Tips : เทคนิคการถ่ายภาพน้ำตก ให้พริ้วไหวดั่งใจหวัง Leave a comment

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติดตาม Content ของ Zoomcamera จากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Line และหรือ Youtube ครับ สำหรับช่วงเวลาที่ทีมงาน Zoomcamera ทำ Content ชิ้นนี้อยู่นั้น ก็เป็นช่วงรอยต่อระหว่าง ฤดูร้อน และ ฤดูฝน แน่นอนว่า ในฤดูฝนนั้น ก็เป็นอีกฤดูหนึ่ง ที่เราสามารถออกไปเก็บภาพในมุมมองที่แตกต่างออกไปจากฤดูกาลอื่น ซึ่ง 1 ในนั้นจะเป็นการถ่ายน้ำตก ซึ่งน้ำตกตามธรรมชาติแน่นอนว่ามีความสวยงามตามท้องเรื่องอยู่แล้ว แต่ถ้าเรารู้จักการ Setting ตัวกล้อง และ/หรือ เติมแต่งไอเดียเข้าไปด้วย ย่อมทำให้การถ่ายภาพน้ำตกนั้นมีความสวยสดงดงามมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ จึงเป็นที่มาของ ”  Tips : เทคนิคการถ่ายภาพน้ำตก ให้พริ้วไหวดั่งใจหวัง ” จะมีรายละเอียดอย่างไรนั้น ไปชมกันเลยครับ

พื้นฐานการถ่ายภาพน้ำตก

สำหรับการถ่ายภาพน้ำตกนั้น เอาจริงๆแล้ว เราสามารถใช้เลนส์อะไรก็ได้ในการถ่ายทอดน้ำตกออกมาในรูปแบบของแต่ละท่าน ซึ่งพื้นฐานการถ่ายภาพน้ำตกนั้น จะใช้หลักการเดียวกันกับ Slow Shutter , Long Exposure นั่นเองครับ ซึ่งทีมงาน Zoomcamera ขอสรุปรายละเอียดตามนี้ครับ

– Long Exposure

Long Exposure หรือ Long Shutter Speed Exposure คือหนึ่งในรูปแบบการถ่ายภาพ ซึ่งจะมีขั้นตอนเปิดหน้ากล้องทิ้งเอาไว้เป็นเวลานาน ทำให้ได้ภาพที่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น และถ่ายภาพของวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวได้ ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละภาพจะต้องเปิดหน้ากล้องเอาไว้นานต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของวัตถุว่าช้าหรือเร็วแค่ไหน ภาพที่ได้ออกมาจะให้ความสวยงามในอีกมุมมองหนึ่ง ดูเหมือนชิ้นงานศิลปะที่โดดเด่น แต่สำหรับมือใหม่ การถ่ายภาพด้วยวิธีนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าใดนัก เพราะต้องใช้ประสบการณ์ในการฝึกฝนกันพอสมควรเลยครับ

ซึ่งเราจะประยุกต์ใช้ความสามารถของ Long Exposure กับการถ่ายภาพน้ำตก ปกติแล้วน้ำจะมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นแนวจากที่สูงลงที่ต่ำตลอดเวลา ซึ่งถ้าเราถ่ายภาพในลักษณะปกติ เราก็จะได้ภาพน้ำตกแบบปกติธรรมดาๆ แต่ภาพน้ำตกที่ได้อาจจะไม่ได้สื่ออารมณ์มากเท่าที่ควร แต่ถ้าเราประยุกต์ใช้ Long Exposure กับการถ่ายภาพน้ำตก ที่ตัวน้ำมีลักษณะฟุ้งๆราวกับมีการเคลื่อนไหวอยู่นั่นเองครับ ทั้งนี้การถ่าย Long Exposure กับ การถ่ายน้ำตก นั้น การ Setting จะคล้ายๆกับการ่ถ่ายเส้นแสงเช่นกัน แต่จะ Advance มากขึ้น ตรงที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่าง ND Filter เข้ามาช่วยในการถ่ายภาพน้ำตก เหตุเพราะ การถ่ายถ่ายภาพน้ำตก จำเป็นต้องใช้ Speed Shutter เป็นระยะเวลานาน ทำให้สภาพแสงสว่างกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถถ่ายในเวลาช่วงเช้าได้นั่นเองครับ

