ปก

สนุกกับความเร็วชัตเตอร์ Leave a comment

speed shutter
ความเร็วชัตเตอร์ 5 วินาที ทำให้เห็นไฟท้ายรถยาวเป็นเส้นไปตามทิศทางที่รถวิ่ง

ความเร็วชัตเตอร์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการควบคุมปริมาณของแสงที่เข้ามาในกล้อง หรือเข้าไปสู่เซ็นเซอร์ ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับขนาดรูรับแสง และความไวแสง ซึ่งความเร็วชัตเตอร์จะมีผลโดยตรงกับสิ่งใดก็ตามที่มีการเคลื่อนไหว และให้ผลที่แตกต่างกันระหว่างความเร็วชัตเตอร์สูง และความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

ความเร็วชัตเตอร์
ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 5 วินาที ทำให้เห็นไฟท้ายรถยาวเป็นเส้นไปตามทิศทางที่รถวิ่ง

โดยปกติในกล้องถ่ายภาพสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้ตั้งแต่ 30 วินาที สูงขึ้นไปจนถึง 1/4000 หรือ 1/8000 วินาที สำหรับกล้องระดับโปรบางรุ่น สำหรับความเร็วชัตเตอร์ระดับกลางๆ คือประมาณ 1/60 วินาที ซึ่งเป็นความเร็วชัตเตอร์ที่สูงพอที่จะถือกล้องถ่ายภาพด้วยมือ โดยใช้เลนส์มาตรฐาน 50 มม.

ถ้าหากว่าความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่า 1/60 วินาทีลงมา เช่น 1/30 วินาที, 1/15 วินาที หรือ 1 วินาที ถือว่าเป็นความเร็วชัตเตอร์ต่ำ และตรงกันข้าม ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงกว่า เช่น 1/125 วินาที หรือ 1/500 วินาที จะเรียกเป็นความเร็วชัตเตอร์สูง

น้ำกระเซ็น
การใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง 1/1000 วินาที หยุดจังหวะการเคลื่อนไหวได้ของเด็กและน้ำที่กระจายขึ้นมาได้นิ่งสนิท

ความเร็วชัตเตอร์สูง สามารถหยุดจังหวะการเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ ซึ่งจะเห็นว่าช่างภาพกีฬามักจะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพื่อหยุดจังหวะแอ๊คชั่นต่างๆ ของนักกีฬา ส่วนความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ มักจะใช้สำหรับการถ่ายภาพสิ่งที่มีการเคลื่อนไหว แล้วให้รู้สึกพลิ้วไหว นุ่มนวล อย่างเช่น ภาพน้ำตก เป็นต้น

แต่สำหรับภาพการเคลื่อนไหวบางอย่าง เช่น ภาพรถแข่ง หลายๆครั้งจะเห็นว่าช่างภาพใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ และแพนกล้องตามรถแข่ง ซึ่งจะได้ภาพที่รถแข่งชัดเจน แต่ฉากหลังจะเบลอเป็นเส้น รวมทั้งล้อรถที่กำลังหมุนอยู่ ก็เบลอแสดงถึงการเคลื่อนไหว ซึ่งถ่ายทอดอารมณ์ของภาพได้ดีกว่าการหยุดจังหวะให้นิ่งสนิท

ภาพแบบเดียวกัน แต้ใช้วิธีถ่ายภาพที่แตกต่างกัน ระหว่างความเร็วชัตเตอร์สูง 1/1250 วินาที (ภาพซ้าย) และความเร็วชัตเตอร์ต่ำ 1/30 วินาที พร้อมแพนกล้องตามทิศทางการเคลื่อนไหว (ภาพขวา) จะให้อารมณ์ของภาพที่แตกต่างกัน

ก่อนที่จะไปสนุกกับความเร็วชัตเตอร์แวะมาศึกษาบทความที่เกี่ยวข้องก่อนนะ

ส่วนการถ่ายภาพบางอย่าง เช่นภ่ายภาพพลุ หรือถ่ายภาพถนนยามค่ำคืนที่มีแสงไฟรถยาวเป็นเส้น อาจจะต้องการความเร็วชัตเตอร์มากๆ หรือต่ำกว่า 30 วินาที กรณีนี้จะต้องใช้ชัตเตอร์ B หรือ Bulb ซึ่งเป็นการเปิดม่านชัตเตอร์ค้างไว้นานเท่าที่ผู้ใช้ต้องการ และจะต้องใช้งานร่วมกับขาตั้งกล้องกับสายลั่นชัตเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดสูงสุด

ปรับแสง
รูปถ่ายพลุ ใช้ชัตเตอร์ B ซึ่งชัตเตอร์จะเปิดค้างในขณะที่รับแสง และสามารถเปิดหรือปิดการรับแสงได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

สำหรับกรณีที่วัตถุที่เราต้องการจะถ่ายมีทั้งสิ่งที่หยุดนิ่งและสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ด้วยกัน ก่อนที่จะถ่ายจึงต้องกำหนดไว้ก่อนว่าต้องการภาพถ่ายแบบใด ถ้าหากใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสิ่งที่เคลื่อนไหวก็จะหยุดนิ่ง ภาพจะคมชัดทั้งหมด

แต่ถ้าหากใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สิ่งที่เคลื่อนไหวก็จะเบลอ แต่สิ่งที่อยู่นิ่งก็จะคมชัด ดังนั้นการเข้าใจถึงผลของความแตกต่างระหว่างความเร็วชัตเตอร์สูงและความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะช่วยให้คุณสามารถวาดภาพที่ต้องการไว้ในจินตนาการก่อนที่จะถ่ายภาพจริงๆ ส่วนจะใช้ชัตเตอร์ต่ำหรือสูงมากแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบภาพที่ต้องการ และความเร็วในการเคลื่อนไหวของซับเจคต์

อย่างเช่น ถ่ายภาพน้ำตกที่มีสายน้ำไหลเอื่อยๆ เรื่อยๆ อาจจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำถึง 5 วินาทีจึงจะได้สายน้ำที่พลิ้วไหว แต่ถ้าเป็นน้ำตกที่มีสายน้ำตกลงมาอย่างรุนแรง ชัตเตอร์ต่ำแค่ 1 วินาทีก็พลิ้วไหวเพียงพอ เป็นต้น

ภาพน้ำพุ ถ่ายช่วงเวลาบ่าย 2 โมง ใช้รูรับแสง f/22 วัดแสงได้ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที แต่ต้องการสายน้ำพุที่พลิ้วไหว จึงใช้ H&Y ND Adjustable ซึ่งปรับความเข้มได้ตั้งแต่ ND2-ND400 ถ่ายภาพนี้ที่ความเร็วชัตเตอร์ 2 วินาที f/22 ปรับลดลงไปได้ถึง 7 สตอป

บางกรณีที่ถ่ายภาพในช่วงกลางวัน ซึ่งต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ เพื่อให้ได้ผลของภาพตามที่ต้องการ แต่เมื่อวัดแสงแล้วยังคงได้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเกินไป ดังนั้นจะต้องอาศัยอุปกรณ์เสริม

อย่างเช่นฟิลเตอร์ ND ซึ่งมีหลายขนาดความเข้มให้เลือกใช้ เช่น ND4 ลดแสงไป 2 สตอป ND8 ลดแสงไป 3 สตอป เป็นต้น หรือเอาแบบสะดวกก็ใช้แบบ ND Adjustable หรือแบบที่สามารถปรับความเข้มได้หลายระดับ จาก 2-8 สตอป เป็นต้น สะดวกกับการใช้งานมากกว่าครับ

#ZoomCamera ตัวแทนจำหน่ายกล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีให้คุณเลือกมากที่สุดหาของที่ไหนไม่ได้มาหาได้ที่ ZoomCamera นะ

———– สอบถามเพิ่มเติม ————
แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือหน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
086-349-7224 / 02-635-2330 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

?สาขา Central Plaza เวสต์เกต 02-054-7462 / 097-063-4328
?สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772
?สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919
?สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498
?สาขาฟอร์จูนทาวน์ 083-068-2775
?สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123
?สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896
?สาขา Central Festival หาดใหญ่ 074-848-700/095-702-7585
?สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ 02-002-3894 / 096-901-7825
?สาขาสยามพารากอน 02-129 4765 / 096-901-7826

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save