สวัสดีครับทุก ๆ คน วันนี้เราจะมารีวิวกล้องที่เป็นที่กล่าวถึงมาก ๆ ตัวหนึ่ง นั่นก็คือ Panasonic Lumix S1 นั่นเองครับ ซึ่งผมเองพอได้รู้ว่าจะต้องมารีวิวกล้อง Lumix S1 ตัวนี้ก็บอกตามตรงว่าเป็นกล้องที่ตื่นเต้นที่จะได้รีวิวมาก ๆ ตัวหนึ่งครับ เพราะสเป็คที่อัดแน่นมาก ๆ หนึ่งตัวเลยก็ว่าได้ครับ
ก่อนหน้านี้ที่ทางเราได้ปล่อยบทความเกี่ยวกับ S1 ที่เป็นทดสอบแต่ละด้านแต่ก็เป็นพาร์ทของรีวิวเต็มอันนี้นั่นเองครับ
รีวิว Panasonic Lumix S1 ทดสอบคุณภาพไฟล์วิดิโอ เปรียบเทียบ Sony A7 III
รีวิว Panasonic lumix S1 ทดสอบระบบโฟกัส พร้อมเปรียบเทียบ Sony A7 III
ซึ่งในการรีวิว Panasonic Lumix s1 รอบนี้เราก็ได้น้องวู้ดดี้ จากเพจ WorDor มาถ่ายวิดิโอเจ๋ง ๆ จาก Panasonic Lumix S1 และมาช่วยทดสอบในส่วนของ Video และให้ความเห็นตามจากคนที่ทำงานในสายของวิดีโอ ซึ่งแน่นอนว่าต้องดูในรีวิว Panasonic Lumix S1 เวอร์ชั่นที่เป็นวิดิโอครับ เวอร์ชั่นบทความจะไม่มีในส่วนนี้
แต่ต้องบอกว่าแอบเสียดายที่เรามีเวลาอยู่กับกล้องตัวนี้ไม่นานนัก ซึ่งเราก็พยายามทดสอบมาเท่าที่เวลาจะเอื้ออำนวยนะครับ ขาดตกบกพร่องยังไงก็ขออภัยก่อนเลย
**ปล.ในรีวิว Panasonic Lumix S1 เนื้อหาการทดสอบส่วนใหญ่จะอยู่ในเวอร์ชั่นที่เป็นวิดีโอนะครับ แต่ในเวอร์ชั่นบทความผมจะสรุปซะส่วนใหญ่นะครับ และตอนท้ายผมจะใส่ภาพตัวอย่างไว้เยอะกว่าเวอร์ชั่นวิดีโอ**
สำหรับรีวิว Lumix S1 เวอร์ชั่น Video สามารถดูได้ที่นี่ครับ
Key Specification
- Sensor Fullframe ความละเอียด 24.2 Megapixels
- ช่องมองภาพความละเอียด 5.76m.
- จอ LCD ขนาด 3 นิ้ว แบบ 3 Ways Tilting
– ระบบกันสั่นไหว 5 แกน ป้องกันสูงสุด 5.5 steps
– ระบบกันสั่นแบบ Dual IS 2
– ค่า ISO 51200 สูงสุดที่
– High Resorution Mode สามารถขยาย pixels ได้สูงสุดที่ 96 Megapixels
- รองรับการถ่าย Video 4K 60p แบบ 4:2:0 8-bit Full Readout
- รองรับ Feature 6K Photo 30p / 4K Photo 60p
- ระบบ Focus แบบ DFD ทำงานร่วมกับ Contrast Detection พร้อมจุดโฟกัส 225 จุด
- ความไวในการ Focus 0.08 sec. ( CIPA Test )
– รองรับการถ่ายต่อเนื่อง 9 fps (AFS), 6 fps (AFC)
- ระบบ Weather Seal ( Dust proof / Splash proof / Freeze proof / Low temperature-10 ° )
- รองรับ Dual Slot ( 1 XQD / 1 SD Card )
- แบตเตอรี่สูงสุด 400 ภาพ ต่อการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง
– ขนาด 148.9 x 110.0 x 96.7 mm.
