Tutorial : EP.1 มือใหม่ตั้งค่าถ่าย Video Leave a comment

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติดตาม Content ของ Zoomcamera ทุกๆท่านด้วยนะครับ ท่ามกลางกระแสการถ่าย Video ในปัจจุบันทวีความนิยมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่างภาพมือใหม่ที่เน้นการถ่าย Video เชิง VLOG กันมากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับฝั่งภาพนิ่ง

Video : EP.1 มือใหม่ตั้งค่าถ่าย Video

มือใหม่กับจุดเริ่มต้นการเริ่มถ่าย Video

หากมองย้อนกลับไป เมื่อประมาณ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสการถ่าย Video ยังไม่ได้รับความนิยมชนิดบูมติดตลาดเหมือนดั่งเช่นในปัจจุบันนี้ ทั้งจากกล้อง DSLR , Mirrorless หรือ Smartphone

กระแสการถ่าย Video เริ่มถูกจุดติดขึ้น จากการถ่ายในลักษณะ VLOG หรือ Video ที่เสมือนเล่าเรื่องรอบตัวของผู้ถ่ายในลักษณะ Freestyle โดยแรกเริ่มนั้นเป็นกระแสกันในกลุ่ม Blogger จนกระทั่งเริ่มเผยแพร่ไปยังกลุ่มช่างภาพด้วยเช่นกัน

นอกเหนือจากงาน Video ในลักษณะ VLOG แล้ว ยังมีการแตกแขนงไปยังสายงานอื่นๆ อาทิเช่น Video Review ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว , ตัวสินค้า หรือ Video LIVE ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนั่นเอง

การตั้งค่าเบื้องต้นในงาน Video

เชื่อว่าช่างภาพมือใหม่ที่อยากจะเปลี่ยนสายจากภาพนิ่งมาสู่การถ่าย Video นั้น อาจจะยังสับสนอยู่บ้างว่า แล้วการถ่าย Video นั้น ต้องตั้งค่าลักษณะใด เพื่อให้ได้ Performance ที่ดีที่สุด และ ตอบโจทย์การใช้งานที่สุด ซึ่งมาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา

  • Mode ที่ใช้ในการถ่าย Video

สำหรับมือใหม่ หลายๆท่านอาจจะคิดว่าการถ่าย Video นั้น กดแค่ปุ่ม Record หรือ ปุ่มสีแดง ก็เป็นอันเรียบร้อย ซึ่งก็ถูกเพียงครึ่งหนึ่งครับ เพราะ จริงๆการถ่าย Video จะคล้ายๆกับการถ่ายภาพนิ่ง ที่เรายังต้องควบคุมค่า Setting ต่างๆเช่นเดิม

Mode ในการถ่าย Video แนะนำเป็น Auto , P หรือ A

คำถาม คือ แล้วใช้ Mode อะไรดีในการถ่าย Video นั้น สำหรับมือใหม่ทีมงานอยากจะแนะนำเป็น Mode Auto เพราะ ง่ายและมือใหม่เข้าใจง่ายที่สุด โดยตัวกล้องจะคิดคำนวณให้เราเสร็จสรรพ แต่ Mode นี้อาจจะตอบโจทย์แบบโฉบเฉี่ยว บางสถานการณ์ไม่แนะนำเท่าไรครับ

ส่วนอีก Mode ที่อยากแนะนำ คือ Mode P เนื่องจาก Mode นี้จะคล้ายๆกับ Mode Auto แต่ ผู้ถ่ายยังสามารถที่จะปรับค่าต่างๆได้อิสระมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ISO , Aperture หรือ การชดเชยแสง ที่ตอบโจทย์ในหลายๆสถานการณ์มากกว่า Mode Auto นั่นเอง

ถ้าเพื่อนๆที่มี Skill การถ่าย Video มาในระดับหนึ่งแล้ว อาจจะทดลองถ่ายด้วย Mode A ก็ได้เช่นกันครับ หลักการเฉกเช่นเดียวกับการถ่ายภาพนิ่ง คือ คุมเรื่องค่า F เพื่อเน้นเรื่องการเบลอฉาก และ ไม่ต้องใช้ค่า ISO สูงๆ ทั้งนี้ในการถ่าย Video พยายามเลี่ยงการใช้ค่า F กว้างๆในบางสถานการณ์ เพราะ งาน Video เน้นการเล่าเรื่อง + บรรยากาศประกอบคู่กัน

  • Aperture หรือ ค่ารูรับแสง

เชื่อว่าเพื่อนๆที่ชื่นชอบการถ่าย Portrait น่าจะคุ้นเคยกับค่ารูรับแสงเป็นอย่างดี เพราะ ค่ารูรับแสงจะช่วยสร้าง Effect หน้าชัด หลังเบลอ ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกันกับงาน Video ค่ารูรับแสงยังคงทำงานคล้ายคลึงกับงานภาพนิ่งเช่นเดิม

