Panasonic เปิดตัว Lumix DMC-LX100 เซนเซอร์ Four Third ถ่าย 4K VDO Leave a comment

Panasonic เปิดตัว Lumix DMC-LX100 เซนเซอร์ Four Third ถ่าย 4K VDO

Panasonic LX Series นับว่าเป็นตระกูลกล้อง Compact High-end ที่ได้รับความนิยมมากทีเดียว LX7 รุ่นหลังสุดนี่ถ้าผมจำไม่ผิดก็น่าจะผ่านมาซัก 2 ปีได้แล้วหลายคนก็รอคอยอยู่ว่าเมื่อไหร่ Panasonic จะเปิดตัว LX รุ่นใหม่เสียที ก็มีข่าวลือกันไปต่างๆนาๆถึง LX8, LX1000 และสุดท้ายในวันที่ 15 กันยายน 57 ทาง Panasonic ก็ได้ประกาศเปิดตัว Panasonic Lumix DMC-LX100 กล้อง Compact High-end ที่มาพร้อมเซนเซอร์ขนาด Four Third แบบ Multi-aspect ratio ช่องมองภาพ EVF ความละเอียดสูง มี Wi-Fi และ NFC ในตัวพร้อมความสามารถถ่ายวีดีโอระดับ 4K ที่ระดับ 30p

Panasonic Lumix DMC-LX100 Specification

  • เซนเซอร์ Four Third ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล(ใช้จริงได้สูงสุด 12.8 ล้านพิกเซล)
  • เซนเซอร์เป็นแบบ Multi-aspect ratio ให้องศาการรับภาพที่เหมือนกันทั้ง 4:3, 3:2, 16:9
  • ชิพประมวลผล Venus Engine ตัวเดียวกับ GH4 และ FZ1000
  • ISO 200-25600(ขยายได้ถึง 100-25600)
  • เลนส์ 24-75mm f/1.7-2.8 รูปรับแสง 9 กลีบ
  • ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 1/16000 วินาที(Electronic)
  • ความเร็วถ่ายภาพต่อเนื่อง 11 ภาพต่อวินาที(6.5 ภาพต่อวินาทีพร้อม C-AF)
  • จอแสดงผลขนาด 3.0″ ความละเอียด 921,000 พิกเซล
  • ช่องมองภาพ EVF ความละเอียด 2,764,000 พิกเซล ครอบคลุมการมองเห็น 100% อัตราส่วน 16:9
  • มีฟีเจอร์ Depth from Defocus
  • ถ่ายไฟล์ RAW ได้
  • ถ่ายวีดีโอ 4K 3840×2160(30p, 24p) และ Full HD 1920×1080(60p, 60i, 30p, 24p)
  • ฟอร์แมตไฟลืวีดีโอ MPEG-4, AVCHD
  • มี Wi-Fi และ NFC ในตัว
  • มี Hot-shoe
  • น้ำหนัก 393 กรัม

ที่มา Dpreview

Panasonic เปิดตัว Lumix DMC-LX100 เซนเซอร์ Four Third ถ่าย 4K VDO

เซนเซอร์ Four Third Multi-aspect ratio

น่าตกใจเหมือนกันครับในตอนแรกที่ได้ยินว่า LX100 ใช้เซนเซอร์ขนาดใหญ่อย่าง Four Third เพราะจะใหญ่กว่าคู่แข่งในตลาดอย่าง Canon G7 X และ Sony RX100 ที่ใช้เซนเซอร์ 1″ เท่าตัวเลยทีเดียวและยิ่งถ้าเทียบกับ LX7 รุ่นก่อนที่ใช้เซนเซอร์ 1/1.7″ จะใหญ่กว่าถึง 5 เท่าเลย แต่ว่า! LX100 เลือกวางเซนเซอร์แบบ Multi-aspect ratio ซึ่งจะต่างกับการวางเซนเซอร์แบบปกติครับผม