*** Tips : เทคนิคการถ่ายภาพน้ำตก ให้พริ้วไหวดั่งใจหวัง ***

– เลือกอุปกรณ์ใช้งานที่เหมาะสม

อย่างที่ทีมงาน Zoomcamera ได้เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้น ว่า การถ่ายภาพน้ำตก แม้ว่าเราจะใช้เลนส์ Kit ติดกล้องก็เพียงพอต่อการถ่ายภาพน้ำตกก็ตาม แต่ถ้าเราต้องการภาพน้ำตกที่มีมุมมองที่แปลกไปจากปกติที่เราเคยถ่าย และ/หรือ อยากได้น้ำตกที่มีความนุ่มของสายน้ำในเฟรมภาพด้วยแล้วนั่น เราจำเป็นจะต้องเลือกใช้อุปกรณ์เฉพาะทางกัยซักเล็กน้อย ซึ่งมาดูกันครับมีอะไรบ้างที่จำเป็น

เลนส์ Ultra Wide

แม้ว่าในตอนต้น ทีมงานจะเกริ่นว่าใช้เลนส์อะไรก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หากเราต้องการ Performance จากภาพโดยเฉพาะองศารับภาพที่กว้างกว่าเลนส์ Kit ด้วยแล้วนั้น เลี่ยงไม่ได้ที่เราจำเป็นจะต้องมองมาที่เลนส์ Ultra Wide ครับ ซึ่งข้อได้ของเลนส์ Ultra Wide คือ องศาภาพรับที่กว้างกว่าเลนส์ Kit ทั่วๆไป ซึ่งบางครั้งกว้างเกินกว่าที่เราต้องการด้วยเช่นกันครับ แต่ทั้งนี้หากเราเข้าใจการใช้งานเลนส์ Ultra Wide แล้ว การถ่ายภาพน้ำตกของเหล่านั้น จะมีสีสันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกับ Perspective Effect , การถ่ายโดยใช้ Foreground ร่วมกับน้ำตกของเรา เป็นต้น

ทั้งนี้เลนส์ Ultra Wide ส่วนมากหน้าเลนส์จะมีขนาดที่ใหญ่ รวมถึงหน้าเลนส์นูนกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถใส่ฟิลเตอร์เพื่อป้องกันหน้าเลนส์ได้ รวมถึง ฟิลเตอร์ ND / Graduated ด้วยนั่นเองครับ หากจำเป็นต้องใช้ ฟิลเตอร์ ND / Graduated แล้ว เพื่อนๆอาจจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมที่ชื่อว่า Holder ที่จะเป็นแกนจับแผ่นฟิลเตอร์ ที่ออกแบบให้ใช้งานกับเลนส์รุ่นนั้นๆครับ ดังนั้นก่อนที่เพื่อนๆจะเลือกใช้งานเลนส์ Ultra Wide นั้น อาจจะต้องพิจารณาเรื่องเหล่านี้ประกอบไปด้วยนะครับ

ขาตั้งกล้อง

เพื่อนๆท่านใดที่จะไปถ่ายภาพน้ำตก แล้วไม่ได้นำอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปด้วยละก็ ถือว่าพลาดเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพ Long Shutter Speed เลยก็ว่าได้ครับ ซึ่งขาตั้งที่ควรเลือกใช้นั้น ควรเป็นขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคง แข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้มากที่สุดเท่าที่จะจัดหามาได้เลย เนื่องจากเมื่อนำกล้องขึ้นขาตั้งแล้ว การสั่นไหวเพียงเล็กน้อย อาจจะทำให้ภาพที่เราลั่นชัตเตอร์ไปนั้น กลายเป็นภาพเสีย ขาดความคมชัดไปทันทีครับ หรือ หากเลือกใช้ขาตั้งที่มีน้ำหนักเบาด้วยแล้วละก็ ควรพกถุงทรายเล็กๆ ไว้ใช้ในการถ่วงน้ำหนักของขาตั้งด้วยครับ

