ตัวเลขบนเมมโมรี่การ์ดบอกอะไร คู่มือเลือกการ์ด ให้เหมาะกับการใช้งาน (อัพเดท 2022) Leave a comment

กล้องในท้องตลาดทุกวันนี้ต้องบอกว่ามีขนาดความละเอียดภาพที่ค่อนข้างสูงมาก ๆ รวมไปถึงการถ่ายวีดีโอนั้นมีบทบาทมากขึ้น สิ่งที่สำคัญในการเก็บข้อมูลมหาศาลเหล่านั้นนั่นก็คือ Memory card นั่นเอง ซึ่ง Memory card เองก็มีหลายยี่ห้อหลายแบบในท้องตลาด แล้วเราจะเลือกใช้เลือกซื้อยังไงให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของเราล่ะ ? เพราะฉะนั้นบทความนี้เราจะมาพูดถึงความรู้เรื่องเมมโมรี่การ์ดเบื้องต้น สัญลักษณ์และตัวเลขบนการ์ดบอกอะไร เพื่อที่จะเอาไว้เป็นข้อมูลหรือคู่มือในการตัดสินใจซื้อเมมโมรี่การ์ดต่อไปครับ

Memory card ที่ใช้กับกล้องปัจจุบันมีกี่แบบ (อัพเดท 2022)

เมื่อย้อนไปหลายปีก่อนอาจจะมีเมมโมรี่การ์ดที่ใช้กับกล้องDigitalหลายแบบผ่านตาเรามาบ้างนะครับ มีบางอันก็เลิกใช้กันไปแล้ว บางอันเกิดมาแปบเดียวและดูเหมือนจะดับในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็มี ซึ่งในยุคปัจจุบัน(อัพเดท2022) เมมโมรี่การ์ดที่ใช้กับกล้องตอนนี้ หลัก ๆ มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ ตามหัวข้อด้านล่าง

  • SD Card (Secure Digital) เป็นการ์ดที่นิยมแพร่หลายในกล้องทุกวันนี้ ด้วยการพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้น ขนาดไม่ใหญ่ กล้องส่วนใหญ่ก็ทำ Format ให้ลองรับ SD Card มากที่สุด
  • Micro SD Card (Micro Secure Digital) ส่วนใหญ่จะเห็นในมือถือ แต่มันสามารถใส่ SD Adapter ที่แถมมากับแพคเกจแล้วใส่กับกล้องที่ใช้ SD Card ได้ แต่ไม่ค่อยแนะนำเพราะความเสถียรอาจจะสู้ SD Card เลยไม่ได้เพราะต้องผ่าน Adapter เหมือนต้องผ่านตัวกลางตลอดเวลา ทุกวันนี้จะเห็นใช้อยู่หลัก ๆ กับกล้อง Action Cam และ โดรน
  • CFexpress Type A เป็นการ์ดความเร็วสูง หลัก ๆ จะมีค่าย ๆ เดียวที่ใช้ CFexpress Type A นั่นก็คือ Sony นั่นเอง
  • CFexpress Type B เป็นการ์ดความเร็วสูง และสูงกว่า Type A ด้วย มีกล้องที่เน้นความเร็วของหลาย ๆ ค่ายเลือกใช้ CFexpress Type B เช่น Canon ,fuji ,Nikon , Panasonic

เราจะเห็นว่ารูปแบบของ Memory card นั้นมีหลายรูปแบบ การจะเลือกใช้นั้นเราไม่ได้เป็นผู้กำหนดแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับกล้องที่เราใช้ว่าสามารถใช้เมมแบบไหน ซึ่งกล้องบางตัวก็สามารถใช้เมมโมรี่การ์ดได้มากกว่า 1 รูปแบบด้วยครับ

สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบน Memmory Card หมายถึงอะไร

อย่างที่ผมบอกไปก่อนหน้าว่ามีการ์ดที่ใช้งานหลัก ๆ อยู่ 4 แบบ คือ CF Express Type A , CF Express Type B , SD Card , Micro SD Card แต่สัญลักษณ์หรือการแบ่งคลาสก็คล้าย ๆ กัน ซึ่งสัญลักษณ์หรือตัวเลขบนเมมโมรี่การ์ด ส่วนใหญ่หลัก ๆเลย ก็จะเป็นการบอกความเร็วการ์ดนั่นเอง ผมเลือกใช้เป็นภาพตัวอย่างของ SD Card ซึ่งแพร่หลายที่สุดครับผม

