รีวิว Sirui Anamorphic ฝันที่ไม่เกินเอื้อมของ Filmmaker Leave a comment

เลนส์ Anamorphic ถือเป็นความฝันที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับ Filmmaker ส่วนใหญ่ จริง ๆ ก็ไม่ใช่แค่เฉพาะ Filmmaker มันแทบจะไกลเกินไปสำหรับคนส่วนใหญ่ในโลกนี้เลยล่ะเพราะราคาเลนส์ Anamorphic ตัวหนึ่งก็ว่ากันเป็นหลักแสนบาท ล้านบาท มันจึงเป็นของที่มีได้เฉพาะระดับ Production House หรือ Rental House ใหญ่ ๆ เท่านั้น

เลนส์ Anamorphic คืออะไร

อธิบายแบบง่ายที่สุดคือเลนส์ Anamorphic เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาพิเศษให้บีบภาพกว้าง ๆ เข้ามาอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เพื่อให้เราได้มุมรับภาพที่กว้างขึ้นกว่าเดิมแต่บีบทั้งหมดลงมาอยู่บนพื้นที่ฟิล์ม 35mm ได้ ซึ่งการบีบภาพนั้นก็จะส่งผลให้ภาพที่เราได้จากหลังเลนส์ Anamorphic จะมีลักษณะผอมลีบ ตัวคนจะดูแบนเหมือนถูกบีบจากด้านข้างเหมือนเรากำลังดูหนังแบบผิดอัตราส่วนอยู่อะไรแบบนั้น

โดยปกติการจะนำภาพจากเลนส์ Anamorphic ไปใช้ต่อจะต้องทำการยืดภาพหรือเราเรียกขั้นตอนนี้ว่า De-Squeeze ที่จะทำให้คนตัวผอมลีบในภาพกลับมามีอัตราส่วนเหมือนมนุษย์ปกติ

สำหรับในยุคดิจิตอลแบบทุกวันนี้เราทำการ De-Squeeze ได้โดยการใช้โปรแกรมแต่ในสมัยฟิล์มการ De-Squeeze จะทำที่โปรเจคเตอร์ฉายหนังซึ่งจะมีเลนส์ Anamorphic อีกตัวที่ทำหน้าที่กลับกันในการยืดภาพออกแทน

นี่คือ Anamorphic ในแบบง่าย ๆ แต่ถ้าอยากรู้อะไรลึกมากกว่านั้นก็อ่านต่อทีหัวข้อถัดไปเลยครับ(Part 1) แต่ถ้ารู้สึกว่าแค่นี้พอแล้วผมแนะนำให้ข้ามไปเพราะจะยาวมาก

ทำไมต้องใช้เลนส์ Anamorphic

การแพร่หลายของ Anamorphic เริ่มมาจากกลุ่มคนทำหนังและเราจะต้องย้อนอดีตไกลสักหน่อย ไปตั้งแต่ยุคฟิล์มช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 กันเลย ในตอนนั้นมาตราฐานของอัตราส่วนภาพที่ใช้กันแพร่หลายคือ 4:3 (หรือ 1.33 ถ้าใครถนัดเรียกอีกแบบหนึ่ง) หากเราไปดูหนังโรงในยุคนั้นก็ถ่ายกันเป็น 4:3 รวมถึงทีวีตามบ้านในสมัยนั้นก็เป็น 4:3 เช่นกัน ทีนี้พอการเวลาผ่านไปหลายสิบปีผู้คนในวงการหนังก็อยากที่จะสร้างความแตกต่าง ให้ประสบการณ์ในโรงหนังมันดีกว่าการดูทีวีอยู่บ้านเพราะในยุคนั้นเป็นช่วงที่ทีวีกำลังมาแรงมากพวกเขาต้องหาทางดึงคนออกมาจ่ายตังดูหนังโรงให้ได้มากที่สุด จึงเริ่มมีการสร้างอัตราส่วนภาพแบบ Widescreen ขึ้นมา ซึ่งนอกจากจะสร้างความแตกต่างจากอัตราส่วนแบบทีวีแล้วยังรวมถึงความเสมือนจริงด้วยเพราะการมองของตามนุษย์เราไม่ได้เห็นเป็นสี่เหลี่ยมเกือบด้านเท่าแบบ 4:3 แต่จะเป็นภาพกว้าง ๆ แนวนอนยาว และจากตรงนี้เองการต่อสู้กันของค่าย Production ต่าง ๆ เพื่อเป็นผู้นำในยุค Widescreen จึงเริ่มขึ้นในช่วงปี 1950s

