sony a7c vs sony a7III

เปรียบเทียบ Sony A7C vs Sony A7III เลือกรุ่นไหนดี Leave a comment

เปรียบเทียบ Sony A7C เป็นธรรมเนียมทุกครั้งที่มี กล้องรุ่นใหม่เปิดตัวออกมา จะมีการนำกล้องรุ่นนั้นมาเทียบเคียงกับกล้องที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งใน Content นี้ จะเป็นการ เปรียบเทียบ Sony A7C vs EOS R vs Nikon Z5 ซึ่งทั้ง 3 รุ่น เป็น กล้อง Mirrorless Fullframe ที่ลำดับใกล้เคียงกันที่สุดครับ

Content ที่เกี่ยวข้องกับ Sony A7C

Introducion : Sony A7C

Gallery Sony A7C

สรุปสเปค Sony A7C

  • กล้อง Mirrorless Fullframe รุ่นแรกที่ออกแบบทรง Rangefinder
  • รองรับการใช้งานเลนส์ในระบบ E-Mount
  • Sensor ขนาด Fullframe ความละเอียด 24 megapixels
  • ระบบกันสั่นไหว แบบ 5 ทิศทางภายใน Body เคลมสูงสุด 5 Stops
  • จอแสดงผลแบบ Vari-Angle ความละเอียด 921,600 จุด เทียบเท่า Sony A7III
  • EVF แบบ OLED ความละเอียด 2,359,296 จุด อัตราขยาย 0.59
  • Shutter Speed สูงสุดที่ 1/4000 – 30 sec.
  • ไม่มี First Curtain Shutter
  • อัตราถ่ายต่อเนื่อง 10 fps
  • งาน Video 4K 30p 4:2:0 8-bit และ FHD รองรับ S&Q สูงสุดที่ 120p
  • งาน Video บันทึกได้ต่อเนื่อง ไม่ None Limit
  • Port การเชื่อมต่อ ทั้ง USB Type-C , Port Mic , Port Headphone
  • แบตเตอรี่ NP-FZ100 เฉกเช่นเดียวกันกับ Sony A7III
  • น้ำหนักสุทธิ 509 กรัม ( เฉพาะ Body )

เปรียบเทียบ Sony A7C กับ คู่แข่งในระดับเดียวกัน

กล้อง Mirrorless Fullframe อย่าง Sony A7C นั้น แม้จะว่า Position อยู่ในระดับ Entry Level แต่ด้วยฟีเจอร์และสเปคภายในหลายๆอย่าง แทบจะบอกได้ว่า มีความก้ำกึ่ง Semi-Pro อยู่ไม่น้อยเช่นกันครับ โดย กล้อง Mirrorless Fullframe ที่ทีมงานจะนำมาเทียบกับ Sony A7C ไม่ใช่ใครที่ไหน Sony A7III รุ่นพี่ของ Gen 3 นั่นเองครับ

Sony A7C vs Sony A7III

Sony A7C vs Sony A7III

Sony A7III กล้อง Mirrorless Fullframe ต้นตระกูล Gen 3 ที่ทาง Sony ตั้งให้เป็น กล้องระดับ Entry หรือ Beginner สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการเริ่มใช้งาน มาพร้อมกับสเปคจัดเต็ม ทั้ง Sensor ความละเอียด 24.2 MP, DR ถึง 15 Stops, ระบบ Focus แบบ Hybrid พร้อม Animal Eye AF และยังรองรับการถ่ายวิดีโอ 4K ได้ด้วยเช่นกัน

ดีไซน์ Rangefinder ที่โฉบเฉี่ยว เล็ก กะทัดรัด

เปรียบเทียบ Sony A7C vs Sony A7III

จุดเด่นของ Sony A7C นั้น คงจะหนีไม่พ้นเรื่องดีไซน์ครับ เพราะ โดยปกติ เรามักจะเห็น กล้อง Mirrorless Fullframe ในท้องตลาด ออกแบบในรูปทรง SLR เป็นซะส่วนใหญ่กันหมดครับ ซึ่ง การมาของ Sony A7C นั้น น่าจะสร้างจุดเปลี่ยนให้กับตลาดกล้อง Mirrorless ได้ในระดับหนึ่งเลยละครับ อย่าลืมว่า เดิมที Mirrorless เกิดมาลดภาระในส่วนของน้ำหนักและขนาดของ DSLR นั่นเองครับ

