Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography Leave a comment

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติตดาม Content ของ Zoomcamera จากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Line หรือ Youtube ทุกๆท่านด้วยนะครับ ช่วงนี้ก็ถือว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัวแล้ว Admin เชื่อว่าเพื่อนๆหลายท่านคงจะไม่ชอบอากาศในฤดูกาลนี้ซักเท่าไร โดยเฉพาะฟ้าครึ้มที่มาพร้อมกับกลุ่มเมฆฝนฟ้าคะนอง ซึ่งคงไม่มีใครอยากพากล้องตัวโปรดออกไปลุยในสภาพที่ฝนตกตลอดเวลาแน่นอน แต่เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่า ในฤดูฝนนี้ยังแฝงการถ่ายรูปแบบหนึ่งอยู่และมีโอกาสเก็บภาพได้มากกว่าทุกฤดูกาลที่ผ่านมาครับ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาและพื้นฐานกันก่อนนะครับ ซึ่ง Admin ขอแนะนำ Content ” Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography “

Photography คืออะไร ??

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

Lightning Photography หรือ การถ่ายภาพฟ้าผ่านั่นเองครับ ซึ่งเจ้าฟ้าผ่านั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่กันไปมาระหว่างเมฆกับเมฆหรือเมฆกับพื้นโลก มีพลังงานสูงมากๆ จนอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือทำลายสิ่งที่กีดขวาง เช่น คน สัตว์ บ้านเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ แม้ว่าฟ้าผ่าจะมีอันตรายถึงชีวิต แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงได้มีการประดิษฐ์เครื่องมือป้องกันผลกระทบที่จะเกิดจากฟ้าผ่า อาทิเช่น สายล่อฟ้า นั่นเองครับ

 

อุปกรณ์สำหรับถ่าย Lightning Photography

 

กล้อง

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

แทบจะเป็นของคู่กายสำหรับช่างภาพไปแล้วครับ ขาดกล้องไปก็เหมือนนักรบที่ไร้อาวุธประมาณกันเลยทีเดียวครับ สำหรับการถ่าย Lightning Photography นั้น ไม่ได้มีการระบุชัดเจนตายตัวว่าต้องเป็นกล้องประเภทใด ดังนั้น เพื่อนๆที่ใช้งานกล้อง DSLR , Mirrorless ก็สามารถใช้งานได้เช่นกันครับ อาจจะต่างกันในส่วนของ Performance ที่กล้องแต่ละรุ่นจะถ่ายทอดผลงานออกมาแตกต่างกันครับ

เลนส์

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

จากกล้องมาสู่เลนส์ สำหรับการถ่าย Lightning Photography นั้น จะคล้ายๆกับการถ่าย Nightscpae ซึ่งหากเป็นไปได้ควรมีเลนส์ Wide , Ultrawide ในขณะที่ถ่ายด้วยนะครับ เพราะ องศารับภาพที่กว้างยิ่งทำให้เราได้เปรียบ การได้เปรียบในที่นี้ คือ เราไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า ฟ้าผ่า ที่จะปรากฏในเฟรมภาพนั้นจะปรากฏส่วนไหนของภาพบ้างนั่นเองครับ การใช้เลนส์ Wide , Ultrawide จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเก็บฟ้าผ่าในเฟรมได้ง่ายขึ้นด้วยครับ

ขาตั้งกล้อง

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

นอกเหนือจากกล้องและเลนส์แล้ว ขาตั้งกล้อง ถือเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นที่ขาดไปไม่ได้เลยครับ สาเหตุที่ขาดขาตั้งกล้องไม่ได้ เนื่องจากว่าในการถ่าย Lightning Photography นั้น เราจำเป็นต้อง Setting โดยเฉพาะในส่วนของ Speed Shutter ให้มี Speed Shutter ที่ต่ำกว่าการถ่ายภาพแบบปกติทั่วไป ซึ่ง Speed Shutter ในระดับดังกล่าว มือเราไม่สามารถปะคองกล้องจนไม่ให้เกิดอาการสั่นไหวได้นั่นเองครับ แต่ทั้งนี้เราจำเป็นต้องเลือกขาตั้งกล้องที่รองรับน้ำหนักกล้องและเลนส์ที่ใช้ด้วยนะครับ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักที่เกินกำลังครับ

 

