แฟลชลบเงาสะท้อน แฟลชลบฉากหลังรกรุงรัง Leave a comment

แฟลชลบเงาสะท้อน แฟลชลบฉากหลังรกรุงรัง

หลายๆ ครั้งที่ถ่ายภาพสิ่งของที่อยู่ในตู้โชว์ หรือถ่ายภาพผ่านกระจก มักจะเจอกับปัญหาเงาสะท้อนจากกระจก ซึ่งหลายๆ ครั้งก็สามารถใช้ CPL ตัดได้ แต่หลายๆ ครั้งก็ไม่สามารถตัดได้หมด ลองใช้วิธีนี้ดูครับ

เวลาที่เจอกับเหตุการณ์แบบนี้ ปรับโหมดถ่ายภาพเป็นโหมดแมนนวล หรือ M ลองวัดแสงดูว่าปกติได้ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่ รูรับแสงเท่าไหร่ จากนั้นก็ปรับค่าวัดแสงให้อันเดอร์ประมาณ 4-5 สตอป ปรับได้ทั้งความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง จากนั้นก็เปิดแฟลช ซึ่งปกติก็ใช้เป็น TTL อยู่แล้ว ถ้าภาพมืดไปก็ชดเชยแสงแฟลชเพิ่ม หรือถ้าภาพสว่างเกินไปก็ชดเชยแสงแฟลชลดลง

ภาพนี้วัดแสงปกติ ได้ชัตเตอร์ 1/125 วินาที f4 จะเห็นว่ามีเงาสะท้อนเต็มไปหมด เมื่อลองใช้ C-PL ตัดเงาสะท้อนได้ไม่หมด

ภาพนี้ปรับชัตเตอร์สูงขึ้น 1 สตอป ปรับรูรับแสงแคบลง 3 สตอป รวมอันเดอร์ไป 4 สตอป ถ่ายที่ชัตเตอร์ 1/250 วินาที f/11 มองแทบจะไม่เห็นรายละเอียดได้เลย ถ้าหากว่าปรับอันเดอร์แล้วถ่ายภาพมา มืดตื่อ แสดงว่า OK ครับ 

ต่อไปก็เปิดแฟลชแล้วถ่ายภาพได้เลย ภาพนี้ใช้สายพ่วงแฟลชแยกตัวแฟลชไปไว้ด้านซ้ายมือ หลบแสงแฟลชสะท้อนกลับมา

และใช้ระบบ High Speed Sync เพราะชัตเตอร์สูงกว่าความเร็วชัตเตอร์ที่สัมพันธ์กับแฟลช

จะเห็นว่าเงาสะท้อนจะหายไปเพราะอันเดอร์หมด ส่วนกล่องกล้องที่โชว์อยู่ในตู้จะสว่างจากแสงแฟลช

ข้อควรระวังคือ หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพตรงๆ เพราะแฟลชจะสะท้อนกลับมาที่กล้องหรือถ้าหากแยกแฟลชจากตัวกล้องด้วยสายพ่วงแฟลชก็ช่วยลดปัญหาการสะท้อนกลับของแสงแฟลชได้ครับ

วิธีเดียวกันนี้ เรายังใช้กำจัดฉากหลังรกๆ ได้ด้วยเช่นกันครับ วิธีการก็ใช้โหมดถ่ายภาพ M เช่นเดิม หลังจากที่วัดแสงได้แล้ว ก็ให้ปรับค่าวัดแสงให้อันเดอร์ลงไปอีก 4-5 สตอปเช่นเดียวกัน จากนั้นเปิดแฟลชระบบ TTL และถ่ายภาพต่อไปได้เลย และควรหลีกเลี่ยงการยิงแฟลชไปตรงๆ เพราะจะทำให้ฉากหลังได้รบแสงแฟลช และสว่างขึ้นมาด้วยเช่นกัน

สองภาพนี้ก็เช่นเดียวกัน ภาพแรกวัดแสงปกติ ชัตเตอร์ 1/50 วินาที f/5.6 ฉากหลังที่ได้รับแสงเท่าๆ กับดอกไม้ ซึ่งเป็นจุดเด่นหลัก ทำให้ดอกไม้ไม่เด่นเท่าที่ควร

ภาพถัดไปปรับอันเดอร์ 4 สตอป ชัตเตอร์ 1/400 วินาที f/8 ใช้แฟลชแยกจากตัวกล้องส่องจากด้านขวา บิดหน้าแฟลชไม่ให้แสงตกไปที่ฉากหลัง ปรับชดเชย -1 สตอป

ข้อควรระวังคือ ถ้าหากความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าความเร็วชัตเตอร์ที่สัมพันธ์กับแฟลช จะต้องเปิดใช้งานระบบแฟลช Hi-Speed Sync และระวังเรื่องระยะห่างด้วย เนื่องจากกำลังแฟลชจะลดลงตามความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น และควรจะใช้วิธีแยกแฟลชออกจากตัวกล้อง อาจจะใช้สายพ่วง หรือระบบ Wireless ก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแฟลชที่จะตกลงที่ฉากหลังครับ

การแยกแฟลชออกจากตัวกล้องทั้งใช้สายพ่วง หรือใช้ระบบ Wireless จะช่วยสร้างมิติของภาพได้ดีขึ้นครับ

เราสามารถใช้แฟลชสร้างสรรค์ภาพได้หลากหลายแบบ ทั้ง Fill Flash เพื่อเปิดเงา หรือใช้แสงแฟลชเป็นแสงหลักในการถ่ายภาพ รวมทั้งเมื่อไป ถ่ายภาพไฟกลางคืน แล้วอยากได้ภาพตัวเองอยู่ในภาพด้วย ก็ใช้วิธีวัดแสงฉากหลัง แล้วเปิดให้แบบสว่างขึ้นได้เช่นกันครับ  

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 04/01/2012

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save