Sony Alpha a7C Mirrorless Digital Camera with 28-60mm Lens
sony a7c silver

แม้ว่า Sony A7C จะเป็น กล้อง Mirrorless Fullframe ทรง Rangefinder ในเรื่องของน้ำหนักนั้น ถือว่าทำออกมาได้ดีทีเดียวในฐานะที่เป็นกล้องที่ใช้ Sensor Fullframe ด้วยกัน โดยน้ำหนัก Sony A7C เฉพาะ Body จะอยู่ที่ 509 กรัม เท่านั้นครับ และ เมื่อประกบกับเลนส์ kit รุ่นใหม่ อย่าง Sony sel 28-60 F4-5.6 จะมีน้ำหนักรวมที่ 660 กรัม เท่านั้นครับ

ทางด้าน Sony A7III จะมีรูปทรงแบบ SLR ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งจะขนาดที่ใหญ่กว่าและหนากว่า Sony A7C อยู่ในระดับนึงครับ ทั้งนี้น้ำหนักสุทธิของ Sony A7III จะอยู่ที่ 650 กรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักเฉพาะ Body เท่านั้น ยังไม่ได้รวมเลนส์แต่อย่างใดครับ

เปรียบเทียบ Sony A7C vs Sony A7III

น้ำหนัก Sony A7C ทำได้ดีกว่า Sony A7III

แม้ว่า น้ำหนักของ Sony A7C จะเบา 509 กรัม แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเบาที่สุดในกลุ่ม Mirrorless Fullframe เพราะ ถ้าอ้างอิงสเปคแล้ว EOS RP จะมีน้ำหนักเบาเพียง 485 กรัมเท่านั้นครับ

Ergonomic การจับถือ

Ergonomic และ Handheld ถือเป็นอีกเรื่องที่ผู้ใช้งาน ต่างให้ความสนใจไม่แพ้กัน เพราะ เมื่อเราเลือกกล้องซักรุ่นแล้ว กล้องรุ่นนั้นจะอยู่กับเราไปนานเลยล่ะ จนกว่าจะพังหรือเปลี่ยนรุ่นเลยทีเดียวนะ

เปรียบเทียบ Sony A7C vs Sony A7III

ในแง่ของการจับถือ ทั้ง Sony A7C และ Sony A7III ต่างก็ออกแบบให้มี Grip จับเวลาใช้งานด้วยเช่นกัน ซึ่งหากดูจากสรีระแล้ว Sony A7III จะได้เปรียบเรื่อง Grip เพราะมีขนาดที่ใหญ่กว่า อีกทั้งมีการเซาะร่องด้านใน ทำให้มีความกระชับมากกว่านั่นเองครับ

นอกจากนี้ จำนวนปุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น FN Button รวมไปถึง Joystick ก็มีติดมาให้ใช้งานใน Sony A7III ด้วยเช่นกันครับ

ขณะที่ Sony A7C นั้น ด้วยขนาดที่เล็กลง อันมาจากรูปทรงแบบ Rangefinder ทำให้ตัว Grip มีขนาดที่เล็กตามไปด้วยนั่นเองครับ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับคนที่มีอุ้งมือใหญ่ ที่เวลาจับถือ อาจจะนิ้วหลุดออกจาก Grip ได้นั่นเองครับ อีกทั้งเจ้า Sony A7C ไม่มี Joystick ให้ใช้งานในการควบคุมต่างๆด้วยนะ รวมไปถึงจำนวน Dial และ FN Button ที่น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัดครับ

Sony A7III ทำได้ดีกว่าในเรื่องการจับถือ และ การ Operate

ด้วยขนาดและการออกแบบทรง SLR ใน Sony A7III ทำให้ตำแหน่งต่างๆดูจะลงตัวกับหลักสรีระศาสตร์ มากกว่า Sony A7C ครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ขนาดของอุ้งมือของผู้ใช้แต่ละท่าน รวมถึงการจับถือเป็นสำคัญด้วยนะ

