Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7 Leave a comment

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 ผมได้มีโอกาสเข้าไปที่ศูนย์ Nikon เพื่อจับกล้องรุ่นล่าสุด Nikon Z7 ซึ่งทุกคนเองก็สามารถเข้าไปลงชื่อขอลองเล่นกันที่ศูนย์ได้นะครับ เพียงแต่เราจะเอาภาพถ่ายออกมาไม่ได้เพราะเขาห้าม(แต่ถึงไม่ห้ามผมก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มี XQD เลยซักใบ 555)เนื่องจาก Z7 ยังเป็น Pre-production กดเมนูเข้าไปดูเฟิร์มแวร์ยังเวอร์ชั่น 0.34 อยู่เลย(ส่วนใหญ่ตัวขายจริงจะเป็น 1.00)

ฉะนั้นด้วยความที่ไปเล่นตัวจริงมาแล้วก็จะมาเล่าสู่กันฟังให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ผมจะจำได้ 555 แต่ครั้งนี้เป็นรีวิวจากความรู้สึกแรกเท่านั้นหลังจากนี้เมื่อ Nikon Z7 ตัวเต็มพร้อมเราก็จะมีรีวิว Nikon Z7 ฉบับเต็มออกมาให้อ่านกันอีกทีนะครับ

Hands-on Review Nikon Z7 – บอดี้ภายนอกและการจับถือ

อันดับแรกขอพูดถึงบอดี้ภายนอกซึ่ง Z7 ทำได้ถูกใจผมมากทีเดียว มันให้ความรู้สึกในการจับคล้าย DSLR เพียงแต่มีบอดี้ที่บางลงไปเท่านั้น Grip จับใหญ่เต็มไม้เต็มมือ การวางตำแหน่งปุ่มต่าง ๆ และรูปแบบการควบคุมกล้องใกล้เคียงกับ Nikon DSLR มาก ถ้าคุณเคยใช้ Nikon มาก่อนแค่มองรอบ ๆ กล้องแบบผ่าน ๆ ก็รู้แล้วว่าต้องปรับอะไรตรงไหน

Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7

จับแล้วเหมือนจับ Nikon DSLR อยู่เลย ซึ่งผมชื่นชมมากที่เขารักษา DNA ของ Nikon เดิมไว้ได้มากขนาดนี้

ขนาดตัวที่เล็กลงทำให้ปุ่มหายไป…กลายเป็น Touchscreen

แต่ช้าก่อน…มันไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ เราจะใช้เจ้า Nikon Z7 ได้โดยไม่ต้องปรับตัวอะไรเลยแบบตอนเปลี่ยนกล้อง Nikon D810 เป็น Nikon D850 เพราะด้วยขนาดตัวที่เล็กลง(น้ำหนักหายไปเยอะมาก)มันทำให้ปุ่มหายไปด้วย อย่างปุ่มปรับ AF-Mode/AF-Area ก็ได้หายไปแล้ว การเปลี่ยนโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องก็ต้องเข้าไปปรับในเมนู และยังมีอีกหลาย ๆ ปุ่มที่หายไป หลายคนมาจาก DSLR อาจจะขัดใจกับเรื่องนี้แต่เชื่อเถอะไม่นานคุณจะปรับตัวได้และชินกับมันไปเอง Nikon มีการใช้งานเมนูที่ง่ายและลื่นไหลอยู่แล้ว การปรับค่าจึงทำได้ไม่ยากเลยแค่เรายังไม่ชินเท่านั้นเอง

Hands-on Review Nikon Z7 – ช่องมองภาพและจอแสดงผล

Nikon Z7 มีจอทั้งหมด 3 จอด้วยกันคือ จอหลัง, ช่องมองภาพ EVF และสุดท้ายคือจอ OLED ด้านบนซึ่งทำหน้าที่แบบเดียวกับจอบนของ DSLR ในการแสดงผลข้อมูลตั้งค่าง ๆ เช่น ขนาดรูรับแสง, ความเร็วชัตเตอร์,  ISO, ปริมาณแบตเตอรี่ ฯลฯ

Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7

ช่องมองภาพดีงามมาก

ส่วนตัวผมถูกใจช่องมองภาพของ Nikon Z7 มาก มันคมชัดดีมากด้วยความละเอียด 3.69 ล้านพิกเซล ขนาดใหญ่กำลังดี(อัตราขยาย 0.8x) สีสันก็ดูเป็นธรรมชาติไม่สดหรือจืดจนเกินไป และช่องมองภาพกับจอหลังสีดูเหมือนจะค่อนข้างตรงกันอยู่(อันนี้ไม่มั่นใจ 100% ผมไม่ค่อยได้จับสังเกตมากเท่าไหร่) ตัว EVF มี Refresh rate ที่ 60Hz ไม่สามารถปรับเป็น 100+Hz ได้แบบ Flagship หลาย ๆ ตัว แต่ 60Hz ก็เหลือเฟือแล้วครับ มองแล้วลื่นไหลสบายตา

Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7

Touchscreen ดีแต่อาจจะยังไม่จบ

จอหลังของ Nikon Z7 มีขนาด 3.2 นิ้วความละเอียด 2.1 ล้านพิกเซล พับขึ้น-ลงได้(คล้าย ๆ ของ Sony A7 Series)แต่ไม่สามารถพับมาด้านหน้าได้ ตรงนี้สายถ่ายวิดีโอ Vlog ก็คงส่ายหน้าหนีกันรัว ๆ ส่วนในเรื่องความคมชัดผมจัดว่าดีมากเลย

จอหลัง Nikon Z7 รองรับ Touchscreen เราสามารถใช้ในการปรับค่าต่าง ๆ ได้ เลื่อนเมนูได้ เลื่อนรูปขยายรูปได้ที่สำคัญคือทำงานไวและลื่นติดนิ้วดีมาก ยกให้เป็น Touchscreen ที่ดีอันดับต้น ๆ ในบรรดา Mirrorless เลย(Canon, Nikon, Panasonic 3 ค่ายนี้ทำระบบ Touchscreen ดีมาก) ถ้าเทียบกับของ Sony ฝั่ง Nikon ใช้งานได้ดีกว่ามาก

Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7

แต่ส่วนที่ผมคิดว่าน่าเสียดายคือ Nikon Z7 ไม่สามารถใช้จอหลังเป็น Touchpad AF ได้(การใช้นิ้วกวาดบนจอเวลาใช้ช่องมองภาพเพื่อเลื่อนจุดโฟกัส) ซึ่งน่าเสียดายมากเพราะ Touchscreen คุณทำมาดีมาก แต่กลับขาดฟีเจอร์นี้ไปเหมือนทำมาดีแล้วแต่ทำไม่จบ การเลื่อนจุดโฟกัสเลยต้องทำผ่าน Joystick กับปุ่มหลังกล้องเท่านั้นซึ่งบางจังหวะมันไม่เร็วเท่า Touchpad AF

Hands-on Review Nikon Z7 – เซนเซอร์&ระบบกันสั่นไหว

Nikon Z7 ใช้เซนเซอร์ Full Frame ความละเอียด 45.7 ล้านพิกเซล ถือเป็นกล้อง Full Frame Mirrorless ตัวแรกของ Nikon(เปิดตัวมาพร้อม Z6) ซึ่งใช้เซนเซอร์ที่สเปคคล้ายกับ Nikon D850 น่าเสียดายที่ NIkon ไม่อนุญาตให้เรานำไฟล์ภาพของ Z7 กลับมาได้เพราะตัวกล้องยังเป็น Pre-production ที่เฟิร์มแวร์ยังไม่สมบูรณ์ เราเลยยังไม่สามารถพูดอะไรเกี่ยวกับไฟล์ภาพได้รอติตดามกันได้ในรีวิวเต็มอีกทีนะครับ

Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7

ระบบกันสั่นไหวผมลองทดสอบมาบ้างแต่การสังเกตจากหลังจอนั้นบอกอะไรได้ไม่ชัดเจนคงต้องขอติดกันไว้ก่อน ดูกันอีกทีในรีวิว Nikon Z7 ฉบับเต็ม แต่ผมก็มีข้อมูลของระบบกันสั่นมาฝาก

