[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร Leave a comment

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ขอบคุณภาพจาก onebigphoto

         คำถามที่ว่า ฟิลเตอร์ ND คืออะไร, ฟิลเตอร์ ND ใช้ทำอะไร, แล้วมันเหมือน CPL มั้ย, ND กับ CPL ต่างกันอย่างไร นับเป็นคำถามยอดฮิตสำหรับช่างภาพมือใหม่ ผมเองก้เคยตั้งคำถามเหล่านี้เหมือนกัน ในตอนแรกคิดว่า ND กับ CPL มันเหมือนกันด้วยซ้ำ ฮ่า ฮ่า แต่เมื่อได้ลองของจริงถึงได้รู้ว่ามันแตกต่างกันมาก

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ขอบคุณภาพจาก frontroomcinema

         ND มีชื่อเต็มๆว่า Neutral Density มันเกิดมามีหน้าที่อย่างเดียวครับคือ ตัดแสง ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแสงแบบไหนมันจะลดทอนแสงให้เข้าสู่เซนเซอร์รับภาพน้อยลง สังเกตว่าแผ่นฟลิเตอร์จะมีลักษณะเป็นสีดำ โดยจะตัดแสงมากน้อยเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับเบอร์ของฟิลเตอร์ที่เราเลือกใช้ จะมีตั้งแต่ ND ที่ลดทอนแสงไป 1 stop ไปจนถึงลด 10+ stop เลย ถ้าเราใส่ ND ที่ลดทอนแสงได้ 10 stop หรือมากกว่านั้น มันแทบจะทำให้วิวกลางวันตอนเที่ยงๆ มืดตื๊ดตื๋อจนเรามองผ่านช่องมองภาพแทบไม่เห็นอะไรเลย โดยฟิลเตอร์ ND ที่ดีจะต้องลดทอนแสงที่ผ่านเข้าสู่เซนเซอร์โดยที่ไม่ทำให้สีผิดเพี้ยนไป ซึ่งโดยส่วนมากฟิลเตอร์ ND ทั่วๆไปก็จะมีผลกับสีของภาพอยู่บ้าง ไม่มาก ก็น้อย

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

CPL ย่อมาจาก Circular Polarized เจ้าตัวนี้แตกต่างกับ ND อย่างเห็นได้ชัด มันไม่ได้เกิดมาเพื่อลดทอนแสงอย่าง ND แต่การที่ใส่แล้วแสงหายไป 1-2 stop นั้นเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น หน้าที่จริงๆของ CPL คือจะตัดแสงสะท้อนบนผิววัตถุ ทำให้เราได้เห็นสีที่แท้จริงของวัตถุเหล่านั้น ทำให้ท้องฟ้าดูมีสีเข้มขึ้น หรือกรณีเงาสะท้อนในน้ำถูด CPL ตัดหายไปเลย เผยให้เราได้เห็นน้ำใสๆ ซึ่งเกิดจากการที่ฟิลเตอร์ CPL ได้มีการหักเหแสงเหล่านั้นออกไปในทิศทางอื่น ดังนั้นแสงจำนวนหนึ่งจึงต้องสูญเสียไป เป็นที่มาของการเสียแสง 1-2 stop นั่นเอง ถึง CPL และ ND จะทำหน้าที่ต่างกัน แต่ CPL นั้นสามารถทำให้เกิดผลในการลดทอนแสงได้ และยังเอาไว้ใช้ตัดเงาสะท้อนหรือทำให้สีท้องฟ้าเข้มขึ้นได้อีกด้วย บางครั้งเราจึงเห็นช่างภาพบางคนเลือกที่จะใช้ CPL แทน ND ก็มี แต่แน่นอนว่ามันไม่สามารถลดแสงได้มากเท่า ND นะครับ

