8 ข้อควรระวัง สำหรับช่างภาพ Travel Photography Leave a comment

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติดตาม Content ของ Zoomcamera ผ่านทางช่องทาง Facebook และ Youtube ทุกๆท่านด้วยนะครับ สำหรับ Conent ในวันนี้ทีมงาน Zoomcamera ขอเอาใจเพื่อนๆช่างภาพสายท่องเที่ยว หรือ Travel Photography กันด้วย Content ” 8 ข้อควรระวัง สำหรับช่างภาพ Travel Photography “ ซึ่งการถ่ายภาพท่องเที่ยวนั้น เชื่อว่าเพื่อนๆต่างก็คาดหวังที่จะได้ภาพสวยๆงามๆ กลับมาอวดเพื่อนๆผ่านทางโลก Social ให้ได้อิจฉากันอย่างถ้วนหน้า แต่ทั้งนี้การจะได้มาซึ่งภาพท่องเที่ยวที่สวยงามนั้น มักจะมีข้อควรระวังควบคู่ไปกับการถ่ายด้วยเช่นกัน ซึ่งเราไปดูกันดีกว่า ว่า 8 ข้อควรระวังนั้น มีอะไรบ้าง

*** 8 ข้อควรระวัง สำหรับช่างภาพ Travel Photography ***

1. เปิด Mode Auto ทิ้งไว้

สำหรับช่างภาพ Travel Photography นั้น แน่นอนว่าการท่องเที่ยวถ่ายภาพนั้น การได้มาซึ่งภาพแต่ละใบนั้น ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเลยก็ว่าได้ครับ เพราะสถานที่ท่องเที่ยวบางสถานที่นั้น เราอาจจะกลับมาเยือนเมื่อใดก็ได้ แต่กลับบางสถานที่โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวในต่างแดนด้วยแล้ว มันเป็นการยากที่ถ้าเราตั้งค่าตัวกล้องผิดพลาด โดยเฉพาะการตั้งค่า Mode Auto ทิ้งไว้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความเคยชิน และ/หรือ การถ่ายภาพทั่วๆไปก่อนหน้าที่จะเดินทาง หรือจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม แม้ว่า Mode Auto จะสามารถให้ความสะดวกแก่เพื่อนๆผู้ใช้งานกล้อง โดยเฉพาะกับบรรดามือใหม่ให้สามารถเก็บภาพได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ยกกล้องกดชัตเตอร์ก็สามารถได้ภาพแล้ว แต่สำหรับช่างภาพ Travel Photography ด้วยแล้วนั้น Mode Auto แม้จะสะดวกสบายเพียงใด แต่อย่าลืมว่า Mode Auto คือ สิ่งที่กล้องเป็นผู้คำนวณให้กับเราล้วนๆ โดยที่เราไม่ต้องออกแรงใดๆ แต่บางครั้ง Mode Auto ไม่อาจรู้ได้ว่า ผู้ใช้งานอย่างเราๆนั้น อาจจะไม่ได้ต้องการภาพเหมือนอย่างที่ Mode Auto คิดให้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มค่า ISO ที่มากเกินไป เป็นต้น ฉะนั้นหากอยากได้ภาพที่สวยงาม ถูกใจเราด้วยแล้ว ควรเปลี่ยน Mode การใช้งาน จาก Mode Auto เป็น Mode การถ่ายภาพอื่นๆ อาทิเช่น Mode A หรือ M เป็นต้น

