Acros Simulation : Filter Film ขาวดำ สำหรับชาว Fuji X Series Leave a comment

หากจะพูดถึงกล้อง Mirrorless จากค่าย Fujifilm แล้ว เชื่อว่าหลายๆท่านคงจะนึกถึงงานออกแบบที่ดีไซน์มีความ Classic ที่ผสานเข้ากับกลื่นอายความเป็น Retro & Hipster ได้อย่างลงตัว , การเซลฟี่ที่ทำได้ง่ายๆและสวยงามกว่าการใช้ Smartphone ทั่วๆไปในท้องตลาด หรือจะเป็นคุณภาพของ File ที่ได้จากกล้อง Fujifilm ที่ให้สีสันสดใส สวยงาม ซึ่งนอกจาก Feature เหล่านี้ กล้อง Mirrorless จากค่าย Fujfilm ก็ยังมีความสามารถอื่นที่ซ่อนอยู่ และ สามารถนำไปใช้งานได้จริง นั่นคือ Film Simulation หากจะกล่าวอย่างง่ายๆ เป็น Filter สีที่เป็นการจำลอง Film ในอดีต ให้กลับมาโลดแล่นอีกครั้งในรูปแบบของ Digital นั่นเองครับ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามชมกันได้เลยครับ

Film Simulation คือ ??

เป็นเมนูที่ใช้กำหนดลักษณะสีของภาพที่จะบันทึก โดยลักษณะสีต่างๆในกล้องนั้นจะจำลองลักษณะของสีฟิล์มที่ทางฟูจิฟิล์มผลิตออกมาจำหน่ายและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่เลือกใช้งาน นอกจากนี้ในบางลักษณะอย่าง MONOCHROME หรือ BLACK&WHITE นั้น ยังได้มีการสร้างลักษณะพิเศษเหมือนกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มขาวดำใส่ฟิลเตอร์สีต่างๆ ซึ่งจะให้ผลพิเศษทำให้ได้โทนภาพขาวดำที่แตกต่างจากขาวดำทั่วไปอีกด้วย

** หมายเหตุ ** : ตัวเลือกของ FILM SIMULATION ในกล้องแต่ละรุ่นอาจกแตกต่างกันไป

แล้ว Acros Film Simulation หละ ??

ในอดีตเจ้า Acros ถือว่าเป็นฟิล์มขาวดำเกรด Professional ของ Fujifilm เลยก็ว่าได้ ใช้เทคโนโลยี “Super Fine-∑ Grain Technology” ที่ทาง Fujifilm ภูมิใจนำเสนอว่าให้เกรนที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก ให้โทนภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของภาพขาวดำที่ไม่เหมือนใคร ทั้งนุ่มและคม และเมื่อ Acros กลับมาโลดแล่นอีกครั้งในรูปแบบของ Film Simulation ที่เหมาะกับนักถ่ายภาพที่ชื่นชอบโทนขาวดำที่นุ่มนวลให้สีดำลึก รายละเอียดยังคงอยู่ทั้งส่วนสว่าง และส่วนมืด นอกจากนั้นในรุ่นนี้ยังเพิ่ม Grain Effect ให้อารมณ์คนรักฟิล์มโดยเลือกได้ 2 ระดับ คือ Strong กับ Weak ทำงานร่วมกับ Film Simulation ได้ทุกรูปแบบ

Acros Film Simulation อยู่ในกล้องรุ่นไหนบ้าง ??

สำหรับ Feature – Acros Film Simulation นั้น ได้ถูกบรรจุลงในกล้อง Fujifilm X-Pro2 เป็นครั้งแรก และก็ถูกบรรจุลงในรุ่นอื่นๆอย่าง Fujifilm X-T2 , Fujifilm X-T20 รวมถึง Fujifilm X-E3 น้องใหม่ล่าสุดที่ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆนี้นั่นเอง

Acros Film Simulation กับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

หากพูดถึง Acros เมื่อผู้อ่านอ่านมาถึงจุดนี้ คงจะคิดในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะจะเป็นไปได้หรือ ที่จะถ่ายภาพออกมาเป็นขาวดำตลอด ทั้งๆที่ ตาเราเห็นเป็นภาพสี หรือ ภาพที่เป็นสีดูสดใสมากกว่านั่นเอง ซึ่งทีมงาน Zoomcamera ก็ได้ลองภารกิจ Acros Film Simulation 1 Day Challenge ว่า หากเรานำ Acros ไปใช้ในงานสถานการณ์ทั่วๆไป ภาพที่ได้จะออกมาลักษณะแบบไหนกันครับ

