[Guide] : รา ภัยเงียบของเหล่านักถ่ายภาพ Leave a comment

[Guide] : รา ภัยเงียบของเหล่านักถ่ายภาพ

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติดตาม Content ของ Zoomcamera ผ่านทาง Facebook และ Youtube ที่น่ารักทุกๆท่านด้วยนะครับ ช่วงนี้สภาพอากาศค่อนข้างจะแปรปรวนซักเล็กน้อย บางวันก็แดดร้อนจัด บางวันอากาศชื้นจากอิทธิพลของฝน หรือ พายุฤดูร้อน ซึ่งอากาศเหล่านี้นอกเหนือจากสร้างความลำบากให้กับเหล่าช่างภาพแล้ว อุปกรณ์ถ่ายภาพไม่ว่าจะเป็นกล้อง เลนส์ ต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน 1 ในนั้น คือ การเกิดรา หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่า รามาจากไหน เกิดได้อย่างไร แล้วเลนส์จะเป็นอะไรมั้ย วันนี้ทีมงาน Zoomcamera ได้รวบรวมสาระข้อมูลไว้ใน Content นี้เป็นที่เรียบร้อย จะมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้น มาชมกันเลยจ้า

รา คืออะไร เกิดได้อย่างไร ??

[Guide] : รา ภัยเงียบของเหล่านักถ่ายภาพ

เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้ชิดกับคนเรา อย่างที่เราเองก็คาดไม่ถึง เมื่อมองไปรอบๆ ไม่ว่าจะเป็นใน ดิน น้ำ อากาศ ต้นไม้ สัตว์ สิ่งไม่มีชีวิตหรือแม้กระทั่งภายในร่างกายของเรา เชื้อราจะมีอยู่ทุกๆที่ ทั้งนี้ราไม่สามารถสังเคราะห์แสงสร้างอาหารเองได้ ดํารงชีวิตได้โดยการดูดซึมสารอาหารจากการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต และการอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เชื้อราส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส เชื้อราเป็นพวกที่ต้องการออกซิเจนและชอบความเป็นกรด โดยในปัจจุบันค้นพบเชื้อรามากกว่า 1 แสนชนิด

ต้องบอกว่า รา เป็นภัยเงียบที่ชวนปวดหัวของเหล่าช่างภาพอยู่ไม่น้อยเช่นกัน แม้หลายๆท่านจะคุ้นเคยกับราที่มักจะให้โทษยามที่อยู่บนอาหารบ่อยครั้ง แต่กลับอุปกรณ์การถ่ายภาพ ไม่ว่าจะกล้องหรือเลนส์ โดยเฉพาะกับเลนส์ด้วยแล้วนั้น ต้องบอกเลยว่า ราชื่นชอบเป็นพิเศษโดยเฉพาะเหล่า Coating ที่เคลือบอยู่บริเวณผิวเลนส์ ยิ่งการเก็บรักษาและดูแลไม่ถูกวิธีด้วยแล้ว รา พร้อมจะมาเยี่ยมเยียนได้เสมอครับ

*** ภาพตัวอย่าง : รา ขึ้นในเลนส์ ***

[Guide] : รา ภัยเงียบของเหล่านักถ่ายภาพ

[Guide] : รา ภัยเงียบของเหล่านักถ่ายภาพ

[Guide] : รา ภัยเงียบของเหล่านักถ่ายภาพ

ผลกระทบเมื่อราขึ้นเลนส์

1. กรณีที่เรายังไม่ได้สังเกตว่า เจ้าราได้เกาะที่บริเวณผิวเลนส์ซึ่งแน่นอนว่า Coating ของตัวเลนส์จะโดนก่อนเป็นด่านแรก จะเริ่มเห็นจุดด่างๆบนหน้าเลนส์ นั่นละครับเจ้าราเริ่มแผลงฤทธิ์แล้ว แต่นี่ยังอยู่ในระยะแรก สามารถทำการส่งล้างเพื่อขจัดปัญหาได้ทันที

2. หากใครที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่า เจ้าราได้เริ่มแผลงฤทธิ์บนเลนส์แล้วละก็ อาการถัดมาต่อจาก Coating นั้น คราวนี้เจ้าราจะเริ่มกัดกินผิวเลนส์ ย้ำว่า ผิวเลนส์ ส่งผลร้ายในระยะยาวแน่อนหากไม่ได้มีการแก้ไข เลนส์เจ้ากรรมจะเริ่มถ่ายทอด Performance ออกมาได้ต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเฉพาะเรื่องความคม และ Contrast หากปล่อยทิ้งไว้ เราจะได้เห็นเส้นใยลากไปมาภายในเลนส์เต็มไปหมดละครับ

