สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว Leave a comment

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากระแสการถ่ายดาวนั้นนิยมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ ในกลุ่มโซเชียลหลายกลุ่มก็มีการโพสภาพถ่ายดาวมาอย่างต่อเนื่อง สวย ๆ ทั้งนั้น การถ่ายดาวสำหรับมือใหม่หลาย ๆ คนอาจฟังดูเป็นเรื่องยากและเกินความสามารถจนล้มเลิกกันไปก็มี แต่จริง ๆ แล้วการถ่ายดาวนั้นไม่ได้ยากเกินไปอย่างที่คิดครับ เพียงแต่ก่อนการถ่ายก็จำเป็นจะต้องวางแผนเยอะหน่อย และต้องใช้ความพยายามที่มากกว่าการถ่ายวิวแบบอื่นๆเท่านั้นเองครับ แต่บอกเลยว่าผลลัพท์ที่ได้ฟินมาก ๆ ครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำเทคนิคการถ่ายดาวแบบฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว และจะพยายามอธิบายให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ เป็นข้อ ๆ นะครับ

อุปกรณ์ในการถ่ายดาว (เบื้องต้น)

1.กล้อง

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

ถ้าจะถ่ายรูปแล้วไม่มีกล้องก็ยังไง ๆ อยู่ แต่แนะนำเป็นกล้องที่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ และเซ็นเซอร์ใหญ่หน่อยเช่น M4/3  APSC Fullframe ถ้าเซ็นเซอร์เล็ก ๆ แบบในกล้องคอมแพคก็อาจจะเก็บรายละเอียดมาได้ไม่ดีเท่า นอกจากนั้นยังมีผลเรื่อง Noise ที่ ISO สูง ๆ เซ็นเซอร์ที่ใหญ่กว่าก็ได้เปรียบมากกว่าด้วยนั่นเองครับ

2.เลนส์

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

แนะนำเป็นเลนส์ไวด์ ถ้าเป็นเลนส์ที่มีรูรับแสงยิ่งกว้างก็ยิ่งดีครับซึ่งเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง ๆ ก็มักจะเป็นเลนส์ฟิก ถามว่าเลนส์คิทติดมากับกล้องสามารถถ่ายดาวได้หรือไม่? ก็ต้องตอบว่าได้ครับ แต่อาจจะได้ดาวมาไม่ค่อยเยอะ เลนส์ยิ่งรูรับแสงยิ่งกว้างก็จะถ่ายติดดาวมามากกว่า และด้วยความที่รูรับแสงไม่กว้างมากแสงเข้าน้อยกว่าอย่างเลนส์คิทอาจจะต้องเสียสปีดชัตเตอร์ที่ต้องเปิดนานกว่าอาจจะต้องดัน ISO สูง ๆช่วย ทำให้ก็จะมี Noise เพิ่มเข้ามาด้วยเช่นกันครับผม

3.แบตสำรอง (ถ้ามี)

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

ด้วยความที่การถ่ายดาว เราอาจจะต้องใช้สปีดชัตเตอร์นานหน่อย แถมอาจจะต้องถ่ายหลาย ๆ ภาพ ซึ่ีงแน่นอนว่าอาจจะใช้เวลานานพอสมควร บางครั้งแบตก้อนเดียวที่เตรียมไปก็อาจจะไม่พอ ยิ่งเป็นกล้อง Mirrorless ก็อาจจะจำเป็นต้องมีแบตเสริมครับผม

4.ขาตั้งกล้อง

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

ขาตั้งกล้องนี่คืออุปกรณ์สำคัญสำหรับการถ่ายดาวหรือการถ่ายสปีดช้า ๆ เลยครับ เพราะเราไม่สามารถถือถ่ายได้ด้วยมือเปล่าอยุู่แล้ว ถ้าไม่มีก็แนะนำให้ซื้อครับ ซื้อดี ๆ หน่อยเพราะขาตั้งกล้องนี่ซื้อทีเดียวแล้วใช้กันยาว ๆหลายปี ซึ่งที่ Zoomcamera เราก็มีให้เลือกสรรค์มากมาย ฮ่า

5.สายลั่น

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

นอกเหนือจากความนิ่งที่ได้ สำหรับกล้อง DSLR นั้นค่อนข้างจำเป็นสำหรับการถ่ายดาวหมุน แนะนำสายลั่นแบบตั้งไทม์แลปส์ได้จะดีมาก ๆ เพราะการถ่ายแบบดาวหมุนอาจจะต้องถ่ายหลายภาพ และ อาจใช้เวลานาน การมีสายลั่นแบบตั้งเวลาได้ เราก็จะทำอย่างอื่นรอได้ไม่ต้องมารอกดเอง ไปนอนยังได้ ฮ่า ๆ สำหรับ Mirrorless หรือ DSLR บางรุ่น ถ้ามีฟังก์ชั่นไทม์แลปส์ในตัวกล้องก็สบายครับ ใช้แทนกันได้เลย