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ขอบคุณภาพจาก nikonians

         ในปัจจุบันยังคงไม่มีเทคนิคทางคอมพิวเตอร์อันไหนที่จะทดแทนผลที่ได้จากฟิลเตอร์ CPL ได้ ต่างกับฟิลเตอร์สีหรือฟิลเตอร์เอฟเฟคอื่นๆที่เดี๋ยวนี้เราสามารถใช้ PS หรือ LR ปรับแต่งได้แล้ว แต่ CPL นั้นยังไม่มีโปรแกรมไหนที่จะปรับภาพให้มีผลเหมือนกับการใช้ CPL จริงๆได้ จึงเป็นอีกหนึ่งฟิลเตอร์ที่เราควรจะซื้อติดกระเป๋าไว้ซักตัวนะครับ

ตอนนี้ท่านผู้อ่านทุกคนคงรู้แล้วว่า ND และ CPL นั้นแตกต่างกันอย่างไร งั้นเรากลับมาดูที่หัวข้อหลักของเราต่อกันเลยดีกว่า

        ฟิลเตอร์ ND นั้นไม่ได้มีเฉพาะแบบกลมๆเหมือนฟิลเตอร์ทั่วไป แต่ยังมีแบบที่เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมด้วย แถมยังมีการแบ่งเป็นแบบ ND ครึ่งซีกหรือแบบเต็มแผ่นอีกต่างหาก แบบครึ่งซีกก็ยังมีแบ่งไปอีกว่า Hard หรือ Soft แล้วไหนจะต้องดูเบอร์ความเข้มของ ND อีก! พอฟังแบบนี้เริ่มรู้สึกว่ามันเยอะแยะแล้วใช่มั้ยครับ ฮ่า ฮ่า  เรามาเริ่มดูกันไปทีละอันเลย

ฟิลเตอร์ ND แบบกลมๆนั้นก็จะมีการใช้งานเหมือนฟิลเตอร์ทั่วๆไปหมุนเกลียวเข้ากับที่หน้าเลนส์ก็เป็นอันเรียบร้อย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น ND แบบเต็มแผ่น แต่ก็มีบ้างที่เป็นแบบครึ่งซีก

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ฟิลเตอร์ ND แบบกลมๆนี้ยังมีอีกชนิดนึงที่พิเศษ เรียกว่า Fader ND หรือ Variable ND ที่สามารถจะหมุนได้เพื่อปรับค่าความเข้มของฟิลเตอร์ ND อย่างเช่นฟิลเตอร์ H&Y Adjustable ND Filter Mark 3 ที่ร้าน Zoom ขายอยู่จะเป็น ND2-400 ซึ่งในแผ่นเดียวเราได้ตั้งแต่ ND2 ที่ลดแสง 1 stop ไปจนถึง ND400 ที่ลดแสง 8 stop เลย และจะสามารถหมุนเพื่อเปลี่ยนค่าความเข้มได้ตามต้องการ ฟิลเตอร์ ND แบบนี้ดีตรงที่เราสามารถเปลี่ยนความเข้มไปตามสถานการณ์ได้ ในบางสถานการณ์เราอาจอยากลดแสงแค่ 3 stop ไม่ได้อยาดลดแสงเยอะ ถ้าเป็น ND แบบฟิลเตอร์กลมๆธรรมดาเราก็จะต้องเปลี่ยนแผ่นอื่นมาใส่ ซึ่งจะเสียเวลากว่า และจะต้องซื้อหลายแผ่นด้วย ในกรณีนี้เราแค่หมุนฟิลเตอร์ให้เปลี่ยนระดับความเข้มเท่านั้นเอง แต่ ND แบบนี้ก็มีปัยหาใหญ่อยู่อย่างหนึ่งนั่นคือในความเข้มบ้างระดับมันอาจเกิดเงาเป็นรูปตัว X ในภาพได้ ดังตัวอย่างในภาพนี้

