กราบสวัสดีเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามเพจของ Zoomcamera ด้วยครับ หลักจากงาน Zoomcamera Fair 7 ที่ผ่านมา เชื่อว่ามีเพื่อนๆหลายท่านได้จับจองทั้งกล้องและเลนส์มาเป็นเจ้าของตามที่ตัวเองต้องการอย่างถ้วนหน้า รวมถึงช่างภาพมือใหม่ที่เกิดขึ้นจากในงานเรา ก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน เมื่อพูดถึงช่างภาพมือใหม่แล้ว เชื่อว่าหลายๆท่านๆอาจจะยังไม่ถูกใจกับกล้องที่ตนซื้อมา โดยเฉพาะกับเลนส์ด้วยแล้ว ต่างมีความคิดที่ว่า คุณภาพสูงตามมูลค่าของเลนส์ที่จ่ายไป บางท่านถึงขั้นยอมขายเลนส์ทิ้งเพราะคิดว่าเลนส์ไม่ดี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่ใช่เหตุผลนี้ซะทีเดียว โดย Admin จะมาแนะนำ ” 6 Tips รีดความสามารถของเลนส์ที่มีให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด “ ซึ่งเลนส์แต่ละตัว แต่ละรุ่นนั้น ต่างมีขีดความสามารถที่แตกต่างกันไป เอาเป็นว่าเรามาดูแนวทางกันครับ ว่า เลนส์ที่เรามีนั้นจะให้ผลลัพธ์มากน้อยแค่ไหนกันครับ
*** 6 Tips รีดความสามารถของเลนส์ที่มีให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด ***
1. ลองใช้เลนส์นั้นๆแบบระยะยาว
ด้วยการมาของกล้อง Mirrorless ทำให้กระแสกล้องเปลี่ยนเลนส์ได้ในท้องตลาดต่างได้รับความนิยมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งด้วยข้อดีของการเปลี่ยนเลนส์ได้นั้น ทำให้เราไม่จำเป็นจะต้องใช้เลนส์เพียงเลนส์เดียวเสมอไป เราสามารถหาเลนส์อื่นๆมาใช้กับงานเฉพาะทางได้อย่างลงตัว เช่น 50mm. F1.8 สำหรับงานถ่าย Portrait , 12-24mm. สำหรับถ่าย Landscape เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อเรามีเลนส์หลายๆตัว ทำให้ในบางสถานการณ์เราวุ่นอยู่กับการเปลี่ยนเลนส์เฉพาะทางนั้นๆอยู่ เราลองเปลี่ยนความคิดกันใหม่ดูครับ เราลองตั้งโจทย์ให้กับตัวเองดูว่า เราจะใช้เลนส์รุ่นนี้ ( สมมติ 35mm. ) ถ่ายภาพทุกๆอย่าง ทุกๆแนว ในระยะตามกำหนดอาจจะ 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน สาเหตุที่ให้ตั้งโจทย์ในการใช้เลนส์รุ่นๆนั้นเพียงตัวเดียว เพื่อให้เราทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลนส์รุ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดีนั่นเอง และยังช่วยตอบโจทย์เราในทางอ้อม เมื่อถึงสถานการณ์คับขันแล้วเราจำเป็นต้องใช้เลนส์รุ่นนี้ได้เป็นอย่างดี
2. ถ่ายด้วยทุกค่ารูรับแสงที่มี
เชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะเป็นเหมือน Admin โดยเฉพาะที่ชื่นชอบการใช้งานเลนส์ Fix ที่มีค่ารูรับแสงกว้างๆ ทั้ง F0.95 , F1.2 , F1.4 แล้วจะติดนิสัย ถ่ายทุกๆอย่างด้วยการเปิดค่ารูรับแสงกว้างไปซะทุกอย่าง ทั้ง Street , Food , Portrait ไม่เว้นแม้กระทั่งภาพ Landscape เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่จำเป็นต้องเปิดค่ารูรับแสงที่กว้างตลอดเวลาครับเว้นแต่ว่าเรากำลังถ่าย Portrait ที่ต้องการเน้นตัวบุคคลหนึ่งๆเพียงบุคคล เพื่อสร้าง Effect หน้าชัด หลังเบลอ นั่นเอง รวมถึงเลนส์บางรุ่นที่ค่ารูรับแสงกว้างสุดอย่าง F0.95 , F1.2 ภาพที่ได้อาจจะไม่ได้คม หรือ ภาพติด Soft ไม่เหมือนกับภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงที่แคบกว่านี้
ฉะนั้น หากเราติดเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้าง เราลองพิจารณาเลือกใช้งานค่ารูรับแสงที่ค่าอื่นๆบ้าง เช่น ค่ารูรับแสงกว้างสุดอยู่ที่ F1.4 เราอาจจะลองเลือกใช้ F 1.8 , F2.8 หรือ F 4 ตามแต่ละสถานการณ์ตรงหน้า ณ ขณะนั้น ซึ่งการหรี่ค่ารูรับแสง นอกจากจะช่วยให้ภาพมีความคมขึ่นแล้ว ยังช่วยควบคุมระยะชัดลึกของภาพได้เป็นอย่างดีครับ ซึ่งคงไม่มีใครอยากใช้ค่ารูรับแสงที่กว้างถ่าย Landscape แต่ภาพวิวทิวทัศน์กลับชัดแค่บริเวณที่เรา Focus เท่านั้นครับ
3. ลองถ่ายด้วยช่วงยาวโฟกัสที่ต่างกัน
ทั้งกล้อง DSLR และ กล้อง Mirrorless ล้วนแล้วแต่มีเลนส์ให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย ทั้งเลนส์ Fix และ เลนส์ Zoom โดยเฉพาะเลนส์ Zoom ที่มักจะเป็นเลนส์ Kit ที่มาพร้อมกับ Body ในชุดขายนั่นเอง ซึ่งเลนส์ Zoom จะได้เปรียบเรื่องความยืดหยุ่นในการใช้งาน เพราะ เราสามารถปรับเปลี่ยนระยะและองศาในการถ่ายภาพได้ง่ายและสะดวกโดยที่ตัวผู้ถ่ายไม่จำเป็นต้องเข้าหา Subject หรือ ถอยห่างจาก Subject แต่อย่างใด แต่กลับช่างมือใหม่บางครั้งจะยังติดการใช้งานในลักษณะ Zoom สุดระยะทางยาวโฟกัสเสมอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วบางภาพ ไม่จำเป็นต้อง Zoom สุดก็ได้ครับ เราอาจจะลองพิจารณาเฟรมภาพและองศาที่เราต้องการ ผ่านการ Zoom เลนส์อย่างช้าๆ หากคิดว่าเฟรมภาพที่เราต้องการนั้นเหมาะสมแล้ว เราก็ลั่นชัตเตอร์ได้ทันทีครับ และทางที่ดีควรลองถ่ายด้วยการ Zoom ในหลายๆทางยาวโฟกัส เพื่อดูเฟรมภาพและองศาภาพที่แตกต่างประกอบคู่กันด้วยคัรบ
4. ลอง Zoom ด้วยการเดินดูบ้าง
