เปรียบเทียบ EOS R6

เปรียบเทียบ EOS R6 vs A7 III vs Lumix S1 ใครเจ๋งสุด Leave a comment

เปิดตัวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับ กล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นล่าสุดจากทาง Canon อย่าง Canon EOS R5 และ Canon EOS R6 มาพร้อมสเปคและฟีเจอร์ต่างๆที่ไม่ทำให้สาวกต้องผิดหวังแต่อย่างใด ไม่ว่าจะ Video 8K , 4K หรือ ระบบกันสั่นใน Body

เชื่อว่าเพื่อนๆน่าจะให้ความสนใจไปที่ Canon EOS R6 กันเป็นส่วนใหญ่ อาจด้วยสเปคและฟีเจอร์ ที่เสมือนเป็น EOS R5 ย่อส่วนลงมาในราคาที่ถูกลงนั่นเอง ซึ่งใน Content จะเป็นการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ EOS R6 กับ กล้อง Mirrorless ในระดับเดียวกันครับ

Content ที่เกี่ยวข้องกับ เปรียบเทียบ EOS R6

วิเคราะห์ เปรียบเทียบ EOS R6

นอกเหนือจาก Canon EOS R5 ที่เปิดตัวออกมาแล้วนั้น ยังมี Canon EOS R6 อีกรุ่นด้วยเช่นกันครับ ซึ่งก็เป็นไปตามกระแสข่าวลือใน Rumors ว่าทาง Canon จะเปิดตัว กล้อง Mirrorless ใน R System พร้อมกันทั้ง 2 รุ่นนั่นเองครับ

สำหรับ Canon EOS R6 ก็เป็น กล้อง Mirrorless Fullframe ระดับ Semi – Pro ค่อนไปทาง Pro ครับ เนื่องจากว่า สเปคและฟีเจอร์ภายในนั้น เสมือนเป็นการยกเครื่องมาจาก Canon EOS 1DX III มาผสมรวมเข้ากันกับ Canon EOS R5 ซึ่งถือว่าน่าสนใจมากๆครับ

สเปค EOS R6

  • โครงสร้างจะแตกต่างจาก EOS R5 ในแง่ของวัสดุ
  • บริเวณ Top Plate จะไม่มี Top LCD เหมือน Canon EOS R5
  • Sensor ขนาด Fullframe พร้อมความละเอียด 20mp
  • ระบบกันสั่นไหวใน Body ( 5-Axis ) เคลมสูงสุดที่ 8 Stops
  • อัตราถ่ายต่อเนื่อง 12fps ( mechanical ) และ 20fps ( electronic )
  • รองรับการถ่าย Video 4K ที่มีการ Oversampled จาก 5K Video
  • ถ่าย Video 4K @ 60p จากภายในตัวกล้องทันที
  • ถ่าย Video FullHD @ 120p
  • รองรับ Canon Log เพื่องาน Video ระดับมืออาชีพ
  • ไฟล์ Video แบบ 10-bit
  • ไม่รองรับการถ่าย Video แบบ RAW
  • ระบบ Focus แบบ Dual Pixel AF II แบบ EOS R5
  • ฟีเจอร์ใหม่ อย่าง Head detection AF และ Animal detection AF
  • ช่องใส่การ์ด แบบ Dual SD Card รองรับ UHS-II
  • เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth 4.2 (EOS R5 จะเป็น Bluetooth 5.0)
  • ใช้แบตเตอรี่ รุ่น LP-E6NH Battery ( รุ่นเดียวกันกับ Canon EOS R5 )
  • ราคาประมาณการ 2,499 us

ในแง่ของ สเปค EOS R6 ต้องยอมรับว่า รอบนี้ทาง Canon ทำการบ้านมาได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น Sensor ที่ยกเครื่องมาจาก EOS 1DX III ที่เป็นกล้องระดับ Flagship ของฝั่ง DSLR พร้อมชิพประมวล DIGIC X ที่พร้อมจะมอบคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย

หรือ จะเป็น ระบบกันสั่นไหวแบบ 5 ทิศทาง ( 5 – Axis ) เป็นครั้งแรกของ กล้อง Mirrorless Fullframe ใน R System ซึ่ง ปัจจุบันมี EOS R5 และ R5 ที่ได้รับการติดตั้งฟีเจอร์นี้แล้ว พร้อมความสามารถลดการสั่นไหวได้สูงสุดถึง 8 Stops ด้วยกันทีเดียว

