แนะนำ Triggertrap เปลี่ยนมือถือให้กลายเป็นสุดยอดรีโมทชัตเตอร์ Leave a comment

         ก่อนอื่นเลยก็ต้องขอสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ ./\. วันนี้ผมก็มีของเจ๋งๆมาแนะนำกันเช่นเคยนั่นคือ Triggertrap Mobile Kit อุปกรณ์ที่ทำให้เราสามารถใช้ Smartphone เป็นรีโมทชัตเตอร์กล้องได้และเป็นได้ชนิดที่ว่า”ดียิ่งกว่ารีโมทชัตเตอร์ซะอีก”โดยตัว Triggertrap Mobile Kit ที่ผมพูดถึงนี้จะมีลักษณะเป็นสายครับ วิธีใช้ก็เหมือนสายลั่นชัตเตอร์ทั่วไปคือเราต่อปลายด้านหนึ่งเข้ากับช่องเสียบสายลั่นชัตเตอร์ของกล้องอีกด้านหนึ่งเสียบช่องหูฟัง 3.5mm ของ Smartphone จากนั้นเราก็สามารถใช้สั่งการลั่นชัตเตอร์กล้องได้เลยผ่านการใช้แอปพลิเคชัน Triggertrap ที่มีรองรับทั้ง iOS และ Android ครับดาวน์โหลดได้ฟรีสามาร สามารถใช้ได้กับกล้องมากกว่า 300 รุ่นจาก 14 แบรนด์กล้องสามารถดูรายชื่อรุ่นที่รองรับได้ที่ Triggertrap

จุดเด่นของตัวแอปพลิเคชัน Triggertrap นอกจากจะมีฟังก์ชั่นการเป็นสายลั่นตามปกติแล้วเรายังสามารถสั่งลั่นชัตเตอร์ผ่านการตรวจจับเสียง ตรวจจับการสั่นสะเทือน ตรวจจับความเคลื่อนไหว ตรวจจับจำนวนใบหน้าได้ผ่านการใช้เซนเซอร์ของตัว Smartphone และยังมีฟังก์ชั่นตั้งถ่ายหน่วงเวลา(Interval)สำหรับการถ่ายภาพแนว Time-Lapse ที่สามารถตั้งได้หลากหลายไม่แพ้รีโมทตั้งเวลาทั่วไปเลยครับ

ตัวอย่างผลงานแนว Time-lapse

ความเจ๋งอีกอย่างของ Triggertrap คือมันไม่ใช่แค่ใช้ลั่นชัตเตอร์เท่านั้นครับเรายังสามารถซื้ออุปกรณ์เสริม Triggertrap Flash Adapter เพื่อให้ Smartphone สั่งยิงแฟลชได้ด้วยโดยใช้ฟังก์ชั่นได้แบบเดียวกับการสั่งลั่นชัตเตอร์เราจึงสามารถสั่งยิงแฟลชโดยการใช้เสียง การสั่นสะเทือน หรือตั้งเวลาในการยิงแฟลชได้เช่นกัน ประโยชน์ของการใช้สั่งยิงแฟลชคือเราสามารถใช้ถ่ายภาพที่เราไม่สามารถกดชัตเตอร์ได้ทันอย่างเช่นลูกโป่งแตก แก้วแตก หรือกระสุนปืนได้โดยอาศัยแสงแฟลชบวกกับเซนเซอร์ตรวจจับเสียงใน Triggertrap สามารถเข้าไปดูภาพจากกลุ่ม Flickr ของ Triggertrap ได้ครับผม

ตัวอย่างภาพที่ใช้เทคนิคนี้

ภาพจาก Flickr ของ Marcus Nilsson(แก้วแตก) และ Mariusz(ลูกโป่ง)

เผื่อว่าใครอยากถ่ายภาพแนวนี้วิธีคือเราจะต้องอยู่ในห้องมืดๆครับแล้วเปิดชัตเตอร์ให้รับแสงค้างเอาไว้(อาจใช้ชัตเตอร์ B ก็ได้)เนื่องจากเราอยู่ในห้องมืดสนิทจึงไม่มีแสงใดเข้าไปในภาพเราเลยคราวนี้แสงเดียวที่เราจะใช้คือแสงแฟลชครับผม  เราจะอาศัยแสงแฟลชยิงใส่วัตถุในจังหวะที่เราต้องการ(อย่างเช่นช็อตที่ลูกโป่งแตก)แสงแฟลชจะสะท้อนวัตถุนั้นและเข้าไปในกล้องเราภาพที่ได้จึงมีเพียงวัตถุนั้นที่สะท้อนแสงซึ่งแม้จะเคลื่อนไหวอยู่เร็วแค่ไหนก็จะหยุดนิ่งกลางอากาศได้อย่างน่าอัศจรรย์

