Olympus OM-D E-M5 Mark II ตอบเคลียร์ ๆ ยังน่าใช้ไหมในปี 2018? Leave a comment

Olympus OM-D E-M5 Mark II ตอบเคลียร์ ๆ ยังน่าใช้ไหมในปี 2018?

Olympus OM-D E-M5 Mark II

กล้องรุ่นนี้คงไม่มีใครไม่เคยได้ยิน เพราะรุ่นนี้ได้ถูกวางขายในตลาดมาสักพักใหญ่ ๆ ในวันนี้ทำไมเราถึงต้องมาพูดเรื่องนี้ล่ะ เพราะว่า Olympus OM-D E-M5 Mark II เป็นกล้องถ้าจะให้บอกตรง ๆ ยังเป็นกล้องที่มีความสามารถที่ดีพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่ แต่ก็มีจุดสังเกตที่ต้องพูดถึงเหมือนกัน เพราะมีส่วนในการตัดสินใจซื้อของผู้ใช้ ในวันนี้เดี๋ยวเรามาดูกันครับว่าเรื่องพวกนี้มีอะไรบ้าง

ถ่ายภาพความละเอียดมากพอไหม? Portrait, Landscape จะวิวจะเที่ยวทั้งหลายเนี่ย เป็นยังไงบ้าง

ถ้ามองในมุมการตลาดที่เอามาบรีฟให้ลูกค้าอยากซื้อกล้องสักตัว ก็คงเป็นเรื่องความละเอียด โดยความคิดส่วนใหญ่เรามักจะคิดว่ากล้องรายละเอียดสูง ๆ ยิ่งเยอะยิ่งดี แต่จริง ๆ ก็ไม่ถูกต้องทั้งหมดครับ เพราะว่ากล้องโปร ๆ เทพ ๆ หลายตัวราคาหลักแสนทำไมความละเอียดยังอยู่ที่ไม่กี่สิบล้านพิกเซลล่ะ เพราะการถ่ายภาพแต่ละงานไม่เหมือนกันนั่นแหละ

“ความละเอียดยังเยอะมากพอสำหรับการใช้งานดี ๆ รวมถึงโหมด High Resolution Shot 40 ล้านพิกเซล”

Olympus OM-D E-M5 Mark II

คราวนี้มาพูดถึงกล้องตัวนี้กันเพราะผมอยากขายกล้องตัวนี้นะ ความละเอียดอยู่ที่ 16 ล้านพิกเซล ถามว่าน้อยไหม อาจจะน้อยไปหน่อยนึงเพราะกล้องตัวอื่น ๆ ตามตลาดมัน สัก 16-20 ล้าน ซึ่งตัวนี้อยู่ที่ 16 มันก็แอบน้อย ๆ พอดีไปหน่อย

แต่มาดูเหตุผลกัน เซ็นเซอร์กล้องตัวนี้เป็น Micro 4/3 ซึ่งขนาดค่อนข้างเล็ก การใส่พิกเซล 16 ล้านในเซ็นเซอร์ขนาดนี้นับว่าค่อนข้างเยอะเลยแหละ เพราะถ้าใส่เยอะกว่านี้สิ่งที่ตามมาคือโอกาสเกิด Noise ที่ง่ายขึ้น และการออกแบบกล้องตัวนี้ที่จะเอาไปใช้งานคือถ่ายภาพแนวท่องเที่ยว ถ่ายทำงานบางงานอย่างภาพที่อยู่ในนิตยสาร คนที่ต้องการใช้กล้องลุย ๆ ทน ๆ เบา ๆ ไปประมาณนั้น

Olympus OM-D E-M5 Mark II

ยังอยู่กันที่ความละเอียดอยู่นะ.. ผมเคยถามเพื่อนนะ ว่าทำไมใช้กล้องรุ่นเก่า ๆ รับงานอยู่ ทั้ง ๆ ที่กล้องรุ่นใหม่มันก็ดีมากกว่าเมื่อก่อนเยอะ, เพื่อนมันก็มักจะบอกมาเสมอว่า ถ้าอยากได้กล้องใหม่มันก็ดี แต่กล้องรุ่นก่อน ๆ มันก็ดีเยอะมากเหมือนกัน “เพราะสภาพแวดล้อมที่เราถ่าย มันไม่ได้อัพเกรดตามกล้องนะ” เพราะงั้นกล้องที่ดีคือ กล้องที่ทำให้เราได้ภาพที่ต้องการ ในราคาที่สมเหตุสมผลจะจ่าย ผมลากเหตุผลมาพูดเยอะเพราะผมกำลังจะเชียร์กล้องตัวนี้ว่า มันดีนะ สำหรับคนที่ต้องการเอากล้องไปท่องเที่ยว ความละเอียดสูงมากพอ ความละเอียด 16 ล้านเนี่ย เยอะมากพอที่จะใช้อัพ Facebook, เอามาแต่งภาพต่อ, เอาไฟล์มาปรับโทนสีนั่นนี่, แล้วทำให้เราใช้กล้องได้อย่างมีความสุขโดยไม่คาใจ