จากจุด Start ณ ท่าเรือสาทร ที่ปกติจะเจอสีแดงจากรถสองแถวประจำถิ่นนี้เตะตาตลอด แต่เมื่อเราลองถ่ายเป็นภาพขาวดำ Acros ดู อารมณ์ภาพที่ร้อนแรงจากสีแดง ก็ดูสงบ สบายตาลง

วิถีชีวิตของชุมชนต่างๆบน ถ.เจริญกรุง ซึ่งเป็น ถ.ที่มีความเก่าแก่มากอีกเส้นนึง เมื่อเลือกใช้ภาพขาวดำ Acros ถ่ายทอดออกมา เสมือนว่าเราย้อนเวลากลับไปในอดีตก็ว่าได้

 

แยกสุรวงศ์ ตัดกับ สี่พระยา สิ่งที่ชวนสะดุด คงจะหนีไม่พ้นสายไฟ / สายเคเบิ้ลต่างๆ ซึ่งบางครั้งภาพสีจะทำให้เส้นสายเหล่านี้ดึงความสนใจจากสายตาเราไป แต่เมื่อเราเลือกใช้ภาพขาวดำ Acros ถ่ายทอดออกมา กลับทำให้เส้นสายเหล่านี้ กลมกลืนไปกับตัวตึกได้อย่างลงตัว

Location ถัดมาที่ทีมงาน Zoomcamera มาถึง นั่นคือ ไปรษณีย์กลาง อีกหนึ่ง Location ที่ช่างภาพสายต่างๆ มักนิยมมาเก็บภาพกันอย่างแน่นอน ซึ่งทีมงานไม่พลาดที่จะลองใช้ Acros Film Simulation ในการถ่ายทอดภาพออกมาเป็นแบบขาวดำ ซึ่งก็ให้ผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพอใจ เสมือนเป็นตึกเก่าในอดีตเลยทีเดียว

Acros Film Simulation นอกจากจะเปลี่ยนภาพสี ให้เป็นภาพขาวดำแล้ว ยังสามารถทำให้ภาพที่เราถ่ายนั้น สื่ออารมณ์ออกมาในลักษณะต่างๆได้ อาทิเช่น อารมณ์เหงา / เศร้า ซึ่งเข้ากับโทนสีขาวดำ นั่นเอง

กำแพง Graffity อีกหนึ่ง Location สุดฮิตที่อยู่ใกล้ๆกับไปรษณีย์ ซึ่งความงามของ Graffity มักจะมาจากการใช้ลวดลายผสานเข้ากับสีที่มีความฉูดฉาดนั่นเอง แต่เมื่อทีมงานลองเปลี่ยนอารมณ์โดยใช้ Acros Film Simulation เพื่อเปลี่ยนเป็นภาพโทนขาวดำ ทำให้เห็นว่า Graffity ที่ดูฉูดฉาดนั้น ให้อารมณ์ที่ Soft ลง แต่แฝงไปด้วยความหนักแน่นของเส้นสายนั่นเอง

อาคาร และ/หรือ สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่ส่วนใหญ่มักจะมีพื้นขาวเป็นหลัก รวมถึงในบางสถานการณ์สภาพอากาศก็ชวนให้ตากล้องสาย Landscape ต่างต้องปวดหัว กับ อาการฟ้าขาว ที่ชวนให้ภาพดูไม่สดใสเอาเสียเลย ซึ่งทีมงาน Zoomcamera ได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการย้อมภาพสี ให้เป็น โทนขาวดำซะดื้อๆเลย โดยอาศัย Acros Film Simulation ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้ท้องฟ้าดูมีความกลมกลืนเข้ากับ Subject เรานั่นเอง ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถเติม Filter สีให้กับ Acros Film Simulation ได้ ไม่ว่าจะเป็น Red / Yellow / Green เพื่อให้เฉดสีที่แสดงออกมาในโทนขาวดำนั้น มีความแตกต่างกันนั่นเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่ภาพโทนขาวดำ สามารถเต็มเติมในส่วนที่ขาดของภาพสีได้ นั่นคือ การเล่นกับเงาแสง เมื่อเราทำภาพเป็รนโทนขาวดำแล้ว เงาแสง / เส้นแสงที่พาดผ่านวัตถุ – พื้นผิวนั้น จะมีความโดดเด่น เสมือนเป็น Texture เติมเต็มให้กับในภาพนั่นเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่ทีมงาน Zoomcamera ชอบ Acros Film Simulation นั้น นอกจากจะให้ภาพโทนขาวดำ ที่ให้โทนที่ Soft ไม่ดำ และ/หรือ เทาจนเกินไป แต่ Acros Film Simulation ยังสามารถเสริมอารมณ์ภาพให้กับภาพแนว Snap / Street ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีส่วน Hilight มากเกินไปในภาพ หรือ มีส่วนสว่างที่มากจนเกินไป การเลือกใช้ภาพโทนขาวดำ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาให้กับภาพนั่นเองครับ