ทั้งนี้ด้วย ราคา EOS R6 เปิดตัวเริ่มที่ 2,499us ( หรือเทียบเท่า 77,00.- ) ซึ่งต้องบอกว่า ราคาสมน้ำสมเนื้อเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับฟีเจอร์ที่ได้มาใช้งาน โดย Content นี้ จะ เปรียบเทียบ EOS R6 กับ กล้อง Mirrorless ในระดับใกล้เคียงกัน ว่า มีรุ่นไหนที่น่าสนใจ และ/หรือ เทียบเคียงในแง่คุณภาพและความสามารถได้มากน้อยเพียงใดกันบ้างครับ

กล้องระดับเดียวกัน กับ EOS R6

Canon EOS R

ผู้เริ่มศักราชใหม่ให้กับกล้อง Mirrorless Fullframe ใน R System อย่างเป็นทางการ แม้ว่าการมาของ Canon EOS R5 และ Canon EOS R6 จะทำให้ความเป็น Flagship ต้องเปลี่ยนมือไป อีกทั้งหลายๆท่านยกชื่อใหม่ให้เป็น EOS R Classic เพื่อเพิ่มเสน่ห์

เปรียบเทียบ EOS R6 vs EOS R

ทั้งนี้ Canon EOS R แม้ว่าจะเป็น กล้อง Mirrorless Fullframe ที่ทำตลาดมาซักระยะนึงแล้ว แต่ด้วย ฟีเจอร์ และ สเปค EOS R ถือว่าไม่ธรรมดาเลยละครับ ทั้งงานภาพนิ่งและวิดิโอ ถ้าเราไม่ได้วิ่งตามเทคโนโลยีตลอดเวลา ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้วละครับ

Sony A7R III

ถือเป็น อดีตกล้อง Mirrorless Fullframe อีก 1 รุ่น แม้ว่าปัจจุบันจะมี Sony A7R IV เข้ามาทดแทนพร้อมสเปคและฟีเจอร์ที่จัดเต็ม โดยเฉพาะ Sensor ที่ยกเครื่องใหม่พร้อมความละเอียดมากถึง 61 Megapixels พร้อม ฟีเจอร์ Pixel Shift ที่จะเพิ่มความละเอียดให้กับภาพที่จะได้ออกมา จาก 61 Megapixels เป็น 240 Megapixels ด้วยกัน

เปรียบเทียบ EOS R6 vs Sony A7R III

ถึงกระนั้น สเปค Sony A7R III ถ้านำมาใช้งานทั่วๆไป ถือว่าเหลือเฟือมากครับ ลำพัง Sensor ความละเอียด 42 Megapixels ก็เพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งานโดยเฉพาะภาพนิ่งได้อย่างสบายๆ รวมถึงระบบกันสั่น 5 แกน ที่ต่อยอดได้อีกมากมายเช่นกัน

Panasonic Lumix S1

ต้นตำรับ ของ Mirrorless Fullframe จากค่าย Panasonic อย่าง Lumix S1 แม้ว่าก่อนหน้านี้จะจับกลุ่มตลาด กล้อง Micro Fourthirds มาตลอด โดยมีคอนเซปเรื่องความเล็ก กะทัดรัด พกพาสะดวก แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ ซึ่งจุดเด่นเรื่องงาน Video ที่โดดเด่นมาก

เปรียบเทียบ EOS R6 vs Lumix S1

ด้วยกระแสกล้อง Mirrorless Fullframe ซึ่งส่งผลถึงตลาดกล้องในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็น Micro Fourthirds , APS-C เป็นต้น แต่ด้วยการได้พันธมิตรอย่าง Leica และ Sigma ที่พร้อมให้การสนับสนุน ระบบเลนส์ใน L-Mount จึงได้เกิดมาเป็น Panasonic Lumix S ซึ่งในปัจจุบันได้มีการวางจำหน่ายทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่ Lumix S1, Lumix S1R, Lumix S1H

เปรียบเทียบ EOS R6 เราจะอิงจากราคาที่ใกล้เคียงกันเป็นหลัก

จริงอยู่ที่ สเปค EOS R6 ในบางเรื่องนั้น อาจจะดูโดดเด่นกว่า หรือ บางด้านอาจจะดูด้อยกว่า แต่ทั้งนี้บนพื้นฐานในระดับราคาใกล้เคียงกัน ตัวเลือกก็ยังมีความหลากหลาย นอกเหนือจาก EOS R6 ครับ

