Basic Guide : Exposure แบบไหน ที่ใช่สำหรับภาพ Landscape Leave a comment

การถ่ายภาพ ก็เปรียบเสมือนศาสตร์แขนงนึง ที่มีองค์ประกอบศิลป์ที่จะช่วยเติมเต็มให้กับภาพที่เราถ่ายนั้น ให้ออกมาได้อย่างสมบูรณ์และลงตัวที่ตัว นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เรามักไม่สามารถควบคุมได้ตามต้องการ 100% อาทิเช่น สภาพดินฟ้าอากาศ , ฤดูกาล รวมถึงสภาพแสงที่มักมีผลโดยตรง ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพรูปแบบไหนก็ตามที ซึ่งวันนี้ Zoomcamera มีบทความที่น่าสนใจอย่าง ” Basic Guide : Exposure แบบไหน ที่ใช่สำหรับภาพ Landscape “ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เหมาะสำหรับผู้ที่ริเริ่ม และ/หรือ หัดถ่าย Landscape จะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามชมได้เลยครับ

1. ทำความเข้าใจกับ Exposure Triangle

สำหรับมือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า Exposure Triangle ซักเท่าไรนัก ในความเป็นจริงแล้วเจ้า Exposure Triangle คือ ความสัมพันธ์ของค่า 3 ค่า ที่ส่งผลต่อสภาพแสงภายในภาพ โดย 3 ค่าดังกล่าวนั้น จะประกอบไปด้วย

Aperture (รูรับแสง)

Aperture หรือรูรับแสง จะอยู่ที่เลนส์ทุกตัว มีหน้าที่เหมือนประตูทางเข้าของแสง อยู่ที่ว่าจะเปิดกว้างให้แสงเข้าได้มากหรือเข้าได้น้อย เราใช้ค่า F-Stop แทนค่าขนาดของรูรับแสง ซึ่งเลนส์แทบทุกตัวจะสามารถปรับค่ารูรับแสงได้ หากรูรับแสงกว้างตัวเลขจะมีเลขน้อย ๆ เช่น F1.4,F2,F2.8 หากตัวเลขยิ่งสูงขึ้นนั่นหมายความว่ารูรับแสงจะแคบลงเรื่อย ๆ ครับเช่น F11,F16,F18 ครับผม

Speed Shutter (ความเร็วชัตเตอร์)

ความเร็วชัตเตอร์มีหน้าที่ควบคุมระยะเวลาในการที่กล้องจะเก็บแสงว่าให้เก็บแสงนานแค่ไหน ซึ่งแสดงเป็นค่าตัวเลขในหน่วยของเวลาคือวินาที ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณเห็นตัวเลข 1/500 นั่นคือเราจะอ่านว่า”หนึ่งส่วนห้าร้อยวินาที” อธิบายให้เห็นภาพคือแบ่ง 1 วินาทีเป็น 500 ส่วน และใช้เวลาเก็บแสงเพียงแค่ 1 ส่วนนั่นเอง ซึ่งเป็นเวลาที่ไม่ถึง 1 วินาทีด้วยซ้ำ ยิ่งตัวเลขเยอะยิ่งหมายความว่าสปีดชัตเตอร์จะมีความเร็วมากขึ้นนั่นเองครับ

ISO (ความไวแสง)

ISO มีหน้าที่ควบคุมระดับความไวของแสงที่กระทบลงไปที่เซ็นเซอร์รับภาพ ยิ่งตัวเลขมากก็ยิ่งทำให้สว่างมากขึ้นครับ อย่างแถบตัวอย่างภาพด้านบน โดยหลักการทำงานคือมันไปขยายสัญญาณที่เซ็นเซอร์รับมา เพราะฉะนั้นหากมีการเร่งสัญญาณสูงมาก สัญญาณก็มีการกวนกันมากขึ้น ส่ิ่งที่ตามมาเป็นเหมือนเงาตามตัวนั่นก็คือ Noise หรือภาพแตกเสียรายละเอียดนั่นเองครับ ซึ่ง Noise เองจะทำให้ภาพเสียความละเอียดทั้งพื้นผิวและรายละเอียดของสีก็หายไปด้วยครับ

ที่กล่าวมาทั้งหมด รูรับแสง สปีดชัตเตอร์ และ ISO ทั้ง 3 ค่านี้เป็นตัวการหลักที่จะทำให้คุณได้ภาพแบบที่ต้องการ เพราะทั้ง 3 สิ่งนี้ ทำงานสัมพันธ์กันหากมีค่าไหนมีการเปลี่ยนแปลงไปก็มีผลกับความสว่างและความมืดของภาพทั้งนั้น โดยที่เราเรียกการที่แสงสว่างขึ้น 1 เท่า ว่า +1Stop หรือหากแสงมืดลงครึ่งหนึ่ง เราก็เรียกว่า -1Stop เพราะฉะนั้น Stop ก็คือหน่วยของค่าแสงที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั่นเอง โดยสัญลักษณ์หรือสเกลที่จะบ่งบอกว่าตอนนี้แสงสว่างขึ้นหรือน้อยลงมีอยู่ในกล้องทุกตัว มีหน้าตาแบบในกรอบสามเหลี่ยมสีชมพูด้านบนครับ ซึ่งมันก็คือหัวใจของการวัดแสง และควบคุมแสงนั่นเองครับ