– น้ำหนักเฉพาะ Body 899 g
รูปร่างหน้าตา ขนาด และน้ำหนัก
ในส่วนของรูปร่างหน้าตาภายนอกจะออกไปทางเหมือน D-SLR ซะส่วนใหญ่ครับ บวกกับขนาดที่ใหญ่โตเวลาเดินถือกล้องตัวนี้ไปไหนมาไหนก็ไม่มีใครคิดว่าเป็น Mirrorless เลยครับ แต่ด้วยความใหญ่และรูปร่างละม้ายคล้าย D-SLR ก็ถือว่าการถือจับได้ถนัดมืออยู่ไม่น้อยเพียงแต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งนั่นก็คือน้ำหนักนั่นเอง
ในส่วนของน้ำหนักถือว่าเอาเรื่องทีเดียว เฉพาะบอดี้อย่างเดียวก็ปาไป 899 กรัมแล้ว ถ้ารวมเลนส์เข้าไปเรียกได้ว่าใหญ่โตมโหฬารเลยล่ะครับ ผมได้ลองเอาไปถ่ายงานแต่งแบบจริงจังเป็นกล้องอีกตัว แถมติดกับเลนส์ Panasonic LUMIX S PRO 50mm f/1.4 ก็ปาเข้าไป 1,854 กรัม ยกขึ้นยกลง เกือบหกร้อยภาพก็มีปวดนิ้วกันเลยทีเดียวครับ และนี่คือขนาดทั้งหมดของกล้อง Panasonic S1 และเลนส์ทั้ง 3 ตัวที่ออกมาตอนนี้ครับ
ทีนี้ผมลองเอาไปเปรียบเทียบขนาดกับกล้อง Mirrorless Fullframe ยอดฮิตอย่าง Sony A7III ถ้าดูจากภาพด้านล่างก็จะเห็นได้ว่าขนาดต่างกันอยู่มากโข และแน่นอนว่าน้ำหนักของ S1 ก็หนักกว่าพอสมควร
แต่อย่าว่าอย่างงั้นอย่างนี้เลยครับ จริง ๆ เหตุที่ Lumix S1 นั้นมีขนาดใหญ่ก็ไม่ใช่ใหญ่แบบไม่มีเหตุผล แต่เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังอีกทีในหัวข้อที่เกี่ยวข้องแล้วกันครับ
ทดสอบ Auto Focus
Panasonic Lumix S1 มีระบบโฟกัสแบบใหม่ที่เพิ่มเข้ามานั้นก็คือ AI Focus นั่นก็คือจะมีระบบ AI เข้ามาช่วยคิดว่าตอนนี้ถ่ายอะไรอยู่ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่เค้าก็สามารถรู้ว่าตอนนี้กำลังถ่ายอะไรอยู่ อันนี้ถือว่าทำได้ดีครับ
ยิ่งถ้าบวกกับใช้ Eye AF เข้าคู่กันได้ดีในยามที่ถ่ายภาพบุคคล สามารถเลือกตาได้ด้วย โดยการกดที่ Joy Stick ด้านหลัง หรือการสัมผัสที่จอ หาก AI ตรวจเจอหลาย ๆ หน้าก็สามารถเลือกหน้าคนได้ด้วย และเลือกตาแต่ละคนได้ด้วย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ควรมี และมีมาให้ครับผม
เปรียบเทียบการทดสอบความเร็วโฟกัสในวิดีโอกับ Sony A7III
จากการเปรียบเทียบจะเห็นว่าทำงานได้ดีทั้งคู่แต่จะมีบางช็อตที่นางแบบเดินออกไปแล้ว S1 จะยังไม่ได้ไปโฟกัสที่ข้างหลังซึ่ง A7iii ไปแล้ว จนนางแบบเข้ามาแต่ก็สามารถแทร็กนางแบบได้ต่อครับ
สรุปเรื่องโฟกัส