เปรียบเทียบ EOS R6 กับ กล้องระดับเดียวกัน

การออกแบบ ควบคุม และ น้ำหนัก

กล้อง Mirrorless Fullframe ที่นำมา เปรียบเทียบ EOS R6 นั้น จะประกอบไปด้วย Canon EOS R , Sony A7R IV และ Panasonic Lumix S1 ซึ่งหากพิจารณาจากภายนอก ล้วนแล้วแต่เป็นกล้องที่ออกแบบในลักษณะทรง SLR ด้วยกันทั้งหมดครับ

เปรียบเทียบ EOS R6 Design

ด้านการจับถือ กล้อง Mirrorless ทุกรุ่นที่นำมา เปรียบเทียบ EOS R6 นั้น ต่างก็มี Grip จับออกแบบให้มีความกระชับมือ ซึ่งแต่เดิมกล้อง Mirrorless มักจะมี Grip ที่ค่อนข้างจะเล็กไปซักหน่อย ทำให้เมื่อใช้งานไปนานๆ จะมีอาการเมื่อยล้าได้นั่นเองครับ

บริเวณ Top Plate ด้านบน ก็จะประกอบไปด้วยปุ่ม FN ต่างๆ รวมไปถึงปุ่ม Dial Mode เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยน Mode ในการถ่ายภาพตามต้องการ ทั้งนี้ Canon EOS R จะเป็นกล้องเพียงรุ่นเดียว ที่มี Dial Mode แบบกดเพื่อทำการเปลี่ยน ไม่ใช่หมุนตรงๆแบบทั่วไป

เปรียบเทียบ EOS R6 handheld

ส่วนของปุ่มคอนโทรลต่างๆ จะมีเพียง Canon EOS R เพียงรุ่นเดียว ที่มีลักษณะเป็นปุ่มควบคุม 4 ทิศทาง ไม่ได้มีลักษณะเป็น Wheel แต่อย่างใดครับ ซึ่งการที่แป้นออกแบบให้เป็น Wheel นั้น เพื่อความรวดเร็วในการปรับค่าต่างๆได้อย่างทันท่วงทีนั่นเองครับ

นอกเหนือจาก แป้น Wheel แล้ว การควบคุมตัวกล้องโดยเฉพาะการเปลี่ยนจุด Focus ทั้ง Canon EOS R6 , Sony A7R IV และ Panasonic Lumix S1 ต่างเลือกใช้ Joystick ในการ Control โดยตรง ในการขยับจุด Focus ได้อย่างอิสระครับ ทั้งนี้จะมีเพียง Canon EOS R เพียงรุ่นเดียวที่ไม่ได้มีการติดตั้ง Joystick มาให้ใช้แต่งานอย่างใดครับ

เปรียบเทียบ EOS R6 control

ทั้งนี้แม้ว่า Canon EOS R จะไม่มี Joystick ติดตั้งมาให้ใช้เหมือนกับ กล้อง Mirrorless รุ่นอื่นๆ ที่นำมา เปรียบเทียบ EOS R6 แต่ได้ติดตั้ง Multifunction Bar เข้ามาทดแทน เพื่อใช้ในการ Setting ในการปรับค่า Speed Shutter หรือ ISO ทดแทนไปครับ

ในเรื่องของน้ำหนัก ต้องยอมรับว่า แม้คำว่า กล้อง Mirrorless ทุกท่านจะคิดว่าต้องเล็ก เบา กะทัดรัด พกพาง่าย แต่ด้วยความที่เป็น Mirrorless Fullframe ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถหลบข้อจำกัดในเรื่องของขนาดและน้ำหนักไปได้ ซึ่ง เปรียบเทียบ EOS R6 นั้น ก็มีรายละเอียดน้ำหนักสุทธิของ กล้อง Mirrorless Fullframe ทั้ง 4 มาให้ชมกันครับ

