5 เทคนิค การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement) สำหรับงานวิดีโอ Leave a comment

ทุกวันนี้การถ่ายวิดีโอนับว่าได้รับความนิยิมแพร่หลาย และกระแสความสนใจในงานวิดีโอเยอะขึ้นมากมายครับ จะเห็นได้จากที่มีคนผลิตงานวิดีโอเยอะขึ้นมาก ๆ ส่วนส่นนึงน่าจะมาจากการที่กล้องทุกวันนี้สามารถถ่ายวิดิโอได้ดี ในราคาที่เป็นมิตรมากขึ้น และสามารถสังเกตุได้จากแบนด์กล้องทั้งหลายในตลาดก็เพิ่มความสามารถทางด้านวิดีโอเพื่อแข่งขันและเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของตลาดที่มากขึ้นนั่นเองครับ

วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคถ่ายภาพวิดีโอกันครับ เป็นพื้นฐานการถ่ายวิดีโอ หรือ เบสิคการถ่ายภาพวิดีโอนั่นเอง ในงานวิดีโอนั้นจะแตกต่างจากภาพนิ่งอยู่แน่นอนครับ อย่างเช่นในงานภาพนิ่งทุกอย่างจะถูกหยุดไว้ แต่ในงานวิดีโอจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด นอกจากการเคลื่อนไหวของแบบที่เราจะถ่ายแล้ว การเคลื่อนกล้อง หรือ Camera Movement ก็สามารถสร้างความน่าสนใจของวิดีโอที่เราถ่ายได้ครับ

เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการถ่ายวิดีโอเบื้องต้น และ วิธีในการสร้าง Movements ในงานวิดีโอกันครับ เป็นเทคนิคสำหรับคนที่สนใจจะเริ่มถ่ายวิดีโอลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กันดูครับกับบทความ 5 เทคนิคการถ่ายภาพวิดีโอ การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement)

การเคลื่อนกล้อง หรือ Camera Movement ในงานวิดีโอ

การเคลื่อนกล้อง หรือ Camera Movement ในงานวิดีโอก็คือการเคลื่อ นที่ของตัวกล้องในการบันทึกภาพวิดีโอไปพร้อม ๆกันนั่นเอง ทำไมต้องเคลื่อนกล้องในงานวิดีโอ? ลองนึกภาพว่าถ้าคุณตั้งกล้องถ่ายวิดีโอแบบอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมันคงจะน่าเบื่อและไม่มีอะไรตื่นเต้นเลย วิดีโอของคุณอาจจะดูธรรมดา และไม่น่าติดตามเลยทีเดียว หรือบางครั้งการเคลื่อนกล้อง หรือ Camera Movement ก็ช่วยในการสื่ออารณ์ของแบบ หรือ นำสายตาคนดูเพื่อไปดูบางสิ่งก็ได้  เพราะฉะนั้นการเคลื่อนกล้อง หรือ Camera Movement ในงานวิดีโอนั้นเป็นเทคนิคผู้เริ่มต้นกับการถ่ายวิดีโอจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ครับผม

1.Pan

การ Pan คือการสร้าง movement ในงานวิดีโอแบบหมุนกล้องไปซ้ายขวา โดยที่ตำแหน่งกล้องอยู่ที่เดิม การหมุนแพนที่ดีควรที่จะหมุนแพนจากด้านใดไปด้านหนึ่งแล้วหยุด เพื่อพักสายตา อย่าหมุนไปหมุนมาจะทำให้คนดูสับสน และยากต่อการตัดต่อด้วย

เราหมุนแพนเพื่อติดตามวัตถุหรือแสดงระยะห่างของวัตถุสองชิ้น หรือเพื่อนำสายตาของผู้ชมไปหาบางสิ่ง การแพนที่ดีควรจะมีความหมายหรือวัตถุประสงค์ในการแพนตามที่กล่าวมาข้างต้นไม่เช่นนั้นการแพนก็จะไม่เกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อแนะนำ : การแพนควรเริ่มจาก กล้องหยุดนิ่ง > เริ่มการแพน > จบที่การหยุด ควรที่จะเริ่มฝึกตามเสต็ปนี้ แล้วค่อยเพิ่มระดับความเร็ว และลองความเร็วหลาย ๆ ระดับ เล็งจุดเริ่มจุดหยุดให้ดี และเพื่อให้การแพนสมูทควรใช้อุปกรณ์เสริมอย่างเช่นขาตั้งกล้อง หรือ Monopod ก็ได้ ตามความสะดวก และลักษณะของงาน