แบตเตอรี่สำรอง

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

มาถึงอุปกรณ์ที่จะคาดไม่ได้อีกชิ้นหนึ่ง คือ แบตเตอรี่สำรอง จริงอยู่ที่ว่าการถ่ายฟ้าผ่า หรือ Lightning Photography นั้น เราอาจจะต้องการจังหวะที่ฟ้าผ่าลงมาเพียงไม่กี่ภาพ แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าจังหวะภาพที่เราต้องการนั้น จะได้เมื่อใด ตอนไหน ซึ่งระหว่างที่เราพลังงานจากแบตเตอรี่ก็จะค่อยๆถูกใช้งานไปอย่างต่อเนื่องนั่นเองครับ ฉะนั้น หากเป็นไปได้ควรมีแบตเตอรี่สำรอง 1 – 2 ก้อนติดกระเป๋าไว้ด้วยครับ

 

การตั้งค่าสำหรับถ่าย Lightning Photography

ความสัมพันธ์แบบ Triangle

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

– Aperture

 

Aperture หรือรูรับแสงหน้าที่หลักๆเสมือนเป็นประตูทางเข้าของแสง ก่อนที่จะผ่านมายัง Sensor รับภาพ หากรูรับแสงกว้างตัวเลขจะมีเลขน้อยๆ เช่น F1.4,F2,F2.8 หากตัวเลขยิ่งสูงขึ้นนั่นหมายความว่ารูรับแสงจะแคบลงเรื่อย ๆ ครับเช่น F11,F16,F18 เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่แท้จริงของ Aperture สำหรับในการถ่าย Lightning Photography นั้น ยิ่งมีค่ารูรับแสงกว้างมากเท่าไร ยิ่งทำให้เราไม่จำเป็นใช้ค่า ISO ที่สูงขึ้น เพื่อให้ได้ภาพฟ้าผ่าที่มีความเคลียใสนั่นเองครับ

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

– Speed Shutter

 

Shutter Speed หรือ ความไวชัตเตอร์ นั้น หมายถึง ระยะเวลาที่ชัตเตอร์ของกล้องเปิดออกเพื่อรับแสงเข้ามายังเซนเซอร์ในตัวกล้องขณะถ่ายภาพ คุณจึงควบคุมการถ่ายภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยหลักในการควบคุมปริมาณแสงและลักษณะของภาพถ่าย เมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เข้ามายังตัวกล้อง ชุดชัตเตอร์จะเป็นประตูเปิด-ปิดเพื่อกั้นแสงที่จะเดินทางต่อไปยังเซนเซอร์รับภาพที่อยู่ด้านหลังต่อไป

 

Shutter Speed นอกจากจะมีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านจากเลนส์ไปสู่ Sensor แล้ว ความเร็วในการเปิด/ปิด ม่านชัตเตอร์ยังมีผลโดยตรงกับภาพที่ภ่ายออกมา การจับการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพ กล่าวคือ

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

>>> Shutter Speed สูง = ม่านชัตเตอร์ เปิด/ปิด เร็ว = แสงเข้าได้น้อย = ภาพหยุดนิ่ง

>>> Shutter Speed ต่ำ = ม่านชัตเตอร์ เปิด/ปิด ช้า = แสงเข้าได้มาก = ภาพเบลอ เหมือนเคลื่อนไหว

– ISO

 

ISO คือ ความไวแสงที่มีในกล้องดิตอล หรือ ค่าอิมเมจเซนเซอร์ในการรับแสง ยิ่งตัวเลขมีค่ามาก ความไวต่อการรับแสงก็มากขึ้นไปด้วย ทำให้ผู้ถ่ายรูปได้สปีดชัดเตอร์ที่เพิ่มขึ้นด้วย และสามารถที่จะถ่ายในที่มีความไวแสงสูงๆ เช่น คนวิ่ง เด็กกระโดดน้ำ แต่การที่ใช้ ISO ที่สูงขึ้นนั้นจะทำให้เกิด น้อยส์ (Noise) ซึ่งทำให้คุณภาพของภาพลดลงตามไปด้วย ซึ่งสามารถสรุปได้ตามนี้ครับ

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

ISO น้อย >> ความเร็วชัดเตอร์ น้อย >> อัตราการเกิดสัญญาณ Noise น้อย ต้องการแสงมาก >> คุณภาพของภาพดี

ISO มาก >> ความเร็วชัดเตอร์ มาก >> อัตราการเกิดสัญญาณ Noise มาก ต้องการแสงน้อย >> คุณภาพของภาพไม่ดี

 

 

อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีกล้อง DSLR / Mirrorless ในยุคปัจจุบันนี้พัฒนาขึ้นไปมาก โดยเฉพาะการใช้งานค่า ISO ที่สูงๆ นั้นการจัดการ Noise ทำได้ดีมากขึ้นจากเมื่อก่อน จนเราสามารถใช้งานใน ช่วง ISO สูงๆได้ โดย Noise ที่เกิดขึ้นนั้น น้อยลง และสังเกตได้ว่ากล้องที่มีเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่นั้น มักจะมี Noise น้อยกว่า กล้องที่มีเซ็นเซอร์ขนาดเล็ก อันเนื่องมาจาก พื้นที่ของเซ็นเซอร์นั้นมีบริเวณใหญ่กว่า ทำให้จำนวนตัวรับแสงนั้นสามารถวางได้ห่างกันมากขึ้น ทำให้เกิดสัญญาณรบกวนระหว่างตัวรับแสงนั้นมีน้อย

 

Feature เฉพาะทาง

– Light Trail

สำหรับ Light Trail นั้น ถือเป็น Feature เฉพาะทางที่ถูกบรรจุไว้ในกล้อง Mirrorless ของค่าย Sony แต่มีเพียง 2 รุ่นเท่านั้นที่สามารถใช้ Feature นี้ได้ คือ Sony A5100 และ Sony A7S ซึ่งเจ้า Lighttrail นี้เสมือนเป็นการถ่าย Long Exposure ทั่วไป แต่แฝงความสามารถพิเศษไว้ กล่าวคือ โดยปกติการถ่าย Long Exposure ยิ่งเราใช้ Speed Shutter ที่นานมากเท่าไร ภาพที่ได้ก็จะยิ่งติด Over หรือ ขาวทั่วทั้งเฟรมนั่นเอง แต่กับ Light Trail นั้น จะเลือกเก็บเฉพาะเฟรมที่มีการเปลี่ยนแปลงของเส้นไฟต่างๆภายในเฟรมเท่านั้นครับ ทำให้แม้เราใช้ Speed Shutter 30 sec. ภาพที่ได้ก็ยังความสว่างไว้เท่าเดิม เพิ่มเติมเพียงเส้นเสงไฟที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในภาพเท่านั้นครับ

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

ทั้งนี้ Light Trail จะมีข้อแม้เล็กๆ คือ สามารถใช้ได้ใน Mode M , S / ISO ตั้งแต่ 100 – 400 / Speed Shutter นานสุดที่ตั้งได้ที่ 15 sec. / สามารถเปิดหน้ากล้องค้างไว้ได้ตั้งแต่ 30 นาที จนถึง 6 ชม. หรือ จนกว่าแบตจะหมด

 

– Live Composite

ปกติถ้าเราถ่าย Long Exposure โดยใช้ชัตเตอร์ Bulb (ชัตเตอร์ B) หากเราต้องการที่จะเก็บเส้นดาวยาวๆ หรือไฟรถยาวๆ เราจำเป็นต้องเปิด Speed Shutter เป็นเวลานานๆ แต่ภาพเราจะดูสว่างและ Over เกินไป เพราะรับแสงนานเกินไปนั่นเอง แต่หลักการทำงานของโหมด Live Composite ก็คือกล้องจะเก็บค่าแสงในการกดชัตเตอร์ครั้งแรกเท่าที่เราวัดแสงไว้ว่าพอดี และกดอีกครั้งเพื่อถ่ายภาพต่อไป กล้องจะทำการรวมภาพถัดไปซ้อนทับภาพให้อัตโนมัติ โดยหลักการคือจะซ้อนเฉพาะแสงที่สว่างมากกว่าเท่านั้น สิ่งที่จะเพิ่มมาในการถ่ายภาพซ็อตต่อมาก็จะเป็นแสงเฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนไหนแสงคงที่เท่าเดิมก็จะไม่มีอะไรเพิ่มเติมเข้ามา นั่นหมายความว่าแสงในภาพของเราจะไม่โอเวอร์ และจะได้เส้นแสง เส้นไฟมาครบถ้วน

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

หลักการ Live Composite นั้น เพื่อนๆจะสามารถใช้งานได้โดยต้องเข้า Mode M เท่านั้น และทำการปรับ Speed Shutter ให้ลงต่ำที่สุดจนเลย Live Bulb จะปรากฏคำว่า Live Com. ขึ้นมาครับ ยกเว้นกล้อง Olympus ในรุ่นใหม่อย่าง Olympus OM-D E-M10 III นั้นมีความพิเศษกวารุ่นอื่นๆ อยู่อย่างคือเค้าเพิ่มโหมด AP มาในกล้องคือสามารถหมุนไปที่โหมด AP แล้วเลือก Live composite ได้เลย  ไม่ต้องเซ็ตค่าอะไร กล้องคิดให้หมด กดถ่ายอย่างเดียวแล้วรอ ถือว่าง่ายมากๆ และ กล้อง Mirrorless จากค่าย Olympus ในปัจจุบันก็มีการบรรจุ Feature Live Composite ลงแทบทุกทุกรุ่นเลยครับ

