พื้นฐานการตั้งค่าสำหรับคนเริ่มหัดถ่ายวิดีโอ ตอนที่ 1 Leave a comment

บอกก่อนว่าบทความนี้แยกเป็น 2 ตอนนะครับโดยในตอนที่ 1 นี้สำหรับคนที่เริ่มหัดถ่ายวิดีโอรอบนี้เราจะมาสอนการตั้งค่ากันแบบพื้นฐานเลยฉะนั้นจะไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดมากนักผมจะสรุปเป็นทางที่ใช้งานได้สะดวกและง่ายกับทุกคนไว้ให้นะครับ ส่วนใครอยากให้ลงรายละเอียดลึกกว่านี้ตั้งโหมด M นู่นนี่นั่นไปอ่านในบทความที่ 2 ได้เลย หรือใครอยากให้อธิบายในส่วนไหนเพิ่มเติมก็ Inbox มาบอกกันใน Fanpage ZoomCamera ได้เลย

พื้นฐานการตั้งค่าสำหรับคนเริ่มหัดถ่ายวิดีโอ ตอนที่ 1

1. PAL กับ NTSC

น่าจะเคยได้ยินเรื่อง PAL กับ NTSC กันมาบ้างใช่มั้ยครับ ขออธิบายสั้น ๆ ว่าเป็นมาตราฐานระบบสัญญาณภาพที่ใช้กันทั่วโลกละกันซึ่งมันก็จะมีให้เลือกหลัก ๆ สองอันนี้แหละในกล้องของเราก็สามารถเลือกได้ว่าจะบันทึกวิดีโอในระบบไหน ในประเทศไทยจะใช้ระบบ PAL ซึ่งข้อแตกต่างของสองอันนี้คือ PAL จะเป็นแบบ 50Hz ส่วน NTSC นั้น 60Hz ซึ่งกล้องจะปรับการตั้งค่าเฟรมเรตวิดีโอให้สัมพันกับระบบที่คุณเลือกใช้ด้วยนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมตอนเราอ่านสเปคกล้องเค้าบอกว่าถ่ายวิดีโอได้ 1080p 60fps แต่ตอนซื้อมาใช้มันตั้งได้แค่ 50fps เองเพราะกล้องซื้อในบ้านเรามันถูกตั้งไว้ที่ระบบ PAL(แต่บางรุ่นก็จะมี 60fps ให้เลือกเหมือนเดิม)มาตั้งแต่แรก ซึ่งเราจะเปลี่ยนก็ได้แต่ผมแนะนำให้ตั้ง PAL ไว้นั่นแหละดีแล้วครับ

สรุป : ประเทศไทยเราใช้ระบบ PAL ตั้งค่าใช้งานเป็น PAL ได้เลย

พื้นฐานการตั้งค่าสำหรับคนเริ่มหัดถ่ายวิดีโอ ตอนที่ 1

2. 1080p, 1080i

เดี๋ยวนี้กล้องไม่ค่อยมี 1080i มาให้เลือกแล้วผมเลยจะไม่อธิบายเยอะทุกคนสามารถค้นหาเรื่องนี่ใน Google เพิ่มได้ง่าย ๆ เลยครับ ยิ่งถ้ากล้องคุณไม่มีตัวเลือกนี้ข้ามไปอ่านข้อ 3 ได้เลย

P = Progressive scan

I = Interlaced scan

ถ้ากล้องใครยังมีให้ตั้ง i ได้อยู่คุณอาจจะเห็นเมนูแบบนี้ในการตั้งค่าความละเอียดวิดีโอ 1080p 50fps, 1080i 50fps ซึ่ง P จะให้ภาพที่ดีกว่า I แน่นอนครับ

สรุป : ให้เลือกใช้แบบที่มี P จะให้คุณภาพไฟล์ที่ดีกว่า

3. Resolution ความละเอียด จะใช้เท่าไหร่ดี

ปัจจุบันเราก้าวเข้าสู่ยุค 4K กันแล้วทีวี 4K ไม่ได้ราคาแพงมหาโหดแบบเมื่อก่อนมนุษย์เงินเดือนทุกคนสามารถซื้อทีวี 4K มานั่งดูชิล ๆ ที่บ้านได้สบายและนับวันมีแต่จะถูกลงเรื่อย ๆ ถ้าใครจะเตรียมทำ Content แบบ 4K ตอนนี้เลยก็ไม่เสียหาย