2.Tilt

Tilt คือการสร้าง movement ในงานวิดีโอแบบเลื่อนมุมกล้องขึ้นหรือลง โดยที่ตำแหน่งของวัตถุหรือกล้องไม่เปลี่ยนแปลง

วิธีการ คล้าย ๆ กับการแพนกล้องไปซ้ายขวา แต่เปลี่ยนไปเป็นด้านบนด้านล่างแทน เราใช้การ Tilt เพื่อติดตามวัตถุก็ได้หรือเพื่อการแสดงภาพมุมก้มและมุมเงยนั่นเอง การ Tilt นั้นยังสามารถที่จะแสดงความสูงของวัตถุได้อีกด้วย เช่น การ Tilt ช้า ๆ ที่ต้นไม้เพื่อให้เห็นถึงความสูง และความยิ่งใหญ่ของต้นไม้

เคล็ดลับในการ Tilt คือถ้าคุณเริ่มจากด้านล่างขึ้นบนจะทำให้วัตุใหญ่และบาง แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณเริ่ม Tilt จากบนลงมาข้างล่างวัตถุจะดูเล็กกว่าความเป็นจริง

ข้อแนะนำ : เริ่มต้นตำแหน่งกล้องแบบที่ยังไม่มีการเคลื่อนไหว>เริ่มการ Tilt > จบด้วยการหยุด สำหรับการฝึก ให้มองไปที่ฉากขณะที่ทำการ Tilt ไปจนถึงส่วนตรงกลางระหว่างด้านบนกับด้านล่างของตำแหน่งที่จะ Tilt ถ้าไม่มีสิ่งใดน่าสนใจการถ่ายแบบ Tilt ก็ไม่เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นกันครับ

3.zoom

การซูมคือการสร้าง movement ในงานวิดีโอในการปรับเปลี่ยนองศารับภาพนั่นเอง โดยการหมุนที่เลนส์ หรือถ้าเป็นกล้องวิดีโอก็สามารถกดปุ่มซูมแบบไฟฟ้าได้ มือใหม่หลาย ๆ คนมักที่จะเพลิดเพลินกับการซูมจนเกินไป จริงๆ แล้ว ไม่ควรซูมไปซูมมาบ่อยๆ เพราะจะทำให้คนดูภาพปวดหัว เราซูมเพื่อที่จะดูรายละเอียดของเหตการณ์ หรือเพื่อเล่าเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อให้เห็นเรื่องราวในมุมกว้าง เช่นลองนึกภาพเราถ่ายเรือโดยการซูมอินไว้ก่อน แล้วกดบันทึก แล้วค่อยๆ ซูมเอ้าท์ออกเพื่อให้เห็นวิวทะเลเพิ่มเติมเข้ามา และยังสามารถใช้เอฟเฟกต์ของระยะเทเลที่ดึงฉากหลังเข้ามาใกล้ได้ด้วยจะทำให้วัตถุที่ฉากหลังดูใหญ่กว่าความเป็นจริงได้

ข้อแนะนำ : อย่าซูมขณะที่ทำการเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้ภาพสั่นไหวเยอะมาก ถ้าอยากเคลื่อนที่ขณะซูม แนะนำเปลี่ยนเป็นซูมเอ้าท์ให้กว้างที่สุดแล้วเดินเข้าแทนการซูมอินดีกว่า ที่สำคัญยิ่งการที่คุณซูมเยอะก็จะยิ่งสั่นไหวได้ง่ายขึ้นด้วย และอย่าซูมแบบไร้เหตุผล ที่สำคัญควรซูมแบบนุ่มนวลด้วยครับ