2. การวัดแสง

แม้ว่าในปัจจุบันกล้อง MIrrorless จะสามารถเห็นภาพตั้งแต่ก่อนกดถ่ายได้ โดยช่างภาพมือใหม่หลายๆท่าน มักจะไม่ได้ให้ความสำคัญในส่วนนี้กันซักเท่าไร แต่รู้หรือไม่ว่าการวัดแสง ก็ส่งผลโดยตรงต่อภาพของเราด้วยเช่นกันครับ ซึ่งหลักๆจะมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ

– Matrix หรือ Evaluative Metering

กล้องบางรุ่นใช้คำว่า Multi Segment การถ่ายภาพในโหมดอัตโนมัติมักใช้ระบบวัดแสงแบบนี้ โดยเฉพาะกล้องดิจิตอลรุ่นเล็ก เพราะเป็นระบบที่ใช้ง่าย และให้ผลดีกับสถานการณ์ส่วนใหญ่ สำหรับภาพที่เหมาะกับระบบวัดแสงแบบนี้ คือภาพที่มีแสงสะท้อนตามบริเวณต่างๆ ไม่ต่างกันมากนัก เช่น ภาพทิวทัศน์ทั่วไป หรือภาพที่ต้องการความเร็วในการถ่าย เช่น งานพิธีต่างๆ ซึ่งไม่ต้องการวัดแสงที่ละเอียดมากนัก

– Center-Weighted Average Metering

ระบบวัดแสงเฉลี่ยหนักกลางให้ความสำคัญกับค่าแสงบริเวณกลางภาพมากกว่ารอบนอก ดังนั้นจึงเหมาะกับการถ่ายภาพที่เน้นวัตถุที่มีขาดพอที่จะเต็มเฟรม เช่น บุคคล, สัตว์, วัตถุต่างๆ และการถ่ายภาพแบบมาโครเป็นต้น

– Spot Metering

ระบบวัดแสงแบบนี้ใช้กับการถ่ายภาพที่ต้องการเน้นค่าแสงตรงจุดใดจุดหนึ่งเป็นพิเศษ โดยต้องอาศัยความชำนาญพอสมควร เพราะค่อนข้างละเอียด เหมาะกับการถ่ายภาพที่มีความเปรียบ(contrast) ของแสงสูง โดยเลือกเน้นในจุดที่ต้องการให้แสงพอดีได้ นอกจากนี้ยังเหมาะกับการถ่ายภาพย้อนแสง หรือกรณีที่องค์ประกอบในภาพมีแสงสะท้อนหลากหลาย โดยให้เลือกวัดแสงในส่วนที่ต้องการให้แสงพอดี

3. การถ่ายคร่อมแสง

หลังจากผ่าน 2 ข้อไปแล้ว ในบางสถานการณ์แสงก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการถ่ายภาพ แม้ว่าเราจะวัดแสงจากสถานการณ์ตรงหน้าออกมาดีแค่ไหนแล้วก็ตามที อีกวิธีการที่ค่อนข้างจะ Advanced ขึ้นมา คงจะหนีไม่พ้นการถ่ายคร่อมแสง หรือ Bracketing นั่นเอง โดยในกล้อง Mirrorless แทบทุกรุ่นในปัจจุบัน จะมี Function Bracketing มาพร้อมกับกล้อง โดยความสามารถของมัน คือ สามารถ Setting ค่า Exposure ให้มีความต่างกันในแต่ละ Shot นั่นเอง ซึ่งเมื่อเราได้วัตถุในส่วนนี้แล้ว เราจะนำภาพเหล่านั้นมาทำการ Process ต่อด้วย Programe ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Lightroom / Photoshop และ/หรือ การนำมาทำเป็นภาพ HDR เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาสมบูรณ์ที่สุดนั่นเอง

4. พิจารณา Histogram

หากแปลความหมายตาม dictionary แล้ว Histogram ก็คือ “A bar graph of a frequency distribution in which the widths of the bars are proportional to the classes into which the variable has been divided and the heights of the bars are proportional to the class frequencies.”