อนึ่งหากเพื่อนๆ ไม่สามารถหาขาตั้งที่มีความแข็งแรงได้ หรือ ไม่ต้องการแบกขาตั้งขนาดใหญ่ไปด้วยละก็ อีกทางเลือกคงจะเป็นการเลือกใช้ขาตั้งขนาดเล็กอย่าง Joby โดยความพิเศษอยู่ที่แต่ละท่อนขาสามารถดัดท่าทางได้อย่างอิสระ แน่นอนว่า ณ สถานที่ถ่ายภาพน้ำตกจริงนั้น มักจะมีพื้นที่ไม่ได้เรียบสนิท หรือ มีพื้นสลับขูดหิน ทำให้เป็นอุปกรณ์ในการกางขาตั้ง แต่สภาพเช่นนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับ Joby แต่อย่างใด ดว้ยความยืดหยุ่นในการใช้งานที่สูง ทำให้เราสามารถปรับท่าทาง มุมมองในการถ่ายภาพน้ำตกได้เป็นอย่างดี สำหรับข้อเสียหลักๆของ Joby นั้น คือ มีขนาดเล็ก และ หากประกอบกับกล้องที่ตัวเลนส์มีขนาดที่ใหญ่ จะทำให้ Balance ในการจัดท่าทางค่อนข้างจะลำบากนั่นเองครับ

ฟิลเตอร์ ND

ND มีชื่อเต็มๆว่า Neutral Density มันเกิดมามีหน้าที่อย่างเดียวครับคือ ตัดแสง ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแสงแบบไหนมันจะลดทอนแสงให้เข้าสู่เซนเซอร์รับภาพน้อยลง สังเกตว่าแผ่นฟลิเตอร์จะมีลักษณะเป็นสีดำ โดยจะตัดแสงมากน้อยเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับเบอร์ของฟิลเตอร์ที่เราเลือกใช้ จะมีตั้งแต่ ND ที่ลดทอนแสงไป 1 stop ไปจนถึงลด 10+ stop เลย ถ้าเราใส่ ND ที่ลดทอนแสงได้ 10 stop หรือมากกว่านั้น มันแทบจะทำให้วิวกลางวันตอนเที่ยงๆ มืดตื๊ดตื๋อจนเรามองผ่านช่องมองภาพแทบไม่เห็นอะไรเลย โดยฟิลเตอร์ ND ที่ดีจะต้องลดทอนแสงที่ผ่านเข้าสู่เซนเซอร์โดยที่ไม่ทำให้สีผิดเพี้ยนไป ซึ่งโดยส่วนมากฟิลเตอร์ ND ทั่วๆไปก็จะมีผลกับสีของภาพอยู่บ้าง ไม่มาก ก็น้อยครับ ซึ่งเจ้าฟิลเตอร์ ND จะมีทั้งแบบกลมและแบบแผ่นให้เลือกใช้งานครับ

ฟิลเตอร์ ND แบบกลมๆนี้ยังมีอีกชนิดนึงที่พิเศษ เรียกว่า Fader ND หรือ Variable ND ที่สามารถจะหมุนได้เพื่อปรับค่าความเข้มของฟิลเตอร์ ND อย่างเช่นฟิลเตอร์ H&Y Adjustable ND Filter Mark 3 ที่ร้าน Zoom ขายอยู่จะเป็น ND2-400 ซึ่งในแผ่นเดียวเราได้ตั้งแต่ ND2 ที่ลดแสง 1 stop ไปจนถึง ND400 ที่ลดแสง 8 stop เลย และจะสามารถหมุนเพื่อเปลี่ยนค่าความเข้มได้ตามต้องการ ฟิลเตอร์ ND แบบนี้ดีตรงที่เราสามารถเปลี่ยนความเข้มไปตามสถานการณ์ได้ ในบางสถานการณ์เราอาจอยากลดแสงแค่ 3 stop ไม่ได้อยาดลดแสงเยอะ ถ้าเป็น ND แบบฟิลเตอร์กลมๆธรรมดาเราก็จะต้องเปลี่ยนแผ่นอื่นมาใส่ ซึ่งจะเสียเวลากว่า และจะต้องซื้อหลายแผ่นด้วย ในกรณีนี้เราแค่หมุนฟิลเตอร์ให้เปลี่ยนระดับความเข้มเท่านั้นเอง แต่ ND แบบนี้ก็มีปัญหาใหญ่อยู่อย่างหนึ่งนั่นคือในความเข้มบ้างระดับมันอาจเกิดเงาเป็นรูปตัว X ในภาพได้