จอแสดงผลแบบ Vari-Angle ยืดหยุ่นในการใช้งาน

โดยปกติ จอแสดงผลของกล้องดิจิตอล ส่วนมากจะออกแบบในลักษณะแบบ Fix ติดกับ Body ตัวกล้อง หรือ ในลักษณะ Tilt ที่สามารถปรับองศา เพื่อรองรับการถ่ายมุมงัด มุมเสย ก็สะดวกในระดับหนึ่ง แต่ด้วยกระแสการถ่ายภาพในปัจจุบัน ที่เน้นทั้งภาพนิ่งและวิดิโอ โดยเฉพาะงาน video ที่จอแบบ Fix หรือ Tilt ดูจะไม่ตอบโจทย์การทำงานไปโดยปริยายครับ

เปรียบเทียบ Sony A7C vs Sony A7III

การมาของ Sony A7C ดูเหมือนว่าจะเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้กับชาวอารยธรรมอยู่ไม่น้อย เพราะ จอแสดงผลของ Sony A7C นั้น ถูกออกแบบในลักษณะ Vari-Angle หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ จอพับ จอหมุน นั่นเองครับ ซึ่งข้อดีของจอลักษณะแบบนี้ จะช่วยให้การทำงานที่เป็นลักษณะงาน Video มีความไหลลื่นยิ่งขึ้น เพราะ เราสามารถพลิกจอกลับมาเพื่อ Operate ต่างๆได้ด้วยตัวเราเอง หรือ จะเป็นการถ่าย VLOG ก็ลงตัวที่สุด รวมไปถึงการถ่ายเซลฟี่ ที่เราสามารถจัด Composition ได้ตามสะดวกสบายครับ

Sony Alpha a7C Mirrorless Digital Camera with 28-60mm Lens
sony a7c vari-angle

ตัดกลับมาที่ Sony A7III ที่แม้ว่าจะออกแบบมาในลักษณะ SLR แต่ตัวจอแสดงผลนั้น ยังคงเป็นแบบ Tilt ซึ่งตอบโจทย์การถ่ายภาพนิ่งเป็นหลัก ในลักษณะมุมกด มุมเสย แต่ไม่สามารถพลิกจอได้เหมือนกับ จอ Vari-Angle นั่นเองครับ เว้นเสียแต่ว่าจะมีเพื่อนมาช่วยกดถ่ายให้ หรือ ต่อจอแยกเพิ่มเติมอย่าง Atomos เป็นต้น

จอ Vari-Angle แต่ ความละเอียดเท่ากันนะ

แม้ว่า Sony A7C จะได้จอในลักษณะ Vari-Angle ที่ดูจะมีความยืดหยุ่นในการใช้งานกว่า Sony A7III แต่ถ้าอ้างอิงสเปคแล้ว จอของ Sony A7C และ Sony A7III ต่างมีความละเอียดที่ 921,000 dot เท่ากัน ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่า จะแสดงผลเรื่องความผิดเพี้ยนของสีมากน้อยแค่ไหน อย่างไรครับ

Sensor ขนาด Fullframe เพื่อรังสรรค์ผลงานคุณภาพสูง

Sensor รับภาพ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเก็บรวบรวม Data เพื่อนำมาประมวลผลผ่าน CPU เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลภาพตามที่เรา Setting ทั้งนี้ในปัจจุบัน กล้อง Mirrorless ในตลาดก็มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ ทั้ง Micro Fourthirds , APS-C รวมไปถึง Fullframe อย่าง Sony A7C ด้วยเช่นกัน

เปรียบเทียบ Sony A7C vs Sony A7III

ทั้งนี้ Sony A7C และ Sony A7III ต่างก็ใช้ Sensor ขนาด Fullframe เช่นกัน โดยมาพร้อมกับความละเอียดที่ 24 megapixels ซึ่งถือเป็นความละเอียดมาตรฐานในปัจจุบัน อันจะเห็นได้จากกล้อง Mirrorless Fullframe ในหลายๆรุ่นที่วางจำหน่าย ก็ใช้ Sensor ความละเอียดนี้เช่นกัน

