เลือกอะไรดี ? Fullframe vs APS-C Leave a comment

ปัญหาโลกแตกที่ใครหลายคนลังเลใจ ไม่รู้จะเลือกกล้องแบบไหนดี ? ระหว่างกล้องเซนเซอร์ APS-C และ กล้องเซนเซอร์ Fullframe ซึ่งในปัจจุบันระดับราคาเริ่มขยับเข้ามาใกล้เคียงกันมาก ๆ ฟีเจอร์ และ ความสามารถต่าง ๆ รวมถึงดีไซน์ ก็เริ่มจะมีความใกล้เคียงกัน APS-C ก็มีความสามารถสูงมาก ๆ พัฒนาเทคโนโลยีใส่เข้ามาแบบไม่มีกั๊ก ในด้านของฟูลเฟรมก็พยายามที่จะลดสเปก ลดฟีเจอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงกล้องฟูลเฟรมได้แล้วผู้ใช้กล้องอย่างเราควรเลือกแบบไหนดี ? เพื่อให้ได้กล้องที่ตรงใจ ตรงความต้องการ และ เหมาะกับกำลังเงินของเรามากที่สุด คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง จึงเป็นที่มาของคลิปวีดีโอนี้ที่ทางทีมงาน ZoomCamera อยากจะมาแบ่งปันประสบการณ์ และ มุมมองส่วนตัว ต่อประเด็น Fullframe vs APS-C นี้ให้กับเพื่อน ๆ ที่กำลังตัดสินใจ

เลือกอะไรดี ? Fullframe vs APS-C

ปัจจัยเรื่องของราคา

แน่นอนว่าถ้าราคาสูงกกว่ามักจะให้ความสามารถ สเปก และ ฟีเจอร์ที่จัดเต็มกว่าอยู่แล้ว แต่ถ้าพูดในประเด็นว่า ถ้าราคาเท่ากันหละ กล้องฟูลเฟรม กับ กล้อง APS-C อันไหนดีกว่ากัน ? ตอบได้เลยว่า กล้อง APS-C จะได้ฟีเจอร์ และ ความสามารถที่ครอบคลุม และ มากกว่ากล้องฟูลเฟรมแน่นอน จะเห็นได้จากตัวอย่างกล้องที่ออกมาล่าสุดอย่าง Fujifilm X-H2S ที่อยู่ในระดับราคาประมาณ 8-9 หมื่นบาท แต่ให้ความสามารถในการถ่ายต่อเนื่องมาสูงถึง 40fps และ สามารถถ่ายวีดีโอ 6.2K /30p , 4K 120p แค่ฟีเจอร์นี้ ถ้าไปอยู่ในกล้องฟูลเฟรม เราคงไม่ได้เห็นแค่ราคา 8-9 หมื่นบาทแน่นอน

ปัจจัยเรื่องขนาด น้ำหนัก ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

แน่นอนว่าในปัจจุบันกล้องฟูลเฟรมก็ได้มีการ Re-design ปรับขนาด และ น้ำหนักลดลงมาแล้ว แต่ก็ยังมีน้ำหนัก และ ขนาดที่ใหญ่กว่า APS-C อยู่ดี เพราะติดในข้อจำกัดของขนาดเซนเซอร์ที่ใหญ่กว่า และ ระบบอื่น ๆ ที่ใส่เข้ามาในตัวบอดี้ที่ต้องใหญ่ขึ้นตามไปด้วย และ ในเรื่องของเลนส์ที่ใช้ร่วมกัน น้ำหนักของเลนส์กล้องฟูลเฟรม ก็จะมีขนาดใหญ่ และ หนักกว่าเลนส์ APS-C ซึ่งทำให้ถ้าใครเน้นแบกอุปกรณ์ไปใช้งานนอกสถานที่บ่อย ๆ ก็จะรู้สึกเลยว่าน้ำหนักอาจจะเป็นปัญหาได้ แต่ถ้าใครไม่ติดเรื่องน้ำหนักก็มองข้ามปัจจัยเรื่องนี้ไปได้เลย

