Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่ Leave a comment

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

พลุดอกไม้ไฟใช้ในเทศกาล รวมถึงงานฉลอง นับตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ด นอกจากการแสดงสีสันและรูปแบบที่ตระการตาแล้ว พลุดอกไม้ไฟที่น่าประทับใจยังแฝงไว้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกและความทรงจำ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกครั้งที่มีพลุถูกจุดขึ้นบนท้องฟ้า ทุกๆท่านที่มีกล้องอยู่กับตัว จะรีบคว้ากล้องออกมาเก็บบรรยากาศตรงหน้าแทบจะทุกคน ซึ่งในวันนี้ทีมงาน Zoomcamera จะมาแนะนำ ” Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่ “ ซึ่งจะมีวิธีการเป็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามชมไปพร้อมๆกันเลยครับ

*** เทคนิคการถ่ายพลุ ( Firework Exposure ) ***

การถ่ายภาพพลุนั้น มีหลักเหมือนการถ่ายภาพทั่วไปคือ ตัวรับแสงควรได้รับแสงในปริมาณที่พอเพียง แต่เนื่องจากพลุมักจุดในเวลาค่ำคืนดังนั้น ความเร็วชัตเตอร์จึงมีความสำคัญน้อยมาก ส่ิงที่ควบคุมความสว่างหรือมืดของภาพอยู่ที่เอฟนัมเบอร์เป็นหลัก ระยะเวลาในการเปิดปิดชัตเตอร์นั้นมีผลต่อจำนวนพลุที่จะปรากฏในภาพ หากใช้เวลาน้อยๆ ก็ได้จำนวนน้อย หากใช้เวลานานก็ได้จำนวนมาก อย่างไรก็ดีถ้านานเกินไป ภาพพลุก็จะซ้อนกันจนเกิดเป็นภาพ over ได้ และเนื่องจากต้องถ่ายภาพในเวลากลางคืนขาตั้งกล้องมีความสำคัญเป็นอย่างมาก กล้องควรยึดอยู่บนขาตั้งกล้องที่มีความแข็งแรงเพียงพอ หรือ อีกนัยยะ ก็คือ แทบจะไม่ต่างจากการถ่ายภาพเส้นแสงไฟหน้ารถอันยาวไกลบนท้องถนนในยามค่ำคืน คุณต้องลากชัตเตอร์เพื่อเปิดรับแสงนาน ให้กล้องได้บันทึกแสงสว่างนั้นเป็นเส้นยาวต่อเนื่องลงไปบนเซนเซอร์รับภาพนั่นเอง

– จัดองค์ประกอบภาพ

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

” ถึงที่หมายก่อน มีชัยไปกว่าครึ่ง ” ขอให้ไปถึงสถานที่ก่อนเวลา เพื่อจับจองบริเวณที่ไม่มีสิ่งใดมาบดบังภาพ นอกจากนี้ พิจารณาดูฉากหน้าและฉากหลังของภาพให้ดี ก่อนเลือกจุดที่จะถ่ายภาพ การจัดเฟรมภาพรวมถึงความเข้าใจภูมิทัศน์ ได้แก่ ขอบฟ้า ตึกรามบ้านเรือน ส่วนประกอบทั้งใกล้และไกล รวมทั้งการรักษาเฟรมของกล้องให้ตรงและได้ระดับ ถ้าคุณทราบว่าพลุดอกไม้ไฟจะจุดขึ้นที่ใด ก็ไปที่นั่นสองวันล่วงหน้าเพื่อดูลาดเลาสถานที่

– ได้เวลาใช้ Mode M

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

สำหรับมือใหม่ หลายๆท่าน อาจจะยังสงสัยว่า ทำไมถึงต้องเลือกใช้ Mode M เนื่องจาก Mode ดังกล่าว ตัวกล้องจะให้อิสระกับเราในการ Setting ต่างๆ ทั้งค่า Speed Shutter / ISO / F และอื่นๆ ตามแต่ที่เราต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีที่ใน Mode อื่นๆนั้น ไม่สามารถกำหนดค่าต่างๆได้ครอบคลุม เช่น Mode A / Mode S เป็นต้น

