[How to] ถ่ายภาพ Time-Lapse ง่ายแต่ว้าวใครก็ทำตามได้ Leave a comment

[How to] ถ่ายภาพ Time-Lapse ง่ายแต่ว้าวใครก็ทำตามได้

ภาพ Time-Lapse คืออะไร

ปกติแล้วถ้าเราดูวิดีโอความยาว 1 นาทีเฟรมเรท 30fps ในทุก ๆ 1 วินาทีของวิดีโอจะมีภาพนิ่งถูกถ่ายเอาไว้ 30 ภาพเรียงกันให้เราเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวตามปกติแต่จะเป็นอย่างไรถ้าผมบอกให้ถ่ายแค่ 1 ภาพทุก ๆ 1 นาทีจำนวน 300 ภาพแล้วนำมาต่อกันผลที่เกิดขึ้นอธิบายง่าย ๆ ด้วยวิดีโอด้านล่างนี้

ผลที่ได้นั้น…มหัศจรรย์

นอกจากวิดีโอ Time-Lapse วิวลักษณะนี้ก็ยังมีการถ่ายดอกไม้บาน การเติบโตของเมล็ดพืช พระอาทิตย์ขึ้น-ตก และอีกมากมาย Time-Lapse มีลักษณะเป็นวิดีโอที่เร่งเวลาให้เวลาหลายนาที หลายชั่วโมง หรือบางครั้งหลายวันผ่านไปในเวลาแค่ไม่กี่วินาทีความน่าสนใจคือ วิดีโอ Time-Lapse ที่เราเห็นนี้ไม่ได้เกิดจากการถ่ายวิดีโอแล้วนำมาเร่งความเร็วแต่เป็นการถ่ายภาพนิ่งจำนวนหลายร้อยภาพมาเรียงต่อกันจนเราดูเป็นภาพเคลื่อนไหว

จุดเริ่มต้นของ Time-Lapse คือการถ่ายภาพนิ่งแต่ในขั้นตอนสุดท้ายเราจะต้องรวมภาพนิ่งจนเป็นวิดีโอซึ่งโชคดีหน่อยที่กล้องยุคนี้ส่วนใหญ่สามารถรวมภาพเป็นวิดีโอ Time-Lapse ให้เราได้เลยจากในตัวกล้อง

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการถ่ายภาพ Time-Lapse

กล้อง ที่จะใช้ควรเป็นกล้องที่มีโหมด Manual(P, A, S, M) ให้ใช้และมีโหมดถ่ายภาพ Time-Lapse ในตัวซึ่งในกล้องมักจะใช้ชื่อว่า Interval Shooting, Interval Timer, Time-Lapse, ถ่ายภาพหน่วงเวลา แต่หากกล้องเราไม่มีโหมดนี้ล่ะก็อาจจำเป็นต้องใช้รีโมทชัตเตอร์แบบตั้งเวลาได้เพื่อสั่งถ่ายภาพซึ่งจะมีราคาตั้งแต่ประมาณ 1,000 บาทขึ้นไป

[How to] ถ่ายภาพ Time-Lapse ง่ายแต่ว้าวใครก็ทำตามได้

หากใครมีกล้องที่สามารถกันน้ำได้จะมีประโยชน์มากเพราะมีหลายครั้งเลยที่กล้อง Time-Lapse จะต้องตั้งกลางฝนตกเบา ๆ

ขาตั้งกล้อง อุปกรณ์ที่สำคัญอันดับแรกในการถ่ายภาพ Time-Lapse เพราะเราจะต้องถ่ายภาพหลายร้อยใบที่มีตำแหน่งตรงกันเป๊ะ ๆ เป็นเวลานานฉะนั้นการตั้งกล้องให้นิ่งและอยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดจึงจำเป็นอย่างมาก

