Tips : เทคนิคถ่ายภาพหยดน้ำบนแผ่น CD Leave a comment

กราบสวัสดีเพื่อนๆพี่ๆี่ติดตาม Content ของทาง Zoomcamera ผ่านทางช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Line หรือ Youtube ทุกๆท่านด้วยนะครับ สำหรับ Content ในวันนี้ทีมงาน Zoomcamera จะมาแนะนำการถ่ายภาพแนว Droplet หรือ หยดน้ำ ซึ่งการถ่ายภาพหยดน้ำแบบทั่วๆไปเรามักจะเห็นจนคุ้นชินกันไปแล้ว ซึ่งเราสามารถพลิกแพลงการถ่ายภาพหยดน้ำเดิมๆโดยอาศัยสิ่งของเข้าช่วยอย่างแผ่น CD นั่นเองครับ มาถึงตรงนี้เพื่อนๆหลายท่านคงสงสัยว่าแผ่น CD จะมาช่วยอะไรในการถ่ายภาพหยดน้ำ ลองมาติดตามรายละเอียดไปพร้อมๆกันเลยครับ

*** Tips : เทคนิคถ่ายภาพหยดน้ำบนแผ่น CD ***

สิ่งที่ต้องเตรียม

– กล้อง

แน่นอนว่า เราต้องมีกล้องประจำตัวเพื่อนำมาถ่ายภาพ สำหรับการถ่ายภาพแนว Droplet หรือ ภาพหยดน้ำนั้น ไม่ได้มีการจำกัดว่าจะต้องใข้กล้องแบบใดครับ เท่ากับว่าเพื่อนๆสามารถใช้งานกล้องได้แทบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกล้อง DSLR , กล้อง Mirrorless , กล้อง Compact หรือ กล้องจาก Smartphone ก็สามารถใช้ได้เช่นกันครับ ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่จะได้ออกมานั้น ขึ้นอยู่กับศักยภาพของ Sensor และ หน่วยประมวลภายในตัวกล้องเป็นหลักด้วยนะครับ ซึ่งแน่นอนว่ากล้องแต่ละประเภทให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันแน่นอนครับ

– เลนส์

นอกจากกล้องแล้ว เลนส์ยังถือเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยหน้ากล้องเช่นกันครับ เพราะ การถ่ายภาพหยดน้ำนั้น เจ้าตัวหยดน้ำจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก ซึ่งขนาดที่เล็กนี้ถือว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญกว่าได้ครับ ยิ่งขนาดเล็กมากเท่าไร ยิ่งจำเป็นต้องใช้เลนส์ที่มีกำลังขยายสูง เพื่อถ่ายทอด Detail ออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ สำหรับการถ่ายภาพแนว Droplet ผ่านแผ่น CD นั้น ปกติเราจะเล่น Effect การสะท้อนของหยดน้ำที่อยู่บนแผ่น CD ฉะนั้นเลนส์ที่เหมาะสมนั้น คววรจะเป็นเลนส์ Normal หรือ เลนส์ Macro ซึ่งหากเราใช้เลนส์ Macro เราสามารถที่จะ Closeup เพื่อให้เห็น Detail จากการสะท้อนผ่านแผ่น CD ด้วยนั่นเองครับ

– แผ่น CD

พระเอกของเราในการถ่ายภาพแนว Droplet ในครั้งนี้ครับ ใครจะไปเชื่อว่าเจ้าแผ่น CD ที่เราเห็นจนชินตา นอกเหนือจะใช้ในด้านบันเทิงแล้ว ยังสามารถนำมาพลิกแพงในการถ่ายภาพได้เช่นกันครับ สำหรับแผ่น CD ที่จะนำมาใช้นั้น แนะนำว่าควรใช้แผ่น CD ที่มีริ้วรอยน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เพื่อให้ภาพ Droplet ที่จะได้นั้นมีความสวยงามที่สุดนั่นเองครับ

– ขาตั้งกล้อง

อันที่จริงแล้ว การถ่ายภาพแนว Droplet หรือ ภาพหยดน้ำบนแผ่น CD อาจจะไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้ ขาตั้งกล้อง ซักเท่าไรนัก แต่เหตุผลหลักๆที่เราจำเป็นต้องเตรียมขาตั้งกล้องไว้ด้วยนั้น คือ เพิ่มประสิทธิภาพความนิ่งให้กับตัวกล้องของเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งบางครั้งการถ่ายภาพแนว Droplet หากไม่ได้มีการจัดแสงที่ดี อาจจะทำให้สภาพแวดล้อมมีแสงที่น้อย ทำให้ Speed Shutter ต่ำ ซึ่งจาก Speed Shutter ที่ต่ำนี้ พร้อมจะทำให้ภาพของเราสั่นเบลอ ไม่คมชัดได้นั่นเองครับ แต่ทั้งนี้เราต้องพิจารณาขาตั้งที่จะนำมาใช้ด้วยนะครับ ว่า สามารถรับน้ำหนักกล้องพร้อมเลนส์ของเราได้ โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อขาตั้งกล้องด้วยนะครับ