อย่างเช่น ภาพ Snap ที่ทีมงาน Zoomcamera ถ่ายมา ทั้งภาพสีและภาพขาวดำจาก Acros Film Simulation ล้วนแล้วแต่ให้อารมณ์ภาพที่แตกต่างกันออกไป

หรืออย่างบางสถานการณ์ที่ White Balance มีความผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงมากจนเกินกว่าจะ Process ให้กลับตรงดังเดิมได้ จึงอาจจะเปลี่ยนสีโทนภาพ ให้เป็นโทนขาวดำแทนก็ได้

อย่างทีทีมงาน Zoomcamera ได้กล่าวไว้ข้างต้น ว่า Acros Film Simulation นอกจากจะเปลี่ยนโทนภาพจากภาพสี ให้เป็นโทนขาวดำแล้วนั้น ยังช่วยเพิ่มอารมณ์ให้กับภาพได้ในตัว เหมือนดั่ง Movement ของ Subject ที่เมื่อเป็นภาพโทนขาวดำแล้ว เสมือนเรายกกองถ่ายภาพยนตร์ – สารคดี ที่เป็นขาวดำเหมือนในอดีตนั่นเอง

ภาพโทนขาวดำ เมื่อนำเราเล่นกับภาพที่มีเส้นแสงธรรมชาติ ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ดูแปลกตามากกว่าภาพโทนสีทั่วๆไป

เป็นภาพอีกใบที่แสดงให้ทีมงานเห็นพลังของ Acros Film Simulation ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการไล่โทนขาวดำ ที่ให้โทนที่สวย ไม่ดำจมมากเกินไป จนเสียรายละเอียด

ภาพโทนขาวดำ สามารถชวนให้ผู้มองสามารถตีความอารมณ์ของภาพออกมาในทรรศนะต่างๆ ทั้งครุ่นคิด / สงสัย / นิ่งสงบ / น่าค้นหา / น่าพิศวง / เงียบขรึม เป็นต้น หรืออย่างภาพนี้ อาจจะสื่อเป็นการรอคอยก็ได้เช่นกัน

สำหรับบทความ ” Acros Simulation : Filter Film ขาวดำ สำหรับชาว Fuji X Series “ ก็มาถึงช่วงท้ายแล้ว ทีมงาน Zoomcamera ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านไม่ว่าจะใช้กล้อง Fujiflm และ/หรือ สนใจกล้อง Fujifilm อยู่ก็ตามที จะได้ประโยชน์จาก Feature Acros Film Simulation และสามารถนำ Acros Film Simulation ไปประยุกต์ในสถานการณ์ได้เป็นอย่างดีต่อไป

*** ทีมงาน Zoomcamera ก็ขอตัวลาไปพร้อมกับภาพสุดท้ายใบนี้ครับ สวัสดีครับ ***

inbox : http://www.facebook.com/messages/zoomcamera

02-635-2330 ต่อ 0 / 083-067-7677 (หยุดวันอาทิตย์)

สาขาสีลม 02-635-2330-1 / 080-271-2772

สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 02-951-8597 / 085-937-0123

สาขาเมกาบางนา 02-105-1926 / 086-554-1919

สาขาเดอะมอลล์บางแค 02-454-9598 / 084-033-0498

สาขาฟอร์จูนทาวน์ 02-642-1291 / 083-068-2775

 สาขา Central Festival เชียงใหม่ 052-068-787 / 096-878-4896

สาขา Central Westgate 02-060-4362 / 097-063-4328

บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 22/09/2017

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save