Tips : 5 ความผิดพลาด สำหรับช่างภาพมือใหม่ Leave a comment

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติดตาม Content ของ Zoomcamera ผ่านช่องทาง Facebook , Line และ Youtube ทุกท่านด้วยนะครับ Admin เชื่อว่าเพื่อนๆโดยเฉพาะช่างภาพมือใหม่ เวลาที่ไปออกทริปถ่ายรูป หรือ ออกทริปถ่ายภาพบางสถานการณ์มักจะเจอเหตุการณ์แปลกๆในการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการถ่าย Landscape , Portrait และ/หรือ Snap ก็ตามที บางครั้งเราจะได้ Output ที่ไม่ตรงใจกับที่เราคาดหวังไว้ ทั้งๆที่บางครั้งเราก็ Setting ไว้ถูกต้องแล้ว ซึ่งในวันนี้ทีมงาน Zoomcamera จะมาแนะนำ ” Tips : 5 ความผิดพลาด สำหรับช่างภาพมือใหม่ “ ซึ่งใน 5 ข้อนี้ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปชมกันเลยจ้า

*** Tips : 5 ความผิดพลาด สำหรับช่างภาพมือใหม่ ***

1. ระบบกันสั่นไหว

จริงอยู่ที่ว่า ระบบกันสั่นไหว ไม่ว่าจะที่ตัวกล้อง หรือ ในตัวเลนส์ ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้เราได้ภาพง่ายขึ้น กล่าวคือ ระบบกันสั่นไหว เสมือนผู้ช่วยที่ทำให้เราสามารถใช้ค่า Speed Shutter ที่ตำกว่าทางโฟกัสได้มากกว่าปกติ โดยภาพที่ได้มีอาการสั่นไหวน้อยลง ทั้งนี้อาการสั่นเบลอที่น้อยลงนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของระบบกันสั่นภายในกล้อง และ/หรือ เลนส์นั้นๆเป็นสำคัญ โดยปกติแล้วค่า Default มักจะถูกเปิดให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้มักจะมีข้อแม้เล็กๆ ยามที่เราจำเป็นต้องนำกล้องขึ้นบนขาตั้งครับ กล่าวคือ ระบบกันสั่น จะมีกลไกที่คอยทำงานเพื่อลดอาการสั่นสะเทือน แต่ยามใดที่เรานำกล้องขึ้นขาตั้งที่มีความมั่นคงแล้วนั้น หากเราเปิดใช้งานระบบกันสั่น การที่ระบบกันสั่นทำงานทั้งๆที่บนขาตั้งมีความนิ่งนั้น ส่งผลให้ภาพของเรามีอาการไม่คมชัดเท่าที่ควร หรือ มีการสั่นเบลอเกิดขึ้นได้ง่ายๆครับ ทั้งนี้หากเป็นไปได้ แนะนำว่าควรปิดระบบกันสั่นไม่ว่าจะเป็นที่ตัวกล้อง หรือ ที่เลนส์ ยามที่เรานำขึ้นขาตั้งกล้องเสมอครับ

2. ระบบ Focus

ในกล้องแทบจะทุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็น DSLR , Mirrorless หรือ Smartphone ต่างก็มีระบบ Focus ให้ใช้ตามสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งโดยพื้นฐานจะมีทั้ง AFS , AFC และ MF ซึ่งแน่นอนว่า ระบบ Focus ทั้ง 3 แบบนี้ ล้วนแล้วแต่ใช้งานแตกต่างกันแน่นอนครับ โดย AFS จะเน้นการ Focus เพียงจุดใด จุดหนึ่งเพียงครั้งเดียว , AFC จะเน้น Focus โดยตรวจจับตาม Subject พร้อมกับการ Re Focus อยู่ตลอดเวลา และ MF หรือที่รู้จักในชื่อของ Manual Focus นั่นเอง ซึ่งเป็นการหาจุด Focus ด้วยตัวของเราเอง ที่บางครั้งต้องการความละเอียด รอบคอบกว่าปกติครับ ทั้งนี้ Admin เชื่อว่าเพื่อนๆช่างภาพมือใหม่หลายๆท่าน อาจจะเลือก Focus แบบ AFS เป็นค่า Default แต่ลืมที่จะเปลี่ยนตำแหน่ง Focus ด้วยนั่นเอง ทำให้การถ่ายภาพในบางครั้ง ภาพที่ได้หลุด Focus ไปก็มี หรือ ใช้ AFS ถ่าย Subject ที่มีการเคลื่อนไหว ก็ทำให้ Focus ไม่ได้ทันนั่นเองครับ