– แฟลช / ไฟต่อเนื่อง

มาถึงเรื่องของแสงที่จะมาช่วยประกอบฉากกันครับ สำหรับการถ่าย Droplet หรือ การถ่ายภาพหยดน้ำนั้น แม้ว่าปกติเราจะถ่ายแบบธรรมดาโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้แฟลช / ไฟต่อเนื่องก็ได้ แต่บางครั้งสภาพแสงรอบข้างมักไม่เอื้ออำนวยซักเท่าไรนัก ไม่ว่าจะเป็นสภาพแสงน้อย หรือ สภาวะไร้แสง การนำไฟต่อเนื่องมาช่วยประกอบการถ่ายนั้น นอกเหนือจะช่วยเพิ่มความสว่างทำให้เราใช้ค่า Speed Shutter ที่สูงได้แล้ว แสงที่ตกกระทบลงบนแผ่น CD ก็พร้อมสร้าง Effect ผ่านออกมาทางหยดน้ำบนแผ่น CD ด้วยครับ

การตั้งค่าที่เหมาะสม

– ค่า F / รูรับแสง

สำหรับค่ารูรับแสงที่ใช้สำหรับถ่ายภาพแนว Droplet หรือ ภาพหยดน้ำนั้น เราจะนิยมใช้ค่า F ที่แคบ ตั้งแต่ F 8 ขึ้นไปครับ สาเหตุเพราะเราต้องการคลุมความชัดลึกทั่วทั้งภาพนั่นเอง ซึ่งจะคล้ายๆกับการถ่ายภาพ Landscape นั่นเองครับ เพราะ หากเราใช้ค่า F ที่ค่อนข้างกว้าง นอกเหนือจากหยดน้ำจะไม่คมชัดแล้ว อาจจะทำให้เหล่าหยดน้ำเบลอกลืนไปกับฉากหลังไปด้วยนั่นเองครับ

– ค่า Speed Shutter

ความเร็วชัตเตอร์มีหน้าที่ควบคุมระยะเวลาในการที่กล้องจะเก็บแสงว่าให้เก็บแสงนานแค่ไหน ซึ่งแสดงเป็นค่าตัวเลขในหน่วยของเวลาคือวินาที ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณเห็นตัวเลข 1/500 นั่นคือเราจะอ่านว่า”หนึ่งส่วนห้าร้อยวินาที” อธิบายให้เห็นภาพคือแบ่ง 1 วินาทีเป็น 500 ส่วน และใช้เวลาเก็บแสงเพียงแค่ 1 ส่วนนั่นเอง ซึ่งเป็นเวลาที่ไม่ถึง 1 วินาทีด้วยซ้ำ ยิ่งตัวเลขเยอะยิ่งหมายความว่าสปีดชัตเตอร์จะมีความเร็วมากขึ้นนั่นเองครับ

– ค่า ISO

ISO มีหน้าที่ควบคุมระดับความไวของแสงที่กระทบลงไปที่เซ็นเซอร์รับภาพ ยิ่งตัวเลขมากก็ยิ่งทำให้สว่างมากขึ้นครับ อย่างแถบตัวอย่างภาพด้านบน โดยหลักการทำงานคือมันไปขยายสัญญาณที่เซ็นเซอร์รับมา เพราะฉะนั้นหากมีการเร่งสัญญาณสูงมาก สัญญาณก็มีการกวนกันมากขึ้น ส่ิ่งที่ตามมาเป็นเหมือนเงาตามตัวนั่นก็คือ Noise หรือภาพแตกเสียรายละเอียดนั่นเองครับ ซึ่ง Noise เองจะทำให้ภาพเสียความละเอียดทั้งพื้นผิวและรายละเอียดของสีก็หายไปด้วยครับ ซึ่ง ISO นอกจากจะช่วยเพิ่มความสว่างให้กับภาพแล้ว ยังช่วยเพิ่มค่า Speed Shutter ไปในตัวด้วยครับ ทำให้ลดโอกาสการเกิดภาพสั่นไหวได้ด้วยนั่นเองครับ

*** ภาพตัวอย่าง : ถ่ายภาพหยดน้ำบนแผ่น CD ***

Credit : Digital Photography School

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 04/07/2018

Leave a Reply

โค้ดลดสูงสุด

3,000

Happy Code Day 26-28 MAR

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save