เปิดตำราล่าแสงเหนือยังไง ให้ได้ภาพโดนใจที่สุด Leave a comment

เปิดตำราล่าแสงเหนือยังไง ให้ได้ภาพโดนใจที่สุด

 

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติดตาม Content ของทาง Zoomcamera ผ่านทางช่องทาง Social Network อย่าง Facebook และ/หรือ Youtube ทุกๆท่านด้วยนะครับ สำหรับ Content ในวันนี้ทีมงาน Zoomcamera ขอเอาใจช่างภาพสาย Travel , Landscape , Nightscape ที่มีความฝ่ฝันในการตามล่าเพื่อให้ได้มาซึ่งภาพแสงเหนือที่สวยเหมือนดั่งที่เห็นตาม Website ซึ่งแน่นอนว่า แสงเหนือ หรือ Aurora นั้น ไม่ใช่ภาพที่ได้มากันอย่างง่ายๆ เพราะ นอกเหนือจากการลงแรงไปกับอุปกรณ์ถ่ายภาพแล้ว ยังต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อให้ทราบตำแหน่งและชวงเวลาที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราได้พบกับแสงเหนือที่สวยงาม ฉะนั้นเรามาดูกันครับ เราจะตามล่าแสงเหนือสวยๆได้จากที่ไหน รวมถึงอุปกรณ์กล้องและการตั้งค่าแบบไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด

มาทำความรู้จักกับแสงเหนือ ( Aurora ) กันก่อน

Aurora เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด สำหรับปรากฏ Aurora เป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่างๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้นหรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ

Aurora ตามประวัตินั้นมีชื่อมากมายหลายชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์นี้ คือ ออโรรา บอเรลลีส (Aurora Borealis) ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ ซึ่งตั้งชื่อโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) (ค.ศ. 1564 – 1642) โดย Aurora จะมีหลากหลายชื่อเรียกด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคำว่า “Aurora Borealis” แปลว่า “แสงเหนือ” (Northern Light) ส่วน “Aurora Australis” แปลว่า “แสงใต้” (Southern Light) และคำว่า “Aurora Polaris” แปลว่า “แสงขั้วโลก” ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้

Location ที่เราจะได้พบแสงเหนือ ( Aurora )

สำหรับสถานที่เกิดแสงเหนือ หรือ Aurora นั้น ส่วนมากจะอยู่ใน Location รอบๆขั้วแม่เหล็กของโลก โดยรูปไข่จะเบ้ไปทางด้านกลางคืนของโลก เมื่อออโรราสงบ รูปไข่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3000 กิโลเมตร แต่เมื่อเกิดออโรรารุนแรงขึ้น รูปไข่จะกว้างขึ้นกว่า 4000 หรือ 5000 กิโลเมตร เนื่องจากขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกอยู่ทางตอนเหนือของแคนาดา ออโรรา โบเรลลีส (Aurora Borealis) จึงพบมากที่เส้นรุ้ง (Latitude) ที่มีประชากรอาศัยมากในซีกโลก (hemisphere) ตะวันตก ส่วนออโรราออลเตรลีส (Aurora Australis) สามารถมองเห็นได้จากเกาะทัชมาเนีย (Tasmania) และทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์ เป็นซะส่วนใหญ่ครับ

สีสันของแสงเหนือ ( Aurora )

ในบรรยากาศประกอบด้วยไนโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก อนุภาคของแก๊สเหล่านี้จะปลดปล่อยโฟตอนซึ่งมีความยาวคลื่นคงที่ เมื่ออนุภาคมีประจุไฟฟ้า กระตุ้นแก๊สในบรรยากาศ อิเล็กตรอนจะเริ่มเคลื่อนที่รูปนิวเคลียสในวงโคจรที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีพลังงานเหลือเฟือ อนุภาคที่ถูกกระตุ้นจะไม่เสถียรและจะปลดปล่อย พลังงานออกมาในรูปของแสง เรียกว่าแสงนี้ว่า ออโรรา แสงสีเขียวเข้มที่เรามักจะพบเห็นได้ตาม Website นั้น เกิดที่ความสูง (Altitudes) ที่ 120 ถึง 180 กิโลเมตร แสงเหนือสีแดงปรากฏที่ความสูงที่สูงกว่า ส่วนสีฟ้า และม่วงปรากฏที่ความสูงต่ำกว่า 120 กิโลเมตร เมื่อเกิดพายุสุริยะ 000 แสงสีแดงจะปรากฏที่ความสูงตั้งแต่ 90 ถึง 100 กิโลเมตร