รีโมทชัตเตอร์ แม้กล้องรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะมีโหมด Interval มาให้อยู่แล้วแต่ก็ยังมีหลายรุ่นที่ยังคงไม่มีโหมดนี้ซึ่งวิธีแก้ไขคือเราต้องซื้อรีโมทชัตเตอร์แบบตั้งเวลาได้มาใช้ครับโดยตัวรีโมทจะสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้กล้องถ่ายภาพทั้งหมดกี่ภาพ แต่ละภาพห่างกันกี่วินาที ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการถ่าย Time-Lapse

[How to] ถ่ายภาพ Time-Lapse ง่ายแต่ว้าวใครก็ทำตามได้

วิธีการตั้งค่ากล้องถ่ายภาพ Time-Lapse

การถ่ายภาพ Time-Lapse นั้นจะต้องตั้งกล้องให้ถ่ายภาพต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ตามเวลาที่กำหนดจนถึงจำนวนที่ต้องการเพื่อนำภาพไปต่อเป็นวิดีโอ สิ่งสำคัญคือเราต้องทำให้แต่ละภาพมีตำแหน่ง ค่าแสง และระยะโฟกัสที่คงที่เพื่อให้ได้วิดีโอที่ออกมาเนียนตา

กี่ภาพและกี่วินาทีถึงจะดี

  • อยากได้วิดีโอยาวกี่วินาที เป็นสิ่งแรกที่ต้องถามตัวเองก่อนว่าเราอยากได้วิดีโอยาวกี่วินาทีถึงจะคำนวณได้ว่าเราจำเป็นต้องถ่ายภาพกี่ภาพ แต่ถ้าใครยังคิดไม่ออกผมแนะนำว่าหนึ่งมุมถ่ายให้ได้วิดีโอสัก 10 วินาทีก็พอครับแล้วก็เปลี่ยนมุมใหม่ ส่วนใหญ่เวลาเอาไปตัดใช้งานจริงก็ไม่ค่อยมีใครค้างช็อต Time-Lapse มุมเดียวไว้เกิน 10 วินาที
  • อยากได้เฟรมเรทเท่าไหร่ เฟรมเรทก็คือจำนวนภาพต่อ 1 วินาทีอย่างเช่นโรงหนังที่เราไปดูกันจะฉายที่เฟรมเรท 24fps หรือ 24 ภาพต่อ 1 วินาทีผมแนะนำว่าให้เลือกแถวๆ 24fps หรือ 30fps ก็ได้ครับแล้วแต่ชอบหรือใครจะเอาช้ากว่านี้ก็ได้ ยิ่งเฟรมเรทสูงเท่าไหร่วิดีโอที่ได้จะดูเนียนต่อกันดีแต่ถ้าเฟรมเรทน้อยวิดีโอจะมีอาการกระตุก(กระตุกมากน้อยขึ้นอยู่กับเฟรมเรท)

จากสองข้อด้านบนถ้าเราอยากได้วิดีโอ 10 วินาทีที่เฟรมเรท 24fps ในเมื่อ 1 วินาทีมี 24 ภาพทั้งหมดที่เราต้องใช้คือ 240 ภาพ(10×24 = 240)

แต่ละรูปควรห่างนานแค่ไหน เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับว่าถ่ายอะไรและมีเวลาถ่ายนานแค่ไหน

  • ถ้าเราถ่ายวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วเช่น คนเดิน รถวิ่งตามถนน ควรจะตั้งระยะเวลาระหว่างแต่ละภาพให้เร็วหน่อยไม่งั้นจะเกิดอาการวัตถุกระโดดจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งในวิดีโอตอนท้าย ผมแนะนำให้ตั้งค่าไว้ที่ 1-3 วินาทีถ่าย 1 ภาพ
  • สำหรับวัตถุที่ไม่ได้เคลื่อนไหวเร็วเช่น พระอาทิตย์ขึ้น-ตก เมฆหรือหมอกที่ไหลอย่างช้า ๆ เราอาจตั้งให้แต่ละภาพห่างกันสัก 5-10 วินาทีก็ได้
  • สำหรับวัตถุที่เคลื่อนไหวช้าเช่น ดาว พระอาทิตย์หรือพระจันทร์ที่เคลื่อนผ่านบนท้องฟ้าเราสามารถตั้งระยะเวลาให้ห่างกันภาพละ 10-30 วินาทีเลยก็ได้