Sony Alpha a7C Mirrorless Digital Camera Body Only
Sony A7C Sensor Fullframe

หากถามว่า ความละเอียดระดับนี้ เพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ ต้องตอบว่าเพียงพอต่การใช้งานครับ ด้วยความละเอียดระดับ 24 megapixels บน Sensor Fullframe หากเน้นการถ่ายท่องเที่ยว ถ่ายเก็บความทรงจำ ถือว่าสอบผ่าน อีกทั้งความละเอียดระดับนี้ ยังสามารถถ่ายมาเผื่อ Crop ภายหลังได้อย่างสบาย อีกทั้งการเป็น Sensor ทำให้สามารถเล่นกับ Effect หน้าชัด หลังเบลอ ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้ด้วยนะ

Sensor รุ่นเดียวกัน คุณภาพอาจจะต่างกันเพียงเล็กน้อย

ตามข้อมูลของ Sony A7C ต้องบอกว่า Sensor ภายในนั้น อ้างอิงมาจาก Sensor ของ Sony A7III นั่นเองครับ ซึ่งเชื่อว่าเพื่อนๆน่าจะทราบถึง Performance ของ Output ที่ได้จาก Sony A7III กันพอสมควรแล้ว ทั้งนี้ความแตกต่างในเนื้อไฟล์ อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยครับ

ระบบ Focus รวดเร็วฉับไว แม่นยำสูง

หากพูดถึง Sony เพื่อนๆหลายท่า น่าจะถึงเรื่องการ Focus ที่รวดเร็ว ฉับไว และติดตามได้อย่างแม่นยำสูง ทั้งนี้เป็นผลมาจากที่ Sony เลือกใช้ระบบ Focus แบบ Hybrid AF ที่เป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่าง PDAF และ CDAF เข้าด้วยกัน จึงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบโฟกัสได้ดีตามไปด้วยนั่นเองครับ

เปรียบเทียบ Sony A7C vs Sony A7III

ระบบ Hybrid AF ใน Sony A7C นั้น มีจุดโฟกัสกระจายอยู่รอบ Sensor จำนวน 693 จุดด้วยกัน ซึ่งเทียบเท่ากับ Sony A7III เลยทีเดียวครับ แน่นอนว่า ใครเคยใช้งาน Sony A7III น่าจะทราบถึงความรวดเร็วได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมี Eye AF ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่าย Portrait ได้อย่างเฉียบขาดมากครับ และ Animal AF ที่เอาใจเหล่าทาสแมว ที่ชื่นชอบการถ่ายแมวได้อย่างลงตัวครับ

ทั้งนี้ระบบ Focus ของ Sony A7C ในงาน Video จะสามารถใช้งาน Eye Tracking AF ได้เหมือนกับ Sony A7R4 และ Sony A7S III ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานของสายงาน Video ได้เป็นอย่างดี

ระบบ Focus ใน Sony A7C ทำได้ดีกว่าในงาน Video

เนื่องจากระบบ Focus ของ Sony A7C ในงาน Video จะสามารถใช้งาน Eye Tracking AF ได้เหมือนกับ Sony A7R4 และ Sony A7S III ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานของสายงาน Video ได้เป็นอย่างดี

ระบบกันสั่น 5 แกน เคลมสูงสุด 5 – 5.5 Stops

อีก 1 ฟีเจอร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับกล้อง Mirrorless ในปัจจุบันไปซะแล้วครับ สำหรับระบบกันสั่น 5 แกน หรือ 5 Axis ที่ถูกติดตั้งเป็นกลไกอยู่ภายใน Body เพื่อช่วยลดอาการสั่นไหวให้กับการถ่ายภาพนิ่ง และ/หรือ video ของเราได้เป็นอย่างดี โดย ระบบกันสั่น 5 แกนดังกล่าว จะสามารถลดอาการสั่นไหว ได้ตั้งแต่ 5 stops ไปจนถึง 7.5 stops เลยทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า เรานำเจ้า Sony A7C ติดเข้ากับเลนส์รุ่นไหนด้วยเช่นกันครับ

