Preview-Fujifilm-GFX-50S-II-zoomcamera

พรีวิว Fujifilm GFX 50S II กล้อง Medium Format รุ่นอัพเกรด Gen 2 Leave a comment

นอกเหนือจากน้องเล็กอย่าง Fujifilm X-T30 II ยังมีรุ่นใหญ่อย่าง Fujifilm GFX 50S II ทายาทกล้อง Medium Format gen 2 ที่พร้อมจะสืบทอดเจตนารมต่อจากรุ่นพี่ ที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ พร้อมอัพเกรดฟีเจอร์เพื่อให้ตอบโจทย์เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Gallery | Fujifilm GFX 50S II

ฟีเจอร์เด่น

  • เซนเซอร์มีเดียมฟอร์แมต ความละเอียด 51.4 ล้านพิกเซล
  • X-Processor 4
  • กันสั่น 5 แกน ชดเชยชัตเตอร์สปีดได้ 6.5 สต็อป
  • G mount
  • ISO 100-12800 (ขนาดได้สูงสุด 102400)
  • ถ่ายภาพต่อเนื่อง 3fps
  • ความเร็วชัตเตอร์ 60-1/4000 (1/16000 Electronic)
  • โฟกัสที่มืดได้ -3.5 EV
  • ช่องมองภาพ 0.5 นิ้ว ความละเอียด 3.69 ล้านจุด อัตราขยาย 0.77x
  • จอ LCD ระบบสัมผัส 3.2 นิ้ว แบบ 2 แกน 2.36 ล้านจุด
  • วิดีโอ Full HD (1920×1080) 29.97p/ 25p/ 24p/ 23.98p 50Mbps MPEG-4, H.264 สูงสุด 120 นาที
  • Film Simulation 19 แบบ
  • มีช่องเสียบไมค์, หูฟัง
  • USB 3.2 Gen 1 (5 GBit/sec), micro HDMI, Wi-Fi + Bluetooth
  • Remote control
  • มีซีลกันละอองน้ำละอองฝุ่น
  • ช่องเสียบ SD Card 2 ช่อง รองรับการ์ดความเร็วสูง UHS-II
  • แบตเตอรี่ NP-W235 ถ่ายได้ 440 ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง (ชาร์จผ่านพอร์ต USB ได้)
  • ขนาด (W) 150.0mm x (H) 104.2mm x (D) 87.2mm
  • น้ำหนัก 900 กรัม

Fujifilm GFX 50S II : MORE THAN FULL FRAME

ปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าวงการกล้องต่างให้ความสำคัญกับกล้อง Mirrorless มากกว่า DSLR โดยเฉพาะในกลุ่มของ Mirrorless Fullframe ที่มีอัตราเติบโตสดใสกว่ากล้อง Mirrorless ใน Segment อื่นๆ อันด้วยปัจจัยด้านราคา ที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าสมัยที่ยังเป็นกล้อง DSLR นั่นเอง

นอกเหนือจาก Mirrorless Fullframe แล้ว ยังมีกล้อง Mirrorless อีก Format ที่อาจจะได้บอกว่ามีขนาดที่ใหญ่ มีกลุ่มตลาดที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า นั่นคือ กล้อง Medium Format

Sensor ของ Medium Format จะมี Crop Factor ที่ 0.79x

เดิมที ฟูจิฟิล์ม รุกตลาดกล้อง Mirrorless ด้วยกล้องในระบบ X-Mount ที่ใช้ Sensor ขนาด APS-C เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น X-Pro3 , X-T4 , X-H1 , X-T200 หรือ X-A Series ที่เป็นกล้องในระดับ Beginner ที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างปรากฏการณ์ยอดขายถล่มทลาย จนแย่ง Marketshare อันดับ 1 ในประเทศไปครองได้อย่างเกินความคาดหมาย

กลับมาที่ กล้อง Medium Format กัน อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่า เป็นกล้องที่ออกแบบสำหรับผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่ม ซึ่งโดยปกติกล้อง Medium Format นั้น ผู้ใช้งานส่วนมากจะเป็นกลุ่มที่ซีเรียสในด้าน Performance ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Noise , Dynamic Range เป็นส่วนใหญ่ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นกล้องประเภทนี้ ปรากฏโฉมในร้านคาเฟ่ หรือ งาน Event ซักเท่าไรนัก

หลังจากการเปิดตัว Fujifilm GFX 50S ( Gen 1 ) ก็ได้สร้างความฮือฮาไม่น้อย เพราะ ณ ขณะนั้น เป็นช่วงที่ Mirrorless Fullframe กำลังบูมเป็นอย่างมาก แต่ด้วยการวาง Position คนละ Segment จึงทำให้ไม่มีผลกับกล้อง Medium Format ซักเท่าไรนัก

ลำดับกล้อง Medium Foramt | GFX 50S > GFX 50R > GFX 100 > GFX 100S > GFX 50S

สำหรับ Fujifilm GFX 50S II ( หรือ GFX 50S mk2 ) ถือเป็นกล้อง Medium Format ที่ออกมาสานต่อกล้องรุ่นเดิมที่วางจำหน่ายและทำตลาดมาเป็นระยะเวลาที่นานแล้ว ซึ่งการออกแบบภายนอกเทียบจะถอดแบบกันมาเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา ตำแหน่ง Layout ปุ่มต่างๆ ที่หากวางเทียบกัน อาจจะแยกกันไม่ออกเลยก็ได้ครับ เว้นแต่ฟีเจอร์ภายในบางอย่าง ที่มีปรับปรุง อัพเกรด และรวมถึงลดทอนลงไปบ้าง เพื่อให้สมกับราคาที่ปรับลดลงมาด้วยนั่นเอง

