Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape Leave a comment

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติดตาม Content ของ Zoomcamera ผ่านทางช่องของ Facebook และ Youtube ทุกท่านด้วยนะครับ สำหรับ Content ในรอบนี้จะเป็น Content ที่จะมาแนะนำแนวทางในการถ่ายภาพอีกรูปแบบหนึ่ง อย่าง Nightscape ซึ่งเป็นการถ่ายภาพที่ผสมผสานระหว่างการถ่าย Landscape และ Low Light เข้าด้วยกัน แม้ว่าเจ้า Nightscape จะยังคงใช้พื้นฐานการถ่ายภาพแบบ Landscape แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคการถ่าย Low Light และ Long Exposure เข้ามาช่วย เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุดนั่นเองครับ ซึ่งทีมงาน Zoomcamera จะมาแนะนำบทความที่ชื่อว่า ” Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape ”

*** Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape ***

1. อุปกรณ์

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

สิ่งสำคัญอันดับต้นๆของการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการถ่าย Nightscape หรือ ภาพแนวอื่นๆก็ตามที ยังไงเราก็จะขาดกล้องคู่ใจของเราไปเสียไม่ได้ ทั้งนี้ในการถ่ายภาพ Nightscape นั้น ไม่ได้มีกฏตายตัวว่าจะต้องใช้กล้องแบบใด ไม่ว่าจะเป็นกล้อง DSLR , Mirrorless หรือ Smartphone ก็สามารถที่จะถ่ายภาพแนว Nightscape ได้หมดครับ ทั้งนี้ผลงานที่จะได้ออกมานั้น ขึ้นอยู่กับศักยภาพของกล้องเราส่วนหนึ่งด้วยครับ โดยเฉพาะ Sensor รับภาพและหน่วยประมวลผลภายใน

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

หากเป็นกล้องรุ่นใหม่ๆ อาจจะได้ Performance ที่ดีกว่ากล้องรุ่นเก่า อันมาจากการพัฒนาของเทคโนโลยีนั่นเองครับ หรือ อาจจะมองมาที่กล้องที่เน้นใช้งานด้านการถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้โดดเด่นมากกว่าปกติ อาทิเช่น Panasonic Lumix GH5S , Sony A7S , Sony A7SII เป็นต้น

2. การตั้งค่า

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

ต่อเนื่องจากอุปกรณ์ เราก็ต้องให้ความสำคัยที่การตั้งค่า หรือ การ Setting ตัวกล้องด้วยนะครับ เพราะ ต่อให้เราใช้กล้องที่มีมูลค่าสูง แต่กลับตั้งค่าไม่ถูก หรือ ตั้งเป็น Auto ไว้ เราอาจจะไม่ได้ตามที่เราหวังไว้ก็เป็นได้ครับ ซึ่งการตั้งค่าในการถ่าย Nightscape นั้น จะคล้ายคลึงกับการถ่ายภาพแบบ Long Exposure หรือ การถ่ายภาพในที่แสงน้อย ครับ ซึ่งมีรายละเอียดตามนี้ครับ

– ค่ารูรับแสง

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

สำหรับการถ่าย Nightscape นั้น ยิ่งเราใช้เลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้างมากเท่าไร ยิ่งทำให้ได้กล้องรับแสงได้ไวขึ้น ส่งผลต่อการใช้การ Speed Shutter ของเราด้วยนั่นเองครับ ยิ่งค่ารูรับแสงกว้างมากเท่าไร ยิ่งทำให้เราใช้ค่า Speed Shutter ที่สูงขึ้นได้ด้วยนั่นเองครับ ทั้งนี้ในการถ่ายภาพ Low Light Photography นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์ที่มีค่ารูรับแสงที่กว้างสุดเสมอไป เพราะ เลนส์บางชนิดเมื่อเปิดค่ารูรับแสงที่กว้างสุด ภาพอาจจะไม่คมทั่วทั้งเฟรมนั่นเองครับ ซึ่งทางทีมงานแนะนำว่า หากเพื่อนๆต้องการหาเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้างๆซักตัวละก็ แนะนำเป็นกลุ่มเลนส์ที่มีค่ารูรับแสง F1.4 – F2 ก็เพียงพอต่อการใช้งาน และ ประหยัดงบประมาณด้วยครับ

– ค่า Speed Shutter

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

Shutter Speed หรือ ความไวชัตเตอร์ นั้น หมายถึง ระยะเวลาที่ชัตเตอร์ของกล้องเปิดออกเพื่อรับแสงเข้ามายังเซนเซอร์ในตัวกล้องขณะถ่ายภาพ คุณจึงควบคุมการถ่ายภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยหลักในการควบคุมปริมาณแสงและลักษณะของภาพถ่าย เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เข้ามายังตัวกล้อง ชุดชัตเตอร์จะเป็นประตูเปิด-ปิดเพื่อกั้นแสงที่จะเดินทางต่อไปยังเซนเซอร์รับภาพที่อยู่ด้านหลังต่อไป ซึ่งในการถ่าย Nightscape น้้น บางสถานการณ์เราจำเป็นต้องใช้ Speed Shutter ที่ช้า เพื่อให้ Sensor เปิดรับแสงได้นานกว่าปกติ ส่งผลให้ภาพของเรามีความสว่างมากขึ้นนั่นเองครับ แต่ทั้งนี้เมื่อเราใช้ Speed Shutter ที่ต่ำ เราจำเป็นจะต้องใช้ขาตั้งกล้องร่วมด้วย เพื่อป้องกันการสั่นไหวของภาพด้วยนะครับ

