Tips : เปรียบเทียบ Panasonic Lumix GX9 กับกล้อง Mirrorless ในระดับเดียวกัน Leave a comment

กราบสวัสดีเพื่อนๆที่ติตดามเพจของ Zoomcamera ผ่านทางช่องทาง Online ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Line และ/หรือ Youtube ด้วยนะครับ ก่อนหน้านี้ทีมงาน Zoomcamera ได้จัดทำ Content เปรียบเทียบกล้อง Mirrorless รุ่นใหม่ล่าสุดจากค่าย Panasonic อย่าง Panasonic Lumix GX9 ที่จะออกมาทำตลาดสานต่อเจ้า Panasonic Lumix GX85 ที่ทำตลาดมาได้ซักระยะหนึ่งแล้วนั่นเองครับ ซึ่งใน Content เดิมนั้น จะเป็นการเปรียบเทียบกันเองระหว่าง 2 รุ่น เพื่อดูสิ่งที่ถุกเพิ่มขึ้นมาซะส่วนใหญ่ครับ แต่สำหรับ Content ในวันนี้จะเป็นการนำเจ้า Panasonic Lumix GX9 มาทำการเปรียบเทียบกับกล้อง Mirrorless ในระดับราคาเดียวกัน เพื่อให้เพื่อนๆได้เห็นว่าเจ้า Panasonic Lumix GX9 มีดี มีเด่น มีด้อยกว่าเพื่อนๆในระดับเดียวกันมากน้อยเพียงใดครับ จึงเป็นที่มาของ Content ” เปรียบเทียบ : Panasonic Lumix GX9 กับกล้อง Mirrorless ในระดับเดียวกัน “ ซึ่งจะมีกล้อง Mirrorless รุ่นใดที่โดนจับมาเปรียบเทียบบ้างนั้น ไปชมกันเลยครับ

 

*** เปรียบเทียบ : Panasonic Lumix GX9 กับกล้อง Mirrorless ในระดับเดียวกัน ***

สำหรับเจ้า Panasonic Lumix GX9 นั้น ถือว่าเป็นกล้อง Mirrorless น้องใหม่จากค่าย Panasonic ที่ได้มีการพัฒนาและอัพเกรดในส่วนต่างๆ ให้มีความสามารถทัดเทียมกับกล้องใน Generation เดียวกันในท้องตลาด ซึ่งวันนี้ทีมงาน Zoomcamera ได้เลือกรุ่นกล้องอีก 3 รุ่นที่จะมาเปรียบเทียบกับ Panasonic Lumix GX9 ซึ่งทั้ง 3 รุ่นนั้นก็คือ Olympus OM-D E-M10III , Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 ครับ ซึ่งเรามาดูกันดีกว่าครับ ว่า ทั้ง 4 รุ่นนี้ในแต่ละหัวข้อ ใครเด่น ใครด้อยในเรื่องใดบ้างครับ

ขนาด / น้ำหนัก

มาเริ่มกันที่หัวข้อแรกกันก่อนครับ ซึ่งหากเราพูดถึงกล้อง Mirrorless แล้ว สิ่งแรกที่เราจะนึกถึงก่อนเลย คงจะหนีไม่พ้นเรื่องขนาดและน้ำหนัก ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ ซึ่งน้ำหนักที่เบาลงนั้นยิ่งช่วยให้ไม่เป็นภาระในการพกพาได้เป็นอย่างดี ซึ่งทั้งเจ้า Panasonic Lumix GX9 , Olympus OM-D E-M10 III , Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 นั้น ต้องเรียกว่ามีขนาดที่ไล่ๆกัน รวมถึงน้ำหนักที่ใกล้เคียงกันมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 400 กรัมโดยประมาณ ถือว่าไม่หนักจนเกินไป และ ไม่เบาจนฟิลลิ่งการจับถือหายไปนั่นเองครับ และด้วยน้ำหนักที่ใกล้เคียง ก็เหลือเพียง Design ที่แต่ละรุ่นก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย โดย Panasonic Lumix GX9 , Sony A6300 จะเป็นกล้องทรง Rangefinder ส่วน Olympus OM-D E-M10 III , Fujifilm X-T20 นั้น จะเป็นกล้องทรง SLR ซึ่งอยู่ที่เพื่อนๆแล้วละครับว่าชอบแบบไหนกัน

 

