11 Tips ง่ายแต่เวิร์คในการถ่ายภาพ Landscape Leave a comment

1.เพิ่มระยะ Depth of Field 

ในการถ่ายวิวเรามักจะเพิ่มระยะชัดลึกให้มากเพื่อคุมความชัดของวัตถุในภาพให้มีมากที่สุด(แต่บางครั้งช่างภาพอาจจะใช้ชัดตื้นเพื่อสร้างสรรค์หรือทดลองอะไรใหม่ ๆ ก็มีเช่นกัน)โดยวิธีการแรกและง่ายที่สุดคือเพิ่มค่า F ให้มากขึ้นเพื่อให้รูรับแสงแคบลงยิ่งแคบมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งได้ระยะชัดลึกมากขึ้น

Meadow of Yellow Flowers and Mountains

แต่อย่าลืมว่ารูรับแสงที่แคบลงก็หมายถึงปริมาณแสงที่ประทบเซนเซอร์ก็จะน้อยลงด้วยทำให้เราต้องลดความเร็วชัตเตอร์ลงหรือไม่ก็เพิ่มค่า ISO มากขึ้นเป็นการชดเชยกัน

2.ใช้ขาตั้งกล้อง 

เมื่อเราใช้รูรับแสงที่แคบจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์เราช้าลงจึงจำเป็นทำกล้องให้นิ่งเอาไว้ตลอดเวลาทำให้ขาตั้งกล้องเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์จำเป็นที่สายถ่ายวิวควรมีติดตัวไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเราใช้ ND Filter ขาตั้งกล้องเป็นอะไรที่ต้องมีอย่างมาก

3.มองหาจุดสนใจ

การใส่จุดสนใจในภาพเป็นสิ่งสำคัญเพราะมันจะช่วยให้ภาพเราดูน่าสนใจและดึงดูดสายตาของผู้ดูภาพได้มากขึ้น หากภาพ Landscape ของเราไม่มีจุดสนใจใด ๆ เลยภาพจะดูว่างเปล่าไม่มีจุดในคนดูเพ่งความสนใจ

ซึ่งจุดสนใจนั้นเป็นอะไรได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ ก้อนหิน ตึก บ้าน หรือสิ่งก่อสร้างแล้วแต่เราจะสร้างสรรค์ ในการวางตำแหน่งจุดสนใจนั้นอย่าลืมนึกถึงองค์ประกอบภาพอย่างเช่น กฎ 3 ส่วนหรือจุดตัด 9 ช่องด้วยนะครับ 

4.อย่าลืม Foreground(ฉากหน้า)

5.ดูท้องฟ้า

อีกหนึ่งอย่างที่จะช่วยให้ภาพ Landscape ของเราดีขึ้นคือการเลือกสมดุลระหว่างท้องฟ้าและพื้นดินในที่นี้ก่อนถ่ายให้เราสังเกตท้องฟ้าถ้าสวยเราอาจใช้กฎ 3 ส่วนวางท้องฟ้าเอาไว้บน 2 ส่วนก็ได้แต่หากท้องฟ้าไม่สวยการนำไปวางไว้ 2 ส่วนอาจทำให้ภาพของเราน่าสนใจน้อยลงในกรณีนี้ให้เลือกที่จะเก็บส่วนพื้น 2 ส่วนแทนจะดีกว่า 

6.การใช้เส้น

จะนำสายตาของผู้ดูเข้าสู่ภาพได้อย่างไรเป็นคำถามที่เราควรจะถามตัวเองบ่อย ๆ ซึ่งมันมีหลากหลายวิธีด้วยกันหนึ่งในนั้นก็คือ Foreground ที่เราได้พูดถึงกันไปและอีกวิธีหนึ่งที่นำสายตาได้ดีคือการใช้เส้นนำสายตาเข้าไปสู่ภาพ

เส้นจะช่วยเพิ่มมิติความลึกให้กับภาพ, Perspective, และยังสามารถทำให้เกิดจุดสนใจได้จากการสร้างสรรค์ Pattern ของเส้นต่าง ๆ

7.เก็บภาพความเคลื่อนไหว

เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพ Landscape เราก็มักนึกถึงการถ่ายภาพธรรมชาติ สภาพแวดล้อมที่สงบนิ่งแต่การถ่ายภาพ Landscape ก็ไม่จำเป็นต้องนิ่งตามไปด้วยหลายอย่างในธรรมชาติมีการเคลื่อนไหวทั้งมากและน้อยการเก็บภาพให้สื่อถึงความเคลื่อนไหวนั้นด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าจะช่วยเพิ่มอารมณ์และสื่อสารกับคนดูภาพให้รู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของวัตถุได้เช่น ลมที่พัดผ่านต้นไม้ คลื่นบนชายหาด น้ำตก เมฆที่เคลื่อนตัว เป็นต้น