– ค่า ISO

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

ISO คือ ความไวแสงที่มีในกล้องดิตอล หรือ ค่าอิมเมจเซนเซอร์ในการรับแสง ซึ่งตัวเลขมีค่ามาก ความไวต่อการรับแสงก็มากขึ้นไปด้วย ทำให้ผู้ถ่ายรูปได้สปีดชัดเตอร์ที่เพิ่มขึ้นด้วย และสามารถที่จะถ่ายในที่มีความไวแสงสูงๆ เช่น คนวิ่ง เด็กกระโดดน้ำ แต่การที่ใช้ ISO ที่สูงขึ้นนั้นจะทำให้เกิด น้อยส์ (Noise) ซึ่งทำให้คุณภาพของภาพลดลงตามไปด้วย

ทั้งนี้ ค่ารูรับแสง , Speed Shutter และ ISO ล้วนแล้วเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้คุณได้ภาพ Nightscape Photography ในแบบที่ต้องการ เนื่องจากทั้ง 3 ค่านี้ ต่างทำงานสัมพันธ์กันหากมีค่าไหนมีการเปลี่ยนแปลงไปก็มีผลกับความสว่างและความมืดของภาพทั้งหมด อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีกล้อง DSLR / Mirrorless ในยุคปัจจุบันนี้พัฒนาขึ้นไปมาก โดยเฉพาะการใช้งานค่า ISO ที่สูงๆ นั้นการจัดการ Noise ทำได้ดีมากขึ้นจากเมื่อก่อน จนเราสามารถใช้งานใน ช่วง ISO สูงๆได้ โดย Noise ที่เกิดขึ้นนั้น น้อยลง และสังเกตได้ว่ากล้องที่มีเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่อย่าง Fullframe , Medium Format มักจะมี Noise น้อยกว่า กล้องที่มีเซ็นเซอร์ขนาดเล็กอย่าง Smartphone , Compact หรือ Micro Four Thirds อันเนื่องมาจาก พื้นที่ของเซ็นเซอร์นั้นมีบริเวณใหญ่กว่า ทำให้จำนวนตัวรับแสงนั้นสามารถวางได้ห่างกันมากขึ้น ทำให้เกิดสัญญาณรบกวนระหว่างตัวรับแสงนั้นมีน้อย

3. เลือก Location ที่เหมาะสม

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

ต้องบอกว่า การจะได้ภาพที่สวยงาม สมบูรณ์แบบนั้น Location ก็มีส่วนเช่นกัน ไม่ว่าจะถ่ายภาพแนวไหนก็ตามที หากได้ Location ที่ช่วยเสริมเติมแต่งองค์ประกอบให้กับ Subject หลักของเราภายในภาพแล้ว ยิ่งทำให้ภาพของเรามีความลงตัวที่สุดครับ เช่นเดียวกับการถ่าย Nightscape ที่จะคลึงกับการถ่าย Long Exposure แต่เป็นการผสมผสานระหว่างการถ่าย Landscape และ Low Light เข้าด้วยกันนั่นเองครับ

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

ซึ่งการถ่าย Nightscape ส่วนมากจะมี Subject หลักอย่างตัวเมือง , วิวทิวทัศน์ที่อยู่ระยะไกลโดยมีแสงจากตัวเมือง เป็นต้น ทั้งนี้การถ่ายภาพแนว Nightscape นั้น หากเราสามารถกำหนดจุดที่เราจะไปถ่ายได้แล้วนั้น ให้เราเผื่อเวลาล่วงหน้าก่อนถ่ายซัก 1 – 2 ชม. เป็นอย่างน้อย เพื่อเป็นการสำรวจ Location รอบๆไปในตัว รวมถึงการหามุมมองใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำใครด้วยเช่นกันครับ

4. คำนวณการขึ้นของพระจันทร์

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องเช็คการขึ้นของพระจันทร์ ด้วย ทั้งที่การถ่าย Nightscape เราก็ถ่ายภาพรวมทั้งตึก , สถานที่ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีพระจันทร์ติดเข้ามาในเฟรมอยู่แล้ว แต่ช้าก่อน รู้หรือไม่ว่า พระจันทร์ มีผลต่อการถ่ายภาพแนว Nightscape ในรูปแบบอื่นๆเช่นกันครับ อาทิเช่น การถ่ายแสง Aurora หรือ การถ่าย Milky Way ด้วยนั่นเอง

Tips : 4 ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาพ Nightscape

โดยเฉพาะผู้ที่หมายมั่นปั้นมือจะไปถ่าย Milky Way นั้น จะต้องภาวนาให้ ณ วันที่ไปถ่าย ไม่มีพระจันทร์ขึ้น ไม่ว่าจะขึ้นจากทิศทางไหนก็ตามที เพราะ พระจันทร์ที่เราเห็นอยู่บนท้องฟ้านั้น มีความสว่างมากกว่าที่ตาเราเห็นนะครับ ซึ่งการถ่าย Milky Way เราจำเป็นต้องท้องฟ้าให้มีความมืดสนิทที่สุด , ฟ้าเคลียร์ที่สุด และ ไม่มีพระจันทร์ด้วยนั่นเองครับ ฉะนั้น หากเป็นไปได้ ควรหาค่าพยากรณ์การขึ้นของพระจันทร์ ควบคู่กับ Milky Way เพื่อไม่ให้พลาดช๊อตที่สำคัญนั่นเองครับ

Credit : DigitalPhotographySchool

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 19/04/2018

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save