ทีนี้การจะทำภาพ Widescreen มันก็มีปัญหาเพราะฟิล์ม 35mm ในตอนนั้นมันเป็นสี่เหลี่ยม 4:3 แล้วเราจะทำให้เป็น Widescreen ด้วยวิธีไหนดี? คำตอบนั้นก็ไม่ยาก…ค่าย Paramount (ใช่ครับ ค่ายทำหนัง Paramount ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันนี่แหละ)ได้นำเสนอหนังที่ฉายลงบนจอ Flat Widescreen เป็นเจ้าแรกกับเรื่อง Shane(1953) ที่มาพร้อมวิธีแก้ปัญหาด้วยการ “ตัดฟิล์ม” ง่ายดีใช่ไหมครับ อยากได้ภาพยาว ๆ Widescreen ก็เอาฟิล์ม 4:3 เดิมนี่แหละตัดบนตัดล่างออกซะก็เรียบร้อย อารมณ์เหมือนที่ทุกวันนี้เราถ่ายวิดีโอ 16:9 มาแล้วเอามาใส่ Letterbox ดำ ๆ คาดบน-ล่างให้มันดู Cinematic ซึ่งแน่นอนข้อเสียของวิธีนี้คือ “เปลือง” เพราะมันต้องมีบางส่วนของฟิล์มที่ถูกตัดหายไปเฉย ๆ

ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน(ผมไม่แน่ใจว่าอันไหนเกิดขึ้นก่อน)ก็มีการใช้วิธีที่แตกต่างออกไปอย่าง Cinerama ที่เป็นการใช้ฟิล์ม 35mm ปกตินี่แหละแต่ใช้กล้อง 3 ตัวถ่ายทำเพื่อให้มุมมองภาพมันกว้างขึ้น แต่เวลาฉายก็ต้องใช้เครื่องฉาย 3 ตัวด้วยเช่นกัน ฉายลงบนจอโค้งเว้าขนาดใหญ่ยักษ์ ซึ่งเราคงพอเดากันได้ว่ามันจะยุ่งยากทั้งในการถ่าย การฉาย และค่าใช้จ่ายขนาดไหน

แต่ละค่ายก็พยายามทำหนังด้วยเทคนิคสร้างภาพ Widescreen ของตัวเองซึ่งพอถึงจุดหนึ่ง 20th Century Fox ก็ได้จุดกระแสของการใช้เลนส์ Anamorphic ด้วยระบบที่พวกเขาเรียกว่า CinemaScope และมันกลายเป็นคำตอบที่ใช่สำหรับคนทำหนังเพราะสามารถเก็บภาพยาวมาก ๆ ในแนวนอนมาบีบลงบนพื้นที่ของฟิล์ม 4:3 ได้ จึงมีการนำเทคนิคการทำภาพแบบ CinemaScope ไปใช้กันมากมายซึ่งแน่นอนว่าทุกคนที่จะใช้ต้องจ่ายเงินให้กับ 20th Century Fox ด้วยในฐานะผู้คิดค้นและถือครองสิทธินี้ และมันนิยมถึงขนาดว่าเรายังคงได้ยินคำว่า CinemaScope ติดหูและใช้กันติดปากมาจนถึงทุกวันนี้ เพียงแต่เราอาจจะได้ยินเขาพูดกันย่อ ๆ ว่า “สโคป” แทนซึ่งทุกวันนี้มักจะสื่อถึงอัตราส่วนภาพแบบ Widescreen สุด ๆ เช่น 2.35:1, 2.39:1, 2.40:1 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอัตราส่วนที่เห็นกันบ่อย ๆ ในการฉายหนังโรงปัจจุบันนี้