พื้นฐานการตั้งค่าสำหรับคนเริ่มหัดถ่ายวิดีโอ ตอนที่ 1

แน่นอนว่ายิ่งความละเอียดสูงกว่าย่อมดีกว่า 4K นั้นละเอียดกว่า Full HD 1080p ถึง 4 เท่า(8 ล้านพิกเซล vs 2 ล้านพิกเซล) หากเราถ่ายวิดีโอ 4K มาใช้งานบน Full HD จะเรามีพื้นที่ให้ Crop วิดีโอได้เยอะมากโดยที่ภาพไม่แตกเลย แต่ข้อเสียของความละเอียดสูงคือขนาดมันใหญ่มาก และกินทรัพยากรคอมพิวเตอร์เราแบบสุด ๆ การตัดต่อวิดีโอ Full HD กับ 4K ต่างกันมาก 4K เราจะต้องใช้พื้นที่ HDD เยอะกว่ามาก กินแรมเยอะกว่ามาก และใช้เวลาเรนเดอร์ตอบจบงานนานกว่าอย่างชัดเจน ฉะนั้นการจะเลือกใช้ความละเอียดระดับไหนอย่าลืมคิดถึงคอมฯที่บ้านและ HDD ที่เหลือกันด้วยล่ะ

สรุป : ความละเอียดยิ่งสูงยิ่งดี 4K ถ้าใช้ได้ก็จัดไปเลย แต่อย่าลืมว่าคอมฯต้องแรงพอและพื้นที่การ์ดกับ HDD ต้องเตรียมให้พร้อมรับขนาดไฟล์ที่ใหญ่

4. Framerate เฟรมเรตจะเลือกเท่าไหร่ดี

ในกล้องเรามีให้เลือกเยอะทั้ง 24fps, 25fps, 30fps, 50fps, 100fps วิธีการเลือกนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน ยิ่งเฟรมเรตเยอะภาพที่ได้มันก็จะดูลื่นไหลแต่เยอะไปบางคนก็ว่ามันดูไม่เป็นธรรมชาติลื่นเนียนเกินไป ปกติแล้วมาตราฐานเฟรมเรตของภาพยนตร์จะอยู่ที่ 24fps ใช้กันมาตั้งแต่สมัยฟิล์มยังไม่มีสีซึ่งก็ลื่นไหลดีอย่างที่เราเห็นเวลาไปดูหนังนั่นแหละ ส่วนวิดีโอบน Facebook อยู่ที่ 30fps บน Youtube รับได้สูงสุดที่ 60fps เวลาเลือกใช้เฟรมเรตก็นึกว่าอยากเอาวิดีโอไปใช้ต่อที่ไหนก็เลือกเอาตามการใช้งานได้เลย

พื้นฐานการตั้งค่าสำหรับคนเริ่มหัดถ่ายวิดีโอ ตอนที่ 1

การเลือกใช้เฟรมเรตสูงนั้นจะมีข้อได้เปรียบที่สามารถนำวิดีโอไปทำ Slowmotion ได้เช่น ผมถ่ายวิดีโอ 1080p 60fps มาแต่จะเอาไปอัพลงเฟสที่ 30fps ผมสามารถเลือกว่าจะอัพขึ้นไปเฉย ๆ ตามปกติหรือจะเข้าโปรแกรมดึง 60fps ให้เล่นที่ 30fps ทำให้วิดีโอนั้นดูช้าลงครึ่งหนึ่งก็ได้(เพราะเรามีเฟรมเรตที่เก็บมา 60 ภาพต่อวินาทีแต่เอามาเล่นที่ 30 ภาพต่อวินาทีเราเลยเห็นภาพช้าลง) การเลือกใช้เฟรมเรตจะมีผลโดยตรงกับความเร็วชัตเตอร์ที่เราจะต้องใช้ซึ่งเดี๋ยวเราจะพูดถึงอีกทีหลังในช่วงท้ายและลึกขึ้นในตอนที่ 2 นะครับ

สรุป : มาตราฐานภาพยนตร์ 24fps / Facebook รับได้สูงสุดที่ 30fps / Youtube รับได้สูงสุด 60fps เลือกใช้เฟรมเรตเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเรา

5. Bitrate มาก-น้อยแตกต่างกันอย่างไร

Bitrate บอกเราว่าใน 1 วินาทีมีข้อมูลวิ่งในวิดีโอเท่าไหร่ ปกติที่เราใช้กันจะมีหน่วยเป็น Mbps(Megabit per second) ยิ่ง Bitrate สูงยิ่งให้คุณภาพไฟล์ที่ดีแต่แน่นอนว่าขนาดไฟล์ก็จะใหญ่ขึ้นด้วยเช่นกัน กล้องอย่าง Panasonic Lumix DC-GH5 สามารถบันทึกวิดีโอ 4K 400Mbps ได้ซึ่งไฟล์วิดีโอยาว 5 นาทีอาจมีขนาดใหญ่ได้ถึง 15GB เลย

สรุป : ยิ่ง Bitrate สูงยิ่งให้คุณภาพไฟล์ที่ดีแต่จะยิ่งมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ขึ้นต้องระวังเรื่องพื้นที่ในการ์ดให้ดีด้วย