เปรียบเทียบ EOS R6 weight

จะเห็นว่า ในแง่ของน้ำหนัก จะมีเจ้า Panasonic Lumix S1 ที่มีน้ำหนักมากที่สุดในกลุ่มที่นำมา เปรียบเทียบ EOS R6 กันครับ ในขณะที่ กล้อง Mirrorless Fullframe อีก 3 รุ่น มีน้ำหนักที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกันมาก ซึ่ง น้ำหนัก ก็มีผลในการใช้งาน ในแง่ของการพกพา ความคล่องตัว รวมถึงความเมื่อยล้าในระหว่างการใช้งานด้วยเช่นกัน

Sensor และ ความละเอียด

แม้จะเป็น กล้อง Mirrorless แต่กล้องทั้ง 4 รุ่นก็มาพร้อม Sensor ขนาด Fullframe เหมือนกันหมด ซึ่งจะแตกต่างกันในส่วนของความละเอียด และ ฟีเจอร์อื่นๆ อาทิเช่น ระบบกันสั่นไหวภายใน Body ซึ่ง รายละเอียดของทั้ง 4 รุ่น มีตามนี้ครับ

ถ้านับเฉพาะเรื่องความละเอียดของ Sensor จะมี Sony A7R III เพียงรุ่นเดียวที่มีความละเอียดมากสุดถึง 42 Megapixels ครับ รองลงมาก็จะเป็น EOS R ที่ความละเอียด 30MP , Lumix S1 ความละเอียด 24MP และ EOS R6 ที่มีความละเอียดเพียง 20MP ครับ

เปรียบเทียบ EOS R6 sensor

นอกจากความละเอียดแล้ว จะมี กล้อง Mirrorless Fullframe 2 รุ่น อย่าง Sony A7R III และ Panasonic Lumix S1 ที่จะมี Feature เสริมอย่าง Pixel Shift ที่จะช่วยเพิ่มความละเอียดให้กับภาพนิ่งที่ได้ด้วยเช่นกันครับ เหมาะสำหรับงานที่มีปราณีตสูงๆ หรือ งานที่ต้องการความละเอียดระดับสูง

ด้าน Sensor เจ้า Sony A7R III ทำได้ดีในกลุ่มนี้

สมกับที่เป็น Sony A7 ใน R Series ที่เน้น Resolution หรือ ความละเอียดสูงเป็นหลัก เหมาะสำหรับงานที่มีความปราณีตสูง งานที่ต้องการความละเอียดมากๆ เพื่อนำไป Crop เพิ่มเติมได้อีกนั่นเอง

ระบบกันสั่นไหว

โดยปกติ ถ้าเราพูดถึงเรื่องระบบกันสั่น เรามักจะนึกถึงระบบกันสั่นในเลนส์ ( Len OIS ) กันเป็นหลัก โดยเฉพาะกับเลนส์ Zoom ที่มักจะมีระบบกันสั่นติดให้ด้วยนั่นเอง แต่ทั้งนี้เลนส์ Fix ส่วนมาก หรือ แทบจะทั้งหมด จะไม่ได้มีระบบกันสั่นติดมาให้ด้วยนั่นเองครับ

ข้อดีของระบบกันสั่นไหว จะช่วยลดอาการสั่นไหวได้ตั้งแต่ 3 – 6.5 Stops ขึ้นอยู่กับการออกแบบชุดกันสั่นนั้นด้วยเช่นกัน อีกทั้งถ้าเป็นระบบกันสั่นในบอดี้ จะช่วยให้เลนส์ที่นำมาใช้งานบนกล้องนั้น ได้รับอานิสงค์เรื่องระบบกันสั่นไปด้วยเช่นกันครับ

เปรียบเทียบ EOS R6 5-axis

ทั้งนี้ระบบกันสั่นไหวภายในตัวกล้อง เรามักจะคุ้นชื่อทั้ง 5-Axis หรือ IBIS กันเป็นหลัก โดยใน เปรียบเทียบ EOS R6 นี้ จะมีเจ้า Canon EOS R เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ที่ไม่มีระบบกันสั่นไหวแบบ 5 แกนในตัวกล้องแต่อย่างใดครับ ทำให้ต้องพึ่งพาระบบกันสั่นที่ตัวเลนส์เป็นหลัก

ระบบกันสั่น Canon EOS R6 ทำได้ดีที่สุดในกลุ่ม

แม้จะเป็น กล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปหมาดๆ แต่ทั้งนี้ทาง Canon ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ซึ่งเคลมระบบกันสั่นไว้สูงสุดถึง 8 Stops ด้วยกัน