ยามที่ออโรราจางลง มันจะปรากฏเป็นสีขาวเมื่อมองด้วยตาเปล่า เมื่อมันสว่างขึ้น สีจึงมองเห็นขึ้นมาและสีเขียวซีดที่เป็นเอกลักษณ์ของมันจะมองเห็นขึ้นมา เมื่อมีความหนาแน่นมากขึ้น ในบริเวณที่ต่ำลงมาจะมองเห็นเป็นสีเขียวสดและสีแดงจางๆ จะมองเห็นที่ความสูงมากๆเหนือชั้นบรรยากาศขึ้นไป 100 กิโลเมตร ประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ไนโตเจนจะมีมากที่ความสูง 10 กิโลเมตร และออกซิเจน มีมากที่ 200 กิโลเมตร เส้นกราฟสีเขียวแสดงความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจนและสีม่วงแสดงความหนาแน่นของก๊าซไนโตรเจน ณ ความสูงต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศเทอโมสเฟียร์ เมื่ออะตอมออกซิเจนถูกกระตุ้น มันจะปล่อยแสงมากมายหลายสีออกมาก แต่สีที่ที่สว่างที่สุดคือที่แดงและสีเขียว จึงไม่แปลกที่เรามักจะเห็นภาพแสงเหนือที่เป็นริ้วสีเขียวอมฟ้าอยู่บ่อยๆนั่นเองครับ

เตรียมอุปกรณ์ในการถ่ายแสงเหนือกันเถอะ

– กล้อง

สำหรับการเตรียมกล้อง เพื่อจะตามล่าหาแสงเหนือนั้น ตัวกล้องนั้นถ้าเป็นไปได้แนะนำให้เลือกกล้องที่สามารถถ่ายทอดไฟล์ออกมาได้เคลียร์ใส คมชัดสวยงาม เพื่อให้คุ้มค่าในการออกทริปซักรอบนึง ซึ่งโดยส่วนมากกล้องที่นิยมกันนั้น มักจะเป็นกล้องที่มี Sensor ขนาด APS-C ขึ้นไปรวมถึงกล้อง Fullframe สาเหตุมาจากขนาด Sensor ที่ใหญ่ขึ้น ยิ่งช่วยจัดการสัญญาณรบกวนหรือ Noise ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้ค่า ISO ที่สูง ซึ่งทำให้ภาพที่ได้นั้นมีความใสเคลียร์เป็นที่สุดครับ

กลับกันกล้องในระบบ Micro Fourthirds นั้น แม้ว่าจะมี Sensor ที่เล็กกว่ากล้อง APS-C และ Fullframe แต่มีได้เปรียบในส่วนของขนาดที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด พกพาสะดวก รวมถึงเลนส์ต่างๆในระบบ Micro Fourthirds ก็มีขนาดที่กะทัดรัด แม้จะเป็นเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงที่กว้าง ทำให้เป็นอีกข้อได้เปรียบที่เห็นได้อยางชัดเจนครับ

– เลนส์

นส่วนของเลนส์นั้น แนะนำเป็นเลนส์ที่มีองศารับภาพที่กว้างไว้ก่อน หรือ ในกลุ่มของเลนส์ Ultra Wide นั่นเองครับ สาเหตุที่ให้เลือก Ultra Wide ไว้ก่อนนั้น เพราะ Location ที่เราจะไปเยือน เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่า Location ณ ตรงนั้นมีสภาพเป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรที่เป็น Landmark สำคัญบ้าง หรือ มีอะไรที่เป็นอุปสรรคในการถ่ายแสงเหนือของเราบ้างนั่นเองครับ นอกเหนือจากเลนส์ Ultra Wide แล้วนั้น ควรพิจารณาค่ารูรับแสงของเลนส์ควบคู่ไปด้วยกันนะครับ ยิ่งค่ารูรับแสงกว้างมากเท่าไร ยิ่งเป็นผลดีต่อการถ่ายภาพแสงเหนือของเรามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วยชดเชยการต้องใช้ค่า ISO ที่สูงขึ้นนั่นเองครับ