ของ Panasonic Lumix S1ในส่วนของ focus ของ S1 ผมรู้สึกว่าทำได้ดีนะครับโดยเฉพาะ AI Focus กับ Eye AF ก็ถือว่าทำได้ดีใช้งานได้จริง แม้ว่าบางครั้ง Focus AI จะทำงานพลาดไปบ้างก็ถือว่าทำได้โอเคเลย แต่ถ้าถามว่าระหว่าง Sony A7III กับ S1 ผมก็ยังมองว่าความรวดเร็วโฟกัส ความเหนียว ความหนึบ Sony ก็ยังถือว่าทำได้ดีกว่าครับ ทั้งในภาพนิ่งและวิดีโอ
คุณภาพไฟล์ภาพนิ่ง
ในส่วนของคุณภาพไฟล์ภาพนิ่งก็คงหนีไม่พ้นเรื่องคุณภาพ ISO ผมได้ทำการทดสอบโดยไล่ ISO ให้ดูครับผม โดยที่ผมขอเริ่มต้นที่ ISO 1600 เลยนะครับ เพราะคิดว่าก่อนหน้าคงไม่มีปัญหาอะไร
-เปรียบเทียบ ISO กับ Sony A7III
จากการเปรียบเทียบจะพบว่ารายละเอียดของ S1 ที่ ISO สูง ๆ จะทำได้ดีกว่ากว่าทาง A7III อยู่พอสมควร แต่ก็ต้องบอกว่าอันนี้เป็นภาพที่ซูมเข้ามาดูะครับ ถ้าเป็นภาพที่ยังไม่ซูมอาจจะใช้งานได้สบายทั้งคู่ครับ และกล้องอย่าง S1 ก็ออกมาทีหลังแน่นอนว่าอาจจะเทคโนโลยีใหม่กว่า แถมแพงกว่าเท่าตัวด้วย ฮ่า ๆ
คุณภาพไฟล์ Video
ในการเปรียบเทียบไฟล์วิดิโอผมก็ถ่ายวิดิโอที่เป็นฉากนิ่ง ๆ มานะครับแล้วก็ไล่ ISO ทีละ 1 Stop เช่นเดียวกันกับภาพนิ่งครับ ในส่วนของการทดสอบคุณภาพวิดิโอก็ตามด้านล่างครับ ขอยกการเปรียบเทียบกับ A7III มาเลยแล้วกันนะครับ จะได้เห็นภาพทีเดียว
-เปรียบเทียบ ISO Video กับ Sony A7III
จากการเปรียบเทียบจะเห็นว่าไฟล์วิดิโอของทาง S1 ก็เหนือกว่า A7III เช่นกันยังถ้า ISO ยิ่งสูงยิ่งเห็นได้ชัดครับผม
ทดสอบกันสั่นภาพนิ่ง
ในส่วนของการทดสอบกันสั่น ผมขอยกการทดสอบภาพนิ่งมานะครับ หลักการทดสอบคือผมจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้เท่ากับช่วงเลนส์ที่ถ่าย ในที่นี้ผมใช้เลนส์ 50mm เพราะฉะนั้นสปีดที่ผมถือไหวคือ 1/50 และจะค่อย ๆ ลดสปีดทีละ 1 stop ดูว่าถือไหวเท่าไหร่
การทดสอบกันสั่นก็ต้องบอกว่าแต่ละคนอาจจะได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยุ่กับความนิ่งของมือแต่ละคน ซึ่งผมเองก็ไม่ได้เป็นคนมือนิ่งอะไรขนาดนั้นด้วยครับ ผมถือเจ้ากล้อง Panasonic Lumix S1 ถ่ายด้วยมือเปล่าได้ประมาณ 4 Stop พอไปถึง 5 stop ก็ใช้งานไม่ได้แล้ว แต่กล้องฟูลเฟรมทั้งที่เป็น Mirrorless หรือ D-SLR ส่วนใหญ่ผมถือได้ประมาณ 3 stop ประมาณนี้ครับ ถ้าถามผม ผมว่ากล้อง S1 คือกล้อง Mirrorless fullframe ที่กันสั่นดีที่สุดที่เคยทดสอบมาครับ ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่เค้าทำบอดี้ให้ใหญ่ขนาดนี้เพราะว่าจะได้มีพื้นที่ให้เซ็นเซอร์ได้ขยับเยอะ ผมคือกันสั่นดี แต่ก็แลกมากับขนาดที่มโหฬารมากขึ้นครับ