กล้อง Medium Format ที่น้ำหนักไม่ถึง 1 KG.

preview-fujifilm-gfx-50s-ii_zoomcamera-5

ปกติ ถ้าพูดถึงกล้อง Medium Format หลายๆคนน่าจะนึกถึงตัวกล้องที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก เหมาะกับการอยู่แค่ภายในสตูดิโออย่างแน่นอน แต่ด้วยยุคสมัยของกล้อง Mirrorless และ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้หลายๆสิ่งสามารถย่อส่วนลงให้มีขนาดเล็กลงได้อย่างง่ายๆ รวมไปถึงเจ้า Fujifilm GFX 50S II ( หรือ GFX 50S mk2 ) ก็ถูกปรับขนาดลง โดยมีน้ำหนักสุทธิเพียง 900 กรัมเท่านั้นครับ

Sensor ขนาด Medium Format 51.4 mp พร้อมหน่วยประมวลผลใหม่

preview-fujifilm-gfx-50s-ii_zoomcamera

สิ่งที่เป็นจุดแข็งของกล้อง Medium Format นั้น นอกเหนือจากขนาด Sensor ที่ใหญ่กว่า Fullframe แล้ว ยังมีจำนวน pixel ที่ค่อนข้างมาก โดยพื้นฐานของกล้องในตระกูล GFX จะมีความละเอียดเริ่มต้นที่ 50 mp เป็นอย่างน้อย สำหรับ GFX 50S II จะมีความละเอียดอยู่ที่ 51.4 mp ซึ่งเท่ากับรุ่นเดิมพอดี แต่จะได้หน่วยประมวลผลรุ่นใหม่อย่าง X-Processor 4 ซึงเป็น CPU ตัวเดียวกันกับที่ใช้ในกล้อง GFX 100S นั่นเอง ฉะนั้น เพื่อนๆที่สนใจเจ้านี้อยู่ หายห่วงกับ Performance ที่จะได้อย่างแน่นอนครับ

ระบบกันสั่น 5 แกน เคลมกันสั่นไหว 6.5 Stops

สิ่งที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาอย่างชัดเจนใน GFX 50S II คือ ระบบกันสั่น 5 แกน ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นฟีเจอร์พื้นฐานของกล้องในยุคปัจจุบัน แต่สำหรับกล้อง Medium Format ด้วยแล้ว ถือเป็นฟีเจอร์ที่เข้ามาช่วยเติมเต็มให้กับงานภาพนิ่งได้อย่างลงตัว โดยระบบกันสั่น 5 แกนนี้ ทางฟูจิฟิล์มเคลมการลดการสั่นไหวไว้ สูงสุดที่ 6.5 Stops ด้วยกัน ถือว่าน่าสนใจทีเดียว

ข้อสังเกต

อย่างที่ผู้เขียนได้เกริ่นไปข้างต้นว่า เจ้า GFX 50S II ทำราคาออกมาได้น่าสนใจ เรียกว่าท้าชนกับราคากล้อง Mirrorless Fullframe ระดับ Hi-End เลยทีเดียว แต่แน่นอนว่าการปรับระดับราคาลง ย่อมส่งผลต่อฟีเจอร์บางอย่างที่อาจจะถูกลดทอนลงไปด้วยนั่นเอง

ระบบ Focus กลับมาใช้ CDAF เท่านั้น

เป็นสิ่งแรกหลังจากที่ผู้เขียนได้ไล่อ่าน Full Spec ทั้งหมดของ Fujifilm GFX 50S II จนมาสะดุดกับเรื่องระบบ Focus ครับ เพราะ เดิมทีใน Fujifilm GFX 50S นั้น ใช้ระบบ Focus แบบ Hybrid AF ที่เป็นการผสมผสานระหว่าง ( PDAF + CDAF ) ทำให้มีการตอบสนองที่รวดเร็ว ว่องไว

แต่เมื่อ GFX 50S II กลับเลือกที่จะใช้ Focus แบบ CDAF เพียงอย่างเดียว นั่นเท่ากับว่าการตอบสนองที่รวดเร็ว ก็อาจจะโดนลดทอนลงไป โดยเฉพาะการ Focus แบบ Tracking อาจจะทำได้ช้ากว่าเดิมพอสมควรนั่นเอง

รองรับงาน Video ระดับ FHD

preview-fujifilm-gfx-50s-ii_zoomcamera-8

” ใครจะเอากล้อง Medium Format ไปถ่าย Video “ เชื่อว่าเพื่อนๆน่าจะมีคำถามนี้ในใจอย่างแน่นอน แต่ด้วยยุคสมัยปัจจุบันที่ทุกอย่างมีความ Hybrid ทั้งงานภาพนิ่งและวิดิโอ อันจะเห็นได้จากบรรดากล้อง Mirrorless ต่างเริ่มปรับตัวในส่วนของฟีเจอร์งาน Video เพื่อตอบสนองผู้บริโภค

ถึงกระนั้น GFX 50S II แม้จะรองรับการถ่าย Video ที่ความละเอียดระดับ FHD 30p ก็ตาม แต่ก็เข้าใจได้ว่าเป็นกล้องที่เน้นงานภาพนิ่งเป็นส่วนใหญ่มากกว่าครับ

ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของทางร้านได้ตลอด 24 ชม. หรือ โทรเข้ามาโดยตรงผ่านโทรศัพท์

แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือ หน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
083-067-7677 / 02-098-9555 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

วิธีการสั่งซื้อ

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save