แนะนำโหมดและความสามารถต่างๆในแอปฯ Triggertrap

Cable Release Modes (โหมดสายลั่นชัตเตอร์)

  • Simple Cable Release – เป็นสายลั่นชัตเตอร์ปกติจะลั่นชัตเตอร์เมื่อเราสัมผัสปุ่มชัตเตอร์สีแดงในแอปฯ
  • Quick Release – โหมดนี้ใช้เวลาที่เราต้องการจะลั่นชัตเตอร์อย่างรวดเร็วให้ทันสถานการณ์ครับ วิธีการทำงานคือมันจะให้เราจิ้มปุ่มชัตเตอร์ทิ้งไว้และเมือ่ปล่อยก็จะเริ่มถ่ายช่วยให้เราตอบสนองได้ไวขึ้น
  • Press and Hold – โหมดนี้ตามชื่อเลยครับคือสามารถกดชัตเตอร์และกดค้างไว้ได้ ใช้สำหรับตอนกดชัตเตอร์ B หรือถ่ายต่อเนื่องก็ได้
  • Press and Lock – ใช้สำหรับลั่นแล้วล็อคชัตเตอร์เอาไว้ จะเป็นประโยชน์เวลาเราใช้ชัตเตอร์ B ที่จะต้องกดชัตเตอร์ตลอดเวลา โหมดนี้จะให้ผมเหมือนการกดชัตเตอร์กล้องค้างเอาไว้
  • Timed Release – โหมดนี้ใช้สำหรับตั้งระยะเวลาที่เราจะถ่ายครับ สมมติว่าผมตั้งเวลา 3 นาทีและตั้งชัตเตอร์ B ไว้ในกล้อง แอปฯก็จะสั่งถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์นาน 3 นาที
  • Self Timer – โหมดนี้ก็เหมือนที่เรามีในกล้องครับ ตั้งเวลาถ่าย ตั้งไว้เท่าไหร่พอแอปฯนับถอยหลังจนครบกำหนดก็จะสั่งถ่ายภาพ

Timelapse Modes (โหมดถ่ายภาพ Timelapse)

  • Timelapse – โหมดนี้จะให้เรากำหนดเวลาระยะห่างระหว่างแต่ละภาพและจะสั่งถ่ายภาพไปเรื่อยๆจนกว่าแบตฯมือถือหรือกล้องจะหมดเลย
  • TimeWarp – โหมดนี้สามารถตั้งค่าให้ระยะเวลาห่างระหว่างแต่ละภาพค่อยๆเปลี่ยนไปได้ในระหว่างที่กำลังถ่ายอยู่อย่างเช่นช่วงแรกเราจะเอาระยะห่างระหว่างแค่ละภาพน้อยหน่อยแต่ช่วงหลังๆอยากให้ระยะห่างของแต่ละภาพนานขึ้นก็สามารถตั้งได้

  • DistanceLapse – เป็นการตั้งให้ถ่ายตามระยะทาง โดยให้เรากำหนดระยะทางที่ต้องการไว้และแอปฯจะสั่งให้กล้องถ่ายภาพทุกครั้งที่เราเคลื่อนที่ไปเท่าระยะที่ตั้งโดยอาศัยสัญญาณ GPS จากมือถือในการตรวจจับ

  • Star Trail – โหมดนี้ช่วยให้เราตั้งค่าถ่าย Star Trail หรือถ่ายดาวแบบยืดๆเป็นเส้นสวยๆได้แบบง่ายๆโดยให้เราตั้งจำนวนภาพที่จะถ่าย ความเร็วชัตเตอร์ที่จะใช้ และระยะห่างระหว่างแต่ละภาพ
  • Bramping – โหมดนี้ถือว่าเป็นประโยชน์มากๆเป็นการตั้งค่าให้ความเร็วชัตเตอร์ค่อยๆเปลี่ยนไปได้ตามระยะเวลา เราสามารถตั้งจำนวนภาพที่จะถ่าย ระยะห่างระหว่างแต่ละภาพ ความเร็วชัตเตอร์ที่จะใช้ในตอนเริ่มถ่ายและความเร็วชัตเตอร์สุดท้ายที่จะใช้จากนั้นระหว่างที่ถ่ายแอปฯจะค่อยๆปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เราไปเรื่อยๆที่ละนิดๆ*อย่างเช่นตอนเริ่มตั้งที่ 1/10 วินาทีและให้สุดที่ 5 วินาทีระหว่างถ่ายก็จะค่อยๆปรับความเร็วให้ช้าลงเรื่อยๆจนถึง 5 วินาทีโดยตัวแอปฯจะมีการคำนวณระยะเวลาทั้งหมดที่ต้องใช้ในการถ่ายให้เราด้วย