ปล.กันสั่นวิดีโอจะอยู่ในรีวิวเวอร์ชั่นวิดีโอครับ
ภาพตัวอย่างจาก Panasonic Lumix S1
สรุปข้อดี-ข้อสังเกต
จากที่ได้สัมผัส ได้รีวิว Panasonic Lumix S1 มารู้สึกได้เลยว่า Panasonic จัดเต็มมากกับกล้อง mirrorless Fullframe ตัวแรก ภาพรวมคือกล้องที่ดีมาก ๆ ตัวหนึ่งเลยครับ ทั้งในส่วนของภาพนิ่งและวิดีโอ ผมก็ได้แบ่งข้อสรุปเป็นข้อดีข้อสังเกตเป็นข้อ ๆ เหมือนเดิม เพื่อที่อ่านแล้วจะได้ตัดสินใจได้ว่านี่คือกล้องที่คุณต้องการหรือไม่ตามนี้ครับ
ข้อดี
-ฟังก์ชั่นจัดเต็ม ต้องบอกว่ากล้องของ Panasonic เป็นกล้องที่ถ่ายสนุกแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว ฟังก์ชั่นที่ควรมีก็มีครบทั้ง Timelapse,Stop motion,6K Photo และ อื่น ๆ
-Ai Focus และ Auto Focus ทำงานฉลาด Eye AF ก็ฉลาด ทำงานได้ดี อาจจะมีผิดพลาดอยู่บ้างแต่โดยรวมโอเคมาก ๆ
-ไฟล์ภาพดีขึ้นแบบกระโดดพอสมควร ไม่ใช่แค่เรื่องมีเซ็นเซอร์ใหญ่ขึ้น แต่ไฟล์สู้กับคู่แข่งได้แบบสบาย ๆ
-ไฟล์วิดิโอ โดยเฉพาะในส่วนของ ISO และ Dynamic Range ที่เป็นจุดเด่นของ Panasonic อยู่แล้วก็ทำได้ดีเช่นเดิมแม้ว่าเป็นกล้องที่เน้นทั้งภาพนิ่งและวิดีโอก็ตาม
-สเป็ควิดีโอเหลือเฟือ เกินพอ รวมทั้งพอร์ทต่าง ๆ จัดเต็ม ทั้งช่องไมค์ ช่องหูฟัง ช่อง HDMI
-กันสั่นดีที่สุดในกล้อง Full Frame ด้วยกัน ผมถือได้ 4 Stop ซึ่งอันอื่นผมถือได้ราว ๆ 3 Stop ซึ่งก็แล้วแต่คนอาจจะถือได้เยอะ กว่านี้ขึ้นอยู่กับความนิ่งของมือแต่ละคน
-ชาร์จแบตผ่าน Power Bank ได้ ที่สำคัญถ่ายไปชาร์จไปได้
ข้อสังเกต
-ขนาดใหญ่ น้ำหนักเยอะ เป็นอุปสรรคในการแบก แต่แลกมาด้วยระบายความร้อนได้ดี และกันสั่นที่ดีขึ้น ต้องช่างน้ำหนักเอาได้อย่างเสียอย่าง
-จอหลัง อยากได้แบบจอพลิกปกติของพานา คือจอแบบนี้ก็ดีตรงที่มันบางเพราะกล้องหนักแล้ว เพียงแต่ชอบจอฟลิปมาถ่ายตัวเองได้แบบเดิมมากกว่า ทำงานง่ายกว่า
-ตอนถ่ายวิดีโอสโลวโมชั่น ไม่ออโต้โฟกัส ไฟล์เป็นสโลวมาเลย และเสียงหาย จริง ๆ ผมก็ไม่ได้ซีเรียสมากอะนะเรื่องนี้
-แบตใหญ่แต่ไม่อึดมาก แค่กลาง ๆ กล้องคงใช้พลังงานค่อนข้างเยอะ
ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อสินค้า สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของทางร้านได้ตลอด 24 ชม. หรือ โทรเข้ามาโดยตรงผ่านโทรศัพท์
แอดไลน์ ID:@ZoomCamera หรือ หน้าเว็บไซด์ ZoomCamera
083-067-7677 / 02-098-9555 ต่อ 0 (หยุดวันอาทิตย์)