ฟิลเตอร์ ND แบบแผ่นสี่เหลี่ยม อันนี้ถ้าคนที่ชอบถ่ายวิวหรือใช้ ND อย่างจริงจังจะนิยมกันมาก โดย ND แบบแผ่นนี้ไม่สามารถติดเข้ากับหน้าเลนส์ของเราเลยได้ จะต้องอาศัยตัวจับฟิลเตอร์มาใส่ที่หน้าเลนส์ของเราก่อนแล้วตัวจับนั้นจะล็อคกับ Adapter Ring ที่จะมาใส่กับหน้าเลนส์ของเราอีกที(ใส่เหมือนใส่ฟิลเตอร์ทั่วไป) ซึ่งมันจะเป็นข้อดีตรงที่ฟิลเตอร์แผ่นเดียวจะสามารถใช้กับหน้าเลนส์ได้หลายขนาดเพียงแค่ทำการเปลี่ยน Adapter Ring ให้เท่ากับขนาดของหน้าเลนส์เท่านั้น และเราสามารถนำฟิลเตอร์แผ่น 2 แผ่นมาใส่ซ้อนกันที่ตัวจับฟิลเตอร์ได้ ทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป แต่ก็ต้องระวังในการใส่กับเลนส์บางตัวที่มุมองศสารับภาพกว้างมากๆ เพราะตัวจับฟิลเตอรืแผ่นนั้น จะหนายื่นออกมาค่อนข้างมาก อาจทำให้ติดขอบตัวจับเข้าไปในภาพได้ นอกจากนั้นฟิลเตอร์แผ่นแบบนี้ยังเป็นทางออกสำหรับเลนส์ที่ไม่สามารถใส่ฟิลเตอร์ได้อย่างเช่น Nikon 14-24mm f/2.8Nano ก็สามารถมาใช้ฟิลเตอร์แผ่นแบบนี้ได้

ทั้งนี้ความเข้มของ ND ที่เรากำลังมองหาอยู่นั้น จะสามารถลดทอนได้กี่ stop นั้น เราดูได้จากเบอร์ของ ND มีตั้งแต่ ND2 ND4 ND8 ND400 ND1000 แต่บางยี่ห้ออาจจะใช้ตัวเลขคนละอย่างกันเป็น 0.3 0.6 0.9 1.2 ซึ่งก็แล้วแต่แบรนด์นั้นๆจะตั้งมา ยิ่งเบอร์เข้มมากเท่าไหร่โอกาสที่สีจะเพี้ยนนั้นจะยิ่งสูง เรื่องสีเพี้ยนนั้นถือเป็นประเด็นหลักเลยในการเลือกฟิลเตอร์ ND ที่เบอร์ ND1000 นั้นลดแสงได้ถึง 10 stop แต่สีที่ได้อาจจะเพี้ยนติดแสง ติดฟ้า แตกต่างกันไป ยิ่งฟิลเตอร์มีราคาถูกคุณภาพต่ำสีก็จะยิ่งเพี้ยนมาก แต่ถ้าเป็นฟิลเตอร์ ND1000 ที่สีไม่เพี้ยนหรือเพี้ยนน้อยมากราคาจะสูงมากขนาดซื้อเลนส์ 50mm F1.8 ได้สบายๆเลย

– ลองเล่นกับ Speed Shutter

Shutter Speed นอกจากจะมีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านจากเลนส์ไปสู่ Sensor แล้ว ความเร็วในการเปิด/ปิด ม่านชัตเตอร์ยังมีผลโดยตรงกับภาพที่ภ่ายออกมา การจับการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพ กล่าวคือ