Olympus OM-D E-M5 Mark II

นอกจากนี้ถ้าอยากสะใจแบบเน้น ๆ กล้องตัวนี้ยังใส่โหมดบ้าพลังอย่าง High Resolution Shot มาไว้ในกล้องด้วย โหมดนี้จะถ่ายภาพ 16 ล้านจำนวน 8 ใบ แล้วก็เอามารวมกัน แล้วจะได้ภาพที่ 40 ล้าน พร้อมทั้งเก็บรายละเอียดแบบเนี๊ยบ ๆ มารวมเป็นไฟล์ RAW ให้เราได้แต่ภาพต่อ โหมดนี้เป็นโหมดที่ผมเซ็งมาก เพราะตอนนั้นผมใช้กล้อง Full Frame อยู่ค่ายนึงที่ความละเอียด 36 ล้าน แต่กล้องเล็ก ๆ ตัวนี้พอเอามาถ่ายในแวดล้อมที่เทียบกันได้ อย่างถ่ายภาพสินค้าในเต้นท์ Studio หรือถ่ายภาพวิวงี้ กล้องเล็ก ๆ ตัวนี้ชนะขาดไปเลย

Dynamic Range ของกล้อง Olympus OM-D E-M5 Mark II ในโหมด High Resoulution Shot อยู่ในระดับที่ชนกล้อง Full Frame ในตลาดสบาย ๆ นอกจากนี้ Noise ยังน้อยกว่าอีกด้วย เดี๋ยวไปดูกราฟเทียบว่าทำได้จริงไหม?

มันจะจริงหรือเปล่า ผมคงไม่กล้าพูดขนาดนี้ถ้าไม่มีข้อมูลเทียบให้ดู เดี๋ยวเรามาดูข้อมูลเทียบแล้วมาวิเคราะห์แจกแจงรายละเอียดกันแบบยิบ ๆ กันเลยดีกว่ามันทำได้อย่างที่ว่าจริงไหม

ผมจะเอาข้อมูลเทียบที่เราใช้ในการทดสอบกล้องจริง ๆ กันจากเว็บไซต์ photonphotos ซึ่งจะมีกราฟการทดสอบ Dynamic Range ของกล้องตัวนี้ครับ โดยใช้ Olympus OM-D E-M5 Mark II ในโหมด High Resolution Shot 40 ล้านพิกเซลกัน

Olympus OM-D E-M5 Mark II

Dynamic Range ที่ทำได้ดีที่สุดคือ PDR 11.2 เดี๋ยวขอเทียบกับกล้องรุ่นเด่น ๆ ในตลาดตอนนี้ก่อนว่าไหวแค่ไหน

Olympus OM-D E-M5 Mark II

เมื่อเทียบกับกล้องรุ่นพี่ ๆ อย่าง Canon EOS R, Nikon D850, Nikon Z7, Sony A7R Mark III ได้ผลออกมาคือใกล้เคียงกันที่ ISO ต่ำสุด ในเรื่อง Dynamic Range สำหรับโหมดนี้ถือว่าสอบผ่าน ตอนแรกผมก็รับไม่ได้หรอก แต่เทคโนโลยีมันทำให้สิ่งแบบนี้เกิดขึ้นได้จริง ๆ

นอกจากนี้การที่โหมด High Resolution Shot ถ่ายภาพมา 8 ใบ แล้วทำการ Process ให้เป็น RAW ใบเดียว Noise มันน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการถ่ายภาพปกติที่ความละเอียดเท่ากัน ซึ่งปกติแล้วการ Merge รูปหลายรูปไว้ในภาพเดียวแบบนี้ ต้องทำใน Software คอมฯ แต่ว่าสำหรับ Olympus OM-D E-M5 mark II สามารถจบได้ในกล้องนี้ตัวเดียวเลย