อนึ่ง ระบบกันสั่น 5 แกน ( 5 Axis ) นี้ จะส่งไปยังเลนส์ทุกรุ่นที่นำมาใช้งานบน กล้อง Sony A7C แม้ว่าเลนส์รุ่นนั้นจะไม่มีระบบกันสั่น หรือ เป็นเลนส์ Manual ก็จะได้รับอานิสงค์ของระบบกันสั่นดังกล่าวด้วยนั่นเองครับ

ซึ่งระบบกันสั่น 5 แกนนี้ ก็ติดตั้งให้ใช้งาน ทั้งใน Sony A7C และ Sony A7III ด้วยกัน อาจจะต่างกันในแง่ของประสิทธิภาพ ซึงทีมงานขอติดไว้เป็นการบ้านในภาค Full Review อีกครั้งนะ

งาน Video ตอบโจทย์ชาว VLOG

นอกเหนือจากงานภาพนิ่งแล้ว ทาง Sony ก็ใส่ใจงาน Video ไม่แพ้กันครับ ซึ่งใน Sony A7C น่าจะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน เริ่มจากจอแสดงผลที่ออกแบบในลักษณะ Vari-Angle ที่เพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งานกับ Video ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเดินถ่าย VLOG , ทำ Strem , Live หรือ ถ่ายงานแบบ 1 man operate ก็สะดวกสบายเช่นกัน

Sony A7C รองรับการถ่าย Video 4K ที่ความละเอียด 30p ในรูปแบบ 4:2:0 10-bit ด้วยเช่นกัน ซึ่ง Video 4K นี้ เป็นการ Oversampling จาก Video ความละเอียด 6K ลงมา ทำให้มีคุณภาพสูงกว่า Video 4K ทั่วๆไปครับ

ส่วน Video FHD ของ Sony A7C รองรับสูงสุดถึง 120p ด้วยกัน ซึ่งจะอยู่ใน Mode S&Q หรือ Slow and Quick นั่นเองครับ ทำให้เราสามารถประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการถ่าย Video แบบเร่ง Speed , Video Slowmotion หรือ Timelapse ก็ได้เช่นกัน

สำหรับใครที่ซีเรียสเรื่องคุณภาพไฟล์ Video ละก็ เจ้า Sony A7C ก็มาพร้อมกับ s-log2 , s-log3 รวมไปถึง Video HLG ที่เหมาะสำหรับนำไป Process ต่อในโปรแกรมเฉพาะทางได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ภาพรวม Feature Video ของ Sony A7C นั้น มีความใกล้เคียงกันกับ Sony A7III เลยครับ แต่ Sony A7C จะมีภาษีดีกว่าในเรื่องจอแบบ Vari-Angle รวมไปถึง ระบบ Focus ที่รองรับ Eye AF ในงาน Video เฉกเช่นเดียวกันกับ Sony A7R IV และ Sony A7S III

รวมไปถึง Port เชื่อมต่อต่างๆ ที่ Sony A7C ได้มีการจัด layout เพื่อที่เวลาใช้งาน Video สายต่างๆ รวมไปถึงจอ LCD จะไม่พาดตรงสายพอดีนั่นเองครับ

แบตเตอรี่ NP-FZ100 อึด ถึก ทน

แบตเตอรี่ ถือเป็นอีก 1 เรื่อง ที่ผู้ใช้งานกล้อง Mirrorless ต้องถามถึงแทบจะทุกรุ่นเลยครับ เนื่องจากตัวกล้อง Mirrorless นั้น มีขนาดที่เล็กกว่า DSLR อยู่พอสมสควร อีกทั้งตัว Senosr มีการทำงานอยู่ตลอดเวลาทุกครั้งที่เปิดเครื่องอยู่ ทำให้จะมีการใช้ปริมาณแบตเตอรี่ที่ค่อนข้างสูงกว่า DSLR นั่นเอง

