Tutorial : 5 Tips ใช้ขาตั้งถ่ายภาพ Landscape อย่างไรให้ปัง Leave a comment

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติดตามเพจของ zoomcamera ทุกๆท่านด้วยครับ กลับมาพบกับบทความที่รวบรวมสาระดีๆที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพในทุกๆรูปแบบ ซึ่งในวันนี้จะเป็นบทความของทางฝั่งการถ่ายภาพแนว Landscape ซึ่งหากพูดถึงการถ่าย Landscape แล้ว หลายๆท่านคงนึกถึงการถ่ายภาพวิว ทิวทัศน์เป็นซะส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมุ่งเน้นไปที่รายละเอียดของการ Setting ต่างๆเป็นซะส่วนใหญ่ แต่ในมุมกลับกัน การถ่าย Landscape นั้นนอกเหนือจากการ Setting ต่างๆที่ตัวกล้องแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าสำคัญไม่น้อยไปกว่าการ Setting นั่นคือ การใช้ขาตั้งร่วมกับการ Landscape ซึ่งเจ้าขาตั้งนี้ ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้น ที่เรียกว่าแทบจะขาดไปไม่ได้เลย ยิ่งเป็นการถ่าย Landscape ที่เน้นผลงานด้วยแล้ว จะพลาดไม่ได้แม้แต่วินาที ซึ่งในวันนี้ทาง Zoomcamera ก็มีบทความอย่าง ” Tutorial : 5 Tips ใช้ขาตั้งถ่ายภาพ Landscape อย่างไรให้ปัง “ ที่พร้อมจะมาช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีให้กับเพื่อนๆช่างภาพสาย Landscape จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยครับ

*** Tutorial : 5 Tips ใช้ขาตั้งถ่ายภาพ Landscape อย่างไรให้ปัง ***

1. จัดท่าทางตัวกล้องในแนวตั้ง

สำหรับการถ่าย Landscape แล้ว การนำกล้องต่อเข้ากับขาตั้งกล้องถือว่าเป็นเรื่องปกติของตากล้องสาย Landscape ไปแล้วก็ว่าได้ครับ ซึ่งโดยปกติของขาตั้งกล้องมักจะมีทั้งแบบหัวบอล หัวแพนนิ่ง ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพที่นอกเหนือจากการถ่าย Landscape ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขาตั้งแบบหัวบอลนั้น บริเวณแกนของหัวบอลสามารถปรับองศาได้อย่างอิสระ ในจุดนี้ทำให้เราใช้ประโยชน์ในข้อนี้ในการจัดท่าทางของตัวกล้องที่อยู่บนขาตั้งกล้อง ซึ่งปกติแล้วเมื่อเราจัดท่าทางกล้องในแนวตั้ง ตัวกล้องบริเวณที่ปิดแบตเตอรี่นั้น มักจะติดกับขาตั้งกล้องนั่นเอง แต่ทั้งนี้ถ้าเราจัดตำแหน่งให้ฝาปิดแบตเตอรี่อยู่ด้านบน แทนที่จะหันหลังด้านล่าง จะทำให้เราสะดวกในกรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ระหว่างการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี และ คล่องตัวกว่านั่นเองครับ

2. อย่าฝืนการทำงานของขาตั้งกล้อง

ต่อจากข้อแรกที่เกริ่นไปแล้วเกี่ยวกับการใช้งานขาตั้งที่เป็นหัวบอลกับกล้อง สำหรับการถ่าย Landscape อย่างที่บอกไป ไม่ว่าจะเป็นแกนหัวบอล , แกนหัวแพน หรือ แกนหัวคลิป ล้วนแล้วแต่มีความอิสระในการทำงานของตัวมันเอง แต่มักจะมีช่างภาพมือใหม่ และ/หรือ ช่างภาพมือสมัครเล่น ที่มักจะฝืนความสามารถของขาตั้งกล้องจนเกินขีดความสามารถไป ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลเสียต่ออายุการใช้งานในระยะยาวแน่นอน ทั้งหัวบอลที่เกลียวหวาน , คลิปล๊อคที่จะแตกเสียหาย ซึ่งอาการเสียหายเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของขาตั้งกล้องด้วยนั่นเองครับ