บอดี้สุดแทนจะทรหด โคตรทน กันน้ำ กันฝุ่น กันอุณหภูมิหนาว ๆ แล้วก็น้ำหนักเบา

Olympus OM-D E-M5 Mark II

ขึ้นหัวข้อได้ Hard Sale ค่อนข้างมาก แต่ผมจะเล่าให้ฟังว่าทำไมผมกล้าตั้งหัวข้อแบบนี้ Olympus เคยทำกล้องฟิล์มมาก่อนครับ เขาเข้าใจเรื่องกล้องขนาดใหญ่ ๆ และความต้องการของคนใช้กล้องในระดับมืออาชีพมา ลอง Google ดูบอดี้ของกล้อง Olympus OM-D รุ่นปัจจุบันดูได้ เขาจะวาง Layout ของปุ่มต่าง ๆ ได้ค่อนข้างจับแล้วกระชับมือ แม้แต่รุ่นเล็ก ๆ ก็ยังให้ Dial มาครบครัน ปุ่มกดโคตรเยอะ เยอะพอที่จะให้กล้อง Olympus ของแต่ละคนใช้ได้ในแบบที่ตัวเองถนัด อันนี้คือความชำนาญของค่ายนี้เองที่เขาแกร่งมายาวนาน ไม่งั้นขายกล้องเล็ก ๆ จำนวนมาก ๆ ไม่ได้หรอก

เมื่อครู่พูดถึงเรื่องความถนัดไป แต่เดี๋ยวมาดูเรื่องของความชำนาญในการออกแบบบอดี้ กล้องเขาจะดู Retro เพราะว่าการออกแบบ Layout ปุ่มต่าง ๆ มันก็ต้องไปทิศทางเดียวกัน ปุ่มใช้สะดวก มีเยอะ การออกแบบสไตล์นี้เข้ากันมากกับบอดี้ที่ดูย้อนยุคหน่อย ๆ แต่มันก็ดูคลาสสิคตามที่ตลาดต้องการ ทำให้ขายได้ดีเหมือนกัน

จุดเด่นที่จะชูโรงก็คือ “มันทนมาก” ทางเราเคยทดสอบกล้อง Olympus OM-D E-M1 Mark II ซึ่งมาตรฐานการออกแบบบอดี้เหมือน Olympus OM-D E-M5 Mark II นี่แหละ มันทนน้ำได้ดีมาก ไม่ใช่เอาไปจุ่มน้ำนะ แต่เจอสภาพฝน ความชื้น กล้องตัวนี้ไม่ต้องห่วงเลย ขนาดว่าผมเคยเอากล้องรุ่นน้องเล็กที่ไม่กันน้ำกันฝุ่นไปลุยที่ญี่ปุ่นด้วยตัวเอง โดนทั้งฝน ทั้งความชื้นแบบหนัก ๆ แต่ก็รอดสบาย

อีกเรื่องสำหรับคนที่ชอบเอากล้องไปลุยในสภาพหนาว ๆ กล้องตัวนี้ผมไม่เคยได้ยินลูกค้าเข้ามาบ่นว่ากล้องน็อคเพราะอากาศเย็นแบบติดลบเยอะ ๆ เลย เพราะอะไรล่ะ เพราะ Olympus เขาทำกล้องขนาดใหญ่มาก่อน เลยเข้าใจดีว่ากล้องระดับโปรควรมีอะไรนั่นเอง อันนี้อยู่ที่ดุลยพินิจของคนอ่านนะครับ แต่ถ้าอยากดูทดสอบ Olympus OM-D E-M1 Mark II แบบโหด ๆ ก็ดูได้ที่วีดีโอด้านล่างนี้เหอะ โหดอยู่

สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือน้ำหนักมันเบามาก ๆ แล้วฟีเจอร์เยอะสำหรับการท่องเที่ยว คำว่าน้ำหนักเบาไม่ใช่แค่ตัวบอดี้กล้อง แต่เป็นทั้ง System ของ Micro 4/3 เพราะว่าเซ็นเซอร์มีขนาดที่เล็กลง ก็ทำให้ตัวเลนส์มีขนาดที่เล็กตามไปด้วย การเดินทางท่องเที่ยว กล้องและเลนส์ขนาดใหญ่เป็นภาระในการเดินทางเที่ยวมาก นี่เป็นเหตุผลที่ว่ากล้อง Olympus ทำไมขายดีในกลุ่มสายเที่ยวที่เน้นการเดินทาง เพราะน้ำหนักของระบบ Micro 4/3 นี้แหละ ที่เล็ก เบา ทน มันตอบโจทย์สำหรับคนที่ใช้งานจุดนี้นั่นแหละ