– ขาตั้งกล้อง

ของสำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยสำหรับช่างภาพสาย Backpack , Travel , Landscape และ/หรือ Nightscape โดยคุณสมบัติหลักๆของขาตั้งกล้องนั้น จะช่วยทุ่นแรงได้เป็นอย่างดีในเรื่องของค่า Shutter Speed ครับ เพราะ โดยสภาพแวดล้อมที่มีสภาพแสงที่น้อย Shutter Speed ที่ทำได้มักจะน้อยจนเราไม่สามารถถือกล้องเพื่อถ่ายภาพให้ออกมาคมชัดสวยงามได้นั่นเอง ประกบกับการที่ให้ตัวกล้องอยู่บนขาตั้งกล้อง จะช่วยให้มีความมั่นคงและนิ่งมากยิ่งขึ้นไปด้วย แม้ว่าตัวกล้องและ / หรือเลนส์จะไม่มีระบบกันสั่นก็ตามที ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้งานในการถ่ายภาพได้หลากหลายยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น Long Exposure , Milky Way , Star Trail เป็นต้น

– แบตเตอรี่

ของสำคัญลำดับต้นๆที่ห้ามลืมเป็นอันขาดครับ ปัจจุบันกล้อง Digital ส่วนมากจะใช้แบตเตอรี่แทนการใช้งานถ่านแบบทั่วๆไปครับ โดยแบตเตอรี่กล้องแต่ละรุ่นต่างก็มีประจุไฟที่แตกต่างกันออกไปครับ ซึ่งถ้าเป็นกล้อง DSLR แบตเตอรี่เพียง 1 ก้อน สามารถใช้ถ่ายได้แทบจะทั้งวัน หรือ ข้ามวันโดยที่ไม่ต้องชาร์จไฟก็ยังได้ครับ ส่วนถ้าเป็นกล้อง Mirrorless อาจจะต้องลำบากซักเล็กน้อย เพราะ ส่วนมากจะมีแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็ก ประจุไฟน้อย ทำให้อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวันนั่นเองครับ สำหรับการเตรียมแบตเตอรี่เพื่อใช้งานในทริปล่าแสงเหนือนั้น หากไม่เป็นการลำบากในการพกพา แนะนำว่าควรมีแบตเตอรี่ติดตัวตลอดทริปอย่างน้อย 2 – 5 ก้อน ทั้งนี้พิจารณาจากลักษณะการใช้งาน รวมถึงสภาพอากาศโดยเฉพาะอากาศเย็นที่ส่งผลให้แบตเตอรี่เก็บประจุไฟได้น้อยลงครับ

– อุปกรณ์ทำความสะอาด

การมาออกทริปในต่างแดนทั้งที เราควรจะพกอุปกรณ์ทำความสะอาดมาด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นผ้าเช็ดเลนส์ , ลูกลม หรือ ชุดทำความสะอาด ซึ่งอาจจะพกมาแบบเป็น Set เล็กก็ได้ครับ เหตุที่แนะนำเพราะหน้าเลนส์ในขณะที่เราใช้งานนั้น อาจจะมีสิ่งแปลกปลอมเกาะอยู่บริเวณหน้าเลนส์ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ละอองน้ำ ซึ่งบางครั้งเกาะแน่นจนสร้างปัญหาในการถ่ายภาพของเราได้ ฉะนั้นควรมีติดตัวไว้ไม่เสียหายครับ

การตั้งค่าสำหรับการถ่ายแสงเหนือ

– ค่ารูรับแสง ( Aperture )

สำหรับการถ่ายภาพแสงเหนือนั้น เบื้องต้นเราต้องพิจารณาค่ารูรับแสงกันก่อนเลยครับ โดยที่ว่าปกติค่ารูรับแสงที่นิยมใช้ในการถ่ายแสงเหนือนั้น มักจะเลือกค่ารูรับแสงที่กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ไว้ก่อนครับ เพื่อลดภาระการที่ต้องใช้ค่า ISO สูงๆ เพื่อป้องกันการเกิด Noise ในภาพนั่นเองครับ แต่ทั้งนี้หากไม่สามารถหาเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงกว้างๆอย่าง F1.4 ได้แล้วนั้น เราอาจจะใช้งานเลนส์ที่มีค่า F2.8 หรือ F4 เป็นอย่างน้อยได้เช่นกันครับ แต่อาจจะต้องใช้ค่า ISO ช่วยเพิ่มเติมตามแต่สถานการณ์ด้วยครับ

– ค่าชัตเตอร์สปีด ( Shutter Speed )

