ชัดยันดาวพลูโต : Tip มือใหม่ ถ่ายภาพยังไง ให้คมชัด ( ภาคจบ ) Leave a comment

ต่อจากครั้งที่แล้วที่เกริ่นไว้ในส่วนของ ” ภาพเบลอ ภาพไม่ชัด ภาพไม่คม ภาพสั่นไหว ” ในบทนี้จะมาต่อกันในส่วนของทริคที่ทำให้ภาพที่เราถ่ายออกนั้น มีความคมชัด สวยงาม นำไปใช้งานได้ไม่ต้องกลัวใคร วันนี้ทาง Zoomcamera ขอนำเสนอบทความ ” ชัดยันดาวพลูโต : Tip มือใหม่ ถ่ายภาพยังไง ให้คมชัด ( ภาคจบ )  ว่าแล้วเราลองไปดูพร้อมๆกันดีกว่าครับ

เทคนิคการถ่ายภาพที่ทำให้ภาพคมชัด

ในบทแรก ทาง Zoomcamera ได้กล่าวในส่วนของปัญหาที่บรรดาตากล้องมือใหม่ต่างประสบพบเจอกัน ตั้งแต่ ภาพสั่นไหว ภาพเบลอ ภาพไม่ชัด รวมไปถึง อาการทางกายภาพส่วนบุคคลอย่าง มือสั่น มือไม่นิ่ง เป็นต้น ซึ่งในบทนี้จะเป็นเคล็ดลับปูทางไปสู่การถ่ายภาพให้ออกมาคมชัด จะเป็นอะไรบ้างนั้น ติดตามกันได้เลยครับ 

– ใช้ Mode Focus ให้เหมาะสมกับลักษณะของการถ่ายภาพ

สำหรับ Mode Focus ในกล้องเรานั้น หลักๆจะมี

AF-S  :  ระบบ Focus แบบจุดเดียว ทั้งนี้จำนวนจุด Focus บนหน้าจอที่เราสามารถเลือกได้นั้น ขึ้นอยู่รุ่นกล้องนั้นๆด้วยครับ อาทิเช่น 9 จุด 21 จุด 42 จุด 84 จุด เป็นต้น

AF-C  :  ระบบ Focus แบบจุดต่อเนื่อง จะต่างกับ AF-S โดยตัวกล้องจะพยายาม Re Focus อยู่ตลอด ตามตำแหน่งของ Subject ที่อยู่ในกรอบ Focus ที่เราเลือกไว้

AF-Tracking  :  ระบบ Focus แบบจุดต่อเนื่อง จะต่างกับ AF-S / AF-C โดยตัวกรอบ Focus จะติดตาม Subject ที่เราเลือกไว้ จนกว่าตัว Subject จะพ้นจากรัศมีการทำงาน หรือ พ้นเฟรมของตัวกล้อง นั่นเอง

AF-S + MF  :  ยังคงเหมือนระบบ Focus แบบจุดเดียว แต่จะเพิ่มเติมในส่วนของการโฟกัสแบบ Manual หรือ การหมุนหา Focus เองควบคู่กันไป เหมาะสำหรับบางสถานการณ์ที่ระบบ Auto Focus ไม่สามารถ Focus Subject ได้ อาทิเช่น สภาวะแสงน้อย เป็นต้น การมี Manual จึงมีอุดจุดอ่อนส่วนนี้ในตัว

MF  :  MF หรือ Manual Focus หรือ ศัพท์ง่ายๆ คือ การหมุนหาโฟกัสด้วยตัวเอง โดยใช้การหมุนวงแหวน Focus ที่ตัวเลนส์ ในการหาจุด Focus ด้วยตนเอง เหมาะสำหรับการที่ Focus จุดเล็กๆ หรือ สภาวะที่ Auto Focus ไม่สามารถจับ Subject ได้นั่นเอง

Face Detection  :  หรือ ระบบการตรวจจับใบหน้า เป็นระบบ Focus ที่ตัวกล้องจะทำการค้นหาใบหน้าให้เราเองโดยอัติโนมัติ ทั้งนี้ใน Mode นี้ เราสามารถใช้ AF-S ควบคู่กันไปได้ เพราะ บางครั้งระบบ Focus ไปตรวจใบหน้าของบุคคลอื่นที่เราไม่ต้องการถ่ายนั่นเอง

เมื่อเพื่อนๆทราบแล้วว่า Mode Focus ไหน มีหลักการทำงานอย่างไร เพียงเท่านี้เพื่อนๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพในสไตล์ของเพื่อนๆได้แล้วครับ

– ตรวจสอบหน้าเลนส์กันก่อนนะ

เคยสงสัยบ้างมั้ย ว่า ทำไมบางครั้งภาพที่เราถ่ายนั้น ไม่คมชัด มีอาการฟุ้งๆ เบลอๆ เป็นปื้นๆในภาพ สาเหตุหลักๆอีกข้อ คือ หน้าเลนส์ของเรานั้นมีสิ่งผิดปกติเกาะอยู่บริเวณหน้าผิวเลนส์ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่นละออง , คราบมัน , รอยนิ้วมือ หรือฝ้าจากอุณหภูมิที่แตกต่าง

ที่หนักเอาการกว่านี้ คงหนีไม่พ้นการเกิดราภายในชิ้นเลนส์ ซึ่งผลกระทบหลักๆจะปรากฏในภาพที่เราถ่ายนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม  >>> Tips การทำความสะอาดกล้องและดูแลรักษากล้อง ด้วยตัวคุณเอง