– Manual Focus เฉพาะกิจที่สำคัญ

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

สาเหตุสำคัญที่จำเป็นต้องเลือก Manual Focus เป็นเพราะ เราไม่สามารถจับ Focus ที่พลุจากจุดที่ยิงได้ รวมถึงจังหวะที่พลุแตกตัวออก ทำให้การใช้งาน Focus ในรูปแบบปกตินั้นไม่เหมาะเท่าที่ควร การใช้ Manual Focus นั้น เราสามารถหมุน Focus Ring ไปยังจุดที่ต้องการจะ Focus ได้ล่วงหน้าก่อนที่ Subject หลักจะเข้ามาที่เฟรมได้ ซึ่งในปัจจุบัน กล้อง Mirrorless เมื่อเข้าใช้งาน Manual Focus แล้ว จะมีจุดสี หรือ Peaking ที่เป็นจุดที่แสดงระนาบ Focus ของความชัดในแต่ละพื้นที่ หากจุดสี Peaking ปรากฏบริเวณไหนของภาพในปริมาณที่เข้มมาก แสดงว่าจุดนั้นเป็นจุดที่ Focus นั่นเอง

– ปรับ ISO ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

เลี่ยงการใช้ค่า ISO ที่สูง เพื่อไม่ให้พลุที่เราถ่ายนั้น สว่างจนเกินไป รวมถึงการใช้ค่า ISO ยังส่งผลถึงปริมาณของ Noise ภายในภาพ ที่อาจจะเข้ามารบกวนภายในภาพมากขึ้น ( ขึ้นกับประสิทธิภาพการจัดการ Noise ในแต่ละกล้อง )

– ปรับค่ารูรับแสงตามสถานการณ์

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

โดยปกติการถ่ายภาพเชิง Landscape และ/หรือ Night cityscape มักจะพิจารณาจากสภาพของหน้างานที่เราถ่ายประกอบด้วย ในกรณีของการถ่ายพลุนั้น เราจำเป็นต้องหรี่ค่ารูรับแสงให้แคบลงกว่าปกติ โดยค่าที่นิยมใช้กันนั้น มักจะเป็น F8 และ/หรือ ค่า F ที่แคบกว่านี้ สาเหตุเพราะ เราต้องควบคุมชัดลึกให้ทั่วทั้งภาพ ทั่วทั้งเฟรม แม้จะให้ความสนใจที่พลุก็ตามที

– ใช้ขาตั้งควบคู่เสมอ

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

การจับภาพพลุดอกไม้ไฟภายใต้สภาะที่มีแสงน้อย ขาตั้งกล้องคือสิ่งที่จำเป็น เพื่อลดความสั่นไหวของกล้องให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ การตั้งค่าความเร็วของชัตเตอร์ไว้น้อยๆ คือการเปิดรับแสงนานๆ ถ้าเกิดการเคลื่อนไหวหรือกล้องสั่น อาจทำให้ภาพเสียได้ และ/หรือ ภาพมีการสั่นเบลอ ได้ครับ และที่สำคัญเมื่อกล้องขึ้นขาตั้งแล้ว ควรปิดระบบป้องกันภาพสั่นไหวเสียด้วยครับ เมื่ออยู่บนขาตั้งกล้องแล้วมันจะเป็นตัวการที่พร้อมจะทำให้ภาพเราสั่นได้ครับ

– สายลั่นชัตเตอร์ พกไว้ไม่เสียหาย

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

แม้อาจจะไม่ใช่อุปกรณ์ที่สำคัญ และ/หรือ ขาดไปแล้วจะถ่ายพลุไม่ได้ แต่ด้วยข้อดีของสายลั่นชัตเตอร์ที่สามารถลดแรงสั่นสะเทือนจากการกดปุ่มชัตเตอร์ได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับการใช้นิ้วมือกดปุ่มชัตเตอร์ไปตรงๆแทนนั่นเอง

*** ภาพตัวอย่าง  :  การถ่ายพลุ  ***

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

Firework Exposure Guide : แนวทางการถ่ายพลุ ฉบับมือใหม่

inbox : http://www.facebook.com/messages/zoomcamera

02-635-2330 ต่อ 0 / 083-067-7677 (หยุดวันอาทิตย์)

สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772

สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123

สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919

สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498

สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775

 สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896

สาขา Central Westgate 02-060-4362 / 097-063-4328

บทความนี่เขียนเมื่อ วันที่ 05/08/2017

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save