ในปัจจุบันการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัล หรือการที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสี (tone) ของภาพดิจิตอลนั้น สิ่งที่ช่างภาพทุกคนต้องพบเห็นอยู่เป็นประจำคือ ฮิสโทแกรม ซึ่งบางคนอาจไม่ได้สนใจกับการวิเคราะห์ภาพจากฮิสโทแกรม เพียงแต่ปรับเลื่อนเครื่องหมายหรือขีดต่างๆ บนซอฟแวร์และ/หรือโปรแกรมต่างๆ โดยอาศัยการสังเกตว่าภาพ ที่ตนเองเห็นบนจอนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปดังที่ตนต้องการจึงถือว่าได้ภาพที่ดีแล้ว ซึ่งในวันนี้ Admin จะขอนำเพื่อนมาทำความรู้จักกับ Histogram ว่า เจ้านี่มันคืออะไร และ มีความสัมพันธ์ระหว่างฮิสโทแกรมกับภาพดิจิตอลอย่างไรบ้างกันครับ
Histogram คืออะไร ??
หากแปลความหมายตาม dictionary แล้ว Histogram ก็คือ “A bar graph of a frequency distribution in which the widths of the bars are proportional to the classes into which the variable has been divided and the heights of the bars are proportional to the class frequencies.”
หรือ ถ้าแปลตามภาษาในวงการกล้องแล้ว ฮิสโทแกรม เป็นกราฟแสดงจำนวนพิกเซลที่ความสว่างต่างๆ ของภาพ สังเกตได้จากภาพแรกด้านล่าง แกนนอนเป็นระดับความสว่างที่แบ่งระดับเป็น 256 ระดับ (มักเรียกว่าระดับสีเทา หรือ gray level) โดยมีค่าตั้งแต่ 0-255 เมื่อระดับสีเทามีค่าต่ำ (ด้านซ้ายมือ) หมายถึงมีความสว่างน้อย จะมองเห็นเป็นสีดำ ค่าระดับสีเทามาก (ด้านขวามือ) หมายถึงมีความสว่างมากจะมองเห็นเป็นสีขาว แกนตั้งของกราฟแสดงจำนวนพิกเซลในแต่ละความระดับสีเทาซึ่งเป็นค่าสัมพัทธ์ นั่นเองครับ
การอ่านค่า Histogram
Histogram จัดว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่กล้องถ่ายรูปในยุคปัจจุบันมีมาให้เราแทบทุกรุ่น ซึ่งเจ้า Histogram นี้จำนำเราไปสู่การตั้งค่า exposure ที่ถูกต้อง แต่เราเองบางครั้งหรือหลายๆครั้งมักจะมีความเข้าใจที่ผิดพลาดกับเครื่องมือนี้ ในบทความนี้ เราจะเน้นไปที่การอ่าน Histogram และการนำไปใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งค่า exposure ที่เหมาะสมที่สุด ณ เวลานั้นๆ
สำหรับการอ่าน Histogram แบบง่ายๆนั้น ให้เราพิจารณาจากกราฟเป็นหลักครับ โดย
– กราฟแท่งที่แสดงถึงความถี่หรือจำนวนของ pixel ที่กระจายอยู่ ณ ช่วงค่าความสว่างต่างๆ
– ส่วนด้านซ้าย คือส่วนที่เป็นด้านมืดหรือเงา
– ส่วนด้านขวา คือ ส่วนที่เป็นสีขาวหรือส่วนสว่างของภาพ
– ส่วนตรงกลาง คือ ส่วนสีเทา โดยที่ส่วนที่เป็นความสูงจะแสดงถึงจำนวนที่มีของค่าความสว่างหรือในช่วงโทนนั้นๆ แต่ละโทนซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0-255 (0 คือ มืดสุด และ 255 คือ สว่างสุด) คือค่าตำแหน่งบนแกนแนวนอนของกราฟ
Spike คืออะไร ??
Spike ก็คือแท่งทรงแหลมที่ปรากฏขึ้นมาในกราฟ ซึ่งเมื่อเจ้า spike นี้ไปโผล่ตรงไหน หมายถึงว่าในบริเวณนั้น tone อยู่ ณ ตำแหน่งนั้นๆจะมีการสูญเสียรายละเอียดไป และส่วนมากจะไม่สามารถกู้คืนมาได้ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็น highlight area ทางแก้ก็พยายามปรับ exposure มาช่วย ( ปรับ +/- แล้วแต่สถานการณ์ ) เพื่อดึงเอารายละเอียดตรงส่วนนั้นกลับมา เพราะในส่วนที่เป็นส่วนสว่าง ถ้ารายละเอียดในภาพหายไปแล้วจะกู้คืนยากกว่าในส่วนที่เป็นส่วนมืด ซึ่งในบางครั้ง การที่เราจะทำให้ histogram มีรูปร่างที่สวยๆนั้น ทำได้ยาก เช่น ในกรณีที่มี contrast สูงๆ เช่น พระอาทิตย์ตกดิน, ในตึกที่มีเงาอยู่นอกหน้าต่าง เราก็ต้องพยายามถ่ายภาพโดยต้องเก็ยรายละเอียดมาให้ได้มากที่สุด แล้วอาจจะมาปรับแก้เพิ่มในคอมพ์ได้อีกในภายหลัง
Histogram บอกอะไรเราบ้าง และ ประโยชน์ของ Histogram ??