>>> Shutter Speed สูง = ม่านชัตเตอร์ เปิด/ปิด เร็ว = แสงเข้าได้น้อย = ภาพหยุดนิ่ง

>>> Shutter Speed ต่ำ = ม่านชัตเตอร์ เปิด/ปิด ช้า = แสงเข้าได้มาก = ภาพเบลอ เหมือนเคลื่อนไหว

ตัวอย่าง เช่น ภาพที่ต้องการถ่ายทอดถึงลักษณะการเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่นภาพถ่ายน้ำตก และ/หรือ ภาพน้ำทะเลกะเซ็นตามชายฝั่ง ซึ่งเราต้องการให้สายน้ำวิ่งเป็นเส้นสายลงมาตามตัวน้ำตกที่ดูแล้วสวยงามกว่าภาพปกติ ก็ต้องใช้สปีดชัตเตอร์ช้าเพื่อบันทึกลักษณะการเคลื่อนไหวของสายน้ำให้ต่อเนื่อง เพราะหากใช้สปีดชัตเตอร์ความเร็วสูงก็จะเห็นภาพน้ำเป็นหยดนิ่งสนิท ภาพน้ำตกนั้นก็จะดูแข็งๆ ไม่มีลักษณะการเคลื่อนที่ของสายน้ำแต่อย่างใด

– ลอง Freeze Motion / Motion Blur

หลังจากที่เรารู้พื้นฐานการถ่ายภาพน้ำตก และ ความสัมพันธ์เกี่ยวกับ Speed Shutter แล้วนั้น เราจะใช้ความสามารถบนพื้นฐานเหล่านี้เนรมิตน้ำตกที่เป็น Subject หลักของเราให้ออกมาสวยสดงดงาม ซึ่งแน่นอนว่าเพื่อนๆหลายท่าน คงจะชอบน้ำตกในหลายๆแบบ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตกที่มีการกระเซ็นของน้ำที่ไหล , น้ำตกที่มีความนุ่ม ฟุ้ง อันเกิดจากการใช้ค่า Speed Shutter ที่ต่ำนั่นเองครับ ทั้งนี้นอกเหนือจากค่า Speed Shutter แล้ว สภาพแวดล้อมยังส่งผลโดยตรงเช่นกันครับ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแสง , สภาพ Location เป็นต้น โดยเฉพาะสภาพแสงที่เป็นอุปสรรคอันดับต้นๆ เนื่องมาจากแสงที่มีปริมาณมาก ทำให้เราไม่อาจใช้ค่า Speed Shutter ต่ำๆ ได้นานมากที่จะทำให้ภาพน้ำตกของเรามีความมุ่มได้นั่นเองครับ สำหรับทางแก้ไขนั้น คือ การเลือกใช้ฟิลเตอร์ ND มาช่วยในการตัดแสงที่จะเข้าสู่หน้า Sensor รับภาพ ซึ่งเจ้า ND นี้มีอยู่ด้วยกันหลายเบอร์ ยิ่งเบอร์มากเท่าไร ยิ่งตัดแสงได้มากยิ่งขึ้นครับ ทำให้เราสามารถใช้ Speed Shutter ที่ต่ำได้นานขึ้นไปด้วยครับ

– ประยุกต์ใช้งานกับ Feature เฉพาะทาง

นอกจากการใช้เทคนิค Long Exposure ผสมผสานเข้ากับอุปกรณ์เฉพาะทางอย่าง ฟิลเตอร์ ND / Graduated แล้วนั้น ในกล้องบางรุ่นจะมี Feature เฉพาะทาง ที่จะให้การถ่ายภาพน้ำตก และ/หรือ การถ่ายภาพที่จำเป็นต้องใช้เทคนิค Long Exposure ให้สามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นกล้องรุ่นใดบางนั้น มาชมกันเลยครับ