2. ตั้งไฟล์ไว้เพียง JPG เท่านั้น

เป็นอีกข้อหนึ่ง ที่เชื่อว่าเพื่อนๆไม่ว่าจะเป็นช่างภ่าพมือสมัครเล่น , ช่างภาพมือเก๋า หรือ ช่างภาพมืออาชีพ ต่างก็เคยพลาดมานักต่อนักแล้วครับ ถามว่าทำไมถึงให้ตั้งค่าไฟล์ที่นอกเหนือจาก JPG ด้วยนั้น เหตุผล คือ ความยืดหยุ่นในอนาคต เพราะด้วยสกุลไฟล์ของกล้องถ่ายภาพที่นิยมใช้งานจะมี 2 รูปแบบ คือ JPG และ RAW โดยเฉพาะ RAW เป็นไฟล์รูปแบบหนึ่งที่ตัวกล้องทำการบันทึกมา แต่เป็นเพียงข้อมูลดิบๆ ไม่ได้ผ่านการ Process ใดๆ และ จำเป็นต้องใช้ Programe เฉพาะทางเพื่อใช้ในการเปิดไฟล์ RAW นั้นๆด้วยครับ แตกต่างจากไฟล์ JPG ที่ตัวกล้องเก็บข้อมูลแล้ว ผ่านกระบรวนการ Process และ บีบอัดไฟล์ให้สามารถนำไปใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ความเด็ดขาดของไฟล์ RAW คือ เพื่อนๆสามารถนำไฟล์ RAW มาทำการ Re – Process ใหม่ได้อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น Exposure / Hilight / Shadow / Picture Style ให้อยู่ในรูปแบบที่เราต้องการได้ใหม่อีกครั้ง ที่นอกเหนือจากไฟล์ JPG นั่นเองครับ

3. ตั้งค่า ISO Auto หรือ High ISO ทิ้งไว้

ค่า ISO หรือ ค่าความไวแสง เป็นอีก Setting ที่มีผลโดยตรงกับภาพที่เราจะได้ ซึ่งเจ้า ISO นั้นเสมือนเป็นการบูทสัญญาณที่ Sensor เพื่อให้ได้ภาพที่สว่างขึ้นกว่าปกติ ยิ่ง ISO สูงเท่าไร ภาพที่ได้ยิ่งสว่างมากขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้เจ้า ISO แม้จะช่วยให้ภาพของเรามีความสว่างมากยิ่งขึ้นก็ตาม แต่ก็มีผลเสียด้วยเช่นกัน กล่าวคือ เจ้า ISO ยิ่งเราบูทสัญญาณค่า ISO สูงมากเท่าไร ภายในภาพของเราก็จะยิ่งมีสัญญาณรบกวน หรือ Noise ภายในภาพมากยิ่งขึ้นเท่านั้นด้วยครับ ซึ่งแน่นอนว่าช่างภาพ Travel Photography นั้น คงไม่มีใครที่อยากจะให้ภาพของตนมี Noise รบกวนในภาพจนทำให้ภาพไม่สวยสดงดงามเหมือนดั่งที่เห็นจาก Location จริง ซึ่งสาเหตุที่แนะนำให้เลี่ยงการตั้ง ISO Auto ไว้ นั่นเพราะ ระบบการประมวลผลของกล้องแต่ละรุ่นนั้น ส่วนมากจะพยายามใช้ค่า ISO ให้สูงในระดับที่ผู้ใช้งานสามารถถ่ายภาพได้ โดยที่ภาพไม่สั่นไหวนั่นเองครับ

4. ตั้ง Speed Shutter ไว้ต่ำเกินไป

บางคนอาจจะเคยเห็นภาพวิวทิวทัศน์บางภาพมีความคมชัดสวยงาม บางภาพอาจจะดูสั่นไหว เบลอจนไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่ง Travel Photography ส่วนมากจะค่อนข้างซีเรียสในเรื่องนี้เช่นเดียวกับการเกิด Noise ในภาพ เพราะ การถ่ายภาพท่องเที่ยว ไม่ว่าจะในประเทศ , ต่างประเทศ คงไม่มีใครปลื้มกับภาพที่ตัวเองถ่ายมาแล้วสั่นเบลอจนแทบอยากจะกด Delete ณ ตอนนั้นกันเลยทีเดียว สาเหตุหลักๆมาจาก ค่า Speed Shutter ที่ต่ำกว่าที่ตัวกล้องจะรับมือไหว ซึ่งปัจจัยที่ว่านี้สามารถดูได้จาก ช่วงทางยาวโฟกัสของเลนส์ สมมติว่าเราใช้เลนส์ระยะ 18mm. ค่า Speed Shutter ขั้นต่ำที่ควร Setting ไว้ควรเป็น 1/18 และ/หรือ มากกว่านั่นเองครับ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาพสั่นไหว หรือ อีกวิธีการ คือ การเพิ่มค่า ISO ให้สูงขึ้น แม้ว่าอาจจะขัดกับข้อด้านบน แต่ทั้งนี้ค่า ISO ที่เราจะปรับให้สูงขึ้นนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องปรับค่า ISO ให้สูงสุดตลอด เพียงแต่ให้เราปรับค่า ISO ให้สอดคล้องกับ Speed Shutter ให้มากกว่าหรือเท่ากับทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่เราใช้นั่นเองครับ