4.Dolly

วิธีการก็คือคุณต้องมีอุปกรณ์เสริมเช่น ล้อเลื่อน หรือรางสไลด์ (ปกติเรียกกันว่ารางDolly) เพื่อเลื่อนกล้องไปข้างหน้ามุ่งเข้าไปหาวัตถุ หรือเลื่อนกลับมาข้างหลังเพื่อออกห่างจากวัตถุ เหมาะมากเพื่อแสดงอารมณ์ของนักแสดงหรือแบบ การ Dolly จะได้วิดีโอที่มีการเคลื่อนไหวสมูทมาก คุณสามารถใช้อย่างอื่นแทนได้เช่นรถเข็น หรือ สเก็ตบอร์ด ก็สามารถใช้แทนได้เช่นกันครับ

เราใช้การถ่ายแบบ Dolly เพื่อช่วยให้ได้วิดีโอที่นุ่มนวล สมูท ที่สำคัญยังเป็นเอกลักษณ์ และสามารถรวมกับเคลื่อนกล้องในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อสร้างความแปลกใหม่ ในหนังบางเรื่องผู้กำกับจงใจใช้การ Dolly พร้อมกับเทคนิคการซูม โดยที่ดอลลี่ออกมาแล้วซูมเข้าให้แบบมีขนาดเท่าเดิม แต่ฉากหลังมีการเคลื่อนใหญ่ขึ้น เป็นวิธีการที่ยากต้องมีความเชี่ยวชาญ แต่ถ้าทำได้ถูกต้องก็สามารถจะบ่งบอกถึงอารมณ์ความเครียดของนักแสดงได้อย่างดีเยี่ยม

5.Track

วิธีการไม่มีอะไรมากคือการเลื่อนกล้องไปทางซ้ายขวาในแนวนอนเพื่อติดตามวัตถุ ซึ่งวัตถุต้องเคลือนไหวในแนวนอนด้วยนะ การถ่ายแบบ Track นั้นก็คือการถ่ายในขณะที่กล้องและวัตถุเคลื่อนไหวไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง  อยากจะบอกว่าเหมือนกันกับทุกเทคนิคถ่ายภาพวิดีโอที่กล่าวมาก่อนหน้า คือต้องอาศัยการฝึกฝนและความเชี่ยวชาญจะทำให้เราคุ้นเคยและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ เรามักที่จะใช้การเทคนิคการสร้าง movement แบบ Track เพื่อที่จะติดตามวัตถุ หรือนักแสดงและท้ายที่สุดก็ปล่อยให้นักแสดงหรือวัตถุหลุดออกไปจากเฟรมนั่นเองครับผม

สรุปก่อนจาก

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือเทคนิคการถ่ายภาพวิดีโอและการสร้าง movement ให้วิดีโอน่าสนใจ แม้ว่ามันจะเป็นเทคนิคการถ่ายภาพวิดีโอที่ดูเบสิค และไม่ได้ใหม่อะไรมากมาย แต่เราก็มักจะเห็นในงานวิดิโอทั้งหลายทั่วไป ยันงานระดับหนังฮอลลี่วูด มันคือเทคนิคถ่ายภาพวิดีโอที่ใช้งานได้จริง แพร่หลาย และยังสามารถสร้างงานวิดิโอที่น่าสนใจขึ้นได้มากมายเลยทีเดียวครับ ขึ้นอยู่กับความเชียวชาญของผู้ถ่าย ก็ลองเอาเทคนิคการถ่ายภาพวิดีโอและเบสิคการถ่ายภาพวิดีโอเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับการถ่ายภาพวิดีโอของคุณให้เหมาะสมครับ หวังว่าคงจะเปนประโยชน์สำหรับทุกคนนะครับ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อนสวัสดีครับ ฝากติดตามพวกเรา Zoom Camera ด้วยหล่ะ บ๊าย บายครับผม

ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของทางร้านได้ตลอด 24 ชม. หรือ โทรเข้ามาโดยตรงผ่านโทรศัพท์

แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือ หน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
083-067-7677 / 02-098-9555 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save