และสุดท้ายอย่าลืมดูว่าสิ่งเราจะถ่าย Time-Lapse เกิดขึ้นนานแค่ไหนเช่น พระอาทิตย์ตกซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีอย่าลืมตั้งเวลา Time-Lapse ของเราให้พอดีกับช่วงเวลาด้วยซึ่งผมก็มีเครื่องมือง่าย ๆ มาแนะนำจากเว็บ Photopills ซึ่งแค่ใส่ความยาววิดีโอที่เราอยากจะได้ ระยะเวลาของเหตุการณ์ เฟรมเรท ขนาดภาพ เว็บก็จะบอกว่าเราควรตั้ง Interval เท่าไหร่ ใช้กี่ภาพ พื้นที่การ์ดเท่าไหร่

[How to] ถ่ายภาพ Time-Lapse ง่ายแต่ว้าวใครก็ทำตามได้

ใช้โหมด A หรือ M

ผมแนะนำให้ใช้โหมด A หรือ M สาเหตุเพราะว่าโหมด M นั้นเราสามารถควบคุมค่าต่าง ๆ ให้คงที่ตลอดได้เพื่อให้แสงในแต่ละภาพไม่ปรับเปลี่ยนกระโดดไปมาซึ่งจะทำให้เกิดอาการภาพกระพริบในวิดีโอ Time-Lapse(หรือเราเรียกว่า Flicker) ทีนี้ข้อควรระวังของโหมด M คือหากถ่ายในช่วงพระอาทิตย์ตกโดยไม่เปลี่ยนค่าใด ๆ เลยภาพจะมืดลงไปเรื่อย ๆ ตามแสงที่น้อยลงนั่นเอง ถ้าหากอยากถ่ายผ่านช่วงเวลาที่แสงเปลี่ยนเราสามารถใช้โหมด A เพื่อให้กล้องคอยวัดแสงตามแสงที่เปลี่ยนไปตลอดได้แต่ก็ต้องระวังเรื่องเกิดอาการ Flicker ด้วยและอีกเหตุผลที่ควรใช้โหมด A คือเราควบคุมระยะชัดไม่ให้เปลี่ยนไปได้กลับกันถ้าไปใช้โหมด Sหรือ P กล้องอาจเปลี่ยนค่ารูรับแสงให้เราได้

[How to] ถ่ายภาพ Time-Lapse ง่ายแต่ว้าวใครก็ทำตามได้

ใช้ Manual Focus

หากเราตั้งค่าไว้ที่ Autofocus กล้องจะทำการโฟกัสใหม่ทุกครั้งที่ถ่ายภาพซึ่งหากกล้องโฟกัสต่างจุดกันอาจทำให้วิดีโอของเราดูไม่เนียนตาการตั้ง Manual Focus เอาไว้จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

[How to] ถ่ายภาพ Time-Lapse ง่ายแต่ว้าวใครก็ทำตามได้

เลือก White Balance ด้วยตัวเอง

พยายามเลือกค่า White Balance ด้วยตัวเองด้วยเหตุผลเดียวกับการเลือกใช้โหมดเพื่อกันไม่ให้ค่า White Balance ต่างกันในแต่ละภาพ

ระวังเรื่องอัตราส่วนภาพ

อย่าลืมว่าอัตราส่วนภาพของวิดีโอคือ 16:9 แต่กล้องที่เราใช้จะถ่ายภาพนิ่งออกมาเป็นอัตราส่วน 3:2 หรือ 4:3 หากนำไปทำวิดีโอจะเกิดเป็นขอบดำๆขึ้นทางซ้ายและขวาหรือหากจะเอาไปครอบเพิ่มเป็น 16:9 ก็อาจจะเสียเรื่ององค์ประกอบภาพ ฉะนั้นทางที่ดีตั้งค่าอัตราส่วนภาพให้เป็น 16:9 ไว้ก่อนจะจัดองค์ประกอบภาพจะดีกว่านะครับ(เอาง่าย ๆ ก็หมุนไปที่โหมดวิดีโอก็ได้)

