ปักตะไคร้ รัวๆ : วิธีถ่ายรูปฟ้าผ่า ฉบับมือใหม่เข้าใจและทำตามได้ Leave a comment

สวีดัส เอ้ยยย สวัสดีเพื่อนๆทุกท่าน ช่วงนี้ประเทศเราก็เข้าหน้าฝนอย่างเต็มตัวแล้วก็ว่าได้ ซึ่งหน้าฝนนั้นก็มักจะมาพร้อมพายุ ลูกเห็บ มรสุมต่างๆ ที่คอยถาถมเข้ามาชนิดที่ว่า กล้องและเลนส์คู่ใจของเราเปียกปอนไปตามๆกัน ยิ่งถ้าเป็นกล้องที่ไม่ได้มี Weather Seal ด้วยแล้ว แทบจะปิดประตูการถ่ายภาพในฤดูนี้เลยก็ว่าได้ แต่กลับกล้องที่มี Weather Seal ด้วยแล้ว ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่เหมาะแก่การถ่ายภาพรูปแบบนึง ที่ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยนักในฤดูกาลอื่นๆ ซึ่งภาพถ่ายในรูปแบบนั้น คือ การถ่ายภาพฟ้าผ่า นั่นเอง ในวันนี้ทาง Zoomcamera จะพาเพื่อนๆมารู้จักขั้นตอนและวิธีเก็บภาพฟ้าผ่ากันครับ

ฟ้าผ่า คืออะไร มาจากไหน ??

ฟ้าผ่านั้นเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้ก้อนเมฆฝนฟ้าคะนองหรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกกันว่าเมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ซึ่งจะเป็นเมฆที่มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่มหึมาบริเวณฐานของเมฆ (ขอบล่าง) นั้นจะสูงจากพื้นราว ๆ 2 กิโลเมตรและที่ส่วนของยอดเมฆ (ขอบบน) นั้นอาจจะสูงถึง 20 กิโลเมตร และเมื่อก้อนเมฆนั้นเคลื่อนที่ก็จะมีลมเข้าไปยังภายในก้อนเมฆและจะเกิดการไหลเวียนของกระแสอากาศภายในอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้าและพบว่าประจุบวกมักจะรวมตัวกันอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบจะอยู่บริเวณฐานเมฆ ทั้งนี้ ประจุลบที่ฐานเมฆอาจจะเหนี่ยวนำทำให้พื้นผิวของโลกที่อยู่ “ใต้เงา” ของมันมีประจุเป็นบวก เป็นผลทำใหัเกิด สนามไฟฟ้าระหว่างกลุ่มประจุเหล่านั้น เมื่อประจุ มีการสะสมจำนวนมาก ทำให้ความเครียดของสนามไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นจนเกินค่าความคงทน ของอากาศต่อแรงดันไฟฟ้า จนทำให้เกิดการคายประจุขึ้น อัน เป็นจุดกำเนิดของการเกิด ฟ้าผ่าขึ้น การคายประจุ อาจเกิดขึ้น ระหว่างก้อนเมฆ หรือ ระหว่าง ก้อนเมฆ กับ พื้นโลก ซึ่งเรียก ปรากฏการณ์ นี้ว่า “ฟ้าผ่า”

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

– กล้อง

อุปกรณ์หลักของเพื่อนๆเลยก็ว่าได้ ซึ่ง Admin แนะนำเป็นกล้อง DSLR และ/หรือ Mirrorless จะเป็นการดีที่สุด เนื่องจากกล้องทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถทำการเปลี่ยนตัวเลนส์ เพื่อนำมาใช้ในหลายๆสถานการณ์ที่ซึ่งกล้องมือถือ และ/หรือ กล้อง Compact ไม่สามารถทดแทนได้นั่นเอง

– เลนส์

ต่อจากกล้องก็มาที่เลนส์ สำหรับเลนส์ที่ Admin แนะนำในการเก็บภาพฟ้าผ่านั้น ควรเป็นเลนส์ Wide และ/หรือ เลนส์ Ultra Wide ที่มีองศารับภาพกว้างๆไว้ก่อน เนื่องจากการถ่ายภาพฟ้าผ่านั้น จะคล้ายๆกับการถ่ายภาพ Landscape แต่ต่างกันตรงที่เราเน้นที่ตัวฟ้าผ่าเป็นหลัก ซึ่งเราไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า ฟ้าผ่า จะผ่าลงบริเวณส่วนไหนของภาพ ดังนั้นการเลือกใช้เลนส์ Wide / Ultra Wide นั้น จะทำให้การเก็บภาพที่มีฟ้าผ่านั้น มีประสิทธิภาพสูงครับ แต่หากเพื่อนๆไม่มีเลนส์ Wide ละก็ สามารถใช้เลนส์ Kit ที่มากับกล้องทดแทนได้เช่นกัน แต่แลกกับองศารับภาพที่อาจจะไม่ครอบคลุมเท่าเลนส์ Wide นั่นเอง

– ขาตั้ง

Item ที่เรียกว่า Must Have สุดๆ สำหรับงานที่มีความซีเรียสสูง สาเหตุที่เราต้องมีขาตั้งไปด้วยนั้น เพราะ การถ่ายฟ้าผ่านั้น จะเป็นการถ่ายภาพในช่วง Low Light หรือ Nightscape เป็นซะส่วนใหญ่ ประกอบกับจำเป็นต้องใช้ Speed Shutter ที่ช้า ซึ่งมือของเราๆคงไม่สามารถประคองกล้องให้นิ่งพอได้ ดังนั้นขาตั้งจึงเป็นของที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับการถ่ายภาพฟ้าผ่า รวมไปถึง Landscape / Nightscape ด้วยนั่นเอง