ปกติแล้วแสงที่ส่องผ่านเลนส์เข้ามาจะมีลักษณะเป็นทรงกลมเราเรียกว่า Image Circle เซนเซอร์ทั่วไปก็จะวางไว้ให้อยู่ในตำแหน่ง Image Circle นี้พอดีเพื่อรับแสงและเมื่อเราเลือกปรับอัตราส่วนภาพจาก 4:3 เป็น 3:2, 16:9 กล้องจะเลือกใช้วิธี Crop เซนเซอร์มาใช้เฉพาะส่วนทำให้ขนาดเซนเซอร์ที่รับแสงอยู่ใน Image Circle นั้นจริงๆนั้นเล็กลงและส่งผลให้มุมรับภาพนั้นเปลี่ยนไปเวลาเปลี่ยนอัตราส่วนมุมภาพก็เลยจะแตกต่างออกไปบ้าง

คราวนี้เซนเซอร์ที่จัดวางมาเพื่อรองรับความสามารถ Multi-aspect ratio จะวางเซนเซอร์ให้”เกิน Image Circle”จากที่ทั่วไปเซนเซอร์จะอยู่ใน Image Circle พอดีเปลี่ยนเป็นวางให้เลยวง Image Circle ออกไปคราวนี้กล้องก็จะสามารถ Crop เซนเซอร์ในอัตราส่วนภาพต่างๆให้”พอดีกับวง Image Circle ได้”(สังเกตว่าไม่ว่าจะเลือกอัตราส่วน 4:3, 3:2, 16:9 ขอบของบริเวณเซนเซอร์ที่ใช้จะพอดีกับขอบ Image Circle เลย)ทำให้ไม่ว่าเราจะเลือกปรับอัตราส่วนภาพ 4:3, 3:2, 16:9 มุมการรับภาพก็จะเท่ากันไม่เปลี่ยนแปลง(แต่ที่ 1:1 จะไม่เท่ากัน) แน่นอนว่าข้อเสียคือมันจะมีส่วนของเซนเซอร์ที่เสียเปล่าไปเพราะวางเลย Image Circle ออกไปทำให้จากเซนเซอร์ 16 ล้านพิกเซลเหลือพิกเซลที่ใช้ได้สูงสุดแค่ 12.8 ล้านพิกเซลซึ่งถ้ามองว่าสำหรับการใช้งานทั่วไปแล้วก็ยังเพียงพอเหลือๆ ด้วยความที่เซนเซอร์ที่ใช้งานจริงเล็กกว่าขนาด Four Third ทำให้จริงๆแล้วมันใหญ่กว่าเซนเซอร์ขนาด 1″ อยู่ 1.5 เท่าและใหญ่กว่าขนาด 1/1.7″ อยู่ 4.3 เท่า

Depth from Defocus(DFD)

Depth from Defocus หรือเรียกย่อๆว่า DFD เป็นฟีเจอร์เฉพาะของ Panasonic ที่ส่วนตัวผมเองมองว่ามันดีมากๆแต่ยุ่งยากไปนิด ก่อนอื่นต้องขอท้าวความเรื่องระบบ Autofocus กันแบบคร่าวๆก่อนนะครับ ปกติแล้วระบบ Autofocus ที่ทั่วๆไปเราเห็นในกล้องก็จะมี 2 แบบคือ Phase Detection และ Contrast Detection ถ้าคุณผู้ท่านเคยใช้ DSLR จะเห็นว่ามันโฟกัสได้เร็วและแม่นยำมากนั่นคือความสามารถของ Phase Detection ครับมันเป็นระบบโฟกัสที่แม่นยำและทำงานได้เร็วเพราะเมื่อมันเห็นวัตถุมันจะรู้ด้วยว่าวัตถุนั้นอยู่”ห่างออกไป”หรือ”ใกล้เข้ามา”จากระยะโฟกัสปัจจุบันทำให้มันสามารถบอกเลนส์ได้ว่าควรจะหมุนโฟกัสไปทางไหนทำให้โฟกัสที่เป้าหมายได้เร็ว ส่วนในฝั่งของ Contrast Detection นั้นต่างกันมันไม่รู้เลยว่าวัตถุอยู่ใกล้หรือไกลกว่าระยะโฟกัสปัจจุบันเพราะงั้นสิ่งที่มันจะทำได้คือการ”สุ่มเดา”โดยลองหมุนเลนส์ไปมาซ้ายขวาเพื่อหาระยะที่ถูกต้องนั่นทำให้เสียเวลาในการโฟกัสมากกว่าเพราะถ้าหมุนไปผิดด้านมันอาจจะต้องหมุนไปจนสุดและหมุนกลับมาใหม่ พอหมุนกลับมาแล้วถ้ามีการเลยระยะที่ถูกต้องไปนิดหน่อยก็จะต้องหมุนกลับมาอีกนิดเป็นเหตุที่ทำให้ Contrast Detection นั้นไม่เร็วแบบ Phase Detection