ปัจจัยเรื่อง Depth of field (การทำหน้าชัดหลังเบลอ)

ในเรื่องของความชัดตื้น ชัดลึก (DOF : Depth of Field) หรือ ภาษาบ้าน ๆ ที่เราคุ้นเคยกันก็คงเป็น ” การทำหน้าชัดหลังเบลอ ” ถ้าเรายืนในระยะที่เท่ากัน ใช้เลนส์ระยะเดียวกัน เปิดรูรับแสงเท่ากัน กล้อง Fullframe จะสามารถสร้างเอฟเฟกต์หน้าชัดหลังเบลอได้ดี และ ละมุนกว่ากล้อง APS-C ในส่วนของการทำ Bokeh กล้องฟูลเฟรมก็จะทำได้ดีกว่าเช่นกัน แต่ก็แลกมากับราคากล้องและเลนส์ของกล้องฟูลเฟรมด้วยที่จะสูงกว่านั่นเอง

ปัจจัยเรื่อง Dynamic Range

Dynamic Range หรือ อัตราส่วนระหว่างส่วนที่สว่างที่สุดและส่วนที่มืดที่สุด การ DR ยืดหยุ่นสูงเป็นสิ่งที่ดีงามมากสำหรับผู้ใช้งานเพราะจะทำให้เราสามารถใช้งานกล้องกับสภาพแสงได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งกล้อง Fullframe ส่วนมากแล้วมักจะมี DR ที่ดีกว่า กล้อง APS-C แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันกล้อง APS-C ก็ได้มีการพัฒนาระบบการประมวลผลภาพให้ช่วยเพิ่ม DR ได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เทียบเคียงกับกล้องฟูลเฟรมได้ประมาณหนึ่ง แต่ก็จะมีปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ร่วมด้วย ในบางสถานการณ์การใช้งาน ทั้งงานภาพนิ่ง และ งานวีดีโอ

ปัจจัยเรื่องการจัดการ Noise

ปกติแล้วการจัดการ Noise หรือ สัญญาณรบกวน มักจะขึ้นอยู่กับตัวเซนเซอร์รับภาพเป็นหลัก ถ้าตัวเซนเซอร์มีการพัฒนา และ จัดวางเม็ดสี เม็ดพิกเซลมาดี พัฒนาเทคโนโลยีบนเซนเซอร์มาได้ดีก็มักจะจัดการเรื่อง Noise ได้ดีเช่นกัน เมื่อเทียบค่า ios ในระดับเดียวกัน ซึ่งกล้อง Fullframe ส่วนมากจะจัดการ Noise ได้ดีกว่ากล้อง APS-C แต่ในปัจจุบันกล้อง APS-C ยุคใหม่ ๆ ก็ได้มีการพัฒนาตัวระบบประมวลผลภาพ และ เทคโนโลยีเซนเซอร์ให้จัดการ Noise จนเทียบเท่ากล้องฟูลเฟรมแล้ว ยิ่งเป็นกล้องแบรนด์ Fujifilm ที่ใช้เซนเซอร์ X-trans CMOS ที่พัฒนาให้มีการจัดเรียงเม็ดสี และ จัดการเรื่อง Noise ดีเป็นพิเศษ ก็ทำให้เวลาใช้ ISO สูง ๆ บนกล้อง Fujifilm ก็จะมี Noise ที่น้อยทั้งภาพนิ่ง และ วีดีโอ

กล้องทั้งสองแบบสามารถนำมาใช้งานได้เหมือนกัน แต่ก็แตกต่างกันที่คุณสมบัติบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง DOF , Dynamic Range , Noise ก็จะมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันไป ควรเลือกตามสไตล์ของตัวเอง

ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของทางร้านได้ตลอด 24 ชม. หรือ โทรเข้ามาโดยตรงผ่านโทรศัพท์

แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือ หน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
083-067-7677 / 02-098-9555 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

วิธีการสั่งซื้อ

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save