จอแสดงผล และ ช่องมองภาพ

แม้จะเป็น กล้อง Mirrorless Fullframe ถึงกระนั้นเราจะมองข้ามในส่วนของจอแสดงผลไปไม่ได้เช่นกันครับ ซึ่ง จอแสดงผลของกล้องทั้ง 4 รุ่นนี้ ก็รองรับ Touchscreen เหมือนกัน ยกเว้น Sony A7R III ที่รองรับเพียงเมนูเท่านั้น ส่วนอีก 3 รุ่น จะรองรับ Touch ทุกอย่างครับ

สำหรับ จอแสดงผล ของ กล้อง Mirrorless Fullframe 2 รุ่น ทั้ง EOS R , EOS R6 จะเป็นจอ LCD ในลักษณะ Vario Angle หรือ ที่เรารู้จักกันในอีกชื่ออย่าง จอพับ จอหมุน นั่นเอง ซึ่งมีประโยชน์มากๆ ทั้งในงานภาพนิ่ง ในลักษณะของการเซลฟี่ก็ดี หรือ งานวิดิโอ ในลักษณะของการถ่าย VLOG หรือ Live เพื่อใช้จัด Composition ได้อย่างลงตัว

เปรียบเทียบ EOS R6 lcd

ทั้งนี้ในการ เปรียบเทียบ EOS R6 ครั้งนี้ พบว่าจะมีเพียง Sony A7R III และ Panasonic Lumix S1 ที่เลือกใช้ LCD แบบ Tilt ซึ่งอาจจะตอบโจทย์งานภาพนิ่งในลักษณะมุมงัด มุมกด มุมเสย แต่ไม่อาจตอบโจทย์การถ่ายเซลฟี่ , ถ่าย VLOG หรือ Video ซักเท่าไรครับ

นอกเหนือจาก จอ LCD แล้ว กล้อง Mirrorless ที่มาพร้อมช่องมองภาพนั้น จะใช้เป็นช่องมองภาพแบบ EVF กันเป็นหลัก ซึ่งจะมีความละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ Segment ของ กล้องแต่ละรุ่นที่ถูกวาง Position ไว้ด้วยนั่นเองครับ โดยรายละเอียดช่องมองภาพของ กล้อง Mirrorless ทั้ง 4 รุ่นมีตามนี้ครับ

เปรียบเทียบ EOS R6 evf

เมื่อเทียบความละเอียดของช่องมองภาพ จะเห็นว่า Panasonic Lumix S1 จะมีภาษีดีที่สุดใน เปรียบเทียบ EOS R6 ครับ เพราะ มีความละเอียดสูงถึง 5,760,000 Dot ซึ่งมากกว่า EOS R6 ที่เปิดตัวไปสดๆร้อนๆ ที่มีความละเอียดเพียง 3,690,000 Dot ครับ

จอแบบ Vario Angle ใน Canon เสริมความยืดหยุ่นในการทำงานได้เป็นอย่างดี

จอพับ จอหมุน ที่เราเห็นกันอย่างคุ้นชิน ใครจะไปเชื่อว่าในยุคปัจจุบันแทบจะเป็น ฟีเจอร์ที่ทางค่ายกล้องควรจะต้องบรรจุมาให้ใช้ได้แล้ว ทั้งจากกระแสเซลฟี่ก็ดี หรือ การทำ VLOG รวมไปถึง การ Live ที่ส่งเสริมให้ จอ Vario Angle มีความน่าใช้เพิ่มยิ่งขึ้นตามไปด้วย

ระบบ Focus

การ Focus ที่ทำได้รวดเร็ว ว่องไว และ แม่นยำ ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานพิจารณาประกอบการตัดสินใจด้วยเช่นกัน ต่อให้ได้คุณภาพไฟล์ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ Focus หลุด พลาด ไม่เข้าเป้าตามที่ตั้งใจไว้ ก็ดูเหมือนจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆครับ

ทั้งนี้ กล้อง Mirrorless Fullframe ทั้ง 4 รุ่นนั้น ต่างก็ใช้ระบบ Focus ที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เริ่มกันที่กลุ่มแรก Canon EOS R , EOS R6 และ Sony A7R III ใช้ระบบ Focus แบบ Hybrid ที่เป็นการผสมผสานระหว่าง PDAF และ CDAF เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการหาโฟกัส อีกทั้งยังมีความแม่นยำสูงเช่นกัน