วิธีดูแลรักษาเลนส์ให้ห่างรา

[Guide] : รา ภัยเงียบของเหล่านักถ่ายภาพ

1. รามักเกิดในบริเวณที่มีความชื้นเป็นหลัก แน่นอนต้องบอกว่าทั่วทั้งโลกไม่ว่าจะประเทศไหนก็สามารถพบราได้ทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่เทือกเขาหิมาลัยก็เคยมีข่าวพบสปอร์ของราเช่นกัน มองกลับมาที่ประเทศไทย ด้วยความที่ว่าภูมิอากาศจะมีลักษณะร้อนชื้น ทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดรามากยิ่งขึ้นด้วยครับ ฉะนั้นสถานที่ที่เราเก็บเลนส์นั้น ควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือ อากาศโปร่ง ไม่ควรที่จะวางไว้ในที่มีอากาศร้อนเกิน หรือ ชื้นจนเกินไปครับ

 

2. นอกจากหาสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทแล้ว พยายามรักษาความชื้นสัมพัทธ์ไว้ต่ำกว่า 65% ซึ่งหากอยู่ในภายในห้องที่มีการเปิดเครื่อ่งปรับอากาศความชื้นสัมพัทธ์จะอยู่ที่ 30-45% แต่ทั้งนี้สภาพอากาศของแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันออกไปด้วยครับ ยิ่งเป็นฤดูฝนความชื้นจะมากเป็นพิเศษครับ

3. หากไม่ได้ใช้งานกล้องและเลนส์แล้ว ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋ากล้องเป็นเวลานาน อย่าลืมว่ากระเป๋ากล้องแม้จะป้องกันอันตรายต่างๆได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการเกิดราได้ อันเนื่องจากอากาศภายในยามที่ปิดกระเป๋าอยู่นั้น ไม่มีการถ่ายเทที่เหมาะสม ยิ่งกระเป๋ากล้องที่เนื้อภายในเป็นลักษณะของฟองน้ำด้วยแล้ว ยิ่งเพิ่มโอกาสเกิดราได้เป็นอย่างดี

4. ถุงซิปล๊อค เหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่ไม่ที่สุด เพราะ ต่อให้ถุงซิปล๊อคไม่มีความชื้นมารบกวน แต่ความชื้นเดิมที่อยู่ภายในเลนส์ก็ยังคงตามมาอยู่ดี เมื่อใส่ในถุงซิปล๊อคที่มีปิดมิดชิด ก็เท่ากับปิดตายความชื้นให้วนเวียนอยู่ภายในไปด้วยนั่นเอง

 

5. หา กล่องสูญญากาศ หรือ กล่อง Super Ware ขนาดที่เหมาะสม สำหรับใส่อุปกรณ์กล้องและเลนส์ที่ไม่เบียดเสียดจนเกินไป พร้อมกับการใช้ซิลิก้าเจล ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้น โดยยามที่ซิลิก้าเจลเปลี่ยนสี เท่ากับมันทำการดูดความชื้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ซิลิก้าเจลส่วนมากจะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการนำไปตากแดดให้ความชื้นภายในระเหยออกเสียก่อน แล้วนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง ส่วนจำนวนครั้งนั้นไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนขึ้นอยู่กับคุณภาพของซิลิก้าเจลด้วยนะครับ

6. วิธีสุดท้ายที่อาจจะต้องลงทุนกันซักหน่อย นั่นก็คือ ตู้กันชื้น จ่ายที่เดียว จบแน่นอน โดยตู้กันชื้นมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ Digital และ Analog รวมถึงขนาดความจุตามแต่ Lifestyle ของแต่ละบุคคล สำหรับข้อดีของตู้กันชื้นนั้น แน่นอนว่าสามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้อยู่หมัด เพราะ ภายในตู้กันชื้น เราสามารถตั้งค่าอุณหภูมิให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมได้อย่างง่ายๆ อีกทั้งอัตราการกินไฟก็ปริมาณน้อยแม้ว่าจะเปิดให้ตู้กันชื้นทำงานอยู่ตลอดเวลาก็ตามที ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อันมาจากราคาและโปรโมชั่นต่างๆ ที่ทำให้บรรดาช่างภาพเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น

[Guide] : รา ภัยเงียบของเหล่านักถ่ายภาพ

*** สอบถามเพิ่มเติม ***

inbox : http://www.facebook.com/messages/zoomcamera

02-635-2330 ต่อ 0 / 083-067-7677 (หยุดวันอาทิตย์)

สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772

สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123

สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919

สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498

สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775

 สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896

สาขา Central Westgate 02-060-4362 / 097-063-4328

สาขา Central  Festival หาดใหญ่ 095-702-7585

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 29/03/2019

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save