ทั้งใน Sony A7C จะมาพร้อมกับ แบตเตอรี่รุ่น NP-FZ100 ซึ่งเป็นแบตเตอรี่รุ่นเดียวกัน Sony A7III นั่นเอง มีประจุไฟอยู่ที่ 2,200 mAh ด้วยกัน ซึ่งเมื่อชาร์จไฟเต็ม สามารถถ่ายได้ต่อเนื่องสูงสุดที่ 700 เฟรมกันเลยทีเดียวครับ ซึ่งอาจจะสามารถถ่ายได้มากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อาทิเช่น ลักษณะการใช้งาน , การถ่าย Video หรือ การเปิดดูรูป เป็นต้น

battery sony a7c
Battery NP-FZ100

นอกจากนี้ Sony A7C ยังรองรับการชาร์จไฟตรงผ่าน USB ได้ด้วยเช่นกันครับ โดยมีข้อมูลจากทางต่างประเทศ ว่า Sony A7C เมื่อเปิดใช้งานไปพร้อมๆกับการชาร์จไฟไปด้วย ถ้านำไปถ่าย Video จะสามารถถ่ายได้นานถึง 6 ชม. ด้วยกัน

ข้อสังเกต Sony A7C ที่ต่างจาก Sony A7III

อย่างที่ผู้เขียนได้เกริ่นไปข้างต้น ว่า Sony A7C นั้น ไม่ได้ออกมาเพื่อทดแทน Sony A7III ที่ทำตลาดอยู่ ณ ตอนนี้ แต่อย่างใด โดยมีการแบ่ง Position กันอย่างชัดเจน ถ้าเน้นภาพนิ่งไปที่ Sony A7III ส่วนถ้าเน้นงาน Video ให้มาที่ Sony A7C แทนนั่นเองครับ

ทั้งนี้ แม้ภาพรวม ฟีเจอร์และสเปค Sony A7C จะมีความใกล้เคียงกันกับ Sony A7III อยู่ไม่น้อย แต่มีเพียงบางฟีเจอร์ที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนเลยทีเดียวครับ ซึ่งไปดูกันว่า มีอะไรบ้างที่หายไปใน Sony A7C ครับ

Sony A7C ไม่มี E-Front Curtain

ใน Sony A7C มีให้เลือกใช้งาน ชัตเตอร์กลไก ( Mechanic Shutter ) และ ชัตเตอร์ไฟ้า ( E-Shutter ) แต่มีสิ่งหนึ่งที่ถูกตัดออกไป นั่นคือ E-Front Curtain Shutter ซึ่งการไม่มีเจ้าม่านตัวนี้ จะทำให้ยามที่เรากดชัตเตอร์ ม่านชัตเตอร์จะมีแรงกระแทกเวลาปิดตัวลงมา ทำให้ภาพของเราอาจได้รับแรงสั่นสะเทือนในส่วนนี้ ซึ่งจะไหวมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระบบการจัดการภายในด้วยเช่นกันครับ

ทั้งนี้ การไม่มี E-Front Curtain Shutter ของ Sony A7C จะส่งผลต่อการถ่ายภาพนิ่งมากน้อยเพียงใดนั้น ขอเก็บไว้เป็นการบ้านในภาค รีวิว Sony A7C นะครับ

Shutter Speed ใน Sony A7C ทำได้สูงสุดเพียง 1/4000

เป็นอีกสิ่งที่ผู้เขียนรู้สึกประหลาดใจอยู่ไม่น้อย เพราะ ปกติ กล้อง Mirrorless Fullframe ของ Sony มักจะมาพร้อม Shutter Speed ที่ 1/8000 sec. เป็นพื้นฐานกัน แต่สำหรับ Sony A7C นั้น กลับทำค่า Shutter Speed ได้เพียง 1/4000 sec. เท่านั้นครับ ซึ่งเหตุผลหลักๆ น่าจะมาจากที่ Sony A7C เน้นหนักไปทางงาน Video ซะส่วนใหญ่ครับ

ทั้งนี้ ถ้าเราถ่ายภาพนิ่งพร้อมกับเลนส์ F กว้าง ในสภาพแสงกลางวัน Shutter 1/4000 sec. อาจจะไม่เพียงพอก็เป็นได้ครับ ซึ่งอาจจะแก้ด้วยการหรี่ค่า F ให้แคบลง หรือ เลือกใช้ ND Filter เพื่อลดความสว่างภายในเฟรมภาพของเราก็ได้เช่นกัน