จากข้อที่แล้ว เราได้กล่าวถึงเลนส์ Zoom ที่พกความยืดหยุ่นในการใช้งาน ด้วยการ Zoom กระบอกเลนส์เพื่อเปลี่ยนเฟรมภาพและองศารับภาพได้โดยง่าย แม้จะเป็นข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าเลนส์ Fix ที่ไม่สามารถ Zoom ได้ก็ตามที แต่กลับกันผู้ใช้งานเลนส์ Zoom ก็ยังสามารถเล่นกับเฟรมภาพและองศารับภาพได้ง่ายๆเช่นกัน โดยการเดินเข้าหา Subject เอง ซึ่งวิธีนี้จะเห็นผลได้ชัดกับกลุ่มผู้ใช้งานเลนส์ Wide , Fish Eye เพราะ ตัวเลนส์สามารถเก็บเฟรมภาพที่มีองศาที่กว้างกว่าเลนส์ปกติ เมื่อเข้าประชิดตัว Subject จะทำให้เกิดมุมรับภาพที่ดูแปลกตาไป ไม่ว่าจะเป็นมุมงัด มุมกด มุมเสย เป็นต้น ที่เราจะเห็นได้บ่อยชัด คือ การเล่นกับเส้นนำสายตา และ การเล่นกับ Perspective นั่นเองครับ
5. ลองถ่ายหลายๆแนว
อย่าคิดว่าเลนส์เราที่จ่ายเงินซื้อมา จะสามารถใช้งานได้เพียงแค่งานลักษณะใดลักษณะหนึ่งเท่านั้น จริงอยู่ที่เลนส์บางชนิดมีช่วงทางยาวโฟกัสที่เหมาะกับงานประเภทนั้นๆ แต่ไม่มีกฏตายตัวว่าเลนส์นั้นๆจะไม่สามารถถ่ายภาพแนวอื่นๆได้ อาทิเช่น 50mm. ที่ปกติจะนิยมไว้ถ่าย Portrait เป็นหลัก แต่เราก็ยังสามารถหยิบมาถ่าย Snap จากระยะไกล หรือ ถ่าย Landscape ในกรณีที่เลนส์ Wide ของเราเก็บภาพมากว้างเกินจนดูโหลงเหลงเกินไป หรือ 12-24mm. ทีปกติจะนิยมไว้ถ่าย Landscape กันเป็นหลัก แต่เราสามารถนำมาถ่าย Portrait ได้เช่นกัน แม้อาจจะไม่ได้เน้นเรืองการละลายหลัง แต่สามารถพลิกแพลงเล่นกับ Perspective ที่เรามักจะเห็นการถ่ายในมุมงัด มุมเสย ที่จะช่วยให้ตัว Subject ดูมีพลังมากยิ่งขึ้นด้วยนั่นเองครับ
6. ประยุกต์กับการจัดองค์ประกอบ
เอาหละ มาถึงตรงนี้เชื่อว่าเพื่อนๆหลายท่าน ที่มีเลนส์ใช้งานอย่างน้อยๆ 2 ตัวขึ้นไป คงจะเริ่มรู้อัตลักษณ์เลนส์ที่เราใช้ ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ Wide ที่สามารถเก็บองศารับภาพได้กว้าง พร้อมทำให้วัตถุที่ใหญ่ใกล้ดูมีขนาดใหญ่ขึ้น , เลนส์ Zoom ที่สามารถดึง Subject เข้ามาใกล้ได้กว่าปกติ พร้อมทำให้ฉากหลังที่อยู่ไกลเสมือนอยู่ใกล้แบบยิ่งขึ้น รวมถึงขีดความสามารถต่างๆที่ตัวเลนส์ส่งมอบผ่านมายัง Output ให้เราในรูปแบบของภาพถ่าย จากนี้จะเป็นอีกวิธีการที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับเลนส์ นั่นคือฝึกมุมมองและการองค์ประกอบของภาพ เมื่อเรารู้อัตลักษณ์ของเลนส์เราว่า สามารถที่จะให้ผลลัพธ์อย่างไรแล้ว เราลองนำกฏการถ่ายภาพมาประยุกต์ใช้กันดูครับ ไม่ว่าจะเป็นกฏ 3 ส่วน , สมดุล , เงาสะท้อน เป็นต้น ฟังแล้วอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าหากเรามีการฝึกฝนอยู่อย่างสม่ำเสมอในหลายๆสถานการณ์ เชื่อว่าเพื่อนๆจะได้ภาพถูกอกถูกใจ ที่เกินราคาเลนส์ที่เราจ่ายไปแล้วเช่นกันครับ
Credit : digitalphotographyschool