Micro Fourthirds

หากจะพูดถึงกล้องในระบบ Micro Fourthirds โดยเฉพาะจากค่าย Olympus แล้ว เชื่อว่าเพื่อนๆหลายท่านคงจะนึกถึง Feature ประจำค่ายอย่าง Live Composition ที่เป็น Feature ที่ทำให้การถ่ายภาพแนว Long Exposure ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะ Live Composite นั้น จะเก็บเฉพาะเส้นแสงที่มีการเปลี่ยนแปลงผ่านเข้ามาในเฟรมเท่านั้นครับ แต่ Live Composition จะเน้นไปทางเส้นแสงเป็นหลัก แต่มีอีก Feature ที่มีชื่อว่า ” Hi – Res Shot. ” โดย Feature นี้จะเป็นการถ่ายภาพต่อเนื่อง 8 ภาพ โดยใช้หลักการขยับ Sensor นั่นเองครับ ซึ่งจากจำนวน 8 ภาพนั้น จะอ้างอิงจาก Setting ที่เราตั้งค่าไว้ล่าสุด อาทิเช่น เราตั้งค่าไว้เป็น Speed Shutter 5 วิ ตัวกล้องจะทำการลั่นชัตเตอร์ด้วยค่าดังกล่าว เป็นจำนวน 8 ภาพ และตัวกล้องก็จะทำการนำ 8 ภาพดังกล่าวมาซ้อนจนเป็นภาพใหม่ 1 ภาพ ซึ่งจาก Effect ดังกล่าวนั้น หากแต่ละภาพ ใน 8 ภาพที่้เราถ่ายมี Movement ที่แตกต่างกัน ภาพที่ถูกซ้อนขึ้นใหม่นั้น ก็ยิ่งมีความแตกต่างจากภาพ Long Exposure / Slow Shutter ที่ถ่ายเพียงช๊อตเดียวนั่นเองครับ

*** สำหรับกล้องที่มี Feature : Hi – Res Shot. นั้น จะมีตามนี้เลยครับ ***

Olympus  :  Olympus OM-D E-M1 II / Olympus Pen F  // Olympus OM-D E-M5 II

Panasonic  :  Panasonic Lumix G9

Sony

ในตลาด ณ ปัจจุบัน หากจะไม่พูดถึง Sony ก็คงจะผิดไม่น้อย เพราะ ปีนี้ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ถือว่าเป็นปีทองของ Sony ก็ว่าได้ครับ โดยเฉพาะการมาของ Sony A7III ว่าที่กล้อง Mirrorless Fullframe ระดับ Beginner ที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการกล้อง โดยเฉพาะกล้อง Mirrorless เป็นอย่างมากครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นกล้อง Mirrorless Fullframe แต่ก็มี Feature ที่ช่วยสนับสนุนการถ่ายภาพน้ำตกให้ออกมาพริ้วไหวได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์อื่นๆเพิ่มเติม อย่าง Pixel Shift Multi Shooting ที่ถูกบรรจุอยู่ในกล้องระดับ Flagship อย่าง Sony A7RIII โดยหลักการของ Pixel Shift Multi Shooting นั้นจะคล้ายๆกับ Hi – Res Shot. บนกล้อง Micro Fourthirds แต่จะแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เจ้า Pixel Shift Multi Shooting นั้นจะถ่ายภาพทั้งหมดเพียง 4 ภาพเท่านั้น และไม่ได้ทำการซ้อนเป็นภาพใหม่ให้ทันที จำเป็นจะต้องนำภาพเหล่านั้นไปทำการรวมเองในโปรแกรมเฉพาะทาง Sony Image Edge เพื่อนำภาพเหล่านั้นมาทำการ Convert เป็นภาพใหม่นั่นเองครับ

*** สำหรับกล้องที่มี Feature : Pixel Shift Multi Shooting  >>>  Sony A7Riii ***

Credit  :  DigitalPhotographySchool

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

inbox : http://www.facebook.com/messages/zoomcamera

02-635-2330 ต่อ 0 / 083-067-7677 (หยุดวันอาทิตย์)

สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772

สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123

สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919

สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498

สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775

สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896

สาขา Central Westgate 02-060-4362 / 097-063-4328

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 23/05/2018

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save