มวยหมู่ แลกหมัด เปรียบเทียบ Panasonic G85 Vs Olympus EM5 II Vs Sony A6300 Leave a comment

วันนี้เรามาเจอกันอีกครั้ง กับการรีวิวมัดรวมกล้องมิลเลอร์เลสที่อยู่ในไลน์ใกล้เคียงกัน มาเปรียบเทียบเสปค ในหลาย ๆด้าน ซึ่งคราวนี้ก็ถึงคราวของ Panasonic G85 และ Olympus EM5 II และ Sony A6300 มัดรวมกันมาทีเดียวเลยฮะ ตัวไหนเป็นยังไง ใครจะอยู่ใครจะไป เดี๋ยวได้รู้กันครับ

เปรียบเทียบหน้าตาภายนอก

หน้าตา Panasonic Lumic G85

หน้าตา Olympus OMD EM5 II

หน้าตา Sony Alpha A6300

เรื่องหน้าตา หรือความสวยงาม ผมขอข้ามไม่ตัดสินนะครับ มันคือการออกแบบ มันคือศิลปะ ทุกคนย่อมมีความชอบในใจอยู่แล้ว ผมไม่กล้าตัดสินใจแทนคนอื่นจริง ๆ เอาเป็นว่าดูกันเอาเองแล้วแต่ความชอบครับขอผ่าน ฮ่า ๆ

เปรียบเทียบสเปกของ Panasonic G85 และ Olympus EM5 II และ Sony A6300

บอกก่อนเลยว่า กล้องตัวที่เราเอามาเปรียบเทียบกัน ก็จะมีความแตกต่างในวันที่เปิดตัวอยู่บ้าง ที่ดูจะเสียเปรียบที่สุดก็คงจะเป็น Olympus EM5 II เพราะว่าวันเปิดตัวก่อนเพื่อน หรือเรียกกล้องเก่าสุดนั่นแหละ ฮา แต่ก็ครับนั่นก็เพราะว่า Olympus เองก็ยังไม่ได้ออกตัวใหม่มาเพื่อแทนที่ Olympus EM5 II เพราะฉะนั้นก็ใช้วิจารณญาณในการรับชมด้วยจ้า

อันนี้ดูกันเป็นสเปก ๆ หลัก  ๆ นะครับ เพื่อเปรียบเทียบและตัดสินใจครับผม ส่วนรายการไหนที่ทำเป็นสีแดงเอาไว้ นั้นก็หมายความว่า รายการนั้นโดดเด่นเหนือคู่แข่งครับผม ส่วนบรรทัดไหนใกล้เคียงกันมากผมก็ไม่ได้ทำสีไว้ให้นะครับเป็นสีดำธรรมดาทั้งสามช่องครับผม

เปรียบเทียบขนาด และ น้ำหนัก

จากการเปรียบเทียบขนาด และ น้ำหนัก จากเวป cameradecision.com ตัวที่น้ำหนักเบาสุดและเล็กสุดก็คือ Sony A6300 น้ำหนักอยู่ที่ 404 กรัม ส่วนตัวที่หนักกว่าและใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อยก็เป็นตัว Olympus EM5 II หนัก 469 กรัม ส่วนตัวที่น้ำหนักเยอะสุดและขนาดใหญ่สุดก็คือตัว Panasonic G85 น้ำหนักอยู่ที่ 505 กรัม ครับผม

