5 เทคนิคการทำ Panning Shot ยังไงให้นิ่งได้ภาพคมชัด Leave a comment

ภาพถ่ายคือการหยุดเวลา หยุดทุกความเคลื่อนไหวที่อยู่ตรงหน้าเรา แต่เดี๋ยวก่อน! แล้วถ้าเราหยุดทุกความเคลื่อนไหว เราจะสามารถเล่าเรื่องของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่มันกำลังเคลื่อนไหวได้อย่างไร เช่นนั้นการหยุดทุกความเคลื่อนไหวก็ไม่ใช่คำตอบ และคงเล่าเรื่องราวของ Actions ที่ดูเคลื่อนไหวไม่ได้ทั้งหมด คำถามคือ แล้วเราจะถ่ายยังไงล่ะเมื่อเราอยากให้ภาพเหล่านั้นดูมีการเคลื่อนไหว? วันนี้ผมจะมาแนะนำให้ท่านได้รู้จักเทคนิคการถ่ายภาพที่ชื่อว่า Pan Action ครับผม

เทคนิคการถ่ายภาพ Panning Shot หรือ Pan Action

เทคนิคการถ่ายภาพ Panning shot หรือ บางคนอาจจะเรียกว่า Pan Action เรามักจะเห็นเป็นที่นิยมในการถ่ายภาพกีฬา หรือ ภาพที่เป็นวัตถุเคลื่อนที่เร็ว ๆ เช่น ภาพรถวิ่ง ภาพเด็กถีบจักรยาน ภาพเด็กวิ่ง ถ้าเราอยากให้ภาพนั้นดูว่าเป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวเราก็ใช้เทคนิค Panning shot หรือ Pan Action นั่นแหละครับ หลักการคือ ใช้ชัตเตอร์ช้าครับ เพื่อใช้เอฟเฟกต์ยืดเบลอของชัตเตอร์ช้า

ในเวลาที่เราถ่ายภาพเราก็ Pan ตามวัตถุในแนวระนาบซ้ายขวา สิ่งที่ไม่ได้เคลื่อนไหวเช่นฉากหลัง ตึกรามบ้านช่องก็จะยืดเบลอออกไปส่วนที่เราPanตามก็จะชัดครับ ฟังดูแล้วไม่ยากใช่มั้ยครับ แต่จริง ๆ แล้วการ Panning จะให้ออกมาคุณภาพดีนี่ก็ยากอยู่ครับ อาจจะต้องอาศัยการฝึกฝนครับ ยิ่งสำหรับบางคนที่ผมเคยเจอนี่แยกประสาทการ Pan กับการกดชัตเตอร์ไม่ได้เลย คือพอจะจังหวะ Pan ก็ Pan ปกติครับแต่พอจะกดชัตเตอร์ดันหยุด Pan ภาพที่ได้ฉากหลังเลยไม่ยืดแบบที่เราต้องการ กลายเป็นวัตถุที่จะถ่ายยืดแทน หรือ มองไม่เห็นวัตถุไปเลยเพราะ Pan ไม่ทันก็มี

โหมดที่เหมาะจะใช้สำหรับการ Panning หรือ การถ่ายภาพ Pan Action

อย่างที่บอกไปเพราะการใช้เทคนิคคือการควบคุมสปีดชัตเตอร์ให้ช้า โหมดที่เหมาะสมนั่นคือโหมด S หรือ โหมดที่ควบคุมสปีดชัตเตอร์ หรือ Tv นั่นเองครับแล้วเราก็เลือกแค่สปีดชัตเตอร์ และที่เหลือให้กล้องจัดการเลยก็ง่ายดีครับ หรือถ้าใครถนัดใช้โหมด M ก็ได้ครับก็เลือกเองทั้งหมด อันดับแรกก็สปีดเป็นหลักก่อนเพราะว่าเราอยากใช้ชัตเตอร์ช้า แล้วก็เลือกรูรับแสง หรือ ISO ให้เหมาะสมครับผม แต่ผมแนะนำโหมด S มากกว่าครับสบายกว่าเยอะ