เปรียบเทียบ EOS R6 focus

แม้ว่า Canon EOS R , EOS R6 และ Sony A7R III ใช้ระบบ Focus แบบ Hybrid เช่นกัน แต่จำนวนจุด Focus ที่กระจายตัวอยู่รอบ Sensor มีปริมาณที่แตกต่างด้วยครับ ซึ่งปริมาณจุด Focus ที่มาก ยิ่งส่งผลดีต่อความแม่นยำในการ Focus เป้าหมายด้วยนั่นเอง

จะเห็น ถ้านับเฉพาะจุด Focus ของ กล้อง Mirrorless ทั้ง 4 จะพบว่า Canon EOS R6 มีจำนวนจุด Focus ที่มากที่สุด ซึ่งมากถึง 5,655 จุด เทียบเท่ากับ Canon EOS R ที่เปิดตัวออกมาก่อนแล้วนั่นเอง ในขณะที่ Sony A7R III มาพร้อมจุด Focus เพียง 693 จุด และ Panasonic Lumix S1 ที่มีจุด Focus 225 จุด เท่านั้นครับ

ส่วน Panasonic Lumix S1 เป็น กล้อง Mirrorless Fullframe เพียงรุ่นเดียวในกลุ่มนี้ ที่ใช้ระบบ Focus แบบ Contrast AF เพียงอย่างเดียว เสริมด้วยฟีเจอร์ DFD Focus เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว ทั้งนี้ประสิทธิภาพในแง่ของการ Tracking อาจจะไม่เท่า Hybrid AF ครับ

เปรียบเทียบ EOS R6 eye af

นอกเหนือจาก ระบบ Focus แล้ว ฟีเจอร์เสริมประสิทธิภาพให้กับการโฟกัส ก็มีให้เลือกใช้งานเพิ่มเติมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Face Detection , Eye AF หรือ Animal Eye AF ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นฟีเจอร์พื้นฐานในปี 2020 ที่กล้องในระดับ Semi-Pro ควรมีติดตั้งมาด้วย

ทั้งนี้ เปรียบเทียบ EOS R6 ในเรื่องฟีเจอร์การโฟกัสนั้น จะมีเพียง EOS R เพียงรุ่นเดียว ที่รองรับ Face Detection และ Eye AF เท่านั้น แต่จะไม่รองรับ Animal Eye AF เหมือนกับ กล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นอื่นๆนั่นเอง

ระบบ Focus แบบ Hybrid ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีกว่า

อย่างที่เกริ่นไปข้างต้น ต่อให้คุณภาพไฟล์มีความยืดหยุ่นเพียงใด แต่ถ้าระบบ Focus ไม่ตอบสนองต่อการทำงานของเราไม่ว่าจะงานภาพนิ่งหรือวิดิโอก็ตามที เพียงแค่เสี้ยววินาที คุณก็อาจจะพลาดช๊อตสำคัญไปแล้วก็เป็นได้

งาน Video

ถือเป็น ฟีเจอร์พื้นฐาน ที่ขาดไปไม่ได้ในยุค Social เช่นนี้ครับ เนื่องด้วยกระแสการถ่าย Video ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นแนว Clip สั้น , Clip รีวิว หรือ การเดินถ่าย VLOG ที่ปัจจุบัน วัยรุ่นหนุ่มสาว ต่างสนใจการถ่าย VLOG กันมากขึ้นครับ

ทั้งนี้ กล้อง Mirrorless Fullframe 4 รุ่นที่นำมา เปรียบเทียบ EOS R6 นั้น ก็รองรับการถ่าย Video ได้ดีเช่นกันครับ โดยฟีเจอร์พื้นฐานอย่าง Video 4K และ Video FHD สามารถถ่ายตามได้อย่างสบายๆ เรียกว่ายุคนี้ใครถ่าย Video 4K ไม่ได้อายเพื่อนแน่นอน

เปรียบเทียบ EOS R6 video

นอกจาก ฟีเจอร์การถ่าย Video แล้ว ถ้ามองในแง่ของการใช้งานแบบจริงจังจนไปถึงงานระดับซีเรียส ดูเหมือน Canon EOS R และ Canon EOS R6 จะมีภาษีดีกว่าครับ เนื่องจาก จอแบบ Flip หรือ Vario Angle ที่ตอบโจทย์การทำงานของสาย Video ได้อย่างลงตัว