ในตอนที่ 20th Century Fox สร้าง CinemaScope แนวคิดของ Anamorphic นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด มันมีมานานตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เพียงแต่ในยุคเริ่มต้นมันก็ยังเป็นการลองผิดลองถูก นักวิทยาศาสตร์คนนั้นคนนี้ก็หยิบมาลอง พยายามปรับวิธีการใช้งานว่าจะทำให้มันเวิร์คได้อย่างไรจนมาถึง Henri Chrétien นักประดิษฐ์และนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่นำแนวคิดของ Anamorphic มาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยนำมันไปติดในรถถังเพื่อให้สามารถมองภาพได้กว้างขึ้นลดการเจาะรูมองบนตัวถังก่อนที่ภายหลังเขาจะนำเสนอไอเดียของมันอีกครั้งในปี 1928 ด้วยการทำเลนส์ถ่ายภาพที่จะบีบภาพกว้าง ๆ ลงไปบนฟิล์มได้ แต่ในยุคนั้น Anamorphic ก็ยังไม่ได้รับความนิยม จนกระทั่ง 20th Century Fox ได้สร้าง CinemaScope ขึ้นมาในปี 1952

เอกลักษณ์ของเลนส์ Anamorphic

น่าจะพอเห็นภาพกันแล้วว่าสาเหตุที่เราใช้เลนส์ Anamorphic ก็เพราะเราอยากได้ภาพอัตราส่วนยาวแบบ Widescreen แต่ฟิล์มที่มีมันดันเป็นสี่เหลี่ยม 4:3 เราจึงใช้ Anamorphic เพื่อให้มันบีบภาพยาว ๆ มาอยู่บนพื้นที่ของฟิล์มได้ นั่นคือประโยชน์ของเลนส์ Anamorphic ในยุคของฟิล์มแต่ทุกวันนี้เราถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลกันแล้ว ถ้าเราอยากได้ภาพ Widescreen โดยไม่ต้องไม่ต้องใส่ขอบดำเราทำเซนเซอร์เป็นแนวยาวเลยก็ยังได้แต่เลนส์ Anamorphic ก็ยังคงเป็นหนึ่งในความฝันของ Filmmaker แทบทุกคนอยู่ดี นั่นก็เพราะมันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่พิเศษมาก ๆ

  1. ภาพที่ถูกบีบโดยเลนส์ Anamorphic

2. แฟร์เส้นสีฟ้าที่ดู Sci-fi

3.โบเก้รูปกลมวงรี

Sirui Anamorphic 24mm / 35mm / 50mm

ข้อเสียของเลนส์ Anamorphic

ผมใช้หัวข้อว่าข้อเสียของเลนส์ Anamorphic เพราะว่าจุดด้อยของ Sirui Anamorphic ที่ผมจะพูดในส่วนนี้จะมีหลายข้อที่ทุกคนต้องรู้ว่านี่เป็นข้อเสียของเลนส์ Anamorphic แทบทุกตัว ไม่ใช่แค่กับ Sirui ตัวนี้เท่านั้น

  1. ระยะโฟกัสใกล้สุดจะไม่ดี

2. ความคมและ Distortion ไม่ได้ดีนัก

3. แมนนวลโฟกัสยากกว่าเลนส์ปกติ

4. 1.33x มันไม่คงที่

Leave a Reply

โค้ดลดสูงสุด

3,000

Happy Code Day 26-28 MAR

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save