เปิดตัวเลนส์ Fujinon XF 56mm F1.2 R APD และ XF 50-140mm F2.8 R LM OIS WR Leave a comment

        เมื่อวันที่ผ่านมานี้ 10 กันยายน 2557 Fujifilm ได้ประกาศเปิดตัวเลนส์ใหม่ 2 รุ่นด้วยกันคือ Fujinon XF 56mm F1.2 R APD และ XF 50-140mm F2.8 R LM OIS WR สำหรับตัว 56mm F1.2 นั้นหลายคนอาจจะรู้สึกคุ้นๆกับช่วงเลนส์นี้ ใช่ครับ Fuji เคยทำเลนส์ 56mm F1.2 R ตัวนี้ออกมาแล้วแต่ครั้งนี้จะเป็นเวอร์ชั่นใหม่ APD ที่มีการเพิ่ม Apodization Filter เข้ามาจุดน่าสนใจมันอยู่ตรงนี้แหละครับแต่เราจะพักไว้ก่อนแล้วจะมาพูดถึงกันอีกทีนะครับ ส่วนตัว 50-140mm เป็นเลนส์ที่มี Weather-Seal สามารถกันฝุ่นและทนอุณหภูมิได้ถึง -10 องศาเซลเซียส ได้รูรับแสงที่กว้าง F2.8 ตลอดช่วงและ 50-140mm ตัวนี้จะมีระบบกันสั่นที่ทำงานร่วมกับ Gyro-Sensor และ Limear Motor 3 ตัว(The world’s first Triple Linear Motor) ที่ Fuji กล่าวว่าสามารถลดการสั่นไหวได้ถึง 5 stop เลย สำหรับราคานั้น Fujinon XF 56mm F1.2 R APD เปิดตัวมาที่ $1,499.95 แพงกว่าเวอร์ชั่นปกติถึง $500 และ XF 50-140mm F2.8 R LM OIS WR เปิดตัวที่ $1599.95 ทั้ง 2 ตัวจะเริ่มวางจำหน่ายในเดือนธันวาคม

Fujinon XF 56mm F1.2 R APD ผมใช้เวลานานอยู่เหมือนกันในการหาข้อมูลเกี่ยวกับเจ้า APD หรือ Apodization Filter มันน่าสนใจเพราะไม่ค่อยจะมีเลนส์แบบนี้ออกมาเท่าไหร่นักที่ผ่านมานอกจาก 56mm F1.2 APD ตัวนี้ก็จะมี Minolta 135mm STF ที่มี Apodization Filter ในลักษณะเดียวกันโดยเจ้า Apodization Filter นี้จะเป็นฟิลเตอร์ที่อยู่ด้านในเลนส์ Fuji วางฟิลเตอร์ตัวนี้เอาไว้ด้านหน้าของชุดเลนส์ทั้งหมด หลักๆมันจะช่วยเบลอฉากหลังที่หลุดโฟกัสทำให้เราได้โบเก้ที่ถูกเบลอไปมากขึ้นแต่ในส่วนที่เราโฟกัสจะไม่เบลอไปด้วยโดยจะมีความคมเท่าเดิม ตัว Apodization Filter จะมีลักษณะเป็นฟิลเตอร์ที่มีการไล่ระดับแสงโดยตรงขอบของฟิลเตอร์จะปล่อยให้แสงผ่านน้อยกว่าตรงกลางจริงๆจะเรียกว่าเป็น ND ชนิดหนึ่งก็คงได้ ดังนั้นโบเก้ที่เราได้จากปกติที่จะเป็นเม็ดกลมๆคมๆทั้งลูกจะกลายเป็นกลมแบบขอบเบลอๆและไล่โทนความสว่างแทน(Apodization Filter จะทำงานได้ดีที่สุดที่ F กว้างสุด)

ข้อด้อย Fujinon XF 56mm F1.2 R APD ที่ต่างจาก Fujinon XF 56mm F1.2 R ตัวเดิมคือตัวรุ่น APD นั้นจะเสียแสงไปราวๆ 1 stop(ไม่ได้ 1 stop เป๊ะ)และ Apodization Filter ยังไปบังแสงในพื้นที่ส่วนที่เซนเซอร์ Phase Detection ที่จะต้องใช้ทำให้เราไม่สามารถใช้ Phase-Detection ในการ Autofocus ได้จะใช้ได้เฉพาะ Contrast Detection เท่านั้นซึ่งก็จะทำให้โฟกัสช้ากว่าปกติพอสมควรเลยครับ

       ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าเลนส์ตัวนี้มีวสงแหวนรูรับแสงที่แสดงค่า F ด้วยตัวหนังสือสีขาวและยังอีกวงซ้อนกันที่มีตัวหนังสือสีแดงอีก เจ้าตัวเลขสีแดงจำทำหน้าที่คล้ายๆการแสดง T-Stop ความหมายเดียวกับ T-Stop ในเลนส์วีดีโอเลยครับ T คือการบอกค่า Transmission หรือปริมาณที่แสงผ่านเข้ามาจริงๆอย่างที่ตำแหน่ง F2.8 แต่ปริมาณแสงที่เข้ามาจริงๆคือ F3.0 เห็นได้ชัดเจนว่ามีการเสียแสงไปบางส่วนเพื่อแลกกับผลของการเบลอฉากหลัง ฉะนั้นจะถือว่าเลนส์ตัวนี้ดีหรือไม่ดีกว่าตัวรุ่นเดิมก็ต้องแล้วแต่มุมมองของแต่ละคนนะครับ ส่วนตัวผมเองมองว่ามันไม่ได้จงใจทำมาให้ดีกว่าตัวเดิมแต่ตั้งใจจะให้มันมีลูกเล่นพิเศษเพิ่มเข้ามาเพื่อเพิ่มอรรถรสในการถ่ายภาพอีกรูปแบบหนึ่งมากกว่า

ที่มา DpreviewFujifilm

ภาพด้านล่างนี้ ฝั่งซ้ายคือเลนส์ที่มี Apodization Filter ส่วนภาพขวาเป็นเลนส์ปกติ จะเห็นว่ามีลักษณะโบเก้ที่ต่างกัน แต่ว่า! ภาพนี้ไม่ได้มาจากเลนส์ 56mm ตัวนี้นะครับเพียงแต่อยากให้ดูเปรียบเทียบเลนส์ที่มีการใช้ Apodization Filter กับตัวที่ไม่ได้ใช้ครับผม

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 12/09/2014

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save