*โหมด Bramping จะมีข้อจำกัดอยู่ที่ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดที่ทำได้จะแค่ 1/15 วินาทีเท่านั้นเพราะการที่เค้าใช้แค่ไฟจากช่องหูฟัง 3.5mm ทำให้มีแรงส่งให้เร็วสุดได้แค่นี้และกล้องแต่ละรุ่นอาจจะได้ไม่เท่ากันด้วยครับบางรุ่นอาจได้เร็วกว่านี้หรือช้ากว่านี้เล็กน้อยส่วนความเร็วชัตเตอร์ช้าสุดที่ตั้งได้คือ 8 วินาทีครับ

Sensor Modes (ลั่นชัตเตอร์โดยอาศัยเซนเซอร์ Smartphone)

  • Sound Sensor – โหมดนี้จะสั่งลั่นชัตเตอร์ทันทีที่มันรับรู้เสียงที่ดังถึงจุดที่เรากำหนดไว้
  • Vibration Sensor – โหมดตรวจจับการสั่นสะเทือน ถ้า Smartphone มีการสั่นสะเทือนถึงจุดที่เรากำหนดไว้ก็จะสั่งลั่นชัตเตอร์ ในการใช้งานจริงเราสามารถโทรฯเข้าหรือส่งแชทเข้าไปเพื่อให้ลั่นชัตเตอร์ได้ด้วยครับ

  • Motion Sensor – โหมดตรวจจับความเคลื่อนไหวโดยจะอาศัยกล้องจากตัว Smartphone ตรวจจับ ถ้ามีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นก็จะสั่งถ่ายภาพทันทีโดยเราสามารถตั้่งค่าได้ครับว่าอยากให้การตรวจจับมีความไวแค่ไหน จะเอาแบบขยับนิดเดียวถ่ายเลยหรือขยับมากๆก่อนค่อยถ่ายก็ได้
  • Peekaboo – โหมดนี้จะสั่งถ่ายเมื่อมีจำนวนใบหน้าเข้ามาถึงจำนวนที่กำหนดไว้ครับเราสามารถตั้งได้ตั้งแต่ 1-5 ใบหน้าโดยโหมดนี้ก็อาศัยกล้องจาก Smartphone ในการตรวจจับเช่นกัน

Sensor Modes นี้ถ้าเป็น iOS ที่มีฟังก์ชั่นตามด้านบนนี้ครบเลยครับแต่ในฝั่ง Android จะยังมีแค่เซนเซอร์เสียงเท่านั้นเพราะตัวแอปฯยังพัฒนาตามหลังฝั่ง iOS อยู่ ยังคงต้องรอการอัพเดตจากทางผู้ผลิตในภายหลัง(ณ วันที่ 2 ก.พ. 58)

HDR Modes (โหมดสำหรับถ่าย HDR)

LE ต่อมาจาก Long Exposure ครับผมเพราะฉะนั้นโหมดนี้เน้นถ่าย HDR แบบ Long Exposure หรือเปิดชัตเตอร์เผาเซนเซอร์กันนานๆโดยเฉพาะเลย

  • LE HDR – เราสามารถตั้งให้ถ่ายภาพได้ตั้งแต่ 3-19 ภาพและเลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ที่จะให้เป็นค่าแสงพอดีจากนั้นจะสามารถตั้งได้ว่าจะให้แต่ละภาพมีค่าแสงต่างจากภาพหลัก(ค่าแสงพอดี)เท่าไหร่ตั้งแต่ 1/3EV จนถึง 2EV
  • LE HDR Timelapse – โหมดสำหรับถ่าย Timelapse แบบ HDR เช่นเดียวกับโหมด LE HDR เราจะต้องตั้งแค่ความเร็วชัตเตอร์ที่ให้แสงพอดีก่อนจากนั้นเลือกค่าความต่างของแสงในแต่ละภาพต่อจากนี้(1/3EV ถึง 2EV) และกำหนดระยะห่างกันของแต่ละภาพ

ท่านใดสนใจ Triggertrap Mobile Kit สามารถไปลองดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Triggertrap มาลองดูฟังก์ชั่นเล่นๆก่อนได้ครับดาวน์โหลดได้”ฟรี”ทั้งจาก App Store และ Play Store หรือถ้าท่านใดสนใจซื้อหาไปเล่นกันก็ซื้อกันได้ที่ ZoomCamera ทุกสาขาเลยครับสำหรับเมาท์ Nikon และ Canon ราคา 1,390 บาทเมาท์อื่นๆอย่าง M4/3, Fuji, ฯลฯ ราคา 1,490 บาท และอุปกรณ์เสริม Triggertrap Flash Adapter ราคา 1,290 บาทครับ(ราคา ณ วันที่ 2 ก.พ. 58)

สั่งซื้อผ่านเว็บ : https://www.zoomcamera.net/Triggertrap
EMS 02-635-2330 ต่อ 20 / 083-067-7677
สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772
สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123
สาขาซีคอนสแควร์ 02-721-9977 / 086-554-1919
สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498
สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 04/02/2015

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save