– เช็ค Speed Shutter ก่อนถ่าย

สำหรับใครที่ตั้งค่าโหมดกล้องให้ชัตเตอร์สปีดเป็นแบบอัตโนมัติแล้วล่ะก็ ต้องคอยระวังในจุดนี้กันเอาไว้หน่อย หากเป็นแสงช่วงกลางวันก็ยังไม่ถือว่าอันตราย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่แสงน้อยอย่างในช่วงเช้าและค่ำ อาจจะต้องสังเกตให้ดี เพราะยิ่งค่าสปีดชัตเตอร์ต่ำ โอกาสภาพเบลอจะสูงตามมา ดังนั้นสามารถแก้ไขโดยการเข้าไปเพิ่มค่า ISO ให้สูงขึ้น

– ควบคุมค่า ISO ให้เหมาะสม

iso หรือ ค่าความไวแสงนั้น เป็นอีกค่าที่ช่วยเราในการถ่ายภาพ โดยค่านี้จะเปรียบเสมือนสัญญาณที่ช่วยเร่งความสว่างให้กับภาพที่เราถ่าย แต่ในทางกลับกัน iso ก็มีผลเสียเช่นกัน เมื่อใช้ค่า iso สูงๆ จะทำให้ในภาพมีสัญญาณรบกวน หรือ Noise ในภาพ ทำให้ภาพที่เราถ่ายออกมานั้น ขาดความเคลียร์ บางครั้งอาจสูญเสียรายละเอียดในภาพไปได้

อ่านเพิ่มเติม  >>>  ค่าความไวแสง : มารู้จักกับ ISO ในกล้องกันเถอะ

อ่านเพิ่มเติม  >>>  Noise : มารู้จักกับศัตรูตัวฉกาจของช่างภาพทุกแขนง

– O.I.S  ของดี ที่ช่วยเราในยามคับขัน

O.I.S หรือ Optical Image Stabilizer ชื่อนี้อาจจะฟังเป็นทางการไปซะหน่อย แต่ถ้าเป็นศัพท์ง่ายๆทั่วๆไปจะเรียกว่า ระบบกันสั่นสะเทือน นั่นเองครับ ซึ่ง เจ้า O.I.S นั้นเสมือนเป็นเครื่องทุ่นแรงเราก็ว่าได้ เพราะ เจ้าระบบกันสั่นสามารถช่วยเราเรื่องการถือถ่ายภาพโดยใช้ Speed ต่ำกว่าปกติได้ ตั้งแต่ 2 stops จนถึง 6.5 stops ( ณ ปัจจุบัน ใน OMD E-M1 mk2 ) กันเลยทีเดียว ซึ่ง เจ้า O.I.S นั้นจะอยู่ในตัวเลนส์เป็นหลัก ส่วนระบบกันสั่นในตัวกล้องนั้น จะใช้คำว่า IBIS ( In Body Image Stabilizer ) นั่นเองครับ

และในปัจจุบัน นอกเหนือจาก O.I.S และ IBIS แล้ว ยังมี Dual IS. หรือ ระบบกันสั่นแบบคู่ ผลงานนวัตกรรมจากค่าย Panasonic และ Olympus ที่ประยุกต์เอาความสามารถจาก O.I.S บนเลนส์ มาทำงานควบคู่กับ IBIS ไปพร้อมๆกันนั่นเองครับ

– Tripod อุปกรณ์คู่ชีพของตากล้องทุกสาย

เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญสำหรับการถ่ายภาพที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยให้การใช้งานกล้องทำได้ง่ายและลดข้อจำกัดลง โดยเฉพาะการถ่ายที่ต้องใช้ค่าสปีดชัตเตอร์ต่ำ หากถือด้วยมืออาจจะส่งผลให้เกิดภาพเบลอตามมาได้ ดังนั้นหากใครตัดสินใจเลือกขาตั้งกล้องเป็นผู้ช่วย ควรคำนึงถึงองค์ประกอบเหล่านี้ก่อนเลือกซื้อเพื่อความคุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม  >>> รีวิว Sirui 3T-35 Table Top Tripod

อ่านเพิ่มเติม  >>> รีวิว Fotopro S3 Lite

*** กล่าวส่งท้าย *** 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับบทความ ” ชัดยันดาวพลูโต : Tip มือใหม่ ถ่ายภาพยังไง ให้คมชัด ( ภาคจบ ) “ ปัญหาโลกแตกของมือใหม่ จะถูกคลี่คลาย ทั้งนี้เราจะต้องเริ่มสำรวจที่ตัวเราก่อน จากนั้นค่อยๆปรับทีละจุด ค่อยๆประยุกต์ ที่สำคัญหมั่นพากล้องออกไปถ่ายบ่อยๆ ซึ่งท้ายนี้ Admin ก็หวังว่าบทความ ” ชัดยันดาวพลูโต : Tip มือใหม่ ถ่ายภาพยังไง ให้คมชัด ( ภาคจบ )  จะเป็นเริ่มต้นอย่างดีสำหรับตากล้องมือเก่าและมือใหม่ ที่จะเป็นคู่มือและตัวช่วยอย่างดีให้กับเพื่อนๆ ใครอยากได้ภาพที่คมชัดก็อย่าลืมสังเกตการปรับตั้งค่ากล้องตัวเองให้ดี เมื่อสามารถเข้าใจถึงหลักการแล้ว เราก็จะสามารถจับภาพสวยๆ สมใจได้อย่างสวยงามแน่นอน

inbox : http://www.facebook.com/messages/zoomcamera

02-635-2330 ต่อ 0 / 083-067-7677 (หยุดวันอาทิตย์)

สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772

สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123

สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919

สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498

สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775

สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896  

Credit  :  

5 Axis

Sync IS

Dual IS

Pinterest

Lens Fungus

DIY Cleaning

BH Photo

Reddot

Olympus

Robinwong

Speedshutter

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 18/01/2017

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save