มาถึงตรงนี้ Admin เชื่อว่าเพื่อนๆ พอจะเข้าใจเกี่ยวกับ Histogram กันบ้างแล้ว ซึ่งบางภาพที่เพื่อนๆถ่ายออกมานั้น เจ้า Histogram ในภาพ ก็สามารถบอกอะไรแก่เราออกมาได้หลายอย่าง ซึ่งถ้าค่า Exposed ดี รูปกราฟจะกระจายตัวแบบ สูงตรงกลางและมีที่ว่างซ้ายขวาเท่ากัน ความสูงเท่าๆกัน หรือ ทรงระฆังคว่ำ นั่นเอง
ซึ่งข้อดีของการที่กราฟของ Histogram มีลักษณะเป็น ทรงระฆังคว่ำ นั้น เราสามารถนำภาพที่ได้ไปปรับแต่งได้โดยง่าย โดยที่ยังคงรายละเอียดไว้ได้อย่างครบถ้วน ในทางกลับกัน หากกราฟอยู่ที่ข้างใดข้างหนึ่งมากจนเกินไป แสดงว่าเรากำลังพลาดในการเก็บรายละเอียดบางอย่างไป หรือ ทำให้รายละเอียดบางอย่างสูญเสียไป ทางแก้ง่ายๆเบื้องต้น คือ เราสามารถปรับค่า Exposure ทาง +/- ได้ครับ ( ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ )
*** หมายเหตุ ***
ในการถ่ายภาพทุกครั้ง ไม่จำเป็นต้องให้กราฟของ Histogram มีลักษณะเป็น ทรงระฆังคว่ำ เสมอไป เนื่องจากในสถานการณ์ต่างๆ ณ ช่วงเวลานั้น อาจไม่เอื้ออำนวยให้สามารถกำหนดการ Setting ต่างๆในกล้อง ให้ Histogram ออกมาในรูปแบบนี้ได้ อาทิเช่น ถ่ายภาพกลางทุ่งหิมะ , ถ่ายภาพทะเลดาวที่ท้องฟ้ามืดสนิท เป็นต้น
*** ตัวอย่าง : กราฟ Histogram ในสถานการณ์ต่างๆ ***
*** กล่าวส่งท้าย ***
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับบทความ Histogram : สิ่งเล็กๆที่ช่างภาพควรทำความรู้จักไว้ ค่าแสดงผลพื้นฐานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะกับการถ่ายภาพที่ต้องการความละเอียดอ่อนทีสุด เพื่อให้ได้ผลงานออกมาดูน่าสนใจเพื่อนำไปปรับใช้ต่อ แม้ว่าอาจจะต้องอาศัยเทคนิคบ้างเพื่อให้ภาพออกมาดูดี มีสีสันสวยงามชวนน้ำลายสอ ซึ่งท้ายนี้ Admin ก็หวังว่าบทความ Histogram : สิ่งเล็กๆที่ช่างภาพควรทำความรู้จักไว้ นี้จะเป็นทั้งคู่มือและตัวช่วยอย่างดีให้กับเพื่อนๆที่ไม่ทราบเกี่ยวกับ Histogram มาก่อน เพื่อนำไปปรับและประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพต่อไป ทั้งที่กำลังริเริ่ม และ/หรือ เริ่มจริงจัง แม้ไม่ใช่มืออาชีพ ก็สามารถถ่ายภาพออกมาได้สวยงามเช่นกันครับ
ZoomCamera Live! : เรียนรู้วิธีดู Histogram ดูเป็นอัพเวลรัว ๆ
Zoom Camera Live !! มาเรียนรู้วิธีการดู และความหมายของ Histogram มีประโยชน์ยังไง ทำไมทุกกล้องต้องมีมาให้ เรียนรู้ไปกับ คุณนรา และคุณไอซ์ เชิญรับชมได้เลยจ้า ^^ #ZoomLive #Histogram
Posted by ZoomCamera on Thursday, 1 June 2017
inbox : http://www.facebook.com/messages/zoomcamera
02-635-2330 ต่อ 0 / 083-067-7677 (หยุดวันอาทิตย์)
สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772
สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123
สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919
สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498
สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775
สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896
Credit :