จากค่ารูรับแสงแล้ว เรามาดูกันในส่วนของ Shutter Speed กันบ้างครับ ถือเป็นอีกสิ่งสำคัญที่สุดในการถ่ายแสงเหนือ ซึ่งโดยปกติจะใช้หลักการที่ใกล้เคียงกับการถ่าย Long Exposure แต่จะต่างกันที่ Shutter Speed ที่ใช้ครับ ซึ่งสำหรับแสงเหนือนั้นมักจะใช้ค่า Shutter Speed ที่ 2 Sec. เป็นอย่างต่ำครับ เพื่อให้เรายังสามารถเก็บ Movement ของ แสงเหนือ หรือ Aurora ได้อย่างสวยงามนั่นเอง หรือ ใครที่ต้องการเห็นริ้วการเคลื่อนไหวของ Aurora เราก็เพิ่มค่า Shutter Speed เข้าไป อาจจะเป็น 10 Sec. หรือมากกว่านั้นก็ได้ครับ

– ค่าความไวแสง ( ISO )

เป็นอีก 1 ค่าที่ถือว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อยไปกว่า Aperture และ Shutter Speed เพราะ ISO แม้จะเป็นค่าที่เราจะพิจารณาปรับเป็นค่าสุดท้าย แต่อย่าลืมว่า ISO นั้นจะช่วยบูทสัญญาณใน Sensor เพื่อให้รับแสงได้ดีขึ้น ส่งผลให้ภาพสว่างขึ้น แม้จะแลกกับการปรากฏ Noise ในภาพก็ตามที แต่ ISO ในกล้องบางรุ่นนั้น แม้เราจะดันค่า ISO ไปที่ค่าสูงๆ อาทิเช่น ISO 6400 – 12800 ภาพที่ได้ ยังดูเคลียร์ใส ไร้สัญญาณรบกวน ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของ Sensor ภายในตัวกล้องเป็นสำคัญด้วยนะครับ ซึ่งค่า ISO ที่แนะนำนั้น สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ ISO 800 – 6400 ซึ่งไม่มีค่าตายตัว ต้องพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมประกอบเพิ่มเติม อาทิเช่น สภาพแสง ณ Location นั้นๆ , ค่ารูรับแสง เป็นต้น

*** ข้อควรรระวัง ***

– ถ่ายเป็นไฟล์ RAW เสมอ

บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมช่างภาพหลายๆท่านถึงนิยมถ่ายภาพแบบไฟล์ RAW และ/หรือ RAW + JPG ตลอดเวลา ทั้งๆที่ไฟล์ RAW มีขนาดที่ใหญ่และจำเป็นต้องใช้โปรแกรมเฉพาะทางในการเปิดดู สาเหตุมาจากไฟล์ JPG นั้น เป็นไฟล์ที่ผ่านการ Process จากตัวกล้องมาเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการ Process นี้ กล้องแต่ละค่ายจะมีลักษณะการ Process ที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เหมือนกันของไฟล์ JPG นั้น คือ สามารถนำไปใช้งานได้ทันที โดยเฉพาะการส่งต่อผ่าน Smartphone หรือ โพสต์ลง Social ได้อย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันไฟล์ JPG นั้น ขาดความยืดหยุ่นของเนื้อไฟล์ ซึ่งเกิดจากการ Process ในตัวกล้องนั่นเอง ทำให้การนำไฟล์ JPG มาทำการแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังนั้น อาจทำให้ไฟล์ภาพที่ได้มีการ Process ที่ซ้ำซ้อน จนทำให้ไฟล์ช้ำนั่นเองครับ

ส่วนไฟล์ RAW นั้น จะได้เปรียบกว่าไฟล์ JPG ตรงที่ตัวกล้องได้ทำการเก็บ Data มาอย่างครบถ้วน ตามที่เรา Setting ไว้จากตัวกล้อง โดยไม่ผ่านการ Process ของตัวกล้องแต่อย่างใด ทั้งนี้ไฟล์ RAW จะมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ไมว่าจะเป็น Loseless Compress , Uncompress เป็นต้น ซึ่งทำให้ไฟล์ RAW มีขนาดที่ใหญ่ทวีคูณกว่าไฟล์ JPG นั่นเองครับ ทั้งนี้ไฟล์ RAW จำเป็นต้องใช้ Programe เฉพาะทางในการเปิดดูผลงาน ซึ่งหลักๆจะเป็น Adobe Photoshop , Adobe Lightroom เป็นต้น รวมถึง Programe เฉพาะของแต่ละค่ายกล้องที่รองรับกับสกุลไฟล์ RAW ครับ

Credit : Petapixels

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save