Tips & Tricks การถ่ายภาพ Panning shot หรือ การถ่ายภาพ Pan Action

1.เลือกความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะสม

ถึงจะบอกว่าใช้ชัตเตอร์ช้าแต่ความเร็วชัตเตอร์ก็ต้องสัมพันธ์กับความเร็วของสิ่งที่เรากำลังจะถ่ายนะครับ เช่นถ่ายรถที่มีความเร็วสูง เราก็อาจจะต้องใช้สปีดที่เร็วขึ้นครับ อันนี้ต้องอาศัยหน้างานเลยครับถ้าเร็วไปก็ปรับให้พอดี หลายคนก็คงว่าแล้วจะเริ่มที่ความเร็วเท่าไหร่ดี สำหรับผมเองถ้าโจทย์เป็นการ Pan Action ผมจะเริ่มที่ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 1/60 วินาทีครับ ถ้าช้าหรือเร็วว่านั้นก็ค่อยปรับเพิ่มหรือลดเอาครับ ใช้ 1/60 วินาทีเป็นจุดเริ่มของผมครับ

2.ใช้ระบบโฟกัสแบบต่อเนื่อง หรือ Continuous หรือ AI Servo

คุณควรเลือกใช้ระบบโฟกัสแบบต่อเนื่อง หรือ Continuous หรือ AI Servo ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมามันคือแบบเดี๋ยวกันนั่นแหละครับ คือกล้องจะทำการโฟกัสอยู่ตลอดเวลาเมื่ออะไรผ่านมาตรงจุดที่เราโฟกัส กล้องจะคอยโฟกัสให้เรื่อย ๆ ซึ่งระบบโฟกัสแบบนี้นั่นคือระบบโฟกัสที่ใช้สำหรับถ่ายอะไรที่ไม่อยู่นิ่งอยู่แล้วครับผม โดยเรากดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงจะเป็นการโฟกัสไปเรื่อย ๆ จ้า

3.กะจังหวะการกดชัตเตอร์ให้พอดี

สมมุติว่าเราต้องการให้วัตถุที่เราถ่ายอยู่ตรงกลางพอดีเช่นในภาพข้างล่าง ถ้าผมอยากให้รถอยู่ตรงกลางภาพให้พอดีต้องกะจังหวะการกดชัตเตอร์ให้พอดีกับช่วงที่รถอยู่ตรงกลางภาพครับ โดยก่อนหน้านั้นเราก็ทำการแทรกโฟกัสที่รถก่อนในขณะนั้นก็ Pan ตามไปด้วยครับ เมื่อรถมาถึงตรงกลางพอดีก็กดชัตเตอร์แล้ว Pan ตามไปอีกหน่อยครับ แค่นี้ก็ได้ 1 ภาพละครับ

4.หากมือไม่นิ่งแนะนำให้ลองใช้ขาตั้งกล้อง

ตามจุดประสงค์ของขาตั้งกล้องเลยครับเพื่อให้กล้องนิ่งขึ้นแล้วเราก็ปลดล็อคเฉพาะส่วนที่เป็น Pan ของขาตั้งครับแล้วทำการถ่าย ผมพูดได้เลยว่าได้ภาพที่ดีขึ้นแน่นอน หรือไม่งั้นก็ลองใช้เป็น Monopod หรือขาตั้งที่เป็นขาเดียวซึ่งเราจะเห็นช่างภาพแนวกีฬาใช้กันประจำอยู่แล้ว ก็ถือว่าไม่เสียหาย และพกพาง่ายด้วยครับ

5.ช่วง Wide ต้องใช้สปีดที่ต่ำกว่าช่วง Tele

จริง ๆ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เราควรรู้ครับ เพราะว่าช่วงระยะ Tele จะดึงฉากหลังเข้ามามากกว่าภาพที่ได้ก็จะยืดง่ายกว่าครับ แต่ก็แพนนิ่งยากขึ้นด้วยเพราะว่ามันจะสั่นง่าย ส่วนช่วง Wide จะ แพนนิ่งง่ายกว่า แต่ต้องใช้สปีดที่ตำกว่าครับ เพื่อให้ภาพยืด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรื่องสปีดเองก็ต้องขึ้นอยู่ความเหมาะสม และความเร็วของสิ่งที่เราจะถ่ายครับผม

สรุป

จริง ๆ แล้วเทคนิคการถ่ายภาพแบบ Panning หรือ Pan Action ดูเหมือนง่าย ๆครับ ถ้าเข้าใจหลักการ แต่หลาย ๆ คนลองแล้วก็ไม่ได้ภาพแบบที่หวังไว้นักครับ อาจจะต้องอาศัยการฝึกฝนเพิ่มเติมครับ แต่ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สร้างความน่าตื่นเต้นให้ภาพ และเติมเต็มความหมายของคำว่า Action ได้ดีมากครับ

บทความนี้เขียนเมื่อ วันที่ 12/01/2017

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save