6. Format ไฟล์วิดีโอ

กล้องบางยี่ห้ออาจจะมีฟอร์แมตที่ตัวเองพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะอย่างพวก XAVC S, AVCHD การเลือกใช้ให้เรานึกถึงการรองรับของโปรแกรมว่าโปรแกรมที่เราใช้ตัดต่อไม่่วาจะในคอมฯหรือมือถือมันรองรับไฟล์แบบไหนได้บ้าง แต่ถ้านึกอะไรไม่ออกแนะนำให้ถ่ายเป็นไฟล์ MP4 เป็นมาตราฐานที่โปรแกรม 99% สามารถรองรับได้อยู่แล้ว

สรุป : ไปดูโปรแกรมที่เราใช้ตัดต่อว่ารองรับไฟล์แบบไหนบ้าง แต่คิดอะไรไม่ออกบอกไม่ถูกก็ตั้ง MP4 ไปเลย คุณภาพดีใช้งานได้สบายและ 99% ของโปรแกรมรองรับได้

7. ถ่ายวีดีโอใช้โหมดไหนดี

ก็โหมดวิดีโอไง! เดี๋ยว ๆ ๆ อย่าเพิ่งหนีกันนะครับทุกคน 555 ในตอนที่ 2 ผมจะสอนตั้งค่าด้วยโหมด M ซึ่งจะอธิบายไว้ว่าผลของการตั้งค่าแต่ละอย่างมีอะไรบ้างและจะตั้งค่าอย่างไร แต่ในตอนนี้เราจะคุยกันแบบง่าย ๆ กันก่อนด้วยโหมด Auto และ P, A, S

พื้นฐานการตั้งค่าสำหรับคนเริ่มหัดถ่ายวิดีโอ ตอนที่ 1

ถ้าคุณเข้ามาอ่านบทความนี้น่าจะเริ่มสนใจเรื่องการถ่ายวิดีโออย่างจริงจังแล้ว ผมอยากให้คุณเลิกกับ Auto ซะลืมเธอให้ได้แล้วเราจะไปหาอนาคตที่ดีกว่ากับ P, A, S กัน ซึ่งสำหรับการถ่ายวิดีโอนั้นผมแนะนำให้ใช้โหมด S เพราะเป็นโหมดที่เราควบคุมความเร็วชัตเตอร์แล้วปล่อยให้กล้องจัดการกับรูรับแสงตามใจชอบสาเหตุที่แนะนำโหมดนี้เพราะว่าในการถ่ายวิดีโอเรามีกฎเหล็กที่ต้องควบคุมความเร็วชัตเตอร์ให้เป็น 2 เท่าของเฟรมเรตที่เลือกใช้เสมอเพื่อให้การเคลื่อนไหวของวัตถุต่าง ๆ ในวิดีโอดูลื่นไหลเป็นธรรมชาติ(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ตอน 2)ฉะนั้นจึงสำคัญมากที่เราต้องคุมความเร็วชัตเตอร์ให้เท่าเดิมตลอดเวลา

อย่างถ้าคุณถ่ายที่ 30fps ให้ใช้ชัตเตอร์ 1/60 วินาที

ส่วน P นั้นก็พอใช้ได้กล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงให้เราถ้ากล้องของคุณถูกสอนมาจากโรงงานว่าต้องคุมความเร็วชัตเตอร์ขณะถ่ายวิดีโอให้เหมาะสมคุณถ่ายวิดีโอด้วยโหมด P ได้สบาย ๆ เลย แต่เราจะไม่รู้เลยจนกว่าจะลองและการใช้โหมด S ก็ไม่ได้ยากกว่าการใช้ P ผมจึงอยากแนะนำให้ใช้ S มากกว่า

ส่วน A นั้นไม่แนะนำเลยเพราะเราคุมรูรับแสงแต่กล้องคุมความเร็วชัตเตอร์ฉะนั้นความเร็วชัตเตอร์จะวิ่งขึ้นลงตลอดเวลา

สรุป : ผมแนะนำให้ใช้โหมด M แต่ถ้าอยากได้อะไรที่สะดวกรวดเร็วขึ้นแนะนำให้ใช้โหมด S ครับ

พื้นฐานการตั้งค่าสำหรับคนเริ่มหัดถ่ายวิดีโอ ตอนที่ 1

ก่อนจากกัน…

สุดท้ายหวังว่าอ่านแล้วจะเป็นประโยชน์กับทุกคนไม่มากก็น้อยนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือสังเกตว่าส่วนไหนมีความผิดพลาดของข้อมูลก็หลังไมค์บอกกันในแฟนเพจได้เลยจะได้แก้ไขเพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ต่อไปนะครับ และถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ฝากแชร์ต่อกันด้วยนะครับ ขอบคุณทุกคนครับผม

อย่าลืมไปอ่านตอนที่ 2 กันด้วยนะครับ พื้นฐานการตั้งค่าสำหรับคนเริ่มหัดถ่ายวิดีโอตอนที่ 2

Leave a Reply

โค้ดลดสูงสุด

3,000

Happy Code Day 26-28 MAR

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save