ถามว่างาน Video ต้องเปิดค่า F เท่าไรนั้น คงจะไม่มีค่าตายตัว เนื่องจากงาน Video แต่ละ Style จะมีความแตกต่างกันตามเนื้องาน เช่น ถ้าเน้นตัวบุคคลให้เล่าเรื่องเป็นหลัก ก็อาจจะเปิด F กว้างสุดเลยก็ได้

ค่า F กว้าง จะช่วยเบลอฉากหลัง สร้างจุดเด่นให้ Subject ได้เป็นอย่างดี

กลับกันหากเป็นงาน Video เชิงสารคดี หรือ Video สาย Travel ก็อาจจะเน้นการคุมค่ารับแสงให้แคบ เพื่อให้มีความชัดลึกด้วยเช่นกัน คงไม่มีใครที่ถ่าย Video ในสถานที่ท่องเที่ยวแล้วเบลอฉากหลังทิ้งจนไม่สามารถรู้ได้ว่าถ่ายจากที่ไหนแน่นอน

ค่า F แคบ แม้จะไม่ค่อยเบลอฉาก แต่ช่วยเล่าเรื่องได้เป็นอย่างดี
  • ISO หรือ ค่าความไวแสง

” อย่าดัน ISO สูงๆนะ เดี๋ยวไฟล์ช้ำ ” เชื่อว่าเพื่อนๆน่าจะเคยได้ยินนิยามดังกล่าวมาอย่างแน่นอนในสายงานภาพนิ่ง ซึ่งค่า ISO นั้นจะเป็นการบูธสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้ Sensor รับแสงได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง ผลที่ตามมา ยิ่ง ISO สูง ยิ่งเจอ Noise ได้ง่ายนั่นเอง

ทว่าค่า ISO ในงาน Video จะแตกต่างจากงานภาพนิ่งอยู่บ้างครับ เพราะ งานภาพนิ่งเราจะเห็น Noise ได้ชัดเจนเนื่องจากเราทำการลั่นชัตเตอร์มาเป็นเพียงภาพ 1 ภาพ

ในขณะที่งาน Video หากเราสังเกตจะเห็นว่า แม้จะใช้ค่า ISO ที่เท่ากันกับภาพนิ่งก็จริง แต่ Noise มีการขยับหรือเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้มีการแช่ค้างไว้จนกวนสายตาเรานั่นเอง

สำหรับ ISO ในงาน Video นั้น แนะนำว่าหากเริ่มถ่าย Video ให้ตั้งเป็น Auto ก็ได้ครับ เพราะ สะดวกและยังช่วยให้เรามีสมาธิในการถ่ายงานตรงหน้าด้วยเช่นกัน เว้นแต่เรามี Skill ในระดับหนึ่งแล้ว อาจจะเลือกปรับ ISO ตามสถานการณ์ เพื่อเลี่ยง ISO สูงได้เช่นกัน

  • Shutter Speed หรือ ความไวชัตเตอร์

หลายๆท่านอาจจะจำภาพของ Shutter Speed ในงานภาพนิ่ง ว่า ยิ่ง Shutter Speed เร็ว ยิ่งหยุด Subject ที่ต้องการให้นิ่งสนิทได้อย่างง่ายดาย เหมือน Freeze Time นั่นเอง

แต่ สำหรับงาน Video นั้น Shutter Speed มีผลอย่างเป็นนัยยะตรงข้ามกับงานภาพนิ่งชัดเจนครับ กล่าวคือ Shutter Speed เร็ว จะส่งผลให้ Movement ต่างๆใน Video มีความแข็งกระด้าง ดูไม่สบายสายตาซักเท่าไรนัก

กลับกัน Shutter Speed ช้า จะส่งผลให้ Movement ต่างๆใน Video มีความ Smooth ไหลลื่นเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้นนั่นเอง

คำถามสำหรับมือใหม่ แล้วจะตั้ง Shutter Speed เท่าไรดี เพื่อให้ Video ดู Smooth ที่สุด หลักการง่ายๆ คือ ให้พิจารณาจากค่า fps ที่ตั้งค่าไว้ อาทิ 24p , 25p , 30p เป็นต้น

สมมติว่า เราเลือกถ่าย Video ที่ 30p ค่า Shutter Speed ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 1/60 sec. นั่นเองครับ

ตัวอย่าง : Shutter Speed ช้า ในงาน Video

ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของทางร้านได้ตลอด 24 ชม. หรือ โทรเข้ามาโดยตรงผ่านโทรศัพท์

แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือ หน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
083-067-7677 / 02-098-9555 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save