***ในเรื่องขนาดและน้ำหนัก ผมให้ Sony A6300 เป็นที่หนึ่ง รองมาก็ Olympus EM5 II และ Panasonic G85 ตามลำดับครับ***

เปรียบเทียบ Image Stabilization หรือระบบป้องกันการสั่นไหว

ในเรื่องระบบป้องกันการสั่นใหวนั้น อันดับ 1 ผมให้เป็น Panasonic และ Olympus  เท่ากันครับ แม้ว่า Panasonic G85 ออกมาใหม่กว่า มาพร้อมกับระบบ Dual I.S ซึ่งสามารถทำงานควบคู่กับเลนส์ได้ด้วยครับ ส่วน Olympus EM5 II นั้นกันสั่น 5แกน  5 Stop เหมือนกัน สัมพันธ์กับเลนส์ได้เหมือนกัน แต่ผลลัพท์ที่ได้คือ 5 Stop เท่ากันเลยถือว่าเสมอแล้วกันครับ (แต่ในส่วนของของ E-M1 II รุ่นสูงกว่าที่ออกมาใหม่ นั้นระบบกันสั่นสัมพันธ์กับเลนส์ได้ถึง 6.5 Stop) ส่วน Sony A6300 นั้นกันสั่นที่ตัวบอดี้หรือการสั่นที่ Image Sensor จะไม่มีครับ จะมีในรุ่นที่สูงกว่านี้เช่น A7 ซีรี่ย์ ส่วน Sony A6300 จะเป็นกันสั่นที่เลนส์ครับ

***ในเรื่องของระบบกันสั่น ผมให้ Panasonic G85 และ Olympus EM5 II เท่ากันครับ 5 Stop เหมือนกัน และตามด้วย Sony A6300 ตามลำดับครับ***

จอ และการพับจอ

หลายคนบอกการพับจอและการเซลฟี่นั้นบางท่านอาจจะสงสัยว่าต้องพูดเหรอ ผมบอกเลยต้องพูดครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่บางทีอยากจะใช้มันก็ดันไม่มี หรือในมุมบางมุมซึ่งมันต้องการพลิกจอ ทั้งมุมสูง มุมต่ำ แนวนอน แนวตั้ง หรือจะพลิกกลับมาถ่ายตัวเอง เซลฟี่ ถ้ากล้องมันสามารถทำได้ก็ถือว่าเป็นหนึ่งตัวเลือกเลยครับ โดยเฉพาะสาว ๆ ผมยกให้ Olympus EM5 II และ Panasonic G85 เพราะสามารถพลิกจอได้อิสระกว่าหันมาเซลฟี่ก็ได้ ส่วน Sony A6300 นั้นได้แค่ก้ม 45 องศา และเงย 90 องศา เท่านั้นครับผม

***ในเรื่องเปรียบเทียบการพับจอ Olympus EM5 II และ Panasonic G85 ชนะทั้งคู่ครับ ส่วน Sony A6300 ขอนี้ได้ที่สุดท้ายครับ***

เปรียบเทียบความสามารถเรื่องVideo

เรื่องวิดีโอนี่ตัดสินใจไม่นากเลยครับ ให้ Sony A6300 โดยไม่ต้องลังเล นอกจากจะถ่าย 4K ที่ 30P ได้แล้ว และสปีดวิดิโอที่ความละเอียด  1920 x 1080  หรือ Full HD / 120p ถึงเจ้าอื่นให้มาไม่ถึงครับ ที่สอง Panasonic G85 ถ่าย 4K30P ได้เช่นกันแต่เฟรมเรทที่ทำได้มากสุดคือที่ FHD  1920 x 1080 / 60p ส่วนทาง Olympus EM5 II นั้นทำได้แค่ FHD  1920 x 1080 / 60p จึงรั้งท้ายเรื่องวิดิโอครับ

***ในเรื่องเปรียบเทียบเรื่อง Video ให้ Sony A6300 ที่หนึ่ง Panasonic G85 ที่สอง Olympus EM5 II ที่สามครับ  ***

เรื่องจุดโฟกัส

ต้องยอม Sony จริง ๆครับ ณ จุด ๆ นี้ มีถึง 425 จุด ที่ทำให้การ Tracking สิ่งเคลื่อนไหวได้ดี และที่สำคัญเคลมว่าเร็วสุดถึง 0.05 วินาทีเท่านั้น ส่วนOlympus EM5 II มีทั้งหมด 81จุดครับ ทางด้าน Panasonic G85  มีจุดให้เลือกโฟกัสทั้งหมด 49 จุดครับผม