3. JPG อาจไม่เพียงพอ

หากจะพูดถึง File ภาพ Admin เชื่อว่าเพื่อนๆช่างภาพ แทบจะทุกท่านคงต้องรู้จักกับ JPG เป็นอย่างดีครับ ไฟล์ JPG นั้น คือ ไฟล์ที่ผ่านกระบรวนการ Process ในตัวกล้องตามที่เราได้มีการ Setting ต่างๆไว้นั่นเองครับ ซึ่งเจ้าไฟล์ JPG นี้ เหมาะสำหรับเพื่อนๆที่ต้องการนำภาพไปใช้งานได้ทันที , ส่งเข้าสู่ Smartphone หรือ โพสต์ลงใน Social Network นั่นเองครับ ทั้งนี้แม้ไฟล์ JPG จะมีข้อดีต่างๆโดยเฉพาะในเรื่องของความสะดวก แต่ไฟล์ JPG นั้น ได้ผ่านการบีบอัด หรือ Process โดย Engine ภายในตัวกล้องเป็นที่เรียบร้อย ทำให้การนำไฟล์ JPG มาทำการ Process ต่อนั้น อาจจะทำได้ไม่ดีซักเท่าไร โดยเฉพาะภาพที่มีความแตกต่างของสภาพแสงมาก ไฟล์ JPG อาจจะสูญเสียรายละเอียดในบางส่วนไป ดังนั้น หากเพื่อนๆต้องการนำภาพนั้นๆกลับมา Process ในรูปแบบของตัวเราเอง หรือ ต้องการความยืดหยุ่นกว่าปกติ แนะนำให้ตั้งค่าเป็น RAW หรือ RAW + JPG ไว้เสมอนะครับ

4. Mode Ai ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด

Admin เชื่อว่าเพื่อนๆมือใหม่หลายๆท่าน นิยม Setting ตัวกล้องให้อยู่ใน Mode Ai อยู่ไม่น้อย แม้ว่า Mode Ai จะเป็น Mode ที่เหมาะสำหรับมือใหม่ แต่ก็ยังแฝงความสะดวกตรงที่ ตัวกล้องจะเป็นผู้คิดคำนวณให้เราอย่างเสร็จสรรพ ไม่ว่าจะเป็น Speed Shutter , Aperture , ISO เราไม่จำเป็นต้อง Setting แต่อย่างใดครับ เรามีหน้าที่เพียงยกกล้องแล้วทำการกดชัตเตอร์ทันทีครับ ถึงตรงนี้เราอาจจะเห็นว่ามันมีความสะดวกอยู่ไม่น้อย แต่ในทางกลับกัน Mode Ai นี้ อาจไม่คำตอบที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพ เหตุผล คือ บางสถานการณ์ Mode Ai มิอาจตอบสนองตามที่เราต้องการได้ โดยเฉพาะค่า Setting ที่ Mode Ai มิอาจรู้ใจเราได้นั่นเองครับ ดังนั้นหากภาพใดที่เราต้องการความละเอียดในเนื้องานละก็ ควรเปลี่ยนจาก Mode Ai เป็น Mode อื่นแทนครับ ไม่ว่าจะเป็น Mode A , M , S หรือ อื่นๆ เป็นต้นครับ

5. ลืม Backup

เมื่อเพื่อนๆไปท่องเที่ยวถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ , ต่างประเทศ แน่นอนว่าคงอยากออกไปเก็บบรรยากาศ และ/หรือ ความประทับกลับมาเป็นไฟล์ภาพ ที่พร้อมจะนำแชร์ต่อให้เพื่อนๆ หรือ นำมา Process ด้วยตัวของเราเอง ซึ่งปกติในการออกทริป เรามักจะพก Memory Card ไปด้วยหลายใบ เพื่อป้องกัน Memory เต็มเวลาถ่ายท่องเที่ยวนั่นเอง แต่เมื่อเรากลับถึงที่พักแล้ว อย่าลืม Backup รูปทั้งหมดลงใน PC , Notebook หรือใน Harddisk ไว้เสมอ เพราะ หากทำการ Format Memory Card แล้ว จะเป็นการยากในการกู้ข้อมูลให้กลับคืนมาครบ 100% อีกครั้งครับ

Credit : Digital Photography School

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 22/06/2018

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save