ช่องมองภาพของ Sony A7C เล็กและกำลังขยายต่ำ

แม้ Sony A7C จะมีจุดเด่นในแง่ของการออกแบบ ที่ซึ่งเป็น Mirrorless Fullframe Rangefinder รุ่นแรกในตลาดกล้อง Mirrorless ด้วยกัน แต่ด้วยข้อจำกัดของขนาด Body ทำให้ฟีเจอร์หลายๆอย่างถูกลดทอนลงไป 1 ในนั้น คือ ช่องมองภาพ

ช่องมองภาพ ของ Sony A7C นั้น ถูกย้ายตำแหน่งมาอยู่บริเวณด้านซ้ายของ Body ซึ่งแตกต่างจาก Sony A7III ที่อยู่ตรงกลางนั่นเอง โดยเป็น EVF แบบ OLED ความละเอียด 2,359,296 จุด ซึ่งเป็นความละเอียดเทียบเท่ากับ EVF ของ Sony A7III เลยครับ

แม้ช่องมองภาพของ Sony A7C จะมีความละเอียดเท่ากันกับ Sony A7III แต่กลับมาขนาดที่เล็กกว่า รวมถึงกำลังขยายเพียง 0.59 ซึ่งเทียบเท่ากับ EVF ของ กล้องใน RX100 Series เลยทีเดียวครับ ซึ่งอาจจะสร้างความกังวลให้กับช่างภาพสายภาพนิ่งอยู่บ้าง แต่สำหรับสาย Video อาจจะมองข้ามไป เพราะ เน้นการ Monitor ผ่านจอ LCD เป็นหลักนั่นเอง

Sony A7C ตอบโจทย์ใครที่สุด ?

การมาของ Sony A7C นั้น ต้องบอกท่านผู้อ่านก่อนนะ ว่า ไม่ได้มาเพื่อทดแทน Sony A7III ที่ทำตลาดอยู่ ณ ขณะนี้ แต่เป็นการทำตลาดควบคู่กันไป โดยหากต้องการเน้นงานภาพนิ่งเป็นหลัก ทาง Sony A7III จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุดครับ ในขณะที่ Sony A7C จะเน้นหนักไปทางงาน Video และ VLOG ซะส่วนใหญ่นั่นเอง

ซึ่งถ้าเราพิจารณาจาก ฟีเจอร์ต่างๆที่อยู่ใน Sony A7C จะเห็นได้ชัดว่า เป็นกล้อง Mirrorless Fullframe ที่ออกมาตอบโจทย์งาน Video และ VLOG ได้อย่างลงตัว ด้วยขนาดที่ Compact น้ำหนักเพียง 5 ขีด พร้อมระบบกันสั่น 5 แกน อีกทั้งมีความคล่องตัวสูง ที่สามารถ 1 hand operate ได้อย่างสบายครับ รวมไปถึงการได้จอพับแบบ Vari-Angle ที่เข้ามาเติมเต็มการใช้งานให้กับ Video และ VLOG หรือ เซลฟี่ ได้ด้วยนั่นเอง

Sony A7C vs Sony A7III คู่นี้ เลือกใครดี

เชื่อว่าเป็นคำถามลำดับแรกๆ หลังจากที่เจ้า Sony A7C ได้เปิดตัวออกมาอย่างเป็นทางการ อีกทั้งฟีเจอร์และสเปคภายใน เสมือนเป็นการ import มาจาก Sony A7III เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น Sensor , ชิพประมวลผล หรือ ฟีเจอร์ด้านการถ่ายภาพ ที่ถอดแบบมาเกือบจะทั้งหมดเลยทีเดียวครับ

ถ้าถาม ระหว่าง Sony A7C vs Sony A7III เลือกใครดี ณ ตอนที่ผู้เขียนทำ Content นี้อยู่นั้น เชื่อว่าน่าจะเป็นคำถามที่ Hot ที่สุดก็ว่าได้ครับ อันดับแรกต้องลองถามตัวเองก่อนว่า เราจะซื้อ Sony A7C หรือ Sony A7III เพื่ออะไร มีจุดประสงค์อะไร ใช้งานในลักษณะใดเป็นหลัก

