน้ำลายกันก่อน กว่าจะปล่อยออกมาจริงๆก็ตั้งสิ้นปี 2014 นู่นนน เอามายั่วกันแบบนี้แสบจริงๆ ฮ่า ฮ่า (แต่ถึงเค้าจะขายเลยวันนี้เราก็ไม่มีตังค์ซื้ออยู่ดี T^T)

ที่มา dpreview

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 10/09/2013

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save