Sensor รับภาพ

Sensor ถือเป็นหัวใจหลักของกล้อง Digital ไม่ว่าจะเป็นกล้อง Compact , DSLR , Mirrorless หรือ Smartphone ซึ่งจะทำหน้าที่ประมวลผลของแสงที่เลนส์ทำการรวบรวมมาตก Sensor และประมวลผลออกมาเป็นภาพที่เราเห็นนั่นเองครับ ซึ่งต้องบอกว่าทั้ง Panasonic Lumix GX9 , Olympus OM-D E-M10 III , Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 นั้น ต่างก็ใช้ Sensor คนละขนาดกันนะครับ โดยเจ้า Panasonic Lumix GX9 , Olympus OM-D E-M10 III จะใช้ Sensor ขนาด Micro Four Thirds หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ M4/3 นั่นเองครับ มาพร้อม Crop Factor *2 แต่ทั้ง 2 รุ่นจะแตกต่างกันเล็กน้อย ตรงที่เจ้า Panasonic Lumix GX9 จะใช้ Sensor ที่มีความละเอียด 20 Megapixels ซึ่งถือเป็น Sensor ใหม่เลยก็ว่าได้ครับ

 

ส่วนเจ้า Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 ใช้ Sensor ขนาด APS-C มาพร้อม Crop Factor *1.5 โดยทั้งคู่มีความละเอียดอยู่ที่ 24 Megapixels ด้วยกันครับ ซึ่งเมื่อเทียบกันเฉพาะ Sensor แล้ว เจ้า Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 จะมีภาษีดีกว่า ในส่วนของการทำ Effect หน้าชัด หลังเบลอ , ฉากหลังโบเก้ ที่ทำได้ง่ายกว่าเจ้า Panasonic Lumix GX9 , Olympus OM-D E-M10 III อันเนื่องมาจากขนาด Sensor ที่ใหญ่ขึ้นนั่นเองครับ

 

หน้าจอแสดงผล

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของกล้อง Mirrorless ในปัจจุบัน คือ นอกเหนือจากจอ LCD ที่ไม่ได้ถูกล๊อคติดกับตัว Body แล้วนั้น ยังมาพร้อมความสามารถอื่นๆ อาทิเช่น จอพับ , จอเซลฟี่ เป็นต้น ซึ่งเจ้า Panasonic Lumix GX9 , Olympus OM-D E-M10 III , Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 นั้น การมี Feature เหล่านี้เช่นกันครับ แต่จะแตกต่างกันบ้าง โดยมีรายละเอียดตามนี้ครับ

 

– Panasonic Lumix GX9 มาพร้อมจอ LCD ขนาด 3 นิ้ว ที่ออกแบบเป็น Tilting ให้สามารถปรับองศาได้ , รองรับระบบ Touchscreen เต็มรูปแบบ

– Olympus OM-D E-M10 III มาพร้อมจอ LCD ขนาด 3 นิ้ว ที่ออกแบบเป็น Tilting ให้สามารถปรับองศาได้ , รองรับระบบ Touchscreen เต็มรูปแบบ

– Sony A6300 มาพร้อมจอ LCD ขนาด 3 นิ้ว ที่ออกแบบเป็น Tilting ให้สามารถปรับองศาได้ , แต่ไม่รองรับระบบ Touchscreen แต่อย่างใดครับ

– Fujifilm X-T20 มาพร้อมจอ LCD ขนาด 3 นิ้ว ที่ออกแบบเป็น Tilting ให้สามารถปรับองศาได้ , รองรับระบบ Touchscreen

ซึ่งจากลุ่มนี้จะเห็นว่า มีเพียง Sony A6300 เพียงรุ่นเดียว ที่ไม่ได้รองรับการสั่งการผ่านระบบ Touchscreen ทำให้เพื่อนๆที่กำลังเล็งกล้อง Mirrorless ซักรุ่นจาก 1 ใน 4 รุ่นนี้ คงได้พิจารณาในส่วนของจอ Touchscreen กันได้เป็นอย่างดีละครับ

 

ช่องมองภาพ

ในส่วนของช่องมองภาพนั้น เดิมทีในกล้อง DSLR จะใช้ช่องมองภาพแบบ OVF หรือ Optical View Finder ซึ่งสามารถมองเห็นภาพปกติได้ทันที แต่จะยังไม่ได้แสดงผลในส่วนของภาพ Final ที่เราจะได้หลังจากกดชัตเตอร์ลงไปนั่นเองครับ แต่ด้วยการมาของกล้อง Mirrorless นั้น ทำให้แนวคิดในการถ่ายภาพมีการเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ช่องมองภาพของกล้อง Mirrorless นั้นจะเป็นแบบ EVF หรือ Electronic View Finder โดยจะแสดงผลตลอดเวลา ทำให้แม้เราจะไม่ได้กดชัตเตอร์ ก็ยังทำให้เราได้เห็นภาพ Final ผ่านทาง EVF หรือ LCD ได้ทันทีครับ ซึ่งเจ้า Panasonic Lumix GX9 , Olympus OM-D E-M10 III , Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 ก็มีช่องมองภาพแบบ EVF ติดมาให้ทุกรุ่นเช่นกันครับ แต่จะมีเพียงเจ้า Panasonic Lumix GX9 เพียงรุ่นเดียวที่ EVF จะแตกต่างจากรุ่นอื่นๆ กล่าวคือ EVF ของเจ้า Panasonic Lumix GX9 สามารถที่จะปรับระดับมุมมองของ EVF จากเดิมที่ EVF ถูกล๊อคติดกับที่นั่นเอง ทำให้เพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพที่มีมุมมองแตกต่างไปจากมุมมองปกติได้อย่างน่าอัศจรรย์ครับ เช่น มุมเสย มุมกด โดยเราไม่จำเป็นต้องก้มลงไปถ่ายนั่นเองครับ