การถ่ายภาพให้รู้สึกถึงความเคลื่อนไหวเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าด้วยการหรี่ขนาดรูรับแสงให้แคบเพื่อให้แสงเข้าน้อยลงหรือใช้ฟิลเตอร์ ND ที่ตัดแสงให้ลดลงหรือเลือกถ่ายในช่วงเวลาที่แสงไม่แรงนักอยากต้นพระอาทิตย์ขึ้น-ตก

8.สภาพอากาศนั้นสำคัญ

แม้ไม่พูดทุกคนก็คงทราบว่าสภาพอากาศนั้นสำคัญมากในการถ่ายวิวแต่หลายคนมักมองว่าสภาพอากาศที่เหมาะคือวันที่ฟ้าใสแดดจ้าไร้ฝนแต่ในความเป็นจริงแล้วภาพวิวสวย ๆ หลายภาพก็ไม่ได้ถ่ายจากวันที่ฟ้าใส ฉะนั้นอย่าเพิ่งมองข้ามวันที่เมฆมาก ฝนตก หรือหมอกลงหนาเพราะเราอาจจะได้ภาพสวย ๆ กลับมาก็ได้เช่น เมฆพายุที่กำลังก่อตัว แสงแดดที่ส่องทะลุเมฆ เมฆมากแต่สวยก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน รวมถึงสายรุ้งที่จะมาหลังฝน

9.Golden Hours

ในตอนที่พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกนั้นคือช่วงเวลาทองคำ บางคนบอกว่านี่คือช่วงเวลาที่ท้องฟ้าสวยงามที่สุด ช่างภาพสายวิวบางคนถึงขนาดถ่ายภาพแค่ในช่วงเวลานี้เท่านั้นเลยก็มีเพราแสงของพระอาทิตย์นั้นสวยและยังมีมุมของแหล่งกำเนิดแสงที่เหมาะพอดีจะสร้างพลังให้กับภาพด้วย

10.ดูเส้นของฟ้าให้ดี

สั้น ๆ ง่าย ๆ ครับเป็นวิธีเก่า ๆ แต่ก็ยังใช้ได้ดีคือก่อนจะถ่ายภาพทุกครั้งให้ระวังระนาบเส้นของฟ้าให้ดี สังเกตสิว่าภาพของเราเอียงหรือเปล่า แม้มันจะแก้ทีหลังด้วยโปรแกรมได้แต่จะดีกว่าถ้าเราระมัดระวังเรื่องนี้ได้ตั้งแต่แรก

และหากเราจะนำเรื่ององค์ประกอบภาพเข้ามาเสริมจะเห็นว่ากฎ 3 ส่วนแนะนำให้เราวางเส้นขอบฟ้าไว้บน ด้านบนหรือล่างของเฟรมภาพดีกว่าจะวางลงไปตรงกลางภาพ แต่ผมจะไม่บอกว่าการวางไว้กลางภาพไม่ดีหรอกนะครับ กฎมีไว้ให้ทำลายการคิดนอกกรอบไม่ได้ผิดแต่อย่างใด

11.ลองเปลี่ยนมุมมองบ้าง

ส่วนนี้สำคัญมากคือการลองเปลี่ยนมุมมองบ้าง หากเราไปตำแหน่งเดียวกับคนอื่น ยกกล้องขึ้นถ่ายเหมือนกับคนอื่นภาพที่เราได้มันจะต่างจากของคนอื่นยังไงล่ะ? การสร้างความแตกต่างและโดดเด่นกว่าใครเริ่มได้ด้วยการเปลี่ยนมุมมอง ย้ายตำแหน่งถ่ายภาพให้ต่างออกไปบ้าง ลองถ่ายมุมต่ำหรือมุมสูงดูแทนการถ่ายระดับสายตา ต้นไม้เดียวกันแต่มองจากคนละมุมภาพที่ได้ก็จะแตกต่างกันออกไป 

11 Tips ในการถ่ายภาพ Landscape ของเราจบไปแล้วหวังว่าทุกคนจะได้นำไปใช้ประโยชน์กันนะครับ อ่านจบแล้วก็อย่าลืมที่จะออกไปถ่ายภาพบ่อย ๆ เพราะยิ่งเราสะสมประสบการณ์มากเท่าไหร่เราก็จะยิ่งเก่งขึ้นเท่านั้น

ที่มา digital-photography-school

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 09/08/2017

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save