เรื่องของสีที่ควรรู้ : ความแตกต่างระหว่างค่าสี Adobe RGB และ sRGB ควรใช้แบบไหน Leave a comment

เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า ในการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลที่เป็นกล้อง DSLR นั้นมีเมนูอันนึงให้ท่านเลือกระหว่าง ปริภูมิสี (Color Space) ที่เป็น sRGB หรือ Adobe RGB ซึ่งเป็นที่สงสัยของช่างภาพหลายๆคนว่า ปริภูมิสีทั้งสองนั้นต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้อันไหน หลายๆท่านนำภาพที่ถ่ายมาเปิดบนคอมพิวเตอร์ ก็ยังได้สิ่งที่ไม่ตรงกันอีก ซึ่งในวันนี้ทีมงาน Zoomcamera จะมาแนะนำ Content ” เรื่องของสีที่ควรรู้ : ความแตกต่างระหว่างค่าสี Adobe RGB และ sRGB “ สำหรับเพื่อนๆที่ยังสงสัย และ/หรือ คาใจเกี่ยวกับ sRGB หรือ Adobe RGB อยู่ละก็ ติดตามชมไปพร้อมๆกันเลยจ้า

 

Color Space ( ปริภูมิสี ) คือ ??

ตามคำนิยามแล้ว สีเป็นปรากฏการณ์ของการรับรู้ของมนุษย์ เกิดจากมีแสงไปตกกระทบบนเรตินาภายในตาของเรา แล้วเรดินาจะมีเซลล์รับแสง ซึ่งส่งสัญญาณสีไปยังสมอง และสมองก็แปลออกมาเป็นสี ดังนั้นสีจึงเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่รับรู้ผ่านการมองเห็น ความสามารถของการมองเห็นของคนเรานั้นแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ความแตกต่างนั้นมีไม่มากนัก และความสามารถในการมองเห็นสีของเราก็ดีเยี่ยมซะด้วย มีนับเป็นล้านสี แต่คำที่จะอิบายสีที่เราเห็นนั้นมีน้อยมาก แค่หลักพันเท่านั้น ซึ่งในกล้อง Digital จะมีคำสั่ง Color Space ติดมากับตัวกล้องเสมอ โดยปกติจะมีปริภูมิสีให้เลือกอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ Adobe RGB และ sRGB

 

sRGB คือ ??

ปริภูมิสีมาตรฐาน (Standard color space) นี้ถูกสร้างขึ้นมา โดยทางนักวิจัยของ Hewlett-Packard ร่วมกัน Microsoft เพื่อกำหนดให้ค่าสีของภาพที่เราได้จากกล้องถ่ายภาพ มีสีอ้างอิงว่าค่า RGB นั้นๆ ตรงค่าสีอะไรที่เราเห็นซึ่งเป็นข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับจอภาพทั่วๆไป โดยเน้นไปที่จอ CRT แล้วเรียกกว่า Standard RGB หรือเขียนกันสั้นๆ ว่า sRGB ( อ่านออกเสียงว่า เอส – อาร์ – จี – บี ) เน้นสำหรับทางด้านอินพุทและเอาท์พุท, ความแตกต่างของสีสามารถทำให้ลดน้อยลงในระหว่างอุปกรณ์ที่แตกต่างกันเพื่อสร้างสีที่ต้องการขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ช่วงของสีต่างๆ สามารถแสดงออกมาได้จำกัดถึงเพียงบางระดับเท่านั้น คิดเป็นปริมาณ 35% ของสีที่มองเห็นได้จริงตามมาตรฐานของ CIE (Commission International de l’ éclairage) ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป

 

แล้ว Adobe RGB หละ ??

Adobe RGB 1998 คือผลงานของ Adobe Systems Inc. (ผู้ผลิต Photoshop และอีกหลายๆโปรแกรม ที่มีชื่อเสียงทางด้านสิ่งพิมพ์) ซึ่งเห็นว่าน่าจะมี Color Space ที่ใช้งานได้กว้างจึงได้พัฒนามันขึ้นมานัยว่า ปริภูมิสีดังกล่าวถูกพัฒนาเพื่อรองรับ งานระดับ “มืออาชีพ” ซึ่งในการจัดการก็ต้องมืออาชีพด้วย มันสามารถแสดงช่วงสี ได้ถึง 50% จากสีที่มองเห็นได้จริง

 

ความแตกต่างเมื่อนำมาใช้งาน ??

แน่นอน มักเป็นปัญหาโลกแตกอีกคำถามหนึ่ง ยิ่งถ้าเจอกับตากล้องมือใหม่ที่ไปเปิดเจอเจ้า Color Space ด้วยแล้ว ซึ่งค่า Default เดิมๆของกล้อง มักจะตั้งมาเป็น sRGB เสมอไป แต่วันดีคืนดีเรานำกล้องออกไปถ่ายภาพๆเดียวกันแต่ปรับไปใช้ Color Space แบบ Adobe RGB จะได้ตัวเลข RGB ที่แตกต่างกัน นั่นเพราะกระบวนการแปลงค่าต่างๆ ในกล้องนั้น อาศัยการคำนวณอยู่บนมาตรฐานที่ Adobe RGB หรือ sRGB กำหนดไว้ เมื่อกล้องถ่ายภาพมีปริภูมิสีให้ใช้ในขณะถ่ายภาพสองระบบคือ sRGB และ Adobe RGB (1998) กล่าวคือ หากเพื่อนๆถ่ายภาพเพื่อนำไปทำเป็นสิ่งพิมพ์ ก็ควรใช้ Adobe RGB เพราะเป็น Color Space ที่เหมาะสำหรับการพิมพ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ให้ขอบเขตสีที่กว้าง กลับกันหากเพื่อนๆต้องการส่งออกภาพไปยังจอภาพ หรือเครื่องปริ๊นรูปตามร้านอัดขยายรูปสีทั่วไป ก็ควรใช้ปริภูมิสี sRGB นั่นก็เพราะเป็นสิ่งที่เกือบจะเป็นมาตรฐานของการผลิตสีไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม หากเพื่อนๆยังไม่มั่นใจว่า ในอนาคตจะใช้ภาพที่ถ่ายในวันนี้เพื่อผลิตเป็นสิ่งพิมพ์ หรือแค่ส่งภาพไปทางเน็ต ก็ควรถ่ายภาพเป็น File Raw เก็บไว้ก่อน ซึ่งจะสามารถกำหนด Color Space ได้ในภายหลังว่าต้องการภาพนั้นๆ เป็น sRGB หรือ Adobe RGB สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการควบคุมคุณภาพสีให้มีความแม่นยำสูงขึ้น มีความจำเป็นต้องวางระบบการจัดการสีสำหรับกระบวนงาน ( Work Flow ) ซึ่งจะต้องมีการสร้าง icc profile ของอุปกรณ์ทุกชิ้นในการทำงาน เพื่อให้การแปลงค่าสี และการแสดงสีของอุปกรณ์ต่างๆนั้น เป็นไปตามที่ต้องการ

 

สรุปส่งท้าย

olor Space หรือ ปริภูมิสี เป็นสิ่งที่สำคัญต่องานภาพถ่ายอย่างมากซึ่งมันจะเป็นตัวชี้คุณภาพทางด้านสีของภาพได้เลย หากเราเข้าใจและควบคุมมันอย่างถูกวิธี หากนำภาพไปใช้งานทั่วๆไป Color Space แบบ sRGB ก็เพียงพอสำหรับงานทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องเก็บค่าเป็น Adobe RGB ข้อสำคัญคือ ควรถ่าย File RAW เก็บไว้เสมอในทุกๆครั้งไป

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save