 

ระบบกันสั่นไหว

สำหรับระบบกันสั่นไหวนั้น เชื่อว่าเพื่อนๆหลายคงจะคิดถึง OIS ที่มักจะติดอยู่ข้างๆกระบอกเลนส์นั่นเองครับ แต่สำหรับกล้อง Mirrorless ในปัจจุบันนั้น ได้เพิ่ม Feature ที่เข้ามาเสริมประสิทธิภาพให้กับการถ่ายภาพ อย่างระบบกันสั่นไหวในบอดี้ ( AXIS / IBIS ) ซึ่งเจ้าระบบกันสั่นภายใน Body นั้น มีข้อดีที่เหนือกว่าระบบกันสั่นในตัวเลนส์ตรงที่ว่า แม้เราจะนำเลนส์รุ่นใดๆก็ตามมาทำการใส่เข้ากับกล้องที่มีระบบกันสั่นไหวในตัวกล้อง เลนส์นั้นๆก็จะได้รับอานิสงค์ของระบบกันสั่นไหวไปด้วยโดยอัตโนมัติครับ

 

ทั้งนี้ในกล้อง Mirrorless นั้น จะมีระบบกันสั่นไหวในบอดี้ ทั้งแบบ 3 แกน / 4 แกน / 5 แกน เป็นต้นครับ ซึ่งจำนวนแกนที่เพิ่มมากขึ้น ยิ่งช่วยป้องกันภาพสั่นไหวได้ดียิ่งขึ้นนั่นเองครับ แน่นอนว่าเจ้า Panasonic Lumix GX9 ก็มีระบบกันสั่นไหว 5 ทิศทางเฉกเช่นเดียวกับ Olympus OM-D E-M10III ยกเว้นเพียง Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 ที่ยังต้องพึ่งระบบกันสั่นไหว OIS จากที่ตัวเลนส์เหมือนเดิมครับ

 

งาน Video

ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสการถ่าย Video ในปัจจุบันนั้น กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นรองเรื่องการถ่ายภาพนิ่งเลยก็ว่าได้ครับ แม้ว่าการถ่าย Video นั้น มีขั้นตอนที่ค่อนข้างมากและมีความละเอียดยิบย่อยมากกว่าการถ่ายภาพนิ่งก็ตามทีครับ ซึ่งปกติของงาน Video แล้ว เรามักจะได้ยินความคมชัดระดับ FullHD กันจนติดหูแล้ว แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ Video ที่มีความละเอียดสูงอย่าง Video 4K ที่บอกได้เลยว่า หากเพื่อนๆที่ต้องการงาน Video ระดับสูงละก็ Video 4K ตอบโจทย์ที่สุดครับ ซึ่งเจ้า Panasonic Lumix GX9 , Olympus OM-D E-M10 III , Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 ก็รองรับการถ่าย Video ความละเอียด 4K ได้ทั้ง 4 รุ่นเลยทีเดียวครับ ทั้งนี้เพื่อนๆอาจจะต้องสำรวจ PC / Notebook ที่เพื่อนๆใช้ด้วยนะครับ ว่า รองรับการ Process Video 4K หรือไม่ด้วยนะครับ เพราะ ค่อนข้างที่จะกินทรัพยากรตัวเครื่องมากทีเดียวครับ

 

การเชื่อมต่อ

ต้องบอกว่ากระแสการมาของกล้อง Mirrorless นั้น ควบคู่ไปกันกับเทคโนโลยีของทางฝั่ง Smartphone ก็ว่าได้ครับ เนื่องจากว่าหน้าตาของกล้อง Mirrorless โดยเฉพาะในระดับ Beginner นั้น ค่อนข้างจะเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ที่สำคัญราคาก็ใกล้เคียงกับ Smartphone แต่ได้คุณภาพที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญ คือ Feature ที่ตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วในยุค Social network คงจะหนีไม่พ้นการส่งรูปเข้า Smartphone ด้วยการผ่าน WIFI นั่นเองครับ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และได้ภาพจากกล้องอย่างแน่นอนครับ นอกเหนือจาก WIFI แล้ว ยังมี Feature ใหม่อย่าง Bluetooth ที่ถูกบรรจุลงใน Panasonic Lumix GX9 และ Olympus OM-D E-M10III ซึ่งข้อดีของ Bluetooth คือ ช่วยลดการใช้พลังงานในระหว่างการเชื่อมต่อระหว่างตัวกล้องกับ Smartphone นั่นเองครับ