***ในเรื่องของ จุดโฟกัสและการโฟกัส Sony ที่ 1 Olympus  ที่ 2  และสุดท้าย Panasonic ครับผม***

Special Function ของแต่ละยี่ห้อ

Panasonic

4K Photo

Panasonic เองมี Function 4K Photo ซึ่งเด่นที่สุดแสนจะสะดวกสะบายเหลือเกินสำหรับ ช่างภาพที่ต้องการโมเม้นท์วินาทีช่วงเวลาสำคัญ ทำให้ไม่พลาด เพราะหลักการคือการใช้ไฟล์วิดีโอ 4K ในการช่วยบันทึก เพราะว่าวิดิโอนั้นสามารถมีเฟรมเรทที่ 30 FPS นั่นหมายความว่าถ้าเราถ่ายภาพในโหมด 4K Photo จะได้ภาพทั้งหมดใน 1 วินาที คือ 30 ภาพเรียกว่าไม่พลาดทุการเคลื่อไหว แล้วมาเลือกเป็นภาพนิ่งทีหลัง โดยที่มีข้อแม้ว่าภาพที่ได้จะมีขนาด 8 ล้านพกเซลเท่าขนาดของ 4K ครับ ซึ่งในรุ่นนี้นั้น ก็เอาความสามารถ 4K Photo มาช่วยเรื่อง Focus stacking และสามารถเลือกจุดโฟกัสทีหลังเช่นโหมด Post Focus ได้ด้วย ว้าววว

Olympus

เรื่องถ่ายดาวหมุนไว้ใจ Olympus ได้เลย อีกหนึ่ง Function ที่โกงมาก ๆ เวลาถ่ายดาว เรียกได้ว่ามือใหม่ก็ทำได้เลยทีเดียวไม่ต้องยุ่งยากอีกต่อไป หรือจะเอาไปถ่ายเรื่องยาก ๆ อย่างฟ้าผ่านี่กลายเป็นง่ายเลยครับ หรือจะเป็นเก็บไฟแดงครบทั้งหมดโดยที่แสงไม่โอเวอร์ โดยหลักการคือว่ากล้องจะทำการเก็บแสงรอบแรกก่อน โดยการวัดแสงของเราให้พอดี แล้วเราก็กดถ่ายอีกรอบ เพื่อให้กล้องถ่ายไปเรื่อย ๆ เมื่อมีแสงที่เปลี่ยนไปเช่นมีไฟมากล้องก็จะบันทึกเฉพาะแสงที่ต่างจากภาพแรกที่เราถ่ายเท่านั้น แล้วรวมเป็นภาพให้เราได้ในกล้องเป็นไฟล์ Raw ได้เลย

Sony

 play memories camera apps

ทาง Sony เองก็ไม่น้อยหน้า เพราะว่าก็ขนวิธีการที่จะทำให้กล้องเทพขึ้นด้วยการสร้าง App ขึ้นมา โดยหลาย ๆ App เองเรียกว่าใช้งานได้ดีเลย เช่น Star Trail สามารถทำได้เหมือนกับ Live composite ของทาง Olympus เลย แต่ข้อเสียคือ เสียตัง และถ้าลง App มากเกินไปกล้องจะช้า เพราะ กล้องจะมีความจำบางส่วนที่เอาไว้ลงแอป ทำให้กล้องช้าลงครับ

บทสรุป

มาถึงสุดท้ายแล้วครับ โดยรวม ๆ แล้วจากการเปรียบเทียบเสปกหลัก ๆ ผมก็ต้องยอมรับว่า Sony A6300 นั้นดูจะเข้าวินมากทีสุดในหลาย ๆ ด้านนะครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ว่ากันไปตามความชอบความถนัดครับ ทั้งเรื่องเมนู เรื่องการควบคุมที่เข้ามือของแต่ละบุคคล เพราะจริง ๆ แล้ว มีข้อดีแค่บางเรื่อง หรือ ฟังชั่นแค่บางอย่างก็สามารถเป็นข้อที่ทำให้ตัดสินใจซื้อกันได้เลยทีเดียวครับ ผมก็เลือกเอาตามความชอบของแต่ละบุคคลเลยครับ ส่วนทั้งหมดนี้ก็คือการกางเสปกเพื่อประกอบการตัดสินใจเท่านั้นครับ ^ ^

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 05/01/2017

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save