กล้องตัวนี้ใช้ Vlog ได้ ต่อไมค์แยกภายนอก ระบบกันสั่นดีมาก นิ่งกริ๊บ แบบไม่ต้องใช้ Gimbal Stabilizer ได้สบาย ๆ มีหน้าจอหมุนพับเข้าหาตัวสำหรับ Vlogger โดยเฉพาะ

ผู้นำเรื่องระบบกันสั่นของกล้องเนี่ย ลอง Google ได้เลย เพราะ Olympus อันนี้อวยได้เต็มกำลังว่าดีจริง ฮ่า ๆ แม้ว่าแบรนด์คู่แข่งจะทำออกมาได้เหมือนกันบ้างแล้ว แต่ก็ไม่ทั้งหมดครับ Olympus ยังทำออกมาได้ดีมาก ๆ อยู่

การมีระบบกันสั่นที่ดีมาก ๆ แบบนี้สามารถทดแทนเรื่องของการใช้ ISO ได้ เพราะเราสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ต่ำลง เลยทำให้ที่แสงน้อย ๆ เราสามารถเก็บแสงได้เยอะขึ้นด้วยความเร็วชัตเตอร์นี่แหละ

 Olympus OM-D E-M5 Mark II

กล้อง Olympus OM-D E-M5 Mark II มีระบบกันสั่นแบบ 5 แกนเหมือนรุ่นพี่ ๆ ตัวกล้องโปร ซึ่งสามารถที่จะใช้ความเร็วชัตเตอร์หลักวินาทีได้โดยที่ระบบกันสั่นยังทำงานได้ดีอยู่

สามารถเอาไปใช้ Vlog ได้ เพราะมีหน้าจอแบบ Flip เข้าหาตัวได้ รวมถึงช่องต่อ Microphone ภายนอก จะใส่เป็น Wireless Mic หรือ Shotgun ด้านบนก็ได้เหมือนกัน ถ้าพูดเรื่องการตอบโจทย์วีดีโอปัจจุบัน กล้องตัวไหนทำ Vlog ไม่ได้เนี่ย ขายยากในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปแน่ ๆ แต่ตัวนี้ยังทำได้ดีอยู่เพราะหน้าจอเป็นแบบปรับหน้าจอเข้าหาตัวได้ แล้วก็ด้วยที่กล้องมีช่องเสียบไมโครโฟนให้เรียบร้อย ทำให้กล้องตัวนี้จะเอาไปถ่าย Vlog ทำคอนเทนต์สบายมาก

แล้วอีกเรื่องที่ดีก็คือระบบกันสั่นกล้องตัวนี้ทำให้เรา Vlog ได้แบบที่ไม่ต้องใช้กันสั่นให้วุ่นวายเลย จริง ๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนใช้ Gimbal สำหรับงาน Vlog แบบ Production คนเดียวที่น่าจะเป็นภาระอยู่ เพราะกว่าจะมา Balance ตัว Gimbal ให้จบมันก็นาน แล้วก็ติดเลนส์ได้ตัวเดียว ถ้าเปลี่ยนเลนส์ก็ต้องมา Balance ใหม่ ทำให้ตรงนี้กินเวลาพอสมควรสำหรับคนที่ไป Vlog คนเดียว

 Olympus OM-D E-M5 Mark II

นอกจากนี้การติด Gimbal ใส่ของครบชุด มันดูอลังการมากพอสมควรจนทำให้เตะตาได้ แล้วจะไปถ่ายทุกที่แบบชิว ๆ เป็นไปได้ยากครับ เจ้าของสถานที่บางที่เขาก็ไม่รู้ว่าเราถ่ายเล่นหรือถ่ายจริง อาจจะโดนห้ามได้ ตรงนี้ก็เป็นจุดที่พูดได้แหละว่าการถ่าย Vlog แบบง่าย ๆ กล้องตัวนี้ทำได้เลย