6.ไฟฉาย

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์จำเป็นเลยก็ว่าได้ เพราะส่วนใหญ่สถานที่ ๆ เราจะถ่ายก็จะมืด ๆ แล้วการหยิบจับ กดปุ่มต่าง ๆ ก็อาจจะไม่สะดวกหรือมองไม่เห็นก็จำเป็นต้องใช้ไฟฉาย ที่สำคัญเอามาเป็นพรอพสร้างลำแสงในภาพได้ด้วยนะ

ข้อควรรู้ก่อนการถ่ายดาว

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

1.ดาวจะถ่ายติดมาเยอะหรือเห็นมากในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไม่มีหมอกควันและเมฆมาบัง เพราะฉะนั้นแนะนำเป็นที่สูงหน่อยจะดีมากครับ

2.ยิ่งมืดยิ่งเห็นดาว เพราะฉะนั้นสถานที่ที่เราจะถ่ายควรจะไม่มีแสงไฟจากเมืองมารบกวนเยอะจนเกินไปครับ เคยสงสัยมั้ยครับว่าทำไมถ่ายดาวในเมืองถึงไม่เห็นดาว เหตุผลก็ตามนี้ครับ นอกจากที่ในเมืองจะมีแสงรบกวนเยอะแล้ว มลภาวะทางอากาศก็บดบังดาวน้อย ๆ ของเราเช่นกันครับ

3.ควรเป็นคืนเดืือนมืดที่แสงของพระจันทร์น้อยๆหรือวันที่พระจันทร์ขึ้นกลางวันยิ่งดี ฟังไม่ผิดหรอกครับ พระจันทร์ขึ้นพร้อมพระอาทิตย์และตกพร้อมพระอาทิตย์ก็ยังมี ถ้าไม่ใช่คืนเดือนมืด แสงสว่างจากพระจันทร์จะทำให้ฟ้าสว่างเกินไป และบดบังดวงดาวของเรา เราจะถ่ายดาวไม่ค่อยติดครับผม

4.ถ้าต้องการถ่ายทางช้างเผือก ควรเชคเวลา เชคทิศทางของสถานที่ที่จะไปว่าทางช้างเผือกขึ้นพ้นเส้นขอบฟ้าเวลาไหน และวางตัวอยู่แนวไหนด้วยจะได้ไม่พลาดครับ

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาก็สามารถเชคได้จากแอพพลิเคชั่นทั้งหลายผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งที่ผมแนะนำก็ Starchart , startracker ซึ่งสามารถแพลนเชควันที่ เวลา ในวันที่เราจะไปล่วงหน้าได้ว่าทางช้างเผือกขึ้นตอนไหน วางตัวทิศทางไหนครับผม

มาเริ่มถ่ายดาวกันเถอะ ถ่ายดาวมีกี่แบบ ?

เหตุผลที่หัวข้อเป็นแบบนี้เพราะว่าเทคนิคการถ่ายดาวนั้นก็มีอยู่หลายแบบซึ่งวิธีในการเซ็ตติ้งการถ่ายแต่ละแบบก็ต่างกันนิดหน่อยครับ ซึ่งหลักๆที่เห็นถ่ายกันก็มีอยู่ 3 คือ การถ่ายดาวหมุน (Star trail) และ การถ่ายทางช้างเผือก (Milky Way) สุดท้ายเป็นการถ่ายแบบ deep sky objects ถ่ายเนบิวล่า ถ่ายกาแลคซี่อื่น ๆ อะไรประมาณนั้น  ซึ่งในบทความนี้ผมขอพูดถึงสองหัวข้อแรกแล้วกันนะครับ เพราะการถ่ายแบบ deep sky objects นั้นอุปกรณ์หรือความรู้ในการถ่ายต้องมีสูงมากขึ้นอาจจะไกลตัวไปสำหรับผู้เริ่มต้น อีกอย่างผมเองก็ไม่เคยถ่าย ฮ่า ๆ