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

Live Composite นั้นเป็นโหมดที่ใช้งานง่าย อยากเก็บเส้นแสงแค่ไหน ก็เก็บได้เรื่อย ๆ หลาย ๆครั้งที่บางคนจะปล่อยให้กล้องเก็บเส้นแสงไปเรื่อย ๆ จนมีเส้นแสงเต็มไปหมดจนมันดูเยอะจนเกินไปและกลายเป็นดูรกไปซะงั้น อันนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ครับ สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงในการใช้งานโหมด Live Composite ต้องรู้จักพอครับผม และสิ่งหนึ่งที่เป็นข้อจำกัดของโหมด Live Composite ก็คือคุณจะสามารถถ่ายต่อเนื่องได้ยาวนานทั้งหมด 3 ชม. เท่านั้นครับ

 

ข้อควรระวังในการถ่าย Lightning Photography

– อันตรายจากน้ำ

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

อย่างที่เกริ่นไปว่า ในฤดูฝน เราจะสามารถเก็บภาพฟ้าผ่าได้อย่างอิสระแทบจะทุกช่วงของฤดูกาลนี้ แต่อย่าลืมว่าในฤดูฝนก็มาพร้อมพายุฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะน้ำ ไม่ว่าจะเป็นละอองน้ำ , สายฝน หรือ ความชื้นในอากาศ ซึ่งความชื้นเหล่านี้ถือเป็นศัตรูของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคอย่างดีเลยครับ เพราะ เพียงแค่มีไอความชื้นเข้าไปภายในแผงวงจรเพียงเล็กน้อย การเสื่อมสภาพก็อาจจะมาเร็วกว่ากำหนด ซึ่งอุปกรณ์กล้องและเลนส์ของเราต่างก็มีราคาที่ค่อนข้างสูง ฉะนั้น หากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความชื้นสูงด้วยนะครับ

– Location ณ ที่ถ่าย

อย่างที่เกริ่นไปว่า ในฤดูฝน เราจะสามารถเก็บภาพฟ้าผ่าได้อย่างอิสระแทบจะทุกช่วงของฤดูกาลนี้ แต่อย่าลืมว่าในฤดูฝนก็มาพร้อมพายุฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะน้ำ ไม่ว่าจะเป็นละอองน้ำ , สายฝน หรือ ความชื้นในอากาศ ซึ่งความชื้นเหล่านี้ถือเป็นศัตรูของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคอย่างดีเลยครับ เพราะ เพียงแค่มีไอความชื้นเข้าไปภายในแผงวงจรเพียงเล็กน้อย การเสื่อมสภาพก็อาจจะมาเร็วกว่ากำหนด ซึ่งอุปกรณ์กล้องและเลนส์ของเราต่างก็มีราคาที่ค่อนข้างสูง ฉะนั้น หากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความชื้นสูงด้วยนะครับ

– Location ณ ที่ถ่าย

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

การถ่ายภาพฟ้าผ่า มิใช่ว่าจะถ่ายบริเวณไหนก้ได้นะครับ เพราะ ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือช่วยตรวจวัดความเสี่ยงของการเกิดฟ้าผ่า หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่เหนือศีรษะ แล้วเส้นขนบนผิวหนังลุกขึ้นหรือเส้นผมบนศีรษะลุกตั้งขึ้น แสดงว่ากำลังเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า ซึ่งบริเวณที่ไม่เหมาะแก่การภาพฟ้าผ่าแบบ 100% นั้น คือ การถ่ายแบบในที่โล่งแจ้ง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่สุดอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะครับ สำหรับ Location ที่แนะนำนั้น ควรเป็นภายในสิ่งปลูกสร้างที่มีการวางระบบป้องกันการเกิดฟ้าผ่า เช่น อาคาร บ้านเรือน เป็นต้นครับ

 

*** ภาพตัวอย่าง : Lightning Photography ***

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

Tips : กางตำรา ล่าฟ้าผ่ากันเถอะ Lightning Photography

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

inbox : http://www.facebook.com/messages/zoomcamera

02-635-2330 ต่อ 0 / 083-067-7677 (หยุดวันอาทิตย์)

สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772

สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123

สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919

สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498

สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775

สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896

สาขา Central Westgate 02-060-4362 / 097-063-4328

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 25/06/2018

Leave a Reply

โค้ดลดสูงสุด

3,000

Happy Code Day 26-28 MAR

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save