เป็นชื่อแบรนด์ของผู้ผลิต

เป็นชื่อแบรนด์ของผู้ผลิต และ ซีรี่ย์ของ Memory Card ตัวนั้น ๆ ว่าเป็นเกรดไหน เช่นเกรดเริ่มต้น หรือสำหรับมืออาชีพมากขึ้นที่มีความเร็วสูงกว่าอะไรก็ว่ากันไป เช่นในตัวอย่าง Sandisk ก็จะเป็นในส่วนของยี่ห้อ Extreme Pro ก็จะเป็นซีรี่ย์ความเกรดสูงสุดของ Sandisk นั่นเองซึ่งจะมี Ultra , Extreme , Extreme Pro ตามลำดับ

ความเร็วในการอ่าน

ความเร็วในการอ่าน ย้ำอีกครั้งว่าการอ่านนะ ส่วนใหญ่ผู้ผลิตชอบเอาความเร็วในการอ่านมาโชว์ไว้ก่อน เพราะความเร็วในการอ่าน มันมักจะมากกว่าการเขียน โดยอย่างในภาพตัวอย่างคือ การ์ดตัวข้างบนสามารถอ่านข้อมูลได้เร็ว 95 MB ต่อวินาที (95เมกกะไบต์)

พื้นที่ความจุของการ์ด

พื้นที่ความจุของการ์ด อย่างภาพตัวอย่างก็คือสามารถบรรจุได้ 128GB ยิ่งตัวเลขมากขึ้นก็สามารถจุไฟล์รูป หรือ วีดีโอได้มากขึ้น อันนี้น่าจะพอทราบกันทุกคนนะ ทุกวันนี้หากต้องการถ่ายวีดีโอผมแนะนำเป็นความจุ 64GB ขึ้นไปครับ

รูปแบบการจัดการไฟล์ของการ์ด

รูปแบบการจัดการไฟล์ของการ์ด ซึ่งรูปร่างมันก็เหมือนกันหมด แบ่งตามรูปแบบการจัดเก็บไฟล์ ซึ่งจะส่งผมให้ความจุแตกต่างกัน มี 3 แบบหลัก ๆ คือ

คู่มือเลือกการ์ด ตัวเลขบนเมมโมรี่การ์ดบอกอะไร ทำไมมือใหม่ต้องรู้

ที่มาภาพ : Transcend

  • SD (Secure Digital) จุได้สูงสุด 2GB File System เป็นแบบ FAT 12, 16
  • SDHC (Secure Digital High Capacity) จุได้ตั้งแต่ 2GB-32GB File System เป็นแบบ FAT32
  • SDXC (Secure Digital eXtended Capacity) จุได้ตั้งแต่ 32GB-2TB File System เป็นแบบ eXFAT

ซึ่งทุกวันนี้ก็แทบจะไม่ต้องดูแล้ว กล้องเก่าบางตัวอาจจะไม่ได้รองรับ SDHC หรือ SDXC แต่ทุกวันนี้กล้องที่ออกมาจะรองรับ SDXC แทบจะหมดแล้ว การ์ดที่ออกมาขายส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่มี SD หรือ SDHC แล้ว เพราะฉะนั้นก็ให้รู้ว่าหลัก ๆ ก็จะเป็นเรื่องความจุนั่นแหละครับ

เครื่องหมายบ่งบอก Bus Speed

เครื่องหมายบ่งบอก Bus Speed อธิบายง่าย ๆ ถ้าเปรียบข้อมูลเป็นรถยนต์ Bus speed ก็เปรียบเสมือนถนน ถ้าถนนกว้างก็รองรับรถได้มาก ถนนแคบก็รองรับรถได้น้อย ถ้า Bus Speed สูงกว่าก็จะรองรับการส่งผ่านข้อมูลได้เยอะกว่า แน่นอนว่าความเร็วก็สูงกว่าเช่นกัน โดยตอนนี้ได้แบ่งกำหนดไว้เป็นสองกลุ่มเป็น UHS-I และ UHS-II ซึ่งความเร็ว UHS-I จะอยู่ที่ 50MB/s และ 104MB/s ขึ้นอยู่กับว่าเป็น SDHC หรือ SDXC ส่วน UHS-II ความเร็วตั้งแต่ 156 MB/s จนถึง 312MB/s ซึ่งราคาก็สูงมากขึ้นและกล้องก็ต้องรองรับด้วยไม่งั้นจะใช้งานได้ไม่เต็มสปีด