5. ช่วงเวลาในการถ่ายภาพ

เชื่อว่าช่างภาพ Travel Photography ไม่ว่าจะเป็นช่างภาพมือใหม่ , ช่างภาพมือสมัครเล่น ล้วนแล้วแต่อยากได้ภาพที่ Exclusive กันหมด โดยเฉพาะการไปท่องเที่ยวในต่างแดนด้วยแล้ว ทุกคนคงต้องเคยผ่านจุดที่ยกกล้องถ่ายภาพรัวๆ เพื่อหวังว่าจะเก็บ Moment นั้นๆให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แน่นอนว่าถ้าเป็นการถ่ายเพื่อเก็บบันทึกความทรงจำนั้น มันคือเรื่องที่ดี แต่สำหรับ Travel Photography ที่จริงจังกับผลลัพธ์ของภาพที่ได้ มักจะศึกษาเรื่องช่วงเวลาในการถ่ายภาพมาด้วยเสมอครับ เพราะ แต่ละสถานที่ ในแต่ละภูมิภาค ภูมิประเทศนั้น ต่างมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไปด้วยนั่นเอง บางครั้งเราอาจจะเห็นช่างภาพหลายๆท่านไม่นิยมถ่ายภาพในช่วงเวลาเที่ยง อันเนื่องมาจากสภาพแสงแดดที่ค่อนข้างจัดนั่นเองครับ ทั้งนี้ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพนั้นหลักๆจะมีช่วงรุ่งเช้า กับ ช่วง Twilight เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจาก 2 ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่แสงธรรมชาติค่อนข้างจะนุ่มนวล และมีสีสันที่สวยงาม โดยเฉพาะช่วงเวลา Twilight จะมีอีก 2 ช่วงเวลาที่อยู่คาบเกี่ยว คือ Golden Hours และ Blue Hours ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ช่างภาพต่างเก็บเกี่ยวรูปภาพให้ได้มากที่สุด เพราะ ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดขึ้นไม่นานด้วยนั่นเองครับ

6. ความพร้อมของอุปกรณ์

เพื่อนๆพออ่านมาถึงหัวข้อนี้ อาจจะสงสัยเล็กน้อย เพราะ ก่อนหน้านี้ในแต่ละหัวข้อต่างก็เป็นเรื่องของการ Setting หรือ เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าการถ่ายภาพ เป็นซะส่วนใหญ่ สำหรับหัวข้อนี้ต้องบอกว่าเรื่องที่ไม่ได้ไกลตัวเลยก็ว่าได้ครับ เชื่อว่าบางท่านเวลาที่ไปท่องเที่ยวถ่ายภาพในต่างแดน มักจะจัดเต็มทั้งกล้อง / เลนส์ และ อุปกรณ์ต่างๆ โดยคาดหวังว่าจะได้ภาพสวยๆกลับมาเป็นที่ระลึก หรือ นำมาโพสต์ลง Social ให้เพื่อนๆได้รับชมกัน ซึ่งแน่นอนว่าการพกพาอุปกรณ์ไปคราวละมากๆ ก็เป็นข้อดีที่เพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มความหลากหลายในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี แต่ในทางกลับกันแม้จะมีความยืดหยุ่นมากเพียงใด แต่ถ้าสภาพอุปกรณ์ไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานด้วยแล้ว ก็คงจะไม่มีประโยชน์ใดๆที่เราพกอุปกรณ์มามากครับ ฉะนั้น เราควรหมั่นเช็คอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกล้องที่ทำงานได้เต็มระบบ , เลนส์สามารถโฟกัสได้ตามปกติ , แบตเตอรี่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เก็บประจุไฟได้ดี เป็นต้น