ในยุคต้นของกล้อง Mirrorless จะใช้เซนเซอร์โฟกัสแบบ Contrast Detection ทำให้การโฟกัสจะช้ากว่าและไม่แม่นเท่า DSLR แต่ละค่ายกล้องก็เลยพัฒนาเอา Phase Detection มาใส่รวมบนเซนเซอร์รับภาพของกล้อง Mirrorless เกิดเป็นระบบ Hybrid AF ที่มีการทำงานประสานกันระหว่าง Phase Detection และ Contrast Detection ทำให้การโฟกัสเร็วขึ้น คราวนี้ก็จะมีบางค่ายอย่าง Olympus และ Panasonic ที่ ณ เวลานั้นไม่มีการพัฒนา Hybrid AF ขึ้นมา(ปัจจุบัน Olympus มีแล้ว)แต่พวกเค้าพัฒนามอเตอร์ของเลนส์ให้หมุนได้เร็วมากโดยเฉพาะ Panasonic นั้นแม้จะใช้เพียงแค่ Contrast Detection ก็ยังเร็วกว่า Hybrid AF ของบางค่ายซะอีก

ต่อมา Panasonic ก็นำเสนอฟีเจอร์ DFD ที่ตอนนั้มาพร้อมกับ GH4(ร่ายมาซะยาวได้เข้าเรื่องซะที 55) โดยระบบนี้เกี่ยวการโฟกัสโดยตรงเลยครับ DFD นั้นจะมีข้อมูลความเบลอของเลนส์แต่ละตัวเก็บไว้เมื่อ Contrast Detection เริ่มสั่งการสุ่มหมุนเลนส์เพื่อหาระยะ พอระยะโฟกัสเปลี่ยนกล้องจะสังเกตความเบลอของวัตถุที่เกิดขึ้นและเทียบอ้างอิงจากฐานข้อมูลความเบลอของเลนส์ที่ใช้มันจะตรวจจับได้ว่าตอนนี้เลนส์หมุนไปถูกทางหรือเปล่าถ้าหมุนผิดจะได้รีบเปลี่ยนทิศทางหมุนถูกก็หมุนต่อไป ดังนั้นถ้าจะพูดนี่คือครั้งแรกที่ Contrast Detection รู้ทิศทางที่มันจะไป แค่เห็นความเบลอของวัตถุก็จะรู้ว่าวัตถุนั้นอยู่ห่างออกไปหรือใกล้เข้ามา ทำให้สามารถโฟกัสติดตามวัตถุต่างๆได้เร็ว คราวนี้แล้วมันยุ่งยากตรงไหนล่ะ!? ก็ตรงที่มันต้องใช้ข้อมูลความเบลอของเลนส์นั่นเองครับ ถ้าเลนส์ตัวไหนกล้องไม่มีข้อมูล DFD ก็ใช้การไม่ได้เหลือแค่ Contrast Detection อย่างเดียว แต่กับ LX100 คงไม่ใช่ปัญหาเพราะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้อยู่แล้วเพราะงั้น DFD น่าจะทำให้ LX100 มีความเร็วในการโฟกัสในภาพนิ่งและวีดีโอที่ดีทีเดียว

Panasonic เปิดตัว Lumix DMC-LX100 เซนเซอร์ Four Third ถ่าย 4K VDO

Panasonic เปิดตัว Lumix DMC-LX100 เซนเซอร์ Four Third ถ่าย 4K VDO

Panasonic เปิดตัว Lumix DMC-LX100 เซนเซอร์ Four Third ถ่าย 4K VDO

Panasonic เปิดตัว Lumix DMC-LX100 เซนเซอร์ Four Third ถ่าย 4K VDO

วันที่ 19/09/2014

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save