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ขอบคุณภาพจาก ephotozine

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ฟิลเตอร์ ND แบบแผ่นสี่เหลี่ยม อันนี้ถ้าคนที่ชอบถ่ายวิวหรือใช้ ND อย่างจริงจังจะนิยมกันมาก โดย ND แบบแผ่นนี้ไม่สามารถติดเข้ากับหน้าเลนส์ของเราเลยได้ จะต้องอาศัยตัวจับฟิลเตอร์มาใส่ที่หน้าเลนส์ของเราก่อนแล้วตัวจับนั้นจะล็อคกับ Adapter Ring ที่จะมาใส่กับหน้าเลนส์ของเราอีกที(ใส่เหมือนใส่ฟิลเตอร์ทั่วไป) ซึ่งมันจะเป็นข้อดีตรงที่ฟิลเตอร์แผ่นเดียวจะสามารถใช้กับหน้าเลนส์ได้หลายขนาดเพียงแค่ทำการเปลี่ยน Adapter Ring ให้เท่ากับขนาดของหน้าเลนส์เท่านั้น และเราสามารถนำฟิลเตอร์แผ่น 2 แผ่นมาใส่ซ้อนกันที่ตัวจับฟิลเตอร์ได้ ทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป แต่ก็ต้องระวังในการใส่กับเลนส์บางตัวที่มุมองศสารับภาพกว้างมากๆ เพราะตัวจับฟิลเตอรืแผ่นนั้น จะหนายื่นออกมาค่อนข้างมาก อาจทำให้ติดขอบตัวจับเข้าไปในภาพได้ นอกจากนั้นฟิลเตอร์แผ่นแบบนี้ยังเป็นทางออกสำหรับเลนส์ที่ไม่สามารถใส่ฟิลเตอร์ได้อย่างเช่น Nikon 14-24mm f/2.8Nano ก็สามารถมาใช้ฟิลเตอร์แผ่นแบบนี้ได้

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ในส่วนของ ND แบบเต็มแผ่นก็จะไม่มีอะไรมากจะมีลักษณะเป็นแผ่นดำๆเต็มทั้งแผ่น แต่ ND แบบครึ่งซีกนั้นจะแตกต่าง คือจะเป็น ND แค่ครึ่งเดียว โดยเรามักจะเรียก ND แบบนี้ว่า Graduated ND Filter สถานการณ์ที่เราจะใช้ ND แบบนี้ก็อย่างเช่น เวลาที่เราถ่ายทะเลแล้วเราต้องการใช้ท้องฟ้าติด Under หน่อยเพื่อจะได้ท้องฟ้าเข้มๆ แต่ไม่อยากให้ทะเลติด Under ลงมาด้วย เราก็ใช้ ND แบบครึ่งซีกแล้วจัดตำแหน่ง ND ให้อยู่ในบริเวณของท้องฟ้า ในเฉพาะส่วนท้องฟ้าก็จะถูกตัดแสงให้เข้าสู่เซนเซอร์น้อยลงโดยที่ทะเลไม่โดนตัดแสงนั่นเอง หรือในเวลาที่เราถ่ายท้องฟ้าแล้วอยากให้ท้องฟ้ามีการไล่โทนจากอ่อนไปเข้มเราก็ใช้ฟิลเตอร์นี้ได้

ฟิลเตอร์แผ่นแบบครึ่งซีกนี้นอกจากจะเป็นแบบ ND ครึ่งซีกแล้วยังมีแบบที่เป็นสีสันต่างๆให้เราเลือกใช้อีกด้วย

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

 ND แบบครึ่งซีกนี้ยังมีการแบ่งเป็น Hard หรือ Soft ด้วย โดยจะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงการไล่สีของ ND ถ้าเป็นแบบ Soft ก็จะค่อยๆไล่ระดับตั้งแต่ใสๆธรรมดาค่อยๆกลายเป็นเทาและเป็นดำในช่วงปลายๆของแผ่น เพื่อให้เวลานำไปใช้แสงมีการไล่โทนที่นุ่มนวลค่อยๆไล่ระดับไป แต่ถ้าเป็นแบบ Hard ครึ่งนึงของแผ่นฟิลเตอร์แทบจะเป็น ND ในความเข้มเดียวกันทั้งหมดเลย การไล่โทนจะไม่ไล่อย่างนุ่มนวลเหมือนแบบ Soft ใสๆอยู่ดีๆพอจะดำก็ดำปื๊ดดเลย

จากภาพด้านล่าง ซ้ายแบบ Soft ขวาเป็นแบบ Hard

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ขอบคุณภาพจาก discoverdigitalphotography