การ Setting ก่อนการล่าฟ้าผ่า

– ค่ารูรับแสง

เรามาเริ่มกันที่รูรับแสงกันก่อน โดยปกติแล้วการถ่ายภาพ Low Light หรือ Nightscape เรามักจะนิยมใช้ค่ารูรับแสงที่กว้างๆไว้ก่อน เพื่อให้ภาพใสเคลียร์ โดยไม่จำเป็นต้องดัน ISO สูงทดแทนนั่นเอง แต่กลับกันเมื่อมาถ่ายฟ้าผ่าแล้ว เราจำเป็นต้องหรี่ค่ารูรับแสงลงบ้าง ซึ่งค่ารูรับแสงที่นิยมกันจะอยู่ที่ F8 , F11 เป็นต้น ด้วยเหตุที่ว่า การถ่ายฟ้าผ่าส่วนนึงเสมือนเป็นการ Landscape ประกอบกับการที่จำเป็นต้องเก็บฟ้าผ่าในภาพด้วยนั้น จึงต้องทำให้ภาพที่ได้นั้น มีความคมชัดทั้งภาพ อนึ่งตากล้องบางท่านก็เลือกที่จะใช้ค่ารูรับแสงที่กว้าง อาทิเช่น F2.8 , F4 ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละบุคคลครับ

– ค่า Speed Shutter

อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น เราจำเป็นต้องใช้ Speed Shutter ที่ต่ำ และตัวกล้องนั้นจะต้องอยู่บนขาตั้งกล้องเป็นหลัก ซึ่งการ Setting สำหรับการถ่ายภาพฟ้าผ่านั้น เราจะตั้งค่า Speed Shutter ต่ำๆไว้ตั้งแต่ 1 – 30 Sec. ( แล้วแต่สถานการณ์ ) สาเหตุที่เราต้องตั้งค่าในลักษณะแบบนี้นั้น เพราะ เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า ฟ้าผ่าจะผ่าช่วงเวลาใดบ้างได้อย่างแน่นอนนั่นเอง ซึ่งการตั้งค่าลักษณะแบบนี้ เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับการถ่าย Time Lapse โดยให้ตัวกล้องทำการบันทึกไปเรื่อยๆ ในลักษณะของไฟล์ Video ควบคู่กับ ไฟล์ภาพนิ่งนั่นเอง

– ค่า ISO

สำหรับค่า ISO นั้น เราจะเลือกใช้ค่า ISO ที่น้อยที่สุดเท่าที่ตัวกล้องจะทำ ซึ่งบางค่ายสามารถตั้ว ISO ได้ที่ 50 เป็นขั้นต่ำ บางค่ายได้ต่ำสุดที่ 100 สาเหตุที่เราต้องต่ำๆไว้ เพราะ ความสัมพันธ์ของ ISO กับ Speed Shutter นั่นเอง ยิ่ง ISO ต่ำ ภาพจะยิ่งมืด ทำให้ต้องชดเชยด้วย Speed Shutter ที่ต้องต่ำกว่าปกติ เพื่อให้กล้องเปิดรับแสงนั่นเอง

– ค่า White Balance

White Balance เรา Setting ไว้ที่ Auto ไว้เลยครับ เพราะในปัจจุบันกล้องหลายๆค่าย มีการประมวลผลในเรื่องของ White Balance ของภาพออกมาค่อนข้างตรงเหมือนที่ตาเห็น หรือ หากท่านใดมีความ Advance ในการปรับจูน White Balance ตั้งแต่ในกล้องละก็ ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ

– ถ่าย RAW ไว้ก่อน สำคัญสุดๆ แล้วจะไม่น้ำตาตกภายหลัง

อย่างที่ทาง Admin เกริ่นไปแต่แรก ว่า การถ่ายฟ้าผ่า และ/หรือ Landscape / Nightscape มักจะเป็นภาพที่มีความซีเรียสสูง ซึ่งบางครั้งความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ก็พร้อมที่จะทำให้เราหัวเสียได้ง่ายๆเช่นกัน ทั้งภาพสั่นเบลอ / ภาพไม่คมชัด / ภาพมืดไป / ภาพสว่างไป / ภาพสีเพี้ยน ซึ่งปัญหาเหล่านี้นั้น มีทางออกง่ายๆ คือ ตั้งค่าการถ่ายภาพไว้ในรูปแบบของ RAW ซึ่ง RAW นั้นจะเป็นข้อมูลดิบที่ตัวกล้องทำการเก็บภาพมาหลังจากที่เราลั่นชัตเตอร์โดยยังไม่ผ่านการ Process ใดๆทั้งสิ้น มีความยืดหยุ่นสูง ( ขึ้นกับกล้องที่ใช้ ) เหมาะสำหรับนำไป Process ในรูปแบบของตนในเวลาถัดไปนั่นเอง

*** ตัวอย่าง  :  ภาพฟ้าผ่า ***

 Credit >>> How to Lighting Photography 

inbox : http://www.facebook.com/messages/zoomcamera

02-635-2330 ต่อ 0 / 083-067-7677 (หยุดวันอาทิตย์)

สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772

สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123

สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919

สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498

สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775

สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896 

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 12/06/2017

Leave a Reply

โค้ดลดสูงสุด

3,000

Happy Code Day 26-28 MAR

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save