คู่มือเลือกการ์ด ตัวเลขบนเมมโมรี่การ์ดบอกอะไร ทำไมมือใหม่ต้องรู้
คู่มือเลือกการ์ด ตัวเลขบนเมมโมรี่การ์ดบอกอะไร ทำไมมือใหม่ต้องรู้

บอกคลาสความเร็วของการ์ด

ทั้ง 3 สัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ที่มีหน้าที่เหมือนกันคือบอกคลาสความเร็วของการ์ด หลัก ๆ จะเป็นการบอกความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ ความเร็วจะไม่ตกไปมากกว่านี้แล้ว โดยที่เห็นว่าทำไมมันมีเยอะแยะ ใช้ทำไมซ้ำซ้อน หลัก ๆ ผมมองว่ามันคือช่วงของเวลา ตอนยุคแรก ๆ ถ่ายแค่ภาพไฟล์ก็ไม่ได้ใหญ่มาก พอการถ่ายวีดีโอแพร่หลายมากขึ้นก็ไปใช้อีกคลาส พอยุคหลัง ๆ ถ่าย 4K กันมากขึ้น bitrate วีดีโอก็เยอะขึ้นก็ไปใช้อีกตัว โดยที่ทั้งสามตัวจะมีความคาบเกี่ยวกันอยู่เล็กน้อย

Speed Class

คลาสความเร็วแรกที่เห็นกันเลยนั่นก็คือ Speed Class เป็นค่าดั้งเดิมที่ใช้กันมาก่อนเพื่อน สัญลักษณ์จะเป็นวงกลมแล้วมีตัวเลขอยู่ข้างใน เช่นคลาส class2 Class4 Class6 Class10 สูงสุดที่ Class10 ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ก็จะบอกความเร็วขั้นต่ำของการ์ดจะไม่ต่ำไปกว่านี้ เช่นคลาส 4 ความเร็วการเขียนขั้นต่ำ 4MB/s หรือ 4 เมกกะไบต์ต่อวินาที หรือ คลาส 10 ความเร็วการเขียนขั้นต่ำ 10MB/s หรือ 10 เมกกะไบต์ต่อวินาที กล้องในยุคที่ยังใช้มาตรฐาน Speed Class ส่วนใหญ่ก็จะถ่าย HD 720P และได้สูงสุดส่วนใหญ่จะอยู่ราว ๆ FHD 1080p จำได้ว่าเมื่อก่อนถ้าจะถ่าย FHD ยังต้องเลือกมองหาการ์ดที่เป็น Class 10 กันถึงจะถ่ายได้โดยที่กล้องไม่หยุดอัดเอง

UHS Speed Class

ยุคถัดมาจะมีการถ่ายวีดีโอมากและ resolution ที่กล้องถ่ายได้ก็เพิ่มมากขึ้นมาเป็น 4K การเขียนขั้นต่ำก็ต้องมากขึ้น เค้าก็เลยเพิ่มมาตรฐานสปีดคลาสมาอีกอันขึ้นเป็น UHS Speed Class สัญลักษณ์จะเป็นตัว U และมีตัวเลขอยู่ข้างใน U1 ความเร็วการเขียนขั้นต่ำที่ 10MB/s อันนี้จะคาบเกี่ยวกับ Speed class ก่อนหน้าก็คือ Class 10 นั่นเองความเร็วขั้นต่ำเท่ากัน ถ้าเป็น Class U3 ก็หมายความว่า มีความเร็วในการเขียนขั้นต่ำที่ 30MB/s ซึ่งตอนนั้นถ้าคุณจะถ่าย 4K ก็ต้องมองหาการ์ดที่เป็น U3 มาใช้นั่นเอง