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ขอบคุณภาพจาก Bobby Bong และ designyoutrust

          คราวนี้ก็มาถึงคำถามหลักที่คงจะค้างคาใจกันอยู่ตั้งแต่เริ่มอ่าน คือ แล้วจะตัดแสงไปทำไม? คำตอบนั้นง่ายมากๆเพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงนั่นเอง ทำให้เกิดผลของภาพที่แตกต่างจากการถ่ายที่ชัตเตอร์สูงๆ อย่างเช่นตัวอย่างที่ยอดฮิตที่สุดคือการถ่ายน้ำตก ถ้าเราถ่ายน้ำตกตามปกติด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงๆเราอาจหยุดน้ำให้นิ่งกลางอากาศได้ทุกเม็ด แต่ลองคิดดูว่าถ้าเราใช้ชัตเตอร์ช้าๆล่ะมันจะเป็นยังไง ถ้าเราใช้ชัตเตอร์ช้าซัก 10 วินาที ภาพน้ำตกที่ได้จะเป็นสายน้ำที่ไหลเป็นสายและฟุ้งนุ่มนวลอย่างสวยงาม ทำให้เราได้ภาพในอีกอารมณ์หนึ่งที่ดูมีความนุ่มนวล มองเห็นการไหลของน้ำ หรืออย่างกรณีการถ่ายภาพทะเลเชื่อว่าทุกคนต้องเคยเห็นภาพถ่ายทะเลน้ำเค็มให้กลายเป็นทะเลหมอกแน่ๆ ซึ่งใช้เทคนิคเดียวกันคือการเปิดชัตเตอร์ให้นานมากๆ ทะเลธรรมดาก็จะกลายเป็นทะเลหมอกฟุ้งอย่างดงาม ซึ่งอันนี้ผมชอบเป็นการส่วนตัวเลยครับ ทำแล้วออกมาดูสวยมากๆ

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ขอบคุณภาพจาก 9comeback krungshing user (มีรูปสวยๆมากมายถ่ายจากพี่คนนี้โดยใช้ ND ลองเข้าไปดูกันได้ครับผมๆ ลิ้ง

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

ขอบคุณภาพจาก Bobby Bong และ designyoutrust

แต่ว่าการจะเปิดชัตเตอร์ช้า 5 วิ, 10 วิ ถ่ายน้ำตกตอนกลางวัน หรือถ่ายทะเลตอนบ่ายๆจะทำได้ยังไงล่ะ แม้จะปรับ f/22 ISO100 แล้วมันก็อาจจะยังไม่พอ ดังนั้น ND จึงเกิดมาเพื่อการนี้แหละครับ ด้วย ND ที่ลดแสงได้ 10 stop เราอาจถ่ายทะเลตอนเที่ยงแดดจัดๆด้วยความเร็วชัตเตอร์เป็นวินาทีได้เลย นี่แหละครับเหตุผลว่าทำไมจึงต้องใช้ ND มาตัดแสง หรือเราอาจใช้ ND+กับการเปิดชัตเตอร์นานๆในการถ่ายภาพ Street ตามเมืองก็ได้ ทำให้เราได้ผลของภาพที่แปลกตายิ่งขึ้น

[Basic] ฟิลเตอร์ ND คืออะไร ใช้ทำอะไร

การเลือกซื้อฟิลเตอร์ ND

หลายคนฟังแล้วอาจจะรู้สึกอยากซื้อ ND เบอร์เข้มๆมาทำทะเลหมอกกันบ้าง แต่การเลือกซื้อ ND นั้นมีข้อควรระวังอยู่ครับ