Nikon Z7 ใช้ระบบกันสั่น 5 แกนที่เซนเซอร์ Nikon กล่าวว่าจะช่วยลดการสั่นไหวได้ถึง 5EV แต่ถ้าเราแปลงเลนส์ Nikon DSLR เดิมมาใส่และเป็นเลนส์ที่มีกันสั่นในเลนส์อยู่แล้ว ระบบกันสั่นจะทำงานเพียงแค่ 3 แกนเท่านั้นคือแกน Pitch, Yaw และ Roll ทีนี้มันจะแบ่งเป็น 2 กรณีคือถ้าเลนส์คุณไม่มีกันสั่น ระบบกันสั่นในบอดี้ก็ทำงานทั้งหมด 3 แกน แต่ถ้าเลนส์มีกันสั่นมันจะแบ่งหน้าที่กันกล้องจะรับแกน Roll ไปทำในขณะที่เลนส์จะทำในแกน Pitch, Yaw

ข้อดีที่มีการแบ่งหน้าที่แบบนี้คือเวลาเราใช้เลนส์ Telephoto ที่ไกลมาก ๆ มันจะช่วยลดการสั่นไหวได้ดีกว่า เพราะเวลาเราใช้เลนส์ระยะไกล ๆ การสั่นไหวจะมากและเกิดขึ้นได้ง่าย หากใช้ระบบกันสั่นในเซนเซอร์จะต้องมาการขยับเยอะมากเพื่อแก้การสั่นไหวซึ่งในสถานการณ์แบบนี้ระบบกันสั่นในเลนส์จะช่วยได้ดีกว่า Nikon จึงออกแบบให้เลนส์ทำงานในแกน Pitch, Yaw และยกหน้าที่แกน Roll ซึ่งชิ้นเลนส์กันสั่นไม่สามารถแก้ได้ให้เป็นหน้าที่ของระบบกันสั่นในกล้อง

Hands-on Review Nikon Z7 – ระบบโฟกัส

Nikon Z7 ใช้ระบบ Hybrid Autofocus มีเซนเซอร์โฟกัส PDAF 493 จุดวางอยู่บนเซนเซอร์ Full Frame 45.7 ล้านพิกเซล ข้อดีอย่างหนึ่งของ Mirrorless คือการโฟกัสมันทำบนเซนเซอร์รับภาพไม่ใช่มีชุดเซนเซอร์ AF แยกออกไปรับแสงสะท้อนจากกระจกเหมือนตอน DSLR ทำให้ Mirrorless ไม่มีปัญหาเรื่อง Front/Back Focus

ความเร็วในการโฟกัสของ Nikon Z7 สามารถดูได้จากคลิปวิดีโอรีวิว จะเห็นว่ามันโฟกัสได้รวดเร็วมาก และทำการโฟกัสติดตามได้ดีเลย มีระบบ Face Detection ตรวจจับใบหน้าซึ่งเท่าที่ผมลองมันเห็นหน้าได้เร็วทีเดียวและติดตามแน่นหนึบ แม้จังหวะที่ตัวแบบหันหลังให้มันก็ยัง Tracking ตามอยู่เพื่อรอเผื่อแบบจะหันกลับมา น่าเสียดายที่ Z7 ไม่มี Eye AF

Hands-on Review Nikon Z7 – การถ่ายภาพต่อเนื่อง&บัฟเฟอร์

Nikon Z7 สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วสุด 9 ภาพต่อวินาทีในโหมด High+ ก็นับว่าเร็วและสำหรับการรัวไฟล์ 45.7 ล้านพิกเซล แต่ 9 ภาพต่อวินาทีนั้นมีเงื่อนไขอยู่ว่าเราจะได้ไฟล์ 12bit-RAW เท่านั้น โฟกัสจะติดตามให้แต่ล็อคแสงตามช็อตแรก และถ้าอยากได้ 14-bit RAW ความเร็วจะลดลงเหลือ 8 ภาพต่อวินาที และที่สำคัญคือหากรัวด้วยความเร็วนี้ภาพที่เราเห็นใน Live View จะไม่ใช่ภาพจริง ณ เวลานั้น มันจะตามการเคลื่อนไหวจริง ๆ ของวัตถุอยู่นิดหน่อย หากต้องการไฟล์ 14bit RAW พร้อมโฟกัสและวัดแสงติดตามตลอดในทุกช็อต แถมต้องการเห็น Live View ที่เป็นภาพจริงตลอดเวลาด้วยจะต้องลดความเร็วลงเหลือ 5.5 ภาพต่อวินาที

Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7

บัฟเฟอร์น้อยไปนิด

มาพูดถึงบัฟเฟอร์กันบ้าง มันคือพื้นที่รองรับภาพถ่ายของเราก่อนที่จะถูกส่งไปเขียนลงการ์ด เราจะรัวภาพต่อเนื่องได้นานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับขนาดของบัฟเฟอร์นี่แหละ ซึ่งเจ้า Nikon Z7 ตัวนี้สามารถรองรับ JPEG Fine 25 ภาพ / 12-bit RAW 23 ภาพ / 14-bit RAW 18 ภาพ ถ้าถามผม ๆ ว่าน้อยไปหน่อยกดได้ไม่นานก็หมดแล้ว แต่ก็ไม่แน่ครับเพราะ Z7 ใช้ XQD ซึ่งความเร็วมันสูงมาก หากได้ใส่การ์ดมันอาจเคลียร์ออกเร็วมาก(เสียดายเค้าไม่ให้ใส่)จนเรารัวภาพได้นานเลยก็ได้

Hands-on Review Nikon Z7 – เมาท์ใหม่ Z-Mount

อย่างนึงที่ Nikon โปรโมทมาตลอดตั้งแต่ Teaser แรกคือเมาท์ใหม่ใหญ่กว่าเดิมมากเพื่อรองรับการออกแบบเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างมาก ๆ (อย่างเช่น F0.95 ที่จะวางขายตามมาทีหลัง) และประเด็นนึงที่ช่วงนี้ยังไม่ค่อยเห็นใครพูดถึงนักคือระยะจากเมาท์ถึงเซนเซอร์ของ Z7 นั้นสั้นมาก! แค่ 16mm เท่านั้น(Sony 18mm) ซึ่งการมีระยะตรงนี้สั้นจะทำให้เราสามารถนำเลนส์อะไรก็ได้ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องที่ใช้ระยะยาวกว่า 16mm มาใส่ได้หากมีคนผลิตเมาท์แปลงออกมาให้ ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ Nikon, Canon หรืออย่าง Leica M เองก็ด้วย

Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7

น่าจะเสียดายที่ Nikon ไม่ได้แชร์ข้อมูลทางเทคนิคของ Z-Mount (แน่นอนเพราะมันเป็นความลับทางการค้าของเขา)แบบเดียวกับที่ Sony ทำกับ E-Mount ฉะนั้นถ้าค่าย Third-party อยากทำ Mount Adapter หรือเลนส์ Z-Mount ก็ต้องไปแงะศึกษากันเอาเอง

Hands-on Review Nikon Z7 – พอร์ตเชื่อมต่อ

พอร์ตที่ Nikon Z7 มีนับว่าครบมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นไมโครโฟนและหูฟัง(3.5mm), USB-C, miniHDMI และให้ช่องเสียบสายลั่นชัตเตอร์มาแบบ MC-DC2(หัวสี่เหลี่ยมแบบเดียวกับ Nikon DSLR รุ่นเล็กถึงรุ่นกลาง)

Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7

Hands-on Review Nikon Z7 – วิดีโอและแบตเตอรี่

เป็นอีกเรื่องที่ขอให้ติดตามกันในรีวิวเต็มเพราะ ณ วันที่ไปลองเล่น Z7 เรายังไม่สามารถทดสอบสองเรื่องนี้ได้ แต่ผมจะเล่าให้ฟังคร่าว ๆ ถึงสิ่งที่ Nikon Z7 สามารถทำได้(ส่วนทำได้ดีแค่ไหนเดี๋ยวค่อยว่ากันอีกที)