1.การถ่ายดาวหมุน Star trail

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

การถ่ายดาวแบบให้มีหางลากยาว ๆ แบบนี้หัวใจหลักคือการใช้สปีดชัตเตอร์ให้นาน ๆ หน่อยขึ้นอยู่กับว่าสภาพแสงเป็นไงมีฉากหน้ามั้ย ปกติก็อาจจะใช้สปีดชัตเตอร์เป็น1-2 นาทีก็ได้ ถ่ายมาให้ได้ราว ๆ 20 ภาพขึ้นไป ยิ่งถ่ายเยอะดาวยิ่งลากยาว แล้วเอามารวมกันในโปรแกรมอย่าง Photoshop หรือโปรแกรมฟรีอย่าง Star Trail หรือ Starstax ส่วนค่ารูรับแสงส่วนใหญ่จะเปิดกว้างสุดเท่าที่ทำได้ครับ เพราะยิ่งเปิดกว้างดาวจะติดมาเยอะขึ้นครับ แล้วใช้ ISO ในการปรับเพื่อให้ภาพสว่างหรือมืดลงอีก ให้ทดสอบถ่ายมาสักรูปก่อน ถ้ารู้สึกว่ายังมืดไปก็สามารถเพิ่ม ISO หรือลด ISO เอาครับ แต่ก็อย่าลืมว่ายิ่ง ISO สูง Noise ก็จะตามมา ปกติการถ่ายแบบดาวยืด ๆ แบบนี้จะมีอยู่สองแบบคือถ่ายแบบไม่ได้สนใจดาวเหนือ กับอีกแบบก็คือให้มีดาวเหนือเป็นจุดศูนย์กลางก็จะทำให้หมุนเป็นวงกลม ๆ แบบภาพด้านบน ซึ่งวิธีการหาดาวเหนือก็ไม่ยากครับ ก็อยู่ทางทิศเหนือนั่นแหละเราก็ตั้งกล้องไปทางทิศเหนือโดยที่ดาวเหนือจะสูงเหนือขอบฟ้าไม่มากหากเราตั้งกล้องไปทางทิศเหนือแล้วเก็บมากว้าง ๆ ก็สามารถที่จะเก็บดาวหมุนมาแบบมีจุดศูนย์กลางแบบนี้ครับ

2.การถ่ายทางช้างเผือก Milky Way

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

การถ่ายดาวเป็นจุด ๆ แบบนี้ส่วนใหญ่ก็นิยมถ่ายกับทางช้างเผือกครับ กรือจะถ่ายแบบไม่มีทางช้างเผือกก็ได้ไม่ว่ากัน การถ่ายภาพแนวนี้หัวใจหลักก็อยู่ที่สปีดอีกแล้ว ถ้าเราใช้สปีดที่ยาวไปก็จะทำให้ดาวเราเป็นเส้นนั่นหมายความว่าทางช้างเผือกเราก็จะไม่ชัดครับยืดออกไปครับ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะว่าสปีดเท่าไหร่ถึงจะเป็นค่าที่เราถ่ายแล้วดาวไม่หมุน คำตอบก็คือเค้ามีสูตรอยู่ครับโดยที่สูตรก็คือ

M4/3 : 300 หารด้วยทางยาวโฟกัสเลนส์ = ระยะเวลาการถ่าย/Shutter Speed

APSC : 400 หารด้วยทางยาวโฟกัสเลนส์ = ระยะเวลาการถ่าย/Shutter Speed

Full Frame: 600 หารด้วยทางยาวโฟกัสเลนส์ = ระยะเวลาการถ่าย/Shutter Speed

ตัวอย่างเช่น ผมใช้กล้องที่มีเซ็นเซอร์แบบ Fullframe ใช้เลนส์ช่วงกว้างสุดที่ 16mm ก็จะเป็น 600/16 =  37.5 เพราะฉะนั้นผมจะใช้ชัตเตอร์สปีดได้สูงสุด 37.5 วินาที โดยที่ดาวยังไม่ยืด นั่นเองครับผม

***การตั้งค่าเพิ่มเติม***

-white balance ที่แนะนำในการถ่ายดาวอยู่ที่ 3500K-4500K ขึ้นกับสภาพสีแสงของท้องฟ้า

-ถ้าจะถ่ายดาวเป็นเส้นแบบ Star trail แนะนำให้ปิด Noise reduction เพราะกล้องจะถ่าย Dark Frame เท่ากับค่าที่เราถ่ายก่อนหน้าซึ่งอาจจะทำให้ดาวขาดช่วง

-Noise reduction ถ้าถ่ายแนวทางช้างเผือก เปิดชัตเตอร์ไม่นาน ถ้าไม่ขี้เกียจรอก็เปิดไว้ก็ได้ครับ