ความเข้มของ ND

ND จะลดแทนสองได้กี่ stop เราดูได้จากเบอร์ของ ND มีตั้งแต่ ND2 ND4 ND8 ND400 ND1000 แต่บางยี่ห้ออาจจะใช้ตัวเลขคนละอย่างกันเป็น 0.3 0.6 0.9 1.2 ซึ่งก็แล้วแต่แบรนด์นั้นๆจะตั้งมา ท่านผู้อ่านสามารถดูได้จากตารางที่ผมให้ไว้ตอนต้นบทความเลยครับ ND นั้นยิ่งเบอร์เข้มมากเท่าไหร่โอกาสที่สีจะเพี้ยนนั้นจะยิ่งสูง เรื่องสีเพี้ยนนั้นถือเป็นประเด็นหลักเลยในการเลือกฟิลเตอร์ ND ที่เบอร์ ND1000 นั้นลดแสงได้ถึง 10 stop แต่สีที่ได้อาจจะเพี้ยนติดแสง ติดฟ้า แตกต่างกันไป ยิ่งฟิลเตอร์มีราคาถูกคุณภาพต่ำสีก็จะยิ่งเพี้ยนมาก แต่ถ้าเป็นฟิลเตอร์ ND1000 ที่สีไม่เพี้ยนหรือเพี้ยนน้อยมากราคาจะสูงมากขนาดซื้อเลนส์ 50mm F1.8 ได้สบายๆเลย

ราคากับคุณภาพ

  ไม่ว่าสินค้าอะไรราคากับคุณภาพมักจะไปคู่กันเสมอ ND นั้นมีหลายราคาตั้งแต่แผ่นละ 300 บาทไปจนถึงแผ่นนึงราคาเกือบหมื่น แน่นอนราคาถูกสีก็จะเพี้ยนมาก แต่เรื่องสีเพี้ยนนั้นหลายคนอาจจะบอกว่าเดี๋ยวปรับแก้ในคอมฯเอาก็ได้ ซึ่งก็จริงครับยุคสมัยนี้สีเพี้ยนนิดเพี้ยนหน่อยเดี๋ยวแก้ในโปรแกรมก็ได้ ยิ่งถ้าถ่ายภาพเป็นไฟล์ RAW ก็ยิ่งแก้ได้ง่ายขึ้นไปอีก  แต่ฟิลเตอร์ ND ราคาถูกๆอาจมีผลต่อความคมชัดของภาพ หรือความสม่ำเสมอการของตัดแสงด้วย บางทีทั้งแผ่นตัดแสงได้ไม่สม่ำเสมอกันอันนี้ล่ะลำบากเลย

ควรเลือกยี่ห้อไหนดี

  การเลือกซื้อว่าจะยี่ห้อไหนดีนั้นไม่ยากครับ เราสามารถดูรุ่นแล้วหารีวิวทดสอบได้จาก google หลักเราก็ดูยี่ห้อที่มีชื่อหน่อย ส่วนคุณภาพในเรื่องความเพี้ยนของสีนั้นจะจะแปรผันกันไปตามราคาของฟิลเตอร์ ยี่ห้อที่มีชื่อในด้านฟิลเตอร์ ND คือ Singh-Ray และ LEEที่ว่ากันว่า LEE นั้นให้สีที่ตรงและไม่เพี้ยนเลย แต่ราคานั้นมหาโหดซื้อเลนส์ได้สบายๆเลย ส่วนที่คุณภาพอยู่ในระดับดีและราคาน่าคบขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นพวก Cokin, Hitech, B+W แต่ในระดับนี้ก็ยังถือว่าราคาค่อนข้างสูงอยู่ ในระดับที่ราคาเบาๆลงมาหน่อยและคุณภาพอยู่ในระดับโอเคก็จะมีพวก Light Craft Workshop, Hoya, H&Y อาจจะมียี่ห้อไหนตกไปบ้างนะครับ ฮ่า ฮ่า หรือถ้าท่านผู้อ่านรู้สึกว่าอยากจะลองเล่น ND แบบแผ่นดู แต่อยากทดสอบก่อนผมแนะนำว่าลองซื้อ Tian-ya ฟิลเตอร์จีนราคาประหยัดมาเล่นขำๆก่อนก็ได้แล้วถ้ามันใช่เราจริงๆก็ไปจัดของแพงๆเลย อิอิ

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 02/12/2013

Leave a Reply

โค้ดลดสูงสุด

3,000

Happy Code Day 26-28 MAR

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save