7. พึงระวังเรื่อง Highlight / Shadow

ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะกึ่งๆ Advance สำหรับช่างภาพมือใหม่ไปซักหน่อยครับ แต่สำหรับช่างภาพ Travel Photography ที่ซีเรียสเรื่องผลงานนั้น ถือว่าต้องรู้เลยครับ เพราะ เจ้า Hilight และ Shadow ต่างก็ปรากฏให้เห็นอยู่ในภาพของเราอยู่แล้วนั่นเองครับ โดย Hilight นั้นจะเป็นส่วนสว่างภายในภาพ ส่วน Shadow จะเป็นส่วนเงามืดภายในภาพ ทั้งนี้ในการถ่ายภาพหากเรารักษาสมดุลของ Hilight และ Shadow ไม่อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เราก็จะได้ภาพที่สามารถนำไป Process ต่อได้เป็นอย่างดี แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่สามารถคุมค่า Hilight หรือ Shadow ให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ จะทำให้ภาพของเรามีส่วนที่ผิดปกติไป เช่น หากไม่สามารถคุม Hilight ได้ จะทำให้ภาพในส่วนที่เป็นท้องฟ้า จะมีลักษณะเป็นปื้นขาวสูญเสียรายละเอียดไป หรือ หากไม่สามารถคุม Shadow ได้ จะทำให้รายละเอียดในส่วนเงามืดจะจมหายไปด้วยเช่นกัน นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราควรตั้งค่าสกุลไฟล์ให้เป็น RAW ไว้ด้วยนั่นเองครับ

8. ภาพเอียง

มาถึงข้อสุดท้าย ที่แทบจะเป็นปัญหาสุด Classic ที่ไม่ว่าจะเป็นช่างภาพมือใหม่ , ช่างภาพมือสมัครเล่น และ/หรือ ช่างภาพมืออาชีพ ก็ต้องเคยผ่านจุดนี้มาเช่นกันครับ สำหรับ Travel Photography การถ่ายภาพท่องเที่ยว จริงอยู่ว่า ภาพวิวทิวทัศน์ โดยเฉพาะบาง Landmark จะมีจุดที่เรียกว่ามุมมหาชน ที่เชื่อว่าหลายๆท่านเมื่อไปเยือน ณ จุดนั้นๆ ต่างก็อยากได้ภาพมุมมหาชนเช่นกัน แต่ทั้งนี้การถ่ายมุมมหาชน 10 คน จาก 10 กล้อง เชื่อหรือไม่ว่า จะต้องมี 1 – 5 คน เป็นอย่างน้อยที่ภาพมุมมหาชนเหล่านั้น จะมีโอกาสที่ได้ภาพเอียง ไม่ว่าจะเอียงซ้าย เอียงขวา ซึ่งการเอียงเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลโดยตรงกับภาพของเราแล้วครับ ฉะนั้น Feature ในกล้องอย่าง เส้น Grid และ ตัววัดระดับน้ำ ที่ปกติช่างภาพมือใหม่มักจะปิดทิ้งหมด แต่ 2 Feature นี้ จะเป็นตัวช่วยเรื่องป้องกันภาพเอียงได้เป็นอย่างดีครับ

Credit  :  Digitalphotographyschool

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

inbox : http://www.facebook.com/messages/zoomcamera

02-635-2330 ต่อ 0 / 083-067-7677 (หยุดวันอาทิตย์)

สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772

สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123

สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919

สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498

สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775

สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896

สาขา Central Westgate 02-060-4362 / 097-063-4328

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 20/08/2018

Leave a Reply

โค้ดลดสูงสุด

3,000

Happy Code Day 26-28 MAR

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save