วิดีโอ…งานนี้ Nikon ไม่ได้มาเล่น ๆ

Nikon ใส่ความสามารถด้านวิดีโอให้ Z7 มาเยอะพอสมควรไม่ว่าจะเป็น 4K UHD 30p ซึ่งจะใช้ความยาวเต็มขนาดเซนเซอร์ Full Frame ไม่มีการ Crop เซนเซอร์เลยซึ่งจะทำให้เราไม่ต้องคูณระยะของเลนส์เพิ่มและไม่เสียความกว้างของเลนส์ไปแบบ Canon EOS R เพียงแต่การบันทึกเต็มขนาด Full Frame ของ Z7 นั้นไม่ใช่ Full Pixel Readout(การอ่านข้อมูลจากทุกพิกเซล)แต่มีการทำ Line Skipping ถ้าอยากได้แบบ Full Pixel Readout เราจะต้อง Crop เซนเซอร์เป็นขนาด APS-C หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้ตัว Z6 แทน

ในส่วนของ 1080p ยังสามารถถ่ายเฟรมเรท 120fps ได้อีกด้วยซึ่งในกล้องจะมีให้เราเลือกครับว่าจะเอาวิดีโอ 120fps เดิม ๆ แล้วไปดึง Slowmotion เองหรือจะให้กล้องดึงให้เสร็จเลยก็ได้

Nikon Z7 ยังสามารถ Output วิดีโอ 4:2:2 10bit พร้อม N-Log ได้ผ่านทาง HDMI เพื่อไปเข้าเครื่องบันทึกภายนอก แต่ยังไม่สามารถบันทึกภายในตัวกล้องได้(บันทึกในกล้องจะ 8bit) เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย โอเค ผมเข้าใจว่าถ้าคุณถ่ายวิดีโอจริงจังคุณอาจมีเจ้าเครื่องบันทึกแยกนี่อยู่แล้วแต่ในช่วงนี้ที่ Content Video กำลังเติบโตนี้คงมีหลายคนที่อยากได้กล้องถ่ายวิดีโอจริงจังแบบจบในตัวเพื่อความง่าย ซึ่งน่าเสียดายที่ Z7 จะเสียคะแนนจากคนเหล่านี้

แบตเตอรี่ใช้กับของเดิมได้

Nikon Z7 ใช้แบตเตอรี่ EN-EL15b เป็นรุ่นที่ออกมาใหม่เพื่อให้สามารถชาร์ตแบตเตอรี่ผ่านสาย USB ในตัวกล้องได้ แต่ถ้าใครจะเอาแบตฯ EN-EL15 รุ่นก่อน ๆ มาใช้ก็สามารถใช้ได้เหมือนกันเพียงแต่จะชาร์จผ่าน USB ไม่ได้

สำหรับอายุการใช้งานแบตเตอรี่ Nikon ระบุว่า Z7 ทดสอบ CIPA ได้ 330 ภาพต่อแบตฯ 1 ก้อน อาจะดูว่าน้อยแต่ไม่ต้องไปยึดติดกับผล CIPA มากนักครับ เวลาเราใช้งานจริงเรามักจะไม่ได้ใช้เหมือนตอนเค้าทดสอบหรอกมันจะถ่ายได้เยอะกว่านี้มาก 2-3 เท่าเลย

รอติดตามรีวิว Nikon Z7 ฉบับเต็มกันด้วยนะ

รีวิว Nikon Z7 ครั้งนี้ยังเป็นกล้อง Pre-production เท่านั้นแน่นอนว่าตัวขายจริงมันอาจจะทำงานได้ดีกว่านี้ฉะนั้นเราไม่ควรด่วนสรุปความสามารถของ Z7 ในตอนนี้ อดใจรอ เก็บตังกันไว้และเดี๋ยวเรากลับมาเจอกันอีกครั้งในรีวิว Nikon Z7 ฉบับเต็มนะครับ

Hands-on Review ความรู้สึกแรกหลังจับ Nikon Z7
บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 19/09/2018

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save