เน้นงานภาพนิ่งเป็นงานหลัก

ถ้าเพื่อนๆเน้นงานภาพนิ่งเป็นหลัก คำตอบจะลงเอยที่ Sony A7III ครับ สาเหตุเพราะ ฟีเจอร์และสเปค Sony A7III ภาพรวมตอบสนองการทำงานภาพนิ่งได้อย่างลงตัว นับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัววางจำหน่ายมาจนถึง ณ ตอนนี้ เชื่อว่าเพื่อนๆน่าจะเคยเห็นผลงานที่ได้จาก Sony A7III ว่ามีศักยภาพมากน้อยเพียงใดนั่นเองครับ

เน้นงาน Video เป็นงานหลัก

ย้ำว่าเน้นการถ่าย Video เป็นหลัก คำตอบจะเบนมาที่ Sony A7C โดยพลัน เนื่องจากว่า จอ LCD มีการออกแบบในลักษณะ Vari-Angle ที่สามารถฟลิบจอมาด้านหน้าได้ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการถ่าย Video ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการถ่าย Clip สั้นๆ , ถ่าย VLOG , ทำกล้อง Live รวมไปถึง one man operate ที่ต้องถ่าย Video เพียงลำพังก็สะดวกไม่แพ้กัน

ถ้า Sony A7C vs Sony A6600 ?

แม้ Sony A7C จะเป็นกล้อง Mirrorless Fullframe แต่ด้วยดีไซน์ที่มีความ Compact ขึ้น น้ำหนักที่เบาลง อีกทั้งมีรูปทรงเป็น Rangefinder ที่คล้ายคลึงกับ Sony A6000 Series ที่ซึ่งเป็นกล้อง Mirrorless APS-C ด้วยนั่นเองครับ

แม้หน้าตาของ Sony A7C และ Sony A6600 จะเป็นทรง Rangefinder เหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ ขนาด Sensor ครับ เพราะ Sony A7C นั้น มาพร้อม Sensor ขนาด Fullframe ความละเอียด 24 megapixels ซึ่งเป็น Sensor เดียวกันกับ Sony A7III ซึ่งก็การันตีคุณภาพได้ในระดับหนึ่งละครับ ในขณะที่ Sony A6600 ใช้ Sensor ขนาด APS-C เท่านั้นครับ แน่นอนว่าเรื่องคุณภาพ ทั้ง Noise , Dynamic Range นั้น อาจจะไม่ทัดเทียมได้อย่างแน่นอน

แต่ สิ่งที่ Sony A7C ไม่สามารถทำได้เหมือน Sony A6600 นั้น คือ ระบบเลนส์ E-Mount ที่เป็น APS-C นั่นเองครับ เพราะ เมื่อขึ้นชื่อว่า Fullframe ไม่อาจจะหลีกหนีความใหญ่ของ Body ได้แล้ว เลนส์ก็มีขนาดใหญ่ตามขนาดของ Sensor ด้วยเช่นกัน ทำให้เพื่อนๆที่ชื่นชอบกล้องที่มีความเล็ก กะทัดรัด พกพาสะดวก คล่องตัวสูง ดูเหมือนว่า Sony A6600 จะได้เปรียบเรื่องนี้ไปเต็มๆครับ

ถ้าจำเป็นต้องเลือก ระหว่าง Sony A7C vs Sony A6600 ถ้าเพื่อนๆเน้นหนักไปทางด้าน Performance ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง , video รวมไปถึงการนำไฟล์ที่มีความยืดหยุ่นสูงไป Process ต่อละก็ ผู้เขียนแนะนำเป็น Sony A7C ได้เลยครับ แม้จะเป็น กล้อง Mirrorless Fullframe แต่เลนส์บางรุ่นก็มีความ Compact อยู่ในระดับที่รับได้อยู่เช่นกันครับ

ราคา Sony A7C

สำหรับ Sony A7C นั้น นอกเหนือจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วนั้น ทาง Sonythai ก็ได้มีการเปิดราคาวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการเรียบร้อยละครับ ซึ่งมีรายละเอียดตามนี้ครับ

ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของทางร้านได้ตลอด 24 ชม. หรือ โทรเข้ามาโดยตรงผ่านโทรศัพท์

แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือ หน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
083-067-7677 / 02-098-9555 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

วิธีการสั่งซื้อ

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save