นอกเหนือการเชื่อมต่อแบบไร้สายแล้ว ในตัวกล้อง Mirrorless มักจะช่องสำหรับต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น microUSB , miniUSB , mini HDMI รวมถึง Port 3.5 หรือ ช่องหูฟังนั่นเองครับ โดยเจ้าช่องดังกล่าวนี้ จะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งกับผู้ที่ใช้งานกับการถ่ายวิดิโอ ที่ซีเรียสในเรื่องของเสียงนั่นเองครับ ซึ่งเจ้า Port 3.5 นั้น จะปรากฏอยู่ใน Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 ครับ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย สำหรับเจ้า Panasonic Lumix GX9 และ Olympus OM-D E-M10 III ที่ไม่ได้มีการบรรจุ Port 3.5 มาให้ในตัวกล้องครับ

 

แบตเตอรี่

มาถึงในเรื่องของแบตเตอรี่กันแล้วครับ แม้ว่ากล้องทั้ง 4 รุ่น ทั้ง Panasonic Lumix GX9 , Olympus OM-D E-M10III , Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 จะเป็นกล้อง Mirrorless ที่แบตเตอรี่เดิมๆ อาจจะไม่ได้เยอะมากเท่ากับกล้อง DSLR ก็ตามที แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานในระหว่างวันครับ ซึ่งหากดูจำนวนประจุแบตเตอรี่แล้ว จะเห็นว่าทั้ง 4 รุ่นนั้น ต่างมีแบตเตอรี่ที่มีประจุไล่เลี่ยกันเลยครับ ทั้งนี้เจ้า Panasonic Lumix GX9 แม้ว่าจะมีประจุแบตเตอรี่ที่น้อยที่สุดในกลุ่มกล้องทั้ง 4 รุ่น แต่ภายใน Panasonic Lumix GX9 นั้น มี Feature อย่าง Power-Saveing ที่จะช่วยให้แบตเตอรี่ใช้งานได้นานยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

 

หากว่ากันตามตรงแล้ว เจ้ากล้อง Mirrorless ตัวน้อยนั้น มักจะเจอปัญหากับการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ได้น้อยกว่ากล้อง DSLR อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการนำกล้อง Mirrorless ออกใช้งานเป็นระยะเวลานาน บางครั้งก็อาจจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เพียงพอนั่นเองครับ แต่ด้วยในปัจจุบันกล้อง Mirrorless ในหลายๆรุ่น ก็มาพร้อม Feature อย่าง ชาร์จไฟตรงผ่าน Powerbank ได้ง่ายๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยแท่นชาร์จแต่อย่างใด โดย Feature นี้ จะปรากฏอยู่ใน Panasonic Lumix GX9 , Sony A6300 และ Fujifilm X-T20 แต่จะมีข้อยกเว้นเฉพาะกับ Sony A6300 ที่รองรับการชาร์จไฟตรงผ่าน Powerbank และยังสามารถชาร์จไฟไปพร้อมขณะที่ถ่ายภาพได้ด้วยเช่นกันครับ

 

ราคา

มาถึงข้อสุดท้ายกันแล้ว สำหรับราคาของกล้อง Mirrorless ทั้ง 4 รุ่นนี้ ต้องบอกเลยว่าราคาใกล้เคียงกันพอสมควรครับ ยกเว้นเจ้า Panasonic Lumix GX9 ที่ราคาทางการในประเทศไทยยังไม่มีการเปิดเผยออกมาแต่อย่างใด ซึ่งด้วยราคาที่ใกล้เคียงนี้เพื่อนๆอาจจะต้องชั่งใจด้วย Feature ต่างๆภายในของแต่ละรุ่นว่า สามารถตอบโจทย์การใช้งานของเราได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถระบุได้ตามนี้ครับ

 

– เน้นการใช้งานภาพนิ่งเป็นหลัก ต้องการภาพที่เน้นหน้าชัด หลังเบลอ  >>> Sony A6300 / Fujifilm X-T20

– เน้นพกพาสะดวก คล่องตัว ถ่ายท่องเที่ยวซะส่วนใหญ่  >>> Panasonic Lumix GX9 / Olympus OM-D E-M10 III

– เน้นงาน Video ที่ซีเรียสมากขึ้น โดยเฉพาะช่องต่อไมค์ >>>  Sony A6300 / Fujifilm X-T20

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save