ซึ่งประโยชน์ของ จอ Vario Angle นั้น ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการ Video ในลักษณะ VLOG ได้ดีกว่า จอแบบ Tilt เพราะ สามารถพลิกหน้าจอ เพื่อจัด Composition ได้ตามต้องการ อีกทั้งใครที่ต้องการทำงานเพียงลำพัง จอชนิดนี้จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

EOS R6 มีความยืดหยุ่นในการถ่าย Video สูงกว่ารุ่นอื่นๆ

แม้จะเป็น กล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งเปิดตัวไป แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า Video 4K , Video FHD รวมถึงระบบกันสั่น 5 แกน ที่เพิ่มประสิทธิภาพให้กับงาน Video ได้อย่างไม่ต้องสงสัย อีกทั้งได้จอแบบ Vario Angle ด้วย แทบจะลงตัว ทั้งงานภาพนิ่งและวิดิโอ เลยทีเดียว

แบตเตอรี่

ด้วยความเป็น กล้อง Mirrorless ทำให้มักถูกดูแคลนว่า มีประจุที่ค่อนข้างน้อย ไม่สามารถใช้งานได้ยาวต่อเนื่องแบบ กล้อง DSLR แต่ประเด็นเรื่องแบตเตอรี่นั้น ได้รับการปรับปรุงให้มีประจุแบตที่มากขึ้น อึดขึ้น สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนานขึ้น ซึ่งรายละเอียดจะมีตามนี้ครับ

เปรียบเทียบ EOS R6 battery

ทั้งนี้จะเห็นว่า ประจุแบตเตอรี่ของ กล้อง Mirrorless Fullframe ทั้ง 4 รุ่นนั้น มีประจุไฟที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร โดย Panasonic Lumix S1 จะมีประจุแบตเตอรี่ที่มากที่สุดในกลุ่ม โดยใช้แบตรุ่น DMW-BLJ31 พร้อมประจุไฟอยู่ที่ 3100 mAh ซึ่งน่าจะมากที่สุดในกลุ่มกล้อง Mirrorless Fullframe ด้วยกัน ในขณะนี้แล้วนั่นเองครับ

แบตเตอรี่ ใน Panasonic Lumix S1 ทำได้ดีกว่าอีก 3 รุ่น

ต้องยอมรับ ว่า Panasonic Lumix S1 แม้จะเป็น กล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นแรกของค่าย แต่ทำการบ้านมาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะแบตเตอรี่ ที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับมืออาชีพที่เน้นการใช้งานแบบต่อเนื่อง ไม่ขาดช่วง ไม่ว่าจะเป็นงานวิดิโอ หรือ งานภาพนิ่งก็ตามที

สรุป เปรียบเทียบ EOS R6

จะเห็นว่า กล้อง Mirrorless Fullframe ทั้ง 4 รุ่น ต่างมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะงานของผู้ใช้งานเป็นหลัก เพราะ สเปคและฟีเจอร์ภายในก็เพียงพอต่อการใช้ในระดับพื้น เว้นเสียแต่ว่าต้องการนำไปทำงานเฉพาะทางเป็นหลัก

เปรียบเทียบ EOS R6

ถ้ามองในแง่ของความคุ้มค่า เจ้า EOS R จะได้เปรียบในเรื่องนี้ เพราะ ด้วยราคาที่มีการปรับลงมาในระดับนึง อีกทั้ง Feature ต่างๆ ก็ยังเพียงพอต่อการใช้งาน ถ้าหากจริงจังในการใช้งานโดยเฉพาะงานภาพนิ่ง Sony A7R III ดูจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้

ในขณะที่ Canon EOS R6 ได้ความสดใหม่ ฟีเจอร์ใหม่แกะกล่อง อีกทั้ง Skintone ในแบบฉบับของ Canon ที่โดดเด่นทั้งภาพนิ่งและวิดิโอ ถ้าใครมองหากล้องใหม่ซักรุ่นนึง ขอแนะนำเป็นเจ้า Canon EOS R6 ได้เลย รับรองไม่ผิดหวังแน่นอน

ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของทางร้านได้ตลอด 24 ชม. หรือ โทรเข้ามาโดยตรงผ่านโทรศัพท์

แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือ หน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
083-067-7677 / 02-098-9555 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

วิธีการสั่งซื้อ

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save