Video Speed Class

สุดท้ายจนถึงปัจจุบันมีการถ่ายวีดีโอแพร่หลาย รวมไปถึงกล้องทั้งหลายก็มี resolution ที่มากขึ้น 4K 8K คุณภาพสูงขึ้น รวมไปถึงรูปแบบของไฟล์หลากหลายขึ้น bitrate ก็เยอะขึ้น การ์ดก็ต้องเร็วขึ้น แรงขึ้น และสุดท้ายเค้าก็เพิ่มสปีดคลาสขึ้นมาอีกอัน โดยที่รอบนี้ใช้ชื่อตรง ๆ เลยเป็น Video Speed Class ใช้สัญลักษณ์เป็น V และต่อด้วยตัวเลข โดยเริ่มที่

  • V6 ความเร็วการเขียนขั้นต่ำที่ 6MB/s
  • V10 ความเร็วการเขียนขั้นต่ำที่ 10MB/s
  • V30 ความเร็วการเขียนขั้นต่ำที่ 30MB/s
  • V60 ความเร็วการเขียนขั้นต่ำที่ 60MB/s
  • V90 ความเร็วการเขียนขั้นต่ำที่ 90MB/s

ก็จะเห็นว่าที่ V10 จะความเกี่ยวกับอันอื่นเหมือนกันเพราะความเร็วการเขียนขั้นต่ำที่ 10MB/s เท่ากับ Class 10 และ U3 และถ้าดูจากรูปภาพตัวอย่างจะเห็นว่าที่ V90 ก็จะรองรับไปจน 8K กันเลยทีเดียว

แนะนำการเลือกการ์ดสำหรับมือใหม่

ข้อควรรู้อย่างนึงเลยสำหรับมือใหม่เลือกซื้อเมมโมรี่การ์ดสำหรับบันทึกภาพหรือวีดีโอ สิ่งสำคัญเลยสิ่งที่จะบอกว่าการ์ดบันทึกได้เร็วหรือไม่เร็วก็คือความเร็วในการเขียนของการ์ด โดยปกติผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะเอาความเร็วในการอ่านมาโชว์หน้ากล่องมากกว่าเพราะมันเร็วกว่าการเขียน แต่จะเอาค่าการเขียนไปไว้ข้างหลังกล่องมากกว่าเพราะฉะนั้นเวลาเลือกดูการ์ดก็ให้ดูเรื่องความเร็วการเขียนเป็นสำคัญ พลิกไปดูหลังกล่องด้วย ยิ่งตัวเลขเยอะก็แสดงว่าการ์ดตัวนั้น ๆ เขียนบันทึกได้เร็ว เคลียร์ข้อมูลจาก Buffer กล้องลงการ์ดได้รวดเร็ว

ส่วนค่าอ่านจริง ๆ ก็ไม่เชิงว่าไม่สำคัญนะ ปกติจะมีประโยชน์เมื่อเรา Copy ข้อมูลไปลงในคอมเรานั่นเอง ตรงนี้จะใช้ค่าการอ่าน ยิ่งความเร็วในการอ่านเยอะก็จะโอนไฟล์ได้เร็วกว่านั่นเอง แต่ปกติความเร็วทั้งการอ่านและการเขียนก็จะไปในทิศทางเดียวกันนะครับ คือถ้าเขียนได้เยอะ อ่านก็จะได้เยอะเหมือนกัน (แถมเยอะกว่าด้วย) และยิ่งการ์ดเขียนได้เร็วราคาก็จะมากกว่าเช่นเดียวกันครับ

ที่มา : SDcard.org

ทีนี้สำหรับสายวีดีโอถ้าจะเลือกการ์ดก็ต้องรู้แล้วว่า Project ของเราจะถ่ายที่ความละเอียดเท่าไหร่ ถ้าถ่าย FHD ทั่วไป ก็สามารถใช้การ์ด Class 10 หรือ U1 หรือ V10 ก็พอได้ ถ้าจะขยับไป 4K ก็ต้องมองหา U3 หรือ V30 ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นกับไฟล์ รูปแบบการบีบอัด หรือ bitrate ด้วย ยิ่งคุณภาพสูง ก็อาจจะต้องใช้การ์ดที่ความเร็วสูงขึ้น เช่น ถ้าจะถ่าย 4K 120p bitrate 400mbps ก็อาจจะต้องมองหาการ์ดที่เป็น V60 ขึ้นไป เพราะ V30 ความเร็วไม่พอ อะไรทำนองนี้

อัพเดท 2022

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save