หรือ ถ้าแปลตามภาษาในวงการกล้องแล้ว ฮิสโทแกรม เป็นกราฟแสดงจำนวนพิกเซลที่ความสว่างต่างๆ ของภาพ สังเกตได้จากภาพแรกด้านล่าง แกนนอนเป็นระดับความสว่างที่แบ่งระดับเป็น 256 ระดับ (มักเรียกว่าระดับสีเทา หรือ gray level) โดยมีค่าตั้งแต่ 0-255 เมื่อระดับสีเทามีค่าต่ำ (ด้านซ้ายมือ) หมายถึงมีความสว่างน้อย จะมองเห็นเป็นสีดำ ค่าระดับสีเทามาก (ด้านขวามือ) หมายถึงมีความสว่างมากจะมองเห็นเป็นสีขาว แกนตั้งของกราฟแสดงจำนวนพิกเซลในแต่ละความระดับสีเทาซึ่งเป็นค่าสัมพัทธ์ นั่นเองครับ

การอ่านค่า Histogram

Histogram จัดว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่กล้องถ่ายรูปในยุคปัจจุบันมีมาให้เราแทบทุกรุ่น ซึ่งเจ้า Histogram นี้จำนำเราไปสู่การตั้งค่า exposure ที่ถูกต้อง แต่เราเองบางครั้งหรือหลายๆครั้งมักจะมีความเข้าใจที่ผิดพลาดกับเครื่องมือนี้ ในบทความนี้ เราจะเน้นไปที่การอ่าน Histogram และการนำไปใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งค่า exposure ที่เหมาะสมที่สุด ณ เวลานั้นๆ

สำหรับการอ่าน Histogram แบบง่ายๆนั้น ให้เราพิจารณาจากกราฟเป็นหลักครับ โดย

– กราฟแท่งที่แสดงถึงความถี่หรือจำนวนของ pixel ที่กระจายอยู่ ณ ช่วงค่าความสว่างต่างๆ

– ส่วนด้านซ้าย คือส่วนที่เป็นด้านมืดหรือเงา

 – ส่วนด้านขวา คือ ส่วนที่เป็นสีขาวหรือส่วนสว่างของภาพ 

– ส่วนตรงกลาง คือ ส่วนสีเทา โดยที่ส่วนที่เป็นความสูงจะแสดงถึงจำนวนที่มีของค่าความสว่างหรือในช่วงโทนนั้นๆ แต่ละโทนซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0-255 (0 คือ มืดสุด และ 255 คือ สว่างสุด) คือค่าตำแหน่งบนแกนแนวนอนของกราฟ

Histogram บอกอะไรเราบ้าง และ ประโยชน์ของ Histogram ??

มาถึงตรงนี้ Admin เชื่อว่าเพื่อนๆ พอจะเข้าใจเกี่ยวกับ Histogram กันบ้างแล้ว ซึ่งบางภาพที่เพื่อนๆถ่ายออกมานั้น เจ้า Histogram ในภาพ ก็สามารถบอกอะไรแก่เราออกมาได้หลายอย่าง ซึ่งถ้าค่า Exposed ดี รูปกราฟจะกระจายตัวแบบ สูงตรงกลางและมีที่ว่างซ้ายขวาเท่ากัน ความสูงเท่าๆกัน หรือ ทรงระฆังคว่ำ นั่นเอง

ซึ่งข้อดีของการที่กราฟของ Histogram มีลักษณะเป็น ทรงระฆังคว่ำ นั้น เราสามารถนำภาพที่ได้ไปปรับแต่งได้โดยง่าย โดยที่ยังคงรายละเอียดไว้ได้อย่างครบถ้วน ในทางกลับกัน หากกราฟอยู่ที่ข้างใดข้างหนึ่งมากจนเกินไป แสดงว่าเรากำลังพลาดในการเก็บรายละเอียดบางอย่างไป หรือ ทำให้รายละเอียดบางอย่างสูญเสียไป ทางแก้ง่ายๆเบื้องต้น คือ เราสามารถปรับค่า Exposure ทาง +/- ได้ครับ ( ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ )

5. ใช้ ND Filter เพิ่มเติม

จริงอยู่ที่การวัดแสงในภาพที่พอเหมาะ ก็เพียงพอต่อการนำภาพมา Process ต่อได้โดยง่าย แต่ในบางครั้งการวัดแสง / การถ่ายคร่อมแสง ก็ไม่อาจตอบโจทย์ได้ทุกกรณีเสมอไป อีก 1 ทางเลือกที่ช่างภาพสาย Landscape นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก คงจะหนีไม่พ้นการเลือกใช้ ND Filter เข้ามาทดแทน โดยในปัจจุบัน Filter มีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทั้ง Filter แผ่น / Filter กลม / Filter ครึ่งซีก ซึ่งโดยเฉพาะ Filter ครึ่งซีก จะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการถ่าย Landscape ที่อาจจะ Filter ซีกที่เข้มปิดบังแสงบริเวณท้องฟ้า และ ปล่อยแสงให้เข้าปกติในบริเวณที่เหลือแทนนั่นเอง

Credit  >>> contrastly.com 

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 08/09/2017

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save