3. ละทุกสิ่งให้ห่างจากขาตั้งกล้อง

เชื่อว่าช่างภาพมือใหม่ หรือ ช่างภาพมือสมัครเล่น ในช่วงแรกเริ่มในการถ่ายภาพ Landscape มักจะคิดว่าการมีขาตั้งกล้อง นอกจากจะทำให้กล้องที่อยู่บนขาตั้งนั้นมีความนิ่งและลดการสั่นไหวได้เป็นอย่างดี และหากในสภาวะอากาศที่ย่ำแย่ อาทิเช่นมีกระแสลมแรง สามารถใช้มือช่วยประคองขาตั้งกล้องให้นิ่งขึ้นได้ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผิด เพราะ การใช้มือ และ/หรือ สิ่งของต่างๆจับขาตั้งกล้องในระหว่างการถ่ายภาพไปด้วย นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้ขาตั้งกล้องของเรานิ่งขึ้น แต่ยังส่งผลต่อการสั่นไหวของภาพที่เราจะได้ด้วยนั่นเอง ยิ่งการใช้ค่า Speed Shutter ที่นานมากกว่า 1 Sec. ขึ้นไป การสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย ก็พร้อมจะทำให้ภาพของเรานั้นสั่นไหว หรือ เกิดการเบลอไปด้วยนั่นเองครับ

4. จงมั่นใจว่า ล๊อคแน่นแล้วทุกจุด

เชื่อว่าเป็นปัญหาโลกแตกที่พบได้บ่อยในกลุ่มช่างภาพมือใหม่ หรือ ช่างภาพมือสมัครเล่น เกี่ยวกับตัวยึดต่างๆในขาตั้งกล้องไม่ว่าจะเป็นหัวบอล , คลิปล๊อค ที่บางครั้งเกิดอาการหลวมไม่แน่นเหมือนปกติที่เคยใช้มา อันมาจากอายุการใช้งานต่างๆ รวมถึงการเสื่อมสภาพตามกาลเวลาของชิ้นส่วนต่างๆ ฉะนั้นก่อนจะพากล้องคู่ใจไปถ่าย Landscape โดยเฉพาะใน Location ที่พลาดไม่ได้ด้วยแล้ว ควรเช็คสภาพและความพร้อมของขาตั้งกล้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการลองกางขาตั้งในทุกๆข้อ ว่าลื่นไหล ไม่ฝืดจนเกินไป , ตัวล๊อคของหัวบอลไม่คลายเกลียว จนไม่สามารถล๊อคหัวบอลให้อยู่นิ่งได้ เพราะ อาการหลวมเหล่านี้ ก็พร้อมจะทำให้ผลงานของเราเสียหายได้ตลอดเวลาครับ ซึ่งปกติแล้วในชุดขายของขาตั้งกล้อง มักจะแถมประแจมาให้ภายในชุด เพื่อใช้ในการไขในจุดต่างๆ เพื่อแก้อาการดังกล่าวเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดีครับ

5. อย่าให้น้ำขังอยู่ในภายในขาตั้งกล้อง

การถ่ายภาพ Landscape ปกติแล้วงานที่ค่อนข้างซีเรียสในเรื่องของรายละเอียดนั้น มักจะใช้ขาตั้งกล้องร่วมด้วยแทบจะทุกครั้งไป ซึ่งในสถานการณ์ตรงหน้า ณ ขณะนั้น อาจจะมีทั้งภูมิประเทศแบบภูเขา , ทะเลทราย , ป่าเขา , หิมะ และ/หรือ พื้นน้ำ โดยเฉพาะกับพื้นน้ำด้วยแล้ว การได้ขาตั้งกล้องเข้ามาช่วยในการถ่ายภาพ Landscape จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รูปมากยิ่งขึ้นอันมาจากการที่ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ ณ บริเวณนั้นๆนั่นเอง แต่หลังจากที่เราได้ผลงานที่ถูกอกถูกใจเราแล้ว เรามักจะมองข้ามเรื่องที่ส่งผลโดยตรงกับขาตั้งกล้องเรา นั่นคือ คราบน้ำและความชื้น นั่นเอง แม้ว่าในขาตั้งกล้องบางรุ่นที่บริเวณปลายข้อสุดท้ายจะมีช่องสำหรับระบายน้ำที่ขังอยู่ภายในให้ออกมาได้อย่างสะดวก แต่ต้องไม่ลืม แม้น้ำจะออกไปหมด แต่ความชื้นสะสมที่อยู่ภายในก็พร้อมทำปฎิกริยากับวัสดุของขาตั้งกล้อง ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก , น้ำมัน , ยาง ที่พร้อมจะทำให้ขาตั้งของเราค่อยๆสึกหรอลงไปเรื่อยๆนั่นเองครับ

Credit  :  digital-photography-school.com

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 27/03/2018

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save