-ควรถ่ายเป็น Raw ไฟล์ เพื่อความยืดหยุ่นในการตกแต่งเพิ่มเติมภายหลัง

การโฟกัสเวลาถ่ายดาว

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

การจะโฟกัสดาว หรือ ฉากหน้า ระบบออโต้โฟกัสในที่มืดมาก ๆ นี่แทบจะลืมไปได้เลยครับ ถ้าจะรอให้โฟกัสหาเจอซึ่งไม่รู้ว่าเข้าหรือไม่เข้าอีก แนะนำให้ใช้แมนนวลโฟกัสจะง่ายกว่าและเร็วกว่าเยอะครับ แต่ในกรณีที่เรามีไฟฉายดวงโต ๆ ก็สามารถใช้ในการส่องเพื่อช่วยออโต้โฟกัสฉากหน้าก็ได้อยู่ครับ หรืออีกกรณีก็สามารถโฟกัสไปที่ไฟบ้านเรือนที่อยู่ไกล ๆ หน่อยเพื่อหาระยะ hyperfocal แบบบ้าน ๆ เมื่อโฟกัสเสร็จก็เปลี่ยนเป็นแมนนวลโฟกัส แล้วหันกลับมาจัดองค์ประกอบใหม่เพื่อถ่ายก็จะเป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับมือใหม่ได้ครับ

ข้อควรระวังในการถ่ายดาว

การถ่ายดาวนั้นคนถ่ายต้องสตองพอสมควรครับ นอกจากร่ายกาย และจิตใจต้องพร้อมแล้ว ธรรมชาติต้องเป็นใจด้วยเช่นกัน และนี่คืออุปสรรคและทางแก้ที่อาจจะพบเจอเวลาถ่ายดาวครับผม

1.บางที่มีความหนาว การหยิบเลนส์ออกมาอาจจะมีฝ้า เราสามารถเอาเลนส์มากอด หรือให้ความอบอุ่นจะทำให้ฝ้าหายไปได้เร็วขึ้นครับ

2.มีเมฆหมอกเยอะ เห็นดาวน้อย ทางแก้คือรอครับ เพราะถ้าเมฆวิ่งเข้ากล้องเราแทนที่จะเห็นดาวจะเห็นเป็นปื้นสีขาว ๆ แทนครับ

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

3.มีน้ำค้างเยอะ หรือไอน้ำเกาะหน้าเลนส์หน้าฟิลเตอร์ สามารถใช้พวกพัดลมมือถือเล็ก ๆ หรือไดร์เป่าผมช่วยได้ครับ

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

4.มีแสงกวนจากมือถือ แสงจากเต้นท์ที่แรงเกินไป เกิดแฟลร์ ก็หาอะไรมาบังถ้าไม่หายก็เปลี่ยนมุมครับ

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

5.ไม่มีจุดสนใจ หรือฉากหน้า ก็สามารถใช้ตัวเราไปยืน หรือถ้าฉากหน้ามืดไปแสงไฟจากไฟฉายหรือแฟลชช่วยได้ครับ

สอนเทคนิคการถ่ายดาวเบื้องต้น ฉบับมือใหม่หัดถ่ายดาว

บทสรุป เทคนิคการถ่ายดาว

เป็นยังไงบ้างครับสำหรับ เทคนิคการถ่ายดาว หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับมือใหม่หัดถ่ายดาวนะครับ จริงอยู่ที่การถ่ายดาวนั้นดูเหมือนต้องใช้ความพยายามมากกว่าการถ่ายวิวในแนวอื่น ๆ เพราะนอกจากจะต้องเซ็ตติ้งค่าให้เหมาะสม ก็ต้องมีการทำการบ้านและหาข้อมูลวางแผนวันที่จะไปให้ดี แต่ถ้าได้อ่านบทความนี้แล้วอย่างน้อยก็ถือว่าเป็นแนวทางในการเตรียมตัว ไม่ต้องไปเริ่มจากศูนย์ และผมขอบอกเลยว่าหลาย ๆ คนที่ได้ลองถ่ายดาว และได้ผลลัพท์ที่ดี ส่วนใหญ่ติดใจ และ ต้องหาเวลาไปถ่ายมาประดับพอร์ทตัวเองอยู่เรื่อย ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งความฟินเลยก็ว่าได้ครับ หากในบทความไม่เข้าใจตรงไหนสามารถสอบถามเข้ามาเพิ่มเติ่มได้ผ่านเพจของ Zoomcamera ได้เลยครับ

บทความนี้เขียนเมื่อ วันที่ 11/01/2018

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save