บางครั้งก็มีการใช้ Filter Effect ในตัวกล้องอย่าง Miniature ที่ทำให้เมืองดูเหมือนของเล่นจิ๋วในการถ่าย Time-Lapse ให้ผลงานที่ดูแปลกตาและน่าสนใจไม่น้อย

RAW หรือ JPEG

เรื่องนี้ต้องตัดสินใจให้ดีก่อนจะเริ่มถ่ายเพราะเวลาเราถ่าย Time-Lapse จะต้องใช้ภาพจำนวนมากพื้นที่การ์ดจะถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วจึงต้องตัดสินใจว่าเราจะเอาไฟล์ RAW ที่ยืดหยุ่นในการปรับแต่งแต่เปลืองพื้นที่หรือจะเอา JPEG ที่ไม่ยืดหยุ่นเท่าแต่ประหยัดพื้นที่กว่ามาก

การเลือกจุดถ่าย Time-Lapse

Time-Lapse นั้นมีถ่ายกันหลายอย่างมากครับแต่หลัก ๆ ที่ทุกแบบควรจะต้องมีคือ”การเคลื่อนไหว”ในการวางองค์ประกอบภาพสำหรับวิดีโอ Time-Lapse เราควรมีฉากหลังหรือวัตถุที่เคลื่อนไหวยิ่งมีจำนวนมากและเห็นการเคลื่อนไหวเยอะก็ยิ่งเห็นการเปลี่ยนแปลงของเวลาชัดเจนส่งผลให้ Time-Lapse ของเราดูมีพลังขึ้น

จากภาพนิ่งสู่วิดีโอ Time-Lapse

การต่อ Time-Lapse ให้เป็นวิดีโอนั้นกล้องส่วนใหญ่สามารถรวมภาพให้ได้เลยจากในตัวกล้องแต่หากกล้องของเราไม่สามารถทำได้ผมก็มีโปรแกรมมาแนะนำให้ทุกท่านไปต่อ Time-Lapse เล่นกันได้เช่น LRTimelapse ซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรีด้วย นอกจากนี้ก็ยังมี Sony Vegus, Quicktime Pro และอีกมากมายที่สามารถเสิชหาจากกูเกิ้ลได้ไม่ยากเลย

[How to] ถ่ายภาพ Time-Lapse ง่ายแต่ว้าวใครก็ทำตามได้

ส่งท้าย…

Time-Lapse เป็นอะไรที่สนุกครับถ้าเราได้ลองมันแล้วจะติดใจอย่างแน่นอน มันสนุกกว่าการเอากล้องวิดีโอไปตั้งไว้เฉย ๆ แล้วก็ยังน่าสนใจที่ภาพนิ่งสามารถนำมาต่อเป็นวิดีโอที่ดูแล้วน่าทึ่ง การถ่าย Time-Lapse แต่ละครั้งเราจะได้ซึมซับความสวยงามของบรรยากาศรอบ ๆ อย่างช้า ๆ (ก็มันต้องรอกล้องนาน ฮ่า ฮ่า)และยังสามารถส่งต่อบรรยากาศเหล่านั้นให้ผู้อื่นได้ผ่านคลิปสั้น ๆ บอกเลยว่าถ้าคุณเป็นคนชอบถ่ายภาพแต่ยังไม่เคยถ่าย Time-Lapse แล้วล่ะก็อย่าพลาดที่จะลองสักครั้งนะครับ

[How to] ถ่ายภาพ Time-Lapse ง่ายแต่ว้าวใครก็ทำตามได้

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 12/07/2017

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save