สิ่งที่ต้องพูดถึงคือตัวนี้ถ่ายได้ความละเอียดสูงสุดแค่ที่ Full HD ครับ เพราะงั้นใครคิดจะถ่าย 4K ก็อาจจะเสียใจหน่อย แต่ผมพูดจริง ๆ เลยคือ 4K ในตอนนี้มีประโยชน์กับคนที่ต้องการตัดต่อแบบงานเนี๊ยบ ๆ หรือเอาไฟล์ไป Crop นั่นแหละ นอกจากนี้การใช้ 4K Footage เนี่ย ต้องจ่ายทั้ง Storage สำหรับเก็บ Footage ครับ รวมถึง SD Card ที่มีความจุเยอะมากพอที่จะเก็บ Footage เยอะขนาดนั้นด้วย อันนี้ต้องลองประเมินดู แต่ถ้าพูดในมุมผม ผมกล้าบอกว่า Full HD เพียงพอครับ แต่อาจจะไม่สุดสำหรับคนที่ต้องการ 4K Footage บางอย่าง

แอพโกงสำหรับมือใหม่ ถ่ายภาพระดับโปรได้ง่าย ๆ เพราะกล้องตั้งค่าให้

ความง่ายของกล้อง Olympus OM-D E-M5 Mark II ตัวนี้ จะมีโหมดต่าง ๆ ที่ทาง Olympus ได้ Design มาเพื่อเป็นจุดขายทางการตลาดโดยเฉพาะ นั่นคือ “ความเรียบง่าย” โหมดพวกนี้ยกตัวอย่าง Live Composite ที่ปกติต้องถ่ายภาพหลาย ๆ ช็อตมารวมกันได้ให้เส้นแสงตามที่ต้องการ ถ้าเอากล้องปกติมาถ่ายเนี่ย วางแผนถ่ายกันเยอะเลย

 Olympus OM-D E-M5 Mark II

แต่กล้องตัวนี้กลับแค่กดชัตเตอร์แล้วรอเส้นแสงที่เกิดขึ้นจริง ที่เหลือแค่ได้เส้นอย่างที่ต้องการก็กดหยุด ไม่ต้องทำอะไรเยอะ ก็ได้ภาพแล้ว, หรือจะเป็นโหมด Stacking ต่าง ๆ ที่มีมาให้ ปกติต้องไปทำในคอม แต่นี่คือจบในกล้องแบบง่าย ๆ เลย โกงมาก

 Olympus OM-D E-M5 Mark II

ภาพรวมสรุปแล้วเป็นยังไง

– ความละเอียดอยู่ในระดับที่มากพอสำหรับการใช้งานหลากหลายแบบตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น และมีโหมดความละเอียดสูง 40 ล้านแบบ RAW ถ่ายได้ตั้งแต่ภาพวิว ภาพสินค้า จะเอาไปขายใน Shutter Stock ก็ได้ และให้ Dynamic Range ในระดับเดียวกับกล้อง Full Frame

– น้ำหนักเบา, System ออกแบบให้มีขนาดเล็กเพราะเซ็นเซอร์เล็ก ข้อดีคือ พกพาท่องเที่ยวไปได้สะดวก พกเลนส์ได้หลายระยะแต่ก็ไม่เหนื่อยเท่ากล้องเซ็นเซอร์ใหญ่

– ระบบกันสั่นทำได้ดีมาก มากพอที่จะถ่ายวีดีโอดี ๆ แบบไม่ต้องใช้ Stabilizer กันเลย ลดภาระเรื่องการมา Setting Balance Gimbal ทั้งหลาย กินเวลาเยอะ และต้องเสียเวลาแบก มาจบที่ตัวกล้องเลย, ภายในกล้องใส่ไมโคโฟนได้จบ ๆ พร้อมหน้าจอแบบ Vlogger ถ่ายได้ทุกแนว

– มีโหมดถ่ายภาพระดับโปรให้ใช้แบบง่าย ๆ ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกแม้ว่าจะเป็นมือใหม่

– บอดี้มีความทนทานสูง ทางทีมงานทดสอบในกล้องรุ่นพี่มาแล้วที่มีการออกแบบเหมือนกัน มั่นใจได้เลยว่ากล้องรุ่นนี้อึดและคุ้มราคามากในสิ้นปีนี้ เพราะเขากระหน่ำโปรโมชั่นเต็มที่กับรุ่นนี้

 Olympus OM-D E-M5 Mark II